กำลัง การผลิตอาหารของหมู่บ้านไม่เพียงพอ และไม่มีการจ้างงานในหมู่บ้าน ชาวบ้านบางคนแอบต้มสุราเถื่อนเพื่อหาประทังชีพ ในไม่ช้าจำนวนบ้านที่ต้มเหล้าเถื่อนเพิ่มขึ้นเป็น 35 แห่ง ชาวบ้านบางส่วนต้องเดินเท้ามากกว่าวันละ 10 - 15 กิโลเมตรทุกวันเพื่อไปหางานทำในหมู่บ้านข้างเคียง ด้วยสภาพแวดล้อมที่กันดาร และสิ้นหวังทำให้ชาวบ้านบางคนเริ่มหนีปัญหาด้วยการดื่มสุรา สุดท้ายกลายเป็นคนติดสุราอย่างรุนแรง การโต้เถียงและการลงมือชกต่อยกลายเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อยๆ ในหมู่บ้าน บ้านของ Ana อยู่ใกล้ใจกลางหมู่บ้าน แต่เขาจะพยายามเดินอ้อมเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่านใจกลางหมู่บ้าน เนื่องจากเขาไม่ต้องการเห็นภาพที่น่าสังเวชเหล่านี้ในขณะที่ตัวเขาไม่สามารถ ทำอะไรเพื่อแก้ไขสถานะการณ์ของหมู่บ้านได้เลย
ในปี พ.ศ. 2518 Ana ตัดสินใจที่อุทิศตนเองให้กับงานเพื่อสังคม เขาเชื่อว่างานการกุศลต้องเริ่มต้นจากที่บ้าน เขาประทับใจกับความกล่าวของ Swami Vivekananda ที่ว่า "ผู้คนจะไม่สนใจรับฟังปรัชญาหรือการทำงานเพื่อสังคมด้วยท้องที่ว่างเปล่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากทุกคนยังถูกหลอกหลอนด้วย ปัญหาประจำวันในการหาเลี้ยงปากท้องของตนเอง" Ana พยายามมองหาหนทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เขารำลึกถึงงานทดลองการบริหารจัดการน้ำของ Vilasrao Salumkhe ในอำเภอใกล้เคียง เขาเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการ และค้นพบหาทางในการแก้ไขปัญหา
เขากลับไปที่หมู่บ้านของเขา และบริจาคเงิน 3,000 รูปีในการบูรณะวัดในหมู่บ้าน เขาชักชวนให้ชาวบ้านทำการวางแผนครอบครัว ยกเลิกการเลี้ยงสัตว์แบบปล่อยให้เดินไปทำลายต้นไม้ต่างๆ ยกเลิกการตัดต้นไม้ และให้ทำงานอุทิศให้กับส่วนรวม เขาไปของความช่วยเหลือจากภาครัฐ และเริ่มทำงานควบคุมการก่อสร้างโครงสร้างดักน้ำลงเก็บในดินโดยไม่ได้รับผล ตอบแทนเลย เขาเริ่มทำงานตั้งแต่เช้ายันมืดค่ำ งานแรกที่พวกเขาทำคือการก่อสร้าง percolation tank ซึ่งถูกออกแบบมาไม่ให้เก็บน้ำอยู่ ในปีแรกกำแพงกั้นน้ำของ percolation tank ที่สร้างโดยงบของภาครัฐเกิดรั่ว ทำให้เขาต้องเกณฑ์อาสาสมัครจากในหมู่บ้านมาช่วยกันซ่อมแซมเพื่อให้พนังของ percolation tank ไม่พังลงมา น้ำจะได้มีเวลาซึมลงดินนานขึ้น ในปีเดียวกันบ่อน้ำที่อยู่ต่ำกว่าระดับของ percolation tank จำนวน 7 แห่งที่เคยแห้งขอดเกิดมีน้ำขึ้นมา สร้างความศรัทธาของชาวบ้านต่อแนวทางที่ Ana กำลังทำอยู่เพื่อบริหารจัดการน้ำ

กลุ่ม เยาวชนในหมู่บ้านถูกจัดตั้งขึ้นมา มีการพลักดันความไม่ทัดเทียมกันในสังคม ยกเลิกระบบสินสอด การกีดกันของระบบวรรณะ ยกเลิกสถานที่ต้มสุราเถื่อนโดยเด็ดขาด ยกเลิกการจำหน่ายบุหรี่ เลิกการปลูกพืชที่ใช้น้ำเยอะอย่างอ้อย และหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และทนแล้งแทน มีการจัดตั้งสภาหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหากันเองโดยไม่ต้องไปทำการฟ้องร้อง ต่อตำรวจ หรือศาล
เขาค่อยๆ ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านมาร่วมกันสร้างโครงสร้างดักน้ำทีละแห่งจนสามารถ สร้าง swale ตามแนวระดับ 48 แห่ง ฝายน้ำล้น 5 แห่ง terrace แบบมีกำแพงค้ำยันอีก 16 แห่ง จากความพยายามต่อเนื่องกันหลายปี น้ำฝนค่อยถูกเก็บลงสะสมในพื้นดินจนในที่สุดเพิ่มระดับน้ำใต้ดิน จากที่เคยมีพื้นที่เพาะปลูกเพียง 758-885 ที่สามารถปลูกพืชได้เพียงรอบเดียว กลายเป็นมีพื้นที่เพาะปลูก 3794 ไร่ที่สามารถเพาะปลูกได้ถึงปีละ 2 รอบ
กำลังการผลิตนมในหมู่บ้าน เพิ่มขึ้นจาก 300 ลิตรมาเป็น 4,000 ลิตร มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมาแปรรูปผลิตภัณฑ์นม สร้างรายได้13-15 ล้านรูปีให้กับหมู่บ้าน รายได้ต่อหัวของชาวบ้านเพิ่มขึ้นจาก 225 รูปีมาเป็น 2,500 รูปี


ความ สำเร็จของโครงการไม่ได้มีเพียงทางด้านกายภาพอย่างโครงสร้างดักน้ำลงใต้ดิน หรือการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากมาย เช่น การแต่งงานถูกเปลี่ยนมาเป็นการแต่งงานหมู่ (ครั้งละ 25-30 คู่) เพื่อลดค่าใช้จ่ายทั้งเจ้าภาพ และผู้มาร่วมงาน ชาวบ้านจากคนละชั้นวรรณะอยู่อาศัยร่วมกันเหมือนเป็นญาติพี่น้อง มีการแต่งงานข้ามชั้นวรรณะกันมากขึ้น อาคารเรียนมูลค่ามากกว่า 2.2 ล้านรูปีของโรงเรียนในหมู่บ้านถูกสร้างขึ้นมาจากเงินของคนในหมู่บ้านโดยไม่ ได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกเลย
ในช่วงเวลานั้นยังมีหลายครอบครัวมี ปัญหาหนี้อย่างหนักจากภาวะความแห้งแล้งที่ติดต่อกันยาวนานจนธนาคารจะนำ ที่ดินออกมาขายทอดตลาด ชาวบ้านต่างมารวมตัวกันเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยไม่รับค่าจ้าง (งานอาสาสมัคร) ต่อเนืองกันเป็นเวลา 3 ปี เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนที่ดินกลับมาเป็นของหมู่บ้าน รวมทั้งมีการจัดตั้งองค์กร และสหกรณ์ต่างๆ จำนวนมาก


ใน วันนี้มีน้ำในหมู่บ้าน Ralegan Siddhi เพียงพอสำหรับการเพาะปลูกของทุกครัวเรือน การเกษตรของหมู่บ้านกำลังไปได้ดี แต่คำถามคือความเจริญรุ่งเรืองในตอนนี้จะยั่งยืนในชาวบ้านรุ่นถัดไปหลังจาก Ana ไม่มีชีวิตอยู่แล้วได้หรือไม่ Ana ตอบว่า "ขบวนการในการพัฒนาของหมู่บ้าน Ralegan เพื่อให้เป็นชุมชนในอุดมคติยังถูกดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เมื่อกาลเวลาผ่านไปผู้คนในหมู่บ้านยังคงค้นพบหนทางใหม่ๆ ในการพัฒนา แม้นวิธีการจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่เขาเชือว่าจิตวิญญาณของการพัฒนาได้ถูกปลูกฝังเข้าไปในชาวบ้านส่วนใหญ่ แล้ว"
ยิ่งรับรู้ตัวอย่างแล้วตัวอย่างเล่าจากประเทศ อินเดีย ทำให้เห็นพลังของการร่วมมือทำงานของคนทั้งชุมชน เห็นความสำคัญของการพัฒนาทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมควบคู่กันไป พวกเขาประสบความสำเร็จทั้งๆ ที่ไม่ใช่คนที่คิดค้นเรื่องเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำ แต่แค่การนำเอาความรู้จากคนอื่นไปลงมือทำกับชุมชนให้สำเร็จก็ยากมากแล้ว เราคงยังไม่ต้องหวังเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่มากนักในช่วงนี้
การ หยิบยื่นเพียงเทคโนโลยีในการจัดการน้ำให้กับชาวบ้านอย่างเดียวแทบจะไม่มีผล เลยในทางปฏิบัติ ตราบใดที่ยังไม่ได้รับความร่วมมือกันของคนทั้งชุมชน ผมจึงเริ่มไม่แปลกใจแล้วล่ะ ที่ชาวบ้านรู้จักหญ้าแฝก แต่ไม่มีใครคิดปลูกหญ้าแฝก คำถามตัวใหญ่ๆ คือทำอย่างไรที่จะให้พวกเขาเห็นความสำคัญของชุมชนมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง ?
ทั้ง 2 ตัวอย่างประสบความสำเร็จในช่วงเวลาอันสั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเสียสละ และทุ่มเทของผู้นำชุมชน ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งมีส่วนอย่างมากในการชักจูงชาวบ้านให้มาทำงานพัฒนา แต่เมื่อกลับมาย้อนดูระบบการเลือกตั้งผู้ใหญ่ในแถบบริเวณใกล้ๆ สวนฯ แล้วใจหาย ผู้ใหญ่บ้านที่มาอาสามาลงสมัครมักจะแพ้ผู้สมัครที่ใช้เงินซื้อเสียงทุกหมู่ บ้านแบบร้อยทั้งร้อย ถ้าชาวบ้านยังคงเป็นแบบนี้ก็คงไม่ง่ายในการที่จะพัฒนากันต่อไป



ปล. ต้นทุนในการทำให้ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านแถบนี้จะประมาณ 1.5 - 2.5 แสนบาท ส่วนตำแหน่งของกำนัน และ นายก อบต. จะสูงกว่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น