10 กุมภาพันธ์ 2557

การจัดการน้ำในที่ราบลุ่ม

ได้รับคำถามน่าสนใจมากจากเพื่อนสมาชิกว่า ผมเน้นเรื่องการจัดการปัญหาขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะในที่ลาดเท  แล้วถ้าที่ดินเป็นบริเวณราบลุ่มที่ไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ และเสี่ยงกับน้ำท่วมจะต้องจัดการอย่างไร  ซึ่งเรื่องนี้มีสูตรสำเร็จสำหรับพื้นที่ราบที่นิยมกันคือการขุดคูคันดินรอบ ที่ดินของตนเองก่อนเป็นลำดับแรก  โดยปกติจะนิยมกัน 2 ขนาดเหมือนที่เคยตอบพี่หญ้าไป (เครดิตภาพทั้งหมดจากเอกสารของกรมพัฒนาที่ดินที่ผมเคยแชร์ในกระทู้ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=43627.00)

ถ้าถามว่าทำไมเป็นสูตรสำเร็จก็เนื่องจากการทำแบบนี้มีประโยชน์ดังนี้




  • ป้องกันน้ำ run off ไหลออก
    ใน ช่วงหน้าฝน น้ำที่ตกมากเกินไปจะไหลออกจากที่ดินของเราไปยังที่ต่ำกว่า  แต่หากเรามีที่พักน้ำเป็นคูรอบๆ ที่ดินน้ำ run off ก็จะไหลลงไปในคูที่ต่ำว่าระดับพื้นดินปกติ ทำให้น้ำ run off จะมีช่วงเวลาพักให้น้ำได้มีเวลาซึมลงดินรอบๆ ที่ดินแทนที่จะไหลออกไปนอกที่ดินของเรา  หากเราทำประกอบกับการขุดสระน้ำเราก็จะสามารถลำเลียงน้ำ run off เหล่านี้มาลงในสระน้ำ  เป็นการใช้สระน้ำเป็น buffer ในการรองรับน้ำที่มากจนเกินไปจากคูน้ำ  โดยเมื่อฝนตกน้อยน้ำจะไหลจากคูมาลงสระซึ่งจะมีอัตราการระเหยน้อยกว่าการ ทิ้งน้ำไว้ในคู (เนืองจากปริมาตรน้ำที่เท่ากันสระที่ลึกว่าจะมีพื้นที่ผิวจะน้อยกว่า จึงระเหยน้อยกว่า)  ในช่วงที่น้ำเยอะมากจนล้นสระจึงจะปล่อยให้น้ำไหลกลับไปในคูเมื่อให้มีพื้น ดินที่จะดูดซับน้ำลงใต้ดินมากขึ้น  น้ำที่ถูกดูดซับไม่ทันจึงจะปล่อยให้ล้นออกนอกที่ดินของเราไป
  • ป้องกันน้ำท่วม
    การ นำดินที่ขุดขึ้นมาทำเป็นคันดินด้านนอกรอบที่ดินครบทุกด้านก็จะทำหน้าที่เป็น กำแพงกันน้ำในช่วงน้ำหลากมาจากพื้นที่อื่นไม่ให้ไหลเข้าที่ดินของเรา   โดยหากเรามีปัญหาจากน้ำหลากบ่อยๆ อาจจะต้องพิจารณาให้คันดินกว้างอย่างน้อย 2-3 เมตร  ในช่วงวิกฤตเรายังสามารถเสริมด้วยการใช้ปั๊มสูบน้ำสูบน้ำออกไปนอกคันดินของ เรา (โปรดระมัดระวังการข้อพิพาทกับเพื่อนบ้านที่มีที่ดินใกล้เคียง)  
  • ปลูกต้นไม้บนคันดินเป็นแนวกันลม
    การ ขุดคูคันดินจะทำค่อนข้างหนากว่าคันนาทั่วไปจึงมีพื้นที่มากพอที่จะปลูก ต้นไม้อย่างน้อย 2 แถว  เมื่อต้นไม้เหล่านี้เติบใหญ่ขึ้นก็จะทำหน้าที่เป็นทั้งแนวเขต และแนวกันลมรอบๆ ที่ดินเพื่อไม่ให้ลมที่พัดแรงในช่วงมีพายุเข้ามาทำความเสียหายในที่ดินมากจน เกินไป
  • ระบบชลประทานภายในที่ดิน
    ในช่วงที่ต้องการใช้น้ำเราอาจจะเลือกสูบน้ำจากในสระกลับมาใส่ในคูน้ำเพื่อเป็นการลำเลียงน้ำไปยังจุดที่ต้องการ
  • เป็นเส้นทางขนของ
    คัน ดินที่กว้างพอเมื่อปลูกต้นไม้เฉพาะด้านข้างเว้นตรงกลางไว้เป็นทาง  ทำให้เราสามารถเอารถเข็น หรือมอเตอร์ไซด์ขึ้นไปใช้งานในการขนของได้  ส่วนหากในคูมีน้ำลึกพอก็จะใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการขนของทางด้วยทุ่น หรือเรือได้

