4 มีนาคม 2557

โกฐจุฬา - โกฐจุฬาลัมพา - ผักชีลาว - รากสามสิบ - ผักชีล้อม

เจ้าต้นโกฐจุฬาของ ผมกำลังออกดอกเหมือนที่สวนของอาจารย์ยุทธเมืองสุรินทร์ และอาจารย์ตั้มที่ราชบุรี เนื่องจากอาจารย์ยุทธขู่ว่าจะซวยเลยต้องถ่ายรูปต้นนี้มาให้ดูเป็นหลักฐาน เพื่อล้างอาถรรพ์คำพูดของอาจารย์   ต้นนี้ที่สวนขี้คร้านปลูกโดยไม่รดน้ำ แต่ออกดอกเป็นปีที่ 2 แล้ว แต่เมล็ดจากปีที่แล้วไม่ได้งอกใต้ต้นเลย  สงสัยจะโดนแมลงกินไปหมด ผมเองก็เพิ่งทราบว่าขยายพันธุ์ด้วยการปักชำได้ไม่ยาก  เลยคิดว่าว่างๆ จะลองทำดู
โกฐจุฬา

เจ้า ต้น"โกฐจุฬา" นี้ทำผมหน้าแตกตอนไปทริปไปสวนลุงนิลเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา  เนื่องจากผมเข้าใจผิดว่า "โกฐจุฬา" และ "โกฐจุฬาลัมพา" เหมือนกัน  แต่ลักษณะของต้น "โกฐจุฬาลัมพา" ที่ผมไปเจอและลองกินที่โครงการแก้มลิงหนองใหญ่กลับมีใบอีกลักษณะหนึ่ง  ผมคิดเองว่าสงสัยใบอ่อน และใบแก่จะมีลักษณะไม่เหมือนกัน  แต่ก็เอะใจนิดๆ ว่าน่าจะเป็นพืชคนละชนิดกัน   พออาจารย์ตั้มเอารูปมาถามชื่อเลยได้โอกาสค้นคว้าจนพบว่าตัวเองเข้าใจผิด อย่างแรง  เนื่องจาก "โกฐจุฬา" และ "โกฐจุฬาลัมพา" เป็นพืชคนละวงศ์กันด้วยซ้ำไป   แถมแฟนๆ อาจารย์ตั้มยังมาถามเรื่องต้นรากสามสิบอีก  เลยถือโอกาสรวบรวมข้อมูลลงในกระทู้อาจารย์ตั้ม  และขออนุญาตนำมาลงในกระทู้นี้อีกรอบ  โดยภาพด้านล่างทั้งหมดมาจากอินเทอร์เน็ตหลายๆ แหล่งเนื่องจากที่สวนขี้คร้านมีแค่ต้น "โกฐจุฬา" ชนิดเดียวเท่านั้น  ต้นอื่นๆ ยังไม่มีในครอบครอง  จึงขอยกเครดิตให้เจ้าของภาพที่แชร์รูปบนเน็ทให้ค้นคว้า

เรากำลังจะพูดถึงพืช 9 ชนิด ทั้งที่มีชื่อคล้ายต้น "โกฐจุฬา" และมีลักษณะคล้ายตามรายละเอียดในตารางข้างล่าง


โกฐจุฬา  ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupatorium capillifolium วงศ์  Asteraceae ชื่อภาษาอังกฤษ Dog fennel มีลักษณะคล้ายต้นผักชีลาว  ลำต้นมีสีเขียวขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวสดออกเรียงสลับกันคล้ายพู่ ดอกมีขนาดเล็กสีขาวออกเป็นช่อ
โกฐจุฬา โกฐจุฬา

ผักชีลาว  ชื่อวิทยาศาสตร์ Anethum graveolens วงศ์  Apiaceae ชื่อภาษาอังกฤษ Dill มีลำต้นมีสีเขียวเข้มขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนกมีสีเขียวสดออกเรียงสลับกัน (ต้นโกฐจุฬาจะเป็นใบเดี่ยว  ถ้าสังเกตุใกล้ๆ จะเห็นความแตกต่างชัดมาก) ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกมีลักษณะคล้ายกับซี่ร่ม


ผักชีล้อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Foeniculum vulgare วงศ์  Apiaceae เช่นเดียวกับผักชีลาว ชื่อภาษาอังกฤษ Fennel (ต้นโกฐจุฬามีชื่อภาษาอังกฤษว่า Dog Fennel) ใบคล้ายขนนก รสชาติหวานหอม มีน้ำมันหอมที่สำคัญ คือ anethole 50-80% ส่วนที่รับประทานได้ มีทั้ง “ผล” หรือที่เราเรียกว่า “เมล็ด” และส่วนของลำต้น และใบ  ดอกมีสีเหลืองลักษณะคล้ายกับดอกของผักชีลาว
ผักชีล้อม ผักชีล้อม

