14 กุมภาพันธ์ 2557

นำการผูกประกบ 3 (tripod) มาใช้งาน

วันนี้ไป กางสแลนคลุมต้นไม้ต้อนรับการสิ้นสุดของหน้าฝน  ขอแชร์เทคนิคทำที่บังแดดแบบขี้คร้าน  ด้วยความที่สวนฯ มีไม้รวกเกินใช้  ผมเลยไม่ต้องห่วงเรื่องความเปลือง  ผมเลยทำโครงแบบ 3 ขา หรือที่เรียกกันว่า tripod เนื่องจากขี้เกียจขุดหลุมฝังเสา  เริ่มต้นด้วยการตัดไม้ยาวตามที่เราต้องการ 3 ชิ้น แล้วมาวางโดยให้ทางด้านฐานเท่ากัน  เราจะไปผูกเชื่อกที่ปลายอีกด้านหนึ่งของไม้


ผูกเงื่อนคร่าวๆ ตามขั้นตอนข้างล่าง  ทำผิดบ้างนิดๆ หน่อยๆ ก็ได้  เอาให้แน่นเป็นพอ


คลี่ฐานออกไปเป็นสามเหลี่ยมตามรูปด้านล่าง


เอาสแลนมาผูกกับเสา


เมื่อ โอบรอบแล้วก็ผูกเชือกให้สแลนติดกับเสาเป็นอันเสร็จพิธี  ถ้ามีความขยันหน่อยก็ขุดหลุมฝังฐานลงในดิน  แต่ถ้าไม่เจอลมแรงๆ ปกติก็จะตั้งอยู่ได้ไม่ต้องฝังดิน


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

13 กุมภาพันธ์ 2557

การขุดสระในพื้นที่ลาด และสระว่ายน้ำธรรมชาติ

วันนี้ขอออกนอกเรื่องนิดหน่อยไป  ขอพูดเรื่องการขุดสระน้ำ (ที่ผมก็ยังไม่เห็นด้วยสำหรับการอนุรักษ์น้ำในพื้นที่แล้งจัด) เนื่องจากมีคนถามเกี่ยวกับตำแหน่งขุดสระน้ำในพื้นที่ลาดเทซึ่งจะต่างกับ พื้นที่ราบลุ่ม  ในพื้นที่ราบลุ่มไม่ค่อยมีความแตกต่างของระดับ  เราจะขุดตรงไหนก็อาจจะไม่แตกต่างมากนักเนื่องจากดินอยู่ในระดับพอๆ กัน  ปัญหาเล็กน้อยก็คือเราอาจะต้องปรับระดับที่ดินบ้างเพื่อให้น้ำไหลมาลงสระ น้ำ  แต่ปกติในที่ราบลุ่มจะมีสัดส่วนของดินที่มีความละเอียด (ดินเหนียว) มากกว่าที่ดอนจึงมีโอกาสที่จะเก็บน้ำได้มากกว่า  รวมทั้งการอยู่ในพื้นที่ต่ำจึงมีระดับน้ำใต้ดินที่สูงอยู่แล้วจะได้เปรียบ เรื่องอัตราการซึมของน้ำลงใต้ดินที่น้อยกว่า

สำหรับคนที่มีที่ดินบน ที่ลาดเทจะได้เปรียบเรื่องทิศทางการไหลของน้ำที่ชัดเจน   หากสระน้ำที่จะขุดมีขนาดใหญ่มากก็จะต้องการพื้นที่รับน้ำมากอาจจะต้องเลือก พื้นที่ที่ต่ำที่สุดในดิน  แต่ก็จะต้องใช้พลังงานในการสูบน้ำขึ้นมาใช้งานมากกว่าการขุดสระไว้บนที่สูง ที่สุดในที่ดินซึ่งเราสามารถปล่อยน้ำให้ไหลลงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้โดยไม่ ใช้ปั๊ม   แต่การขุดสระไว้บนที่สูงสุดของที่ดินเราก็ต้องมั่นใจว่ามีที่ดินที่สูงขึ้น ไปกว่าตำแหน่งของสระที่ใหญ่พอที่จะเป็นพื้นที่รับน้ำให้ไหลมาลงสระของเรา  ไม่งั้นปริมาณน้ำลงสระจะมีไม่พอ