หากเราจะลอง คิดต่อก็คงหาประโยชน์จากโครงสร้างนี้ได้อีกมากมายตามแต่คนจะประยุกต์ใช้  ส่วนคำถามถัดไปคือด้านในควรจะยกร่องหรือไม่?  การยกร่องในที่นี้หมายถึงการขุดเอาดินด้านในที่ดินมาทำเป็นคันดินเพื่อให้ มีระดับสูงกว่าระดับดินเดิม (ตามรูปด้านล่าง)



คำ ตอบคงขึ้นกับพืชที่จะปลูก  ถ้าเป็นข้าวก็คงไม่จำเป็นต้องยกร่อง  ส่วนถ้ามีความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม และจะเพาะปลูกไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับและพืชผักได้ตลอดปีโดยไม่โดนท่วมตายไปซะก่อนทุกปี ก็น่าจะลงทุนยกร่องสวนตามรูปด้านบน  (ในทางปฏิบัติน่าจะทดลองสังเกตุน้ำดูก่อนว่ามีโอกาสท่วมมากน้อยแค่ไหน)

คำ ถามถัดมาคือถ้าปลูกไม้ป่าล่ะ? จะต้องยกร่องมั๊ยเพราะอาจจะไม่คุ้มค่า?  คำตอบจริงๆ แล้วจะคล้ายกับการปลูกไม้ผลแต่เราต้องดูชนิดของต้นไม้ป่าที่เราปลูก หากเราจะเน้นปลูกต้นสักซึ่งไม่ทนน้ำท่วมเลยก็ควรจะปลูกบนคันดินด้านนอก และถ้าจะปลูกอีกเยอะๆ ก็อาจจะพิจารณาเรื่องการขุดยกร่อง  ส่วนถ้าเราเลือกไม้ป่าที่ทนน้ำท่วมได้มาปลูกในที่ต่ำ การโดนท่วมที่ไม่ยาวนานมากก็จะไม่ทำความเสียหายให้ไม้ป่ากลุ่มนี้  ลงพิจารณาต้นไม้เหล่านี้ดูนะครับ

  • วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เช่น ยางนา ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย สยาขาว กระบาก จันทน์กะพ้อ พะยอม
  • วงศ์มะเกลือ (Ebenaceae) เช่น มะเกลือ มะพลับ ไม้ดำ ดำดง สั่งทำ ตะโกพนม ตะโกนา ตะโกสวน จันดำ จันอิน พญารากดำ
  • วงศ์ ถั่ว (Leguminosae) ขนาดใหญ่บางชนิด เช่น อโศก จามจุรี ทองกราว ขี้เหล็ก นนทรี ประดู่บ้าน ประดู่ป่า อินทนิล มะขาม มะขามเทศ ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ พฤกษ์ กระพี้จั่น
  • วงศ์ปาล์ม (Palm) หลายชนิด เช่น ปาล์มแวกซ์ จาก ตาล มะพร้าว กะพ้อ หมาก
  • วงศ์ ไม้โกงกาง (Rhizophoraceae) เช่น โกงกางหัวสุม ประสักแดง  เฉียงพร้านางแอ โปรงขาว โปรงแดง รังกะแท้ ไอ้แกรกใบเล็ก  โกงกางใบเล็ก  โกงกางใบใหญ่
  • วงศ์ เตย-ลำเจียก (Pandanaceae) เช่น เตยเหาะ   เตยหอม  เตยด่าง   ลักกะจันทน์  เตยแก้ว   เตยทะเล  เกี๋ยงป่า  เกี๋ยงหลวง   เตยแดง   เตยหอมใหญ่  ลำเจียก   เตยญี่ปุ่น  ลำดวน  การะเกดด่าง
  • วงศ์ลำพู (Sonneratiacea) เช่น ลำพูทะเล ลำแพน และลำแพนหิน หรือลำแพนทะเล
  • วงศ์ ไม้ลั่นทม(Apocynaceae) หลายชนิด เช่น โมกเครือ ตีนเป็ดเล็ก พญาสัตบรรณ ชะลูด ตีนเป็ดน้ำ  ตีนเป็ดแดง  พุดจีบ  พุดฝรั่ง  พุดสวน  โมกใหญ่  ลั่นทม(ลีลาวดี) ระย่อม  รำเพย
  • ไม้วงศ์สารภี (Guttiferae) หลายชนิด เช่น กระทิง ชะมวง มะพูด มะดัน สารภี
  • วงศ์ไม้ประสัก เช่น พังกาหัวสุม ประสัก ถั่วดำ ถั่วขาว และรุ่ย
  • วงศ์ไม้โปรง เช่น โปรงแดง และโปรงขาว  
  • วงศ์ไม้แสม เช่น แสมทะเล แสมขาว แสมดำ และสำมะง่า  
  • วงศ์ไม้ตะบูน เช่น ตะบูนขาว ตะบูนดำ และตะบัน  
  • วงศ์ไม้ฝาด เช่น ฝาดแดง และฝาดขาว  
  • วงศ์เหงือกปลาหมอ เช่น เหงือกปลาหมอดอกสีฟ้าหรือนางเกรง และเหงือกปลาหมอดอกสีขาว  
  • พวกมีชื่อน้ำๆ เช่น มะกอกน้ำ ชมพู่น้ำ นาวน้ำ กุ่มน้ำ จิกน้ำ ขะเจาะน้ำ การเวกน้ำ
  • นอกเหนือจากนั้นก็ลองฟังๆ จากผู้รู้ เช่น กระโดน กระเบา ไทร โพธิ์ มะตูม ตานหก


ตอน ผมไปเที่ยวน้ำตกที่คนสร้างขึ้นมา  พบว่าต้นไม้ตามรายชื่อด้านบนหลายชนิดมาโดนน้ำท่วมในตอนที่ต้นไม้เขาโตแล้ว โดยจะโดนแช่น้ำทั้งปีก็สามารถอยู่ได้โดยไม่มีปัญหา โดยเฉพาะยางนาและตะเคียน แต่ทั้งนี้ก็คงต้องมาทดลองปลูกกันดูนะครับ

ส่วนในต่างประเทศการยก ร่องก็พบว่าทำกันในพื้นที่ลุ่มต่ำ ในกลุ่มเพอร์มาคัลเจอร์จะเรียกว่า Chinampas ซึ่งเป็นชื่อวิธีการเพาะปลูกของชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกา



“And when we saw all those cities and villages built in the water and other great towns on dry land, and that straight and level causeway leading to Tenochtitlan, we were amazed…Indeed, some of our soldiers asked if it was not all a dream”

Spanish chronicler, Bernal Diaz del Castillo

ข้อ ความข้างบนเป็นของนักสำรวจชาวสเปนเมื่อครั้งที่ทีมสำรวจค้นพบเมือง Tenochtitlan ในประเทศเม๊กซิโกในปี ค.ศ. 1325  เมืองของชาวอินเดียนแดง Aztec ทั้งเมืองถูกสร้างขึ้นมากลางน้ำ เสมอหนึ่งเป็นสวนลอยน้ำ (จริงๆ แล้วไม่ได้ลอย) ที่อุดมสมบูรณ์  สามารถผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งเมืองขนาด 200,000 คนได้โดยไม่ต้องดูแลพืชผลมาก





Chinampas เป็นเกาะกลางน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นมีขนาดประมาณ 30 × 2.5 m หรือยาวกว่า  ชาว Aztec จะปักเสารอบๆ ขอบของเกาะ และใช้ฝาขัดแตะ (คล้ายผนังขัดแตะไม้ไผ่ของเรา แต่เขาจะใช้ไม้ willow ซึ่งจะไม่ผุง่ายเวลาแช่น้ำเหมือนไม้ไผ่)  บริเวณที่ถูกกันมาให้เป็นเกาะจะค่อยถูกถมด้วยโคลน ตะกอนใต้น้ำ เศษไม้/ใบไม้ที่เน่าเปื่อย เป็นชั้นๆ ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งดินสูงจนกลายเป็นเกาะไป  ชาว Aztec ก็จะปลูกต้นไม้ที่ทนน้ำไว้ตลอดริมเกาะเพื่อช่วยป้องกันตลิ่งพัง  ระหว่างเกาะจะเป็นร่องน้ำขนาดใหญ่พอที่จะใช้เรือแคนูเป็นพาหนะในการขนพืชผล ที่เก็บเกี่ยว (พวกเขาจะพยายามไม่ขึ้นไปย่ำบนเกาะ จะพยายามทำงานจากบนเรือ เพื่อให้ดินไม่แน่น)   การปลูกพืชที่หลากหลายบนแต่ละเกาะ Chinampas น้ำใต้ดินจากร่องรอบๆ เกาะจะซึมเข้าไปเลี้ยงพืชที่ปลูกโดยไม่ต้องรดน้ำ ในร่องน้ำจะปลูกพืขน้ำเพื่อให้เน่าเปื่อย และสามารถโกยขึ้นไปเป็นปุ๋ยบนเกาะได้  การขยันตักเลน/เศษพืชในร่องไปราดบนเกาะ ทำให้มีปุ๋ยไปเติมบนเกาะ Chinampas อย่างต่อเนื่อง  มีการกล่าวถึงว่าชาว Aztec สามารถเพาะปลูกได้ถึง 6-7 รอบใน 1 ปีด้วยระบบนี้



ร่อง น้ำของระบบ Chinampas ในกรุง Tenochtitlan  เชื่อมต่อกันเป็นคูคลอง และถูกใช้เป็นระบบขนส่งทางน้ำด้วย  การมาถึงของชาวตะวันตก ได้ทำลายระบบนี้ลงในเวลาอันสั้น  ด้วยการพังทำลายฝาย คูคลอง  เปลี่ยนการเพาะปลูกแบบผสมผสานมาเป็นเชิงเดี่ยว ถมคูคลองเพื่อเอาที่ดินมาใช้งานให้มากที่สุด  ประเทศเม๊กซิโกจึงกลายมาเป็นประเทศยากจนประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกา (แต่รายได้ต่อหัวยังสูงกว่าประเทศไทยประมาณ 30-40%)  ปัจจุบัน Chinampas ที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด จึงกลายเป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยวเท่านั้น

เรา จะเห็นว่าเทคนิคการเพาะปลูกแบบ Chinampas ก็ไม่ได้แตกต่างจากการยกร่องสวนที่นิยมทำกันในบางพื้นที่ของประเทศไทย และเวียดนาม เพียงแต่จะมีการใช้ไม้มากันริมตลิ่งไม่ให้ดินพัง และร่องของเขาจะลึกกว่าร่องที่นิยมทำกันในเอเชียเพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจร โดยทางเรือด้วย


ส่วนประเทศไทยภาพร่องสวนแบบในรูปด้านล่างเป็นอะไรที่เราเห็นจนชินตาแล้ว


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น