รากสามสิบ หรือ สามร้อยราก สาวร้อยผัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Asparagus racemosus วงศ์ Asparagaceae นั้นแต่มีลักษณะใบคล้ายกับโกฐขจุฬา แต่ไม่เหมือนกันดังรูปด้านล่าง และจะเป็นไม้เลื้อย  ที่สำคัญคือตามข้อเถามีหนามแหลม มีเหง้าและรากใต้ดินออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวยออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย
รากสามสิบ รากสามสิบ

โกฐจุฬาลัมพา ก็เป็นชื่อที่ใช้เรียกไม้ในสกุล Artemisia วงศ์ Asteraceae มีอยู่สามชนิดตามชื่อวิทยาศาสตร์คือ

Artemisia annua ชื่อภาษาอังกฤษ sweet wormwood, sweet annie, sweet sagewort หรือ annual wormwood  ชื่อภาษาจีน ชิงฮาว, แชเฮา   ต้นนี้น่าจะเป็นต้นที่คุณ jeenpat พูดถึงว่าเอาไว้ทำเครื่องยาสมุนไพร
โกฐจุฬาลัมพา โกฐจุฬาลัมพา

Artemisia pallens ชื่อภาษาอังกฤษ Davanam หรือ Davana
โกฐจุฬาลัมพา

Artemisia vulgaris  ชื่อภาษาอังกฤษ Mugwort ต้นที่ 3 นี้เป็นแบบที่โครงการแก้มลิงหนองใหญ่เขาเอามาให้รับประทานเป็นผักแก้มกับ น้ำพริก  อร่อยดีครับ  ทางใต้ปลูกกันเยอะ ขยายพันธุ์ด้วยการชำกิ่งได้ง่าย  ประกาศ...พี่ๆ เพื่อนๆ ที่แอบปล้นมาจากทริปชุมพรแล้วปักชำรอด  กรุณาบอกพิกัดให้ไปปล้นด้วย
โกฐจุฬาลัมพา โกฐจุฬาลัมพา

อีกตัวที่น่าสนใจไม่น้อยคือ "จิงจูฉ่าย" ชื่อวิทยาศาสตร์ Artemisia lactiflora อยู่ในวงศ์ Asteraceae เช่นกัน ชื่อภาษาอังกฤษ White mugwort บางท่านแปลเป็นภาษาไทยว่าโกฐจุฬาลัมพาขาว
จิงจูฉ่าย จิงจูฉ่าย

สุดท้ายคือโกฐจุฬาลัมพาญี่ปุ่น ชื่อวิทยาศาสตร์  Artemisia Princeceps (โกฐจุฬาลัมพาแบบของญี่ปุ่น เรียกกันว่า Yomogi)
โกฐจุฬาลัมพาญี่ปุ่น

สนใจติดตามชื่อวิทยาศาสตร์ของโกฐชนิดอื่นๆ ได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/09/blog-post.html

สนใจเรื่องพืชที่น่าสับสนแบบนี้อีกติดตามได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/p/plants.html

สนใจเรื่องราวต่างๆ ในสวนขี้คร้านติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

6 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ กำลังคิดจะหาต้นโกฏจุฬามาปลูกเป็นไม้ประดับ เลยได้เจอข้อมูลของต้นอื่นๆด้วย น่าสนใจมาก

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับข้อมุลดีๆค่ะ ต้นโกฐจุฬาสวยดีอยากปลุกค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณค่ะ มีภาพประกอบให้ดูแบบนี้ทำให้ได้เห็นข้อแตกต่างชัดเจนขึ้น ...ที่ผ่านมาสับสนมากเถียงกันไม่จบค่ะ😅

    ตอบลบ
  4. เพิ่งเอามากินกับน้ำพริก หน้าเฟสเด้งเรื่องโกฐจุฬาพอดี

    ตอบลบ
  5. มีต้นหนึ่งค่ะ เข้ามาหาขัอมูลเพื่อที่จะขยายพันธ์ุเขา ปลูกในกระถาง ชอบที่เขาใบละเอียดสวยเหมือนผักชี ตอนแรกก็คิดว่าเป็นผักชีนั่นแหละค่ะ แต่ต้นสูงเกือบเมตรนะคะ ลำต้นไม่ใหญ่ ได้กิ่งมาปักๆไป กลายเป็นว่าติดแต่พอจะขยายก็คิดว่าอยากให้เป็นเรื่องเป็นราวหน่อย อยากรู้ว่าเขาจะยายจำนวนมากๆ โดยวธีไหนได้บ้าง อายุนานเท่าไหร่ การบำรุงรักษา อะไรประมาณนี้น่ะค่ะ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณสำหรับข้อมูลและภาพประกอบ ที่บ้านปลูกต้นโกฐจุฬามาได้6ปีแล้ว ขยายพันธุ์โดยการปักชําปลูกเป็นไม้ประดับสวยงามมากค่ะ

    ตอบลบ