แต่หากสระที่เราจะขุดมีขนาดไม่ใหญ่ มาก และ/หรือที่ดินของเรามีขนาดใหญ่ (ขออภัยที่โจทย์ข้อนี้อาจจะเกี่ยวข้องเฉพาะสำหรับคนที่มีที่ดินขนาดใหญ่กว่า 10 ไร่ และอยู่ในพื้นที่ลาดเอียง) ปัญหาเรื่องพื้นที่รับน้ำอาจจะไม่ใช่ประเด็นใหญ่ ประเด็นจะอยู่ที่ปริมาณดินที่เราต้องเคลื่อนย้าย  ยิ่งเราเคลื่อนย้ายดินมากก็จะแปลงเป็นเงินค่าขุดที่มากขึ้นตามตัว  ในกรณีนี้ผู้รู้จึงแนะนำให้ขุดที่ตำแหน่ง key line คือบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงความลาดชันของที่ดินจากชันมากมาเป็นชันน้อยลง  การขุดที่ตำแหน่งนี้จะเป็นจุดที่การเคลื่อนย้ายดินจะทำน้อยที่สุดสำหรับ ขนาดสระที่ใหญ่เท่ากัน  วิธีการขุดคือการตักเอาดินด้านที่สูงกว่ามาโป๊ะเป็นเนินในด้านที่ต่ำกว่า  น้ำที่ปกติไหลจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำก็จะถูกดักลงสระของเรา



หาก เราเลือกตำแหน่งขุดที่สูงขึ้นไปทางด้านที่ชันมากกว่า  ที่ระดับความลึกที่เท่ากันสระที่ขุดได้จะเก็บน้ำได้น้อยกว่าและเนินดินด้าน ที่ต่ำกว่าจะมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากจะต่ำว่าระดับดินเดิมเยอะ จึงจะต้องทำเนินดินขนาดใหญ่ขึ้น (เปลืองเงินมากขึ้น)   ในขณะที่การเลือกขุดสระในต่ำแหน่งที่ต่ำลงไป  ที่ระดับความลึกที่เท่ากันสระจะกินบริเวณที่จะโดนน้ำท่วมเยอะกว่า  ทำให้เราสูญเสียพื้นที่ปลูกต้นไม้ไปเยอะกว่า



นอก จากนั้นผู้รู้ยังบอกอีกว่าในลักษณะที่ดินแบบนี้เวลามีไฟป่า  อากาศร้อนจะไหลจากล่างขึ้นบน  ตำแหน่งสร้างบ้านที่เหมาะสมคือ อยู่ด้านที่สูงกว่าสระน้ำ  เวลาไฟไหม้จากด้านที่ต่ำว่าเปลวไฟจะได้โดนน้ำในสระกั้นไว้ไม่มาถึงบ้าน  ส่วนไฟไหม้ในป่าด้านที่สูงกว่าตำแหน่งบ้านก็จะไหม้ขึ้นไปด้านบนมากกว่าจะ ลามมาทางบ้าน



ด้วย เหตุนี้กระมังผู้รู้จึงไม่แนะนำให้สร้างบ้านบนเนินสูงสุดในที่ดินเพราะจะโดน ลมแรงมากเนื่องจากไม่มีเนินที่สูงกว่าบังลมให้  ลักษณะที่ดินที่เหมาะสมจึงมีความลาดบ้าง แต่ไม่ควรติดชายเขามากนัก (ไม่แนะนำให้สร้างบ้านในบริเวณที่ชันกว่า 20 องศา) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดินโคลนถล่มตอนฝนตกเยอะๆ  (ในรูปผมวาดให้ลาดเอียงเว่อร์ๆ เพื่อให้เห็นภาพ  ในทางปฏิบัติไม่ควรสร้างบ้านบนที่ดินที่ชันเกิน 20 องศา)
เนื่องจากเจ้าขอที่ดินเลือกขุดสระในบริเวณแนว ร่องน้ำเดิม  ซึ่งมีข้อดีคือไม่ต้องปรับระดับที่ดินมาก น้ำฝนที่ตกในพื้นที่รอบๆ ก็จะไหลมาลงสระน้ำเอง  และเราก็รู้ทิศทางการไหลของน้ำ แต่เพื่อให้สมบูรณ์แบบมากขึ้นขอแนะนำองค์ประกอบอีก 2 ส่วนคือ

1. บ่อดักตะกอน (silk catchment basin) ซึ่งจะต่อท่อน้ล้นเหมือนในรูปด้านล่าง หรือทำเป็นแนวให้น้ำล้นข้ามมาเลยก็ได้  วัตถุประสงค์ของบ่อดักตะกอนจะเป็นเหมือนชื่อคือช่วยยืดอายุของสระน้ำ ไม่ให้ตื้นเขินเร็วจนเกินไปด้วยการชะลอน้ำที่ไหลมาเร็วในช่วงฝนตกหนัก  ทำให้ตะกอนบางส่วนตกตะกอนในบ่อดักตะกอนทำให้ชะลอการตื้นเขินของสระน้ำ  นานๆ ไปบ่อดักตะกอนก็จะตื้นเขินขึ้น เราค่อยมาขุดลอกบ่อดักตะกอนซึ่งตื้นในระดับที่ใช้แรงงานคนในการขุดได้  ส่วนการขุดลอกสระจะเป็นเรื่องใหญ่กว่าเนื่องจากต้องขุดลงไปลึกอาจจะต้องใช้ รถตักในการขุดลอก

2. ท่อน้ำล้น หรือทางน้ำล้น  ซึ่งควรจะติดตั้งที่ระดับต่ำกว่าขอบสระอย่างน้อย 50 ซม. เพื่อให้น้ำที่มากเกินไปในสระ (ในช่วงฝนตกมาก) สามารถล้นออกไปยังแนวร่องน้ำเดิมได้โดยไม่เซาะทำลายคันดิน  ส่วนจะทำเป็นท่อน้ำล้น หรือทางน้ำล้นขึ้นอยู่กับการออกแบบของเจ้าของที่ดินครับ



นอก จากนั้นประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ พยายามให้สระลึกเพียงด้านเดียว (ควรจะเป็นทางด้านคันดินตามรูป)  พยายามอย่าให้สระสมมาตรเกินไป  เนื่องจากการทำแบบนี้จะทำให้เกิดการไหลเวียนของน้ำได้ดีกว่า  โดยน้ำในด้านที่ตื้นกว่าจะร้อนกว่า น้ำในด้านที่ลึกกว่าจึงเกิดการไหลเวียนของน้ำเนื่องจากความแตกต่างของ อุณหภูมิ และความที่สระไม่สมมาตร   ในระหว่างที่เกิดการไหลเวียนน้ำที่อยู่ด้านล่างก็จะขึ้นมาด้านบนบ้างทำให้ สัมผัสกับอากาศเกิดการละลายตัวของอ๊อกซิเจนลงไปในน้ำมากกว่าน้ำที่ไม่ไหล เวียนเลย   หากต้องการให้มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากขึ้นไปอีกให้นำเอาหินก้อนใหญ่ๆ ไปวางทางด้านที่ตื้นของสระให้มากพอ น้ำจะอุ่นมากกว่าสระที่ไม่มีหินเลย



ส่วน จะแต่งสระให้เป็นต่างระดับหรือไม่นั้นไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญที่สุด  แต่ถ้าเพิ่มส่วนที่ลึกมีน้ำลึกไม่เกิน 1 เมตรให้เยอะหน่อยก็จะมีพื้นที่ปลูกไม้น้ำได้มากขึ้น  และไปชดเชยความจุของสระ (ปริมาตรน้ำ) ด้วยการขุดส่วนที่ลึกให้ลึกมากขึ้น  มีผู้รู้ให้แนวทางไว้ว่าให้แบ่งพื้นที่เป็นน้ำตื้น 30% น้ำลึกปานกลาง 30% และน้ำลึกมาก 40% คล้ายๆ กับรูปด้านล่าง


ส่วนเรื่อง natural swimming pool นั้นอย่าเพิ่งคิดไกล  เราพยายามเก็บน้ำในสระให้ได้ก่อน  เรื่องอื่นค่อยๆ มาทำเพิ่มทีหลัง  "เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง" อย่างครับ  (อย่าทำทีละพัน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม)  ถ้าคิดจะให้เด็กเล็กๆ ลงไปว่ายน้ำอย่างปลอดภัยในภายหลังก็พยายามอย่าเลี้ยงปลาตัวโต หรือมีครีบแหลมคม เช่น  ไม่ควรเลี้ยง ปลาจาระเม็ดน้ำจืด (หรือ ปลาคู้แดง ปลาเปคู) ตามอาจารย์ยุทธ (รายนั้นเป็นความสามารถเฉพาะตัวของท่านอาจารย์ครับ เพราะอย่างไรก็เป็นครู)  หรือปลาหมอ ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก เป็นต้น ถ้าจะเลี้ยงปลาไว้กินลูกน้ำ  เอาปลาเล็กๆ และทนๆ เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอดแดง ไปก่อนครับ  ส่วนการเลี้ยงในธรรมชาติต้องทำใจเรื่องมีลูกอ๊อดมาวางไข่ และมีคางคง/นก/งู ลงมากินปลาในสระนะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่งงว่าพี่ลักษณ์พูดเรื่องอะไรเกี่ยวกับ swimming ลองดู VDO ข้างล่างครับ


How To Make a DIY Natural Swimming Pool

Natural Swimming Pools BBC Inside Out


 

Natural Pools - Natural Pool selfbuild



DIY Natural Swimming Pools

Natural Swimming Pool Pond - Typical - Total Habitat

Natural swimming pools- Swimming with the lotus



ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

12 กุมภาพันธ์ 2557

พ่อมดแห่งโลกทุนนิยม

ในโลกมายาที่เรียกว่า "ทุนนิยม" มีอาวุธที่เรียกว่่า "เงิน" เป็นอาวุธพื้นฐาน มีเครื่องทุ่นแรงหลักที่เรียกว่า "เครดิท" มีพ่อมดตนหนึ่งเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้อย่างดีเยี่ยม  พ่อมดมีความเข้าใจอย่างดีว่าในโลกมายาจะแตกต่างกับโลกของจริงอย่างสิ้นเชิง ในโลกความเป็นจริงมนุษย์อาจจะสะสมอาหารหรือวัตถุสิ่งของได้บ้าง แต่ด้วยกฎธรรมชาติวัตถุต่างๆ ย่อมมีการเสื่อม  ไม่ว่าเทคโนโลยีการถนอมอาหารจะดีแค่ไหน สุดท้ายแล้วอาหารย่อมมีวันหมดอายุ   ทรัพย์สมบัติย่อมมีการเสื่อมไปตามกาลเวลา  แต่มนุษย์จะสามารถสะสมทรัพย์สินในโลกมายาได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุ  มนุษย์จึงสามารถสะสมทรัพย์สินในโลกมายาโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องความเสื่อม  ดังนั้นจึงสามารถตอบสนองความโลภได้ไม่สิ้นสุด

คนที่มีความสามารถมากกว่าย่อมสามารถหาทรัพย์สินในโลกมายาได้มากกว่า  หากบริหารทรัพย์สินในโลกมายาเก่งจะพบว่าทรัพย์สินในโลกมายายังสามารถเพิ่มพูนทวีได้โดยที่เราไม่ต้องเอาของจากโลกความจริงไปแลก  หรือต้องทำงานแลกทรัพย์สินในโลกมายา   ดังนั้นคนที่มีทรัพย์สินในโลกมายาเยอะ ผนวกกับความรู้จะยิ่งสามารถได้ทรัพย์สินในโลกมายาได้มากขึ้นกว่าคนที่มีทรัพย์สินน้อย

ผลพวงจากการเข้าไปสัมผัส และใช้ชีวิตในโลกมายาอย่างยาวนานของมนุษย์ทำให้ช่องว่างระหว่างชนชั้นยิ่งสูงมากขึ้นด้วยกลไกแห่งเงินตรา  คนที่ออมเยอะยิ่งรวยมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความเร็วที่มากกว่าคนที่ออมน้อย   ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างความสมดุลย์ให้กับโลกมนุษย์  พ่อมดจึงค้นหาหนทางดูด"เงิน"จากคนที่รวยกว่า และสร้างงานให้กับคนจน (ในโลกมีประชากรเกือบ 7 พันล้านคน มีคนจนสุดๆ ถึงประมาณ 3 พันล้านคน") พ่อมดได้พัฒนาเวทย์มนต์ขึ้นมา  และบันทึกเป็นมหาคัมภีร์เล่มหนึ่ง  เป็นเวทย์มนต์ที่จะทำให้คนอยากบริโภคมากขึ้นกว่าความจำเป็นพื้นฐาน  เวทย์มนต์ทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกอยากได้ในสิ่งที่เขาไม่เคยอยาก   เวทย์มนต์ของพ่อมดสามารถทำให้บางบริษัทขายกาแฟที่มีต้นทุนกิโลกรัมละร้อยกว่าบาทในราคาแก้วละร้อย กว่าบาทได้ (ทั้งๆที่ต้นทุนเมล็ดกาแฟในกาแฟ 1 แก้วมีมูลค่าไม่ถึง 10 บาท) 

ในคัมภีร์เวอร์ชัน 1.0 เวทย์มนต์ทำให้คนรู้สึกอยากได้คุณค่าของสินค้า/บริการ ที่ถูกตีออกมาเป็นมูลค่า  โดยราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้าหรือบริการ  ในคัมภีร์เวอร์ชัน 2.0 เขาเพิ่มมิติของอารมย์ทำให้ผู้ซื้อรู้สึกแตกต่างเวลาใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆ  และในคัมภีร์เวอร์ชันล่าสุด 3.0 เขาได้เพิ่มมิติของจิตวิญญาณเข้าไปในสินค้าทำให้ผู้ซื้อรู้สึกดีที่เป็นผู้ซื้อสินค้า/บริการ เสมอหนึ่งว่าผู้ซื้อเป็นผู้สร้างความแตกต่างจากการที่ได้ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ


ในแต่ละเวอร์ชันของคัมภีร์มีความพยายามในการตีคุณค่าออกมาเป็นมูลค่าหรือราคาเสมอ  โดยยึดหลักว่ายิ่งขายของได้แพงเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น



สิ่งที่พ่อมดอาจจะมองข้ามไปคือเวทย์มนต์ของเขามีผลกับคนจนเท่าๆ กับคนรวย  คนจนที่มีเงินไม่พอยาไส้ก็อยากพกมือถือ อยากมีรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรกเหมือนคนอื่นๆ เขา เครื่องมืออย่าง "เครดิท" ทำให้คนที่มีรายได้น้อยสามารถซื้อได้มากกว่ากำลังตนเพื่อตอบสนองความอยากจากเวทย์มนต์  โดยการนำเงินในอนาคตมาใช้วันนี้ และเมื่อใช้เกินกำลังมากไปเครื่องมือตัวเดียวกันก็กลายเป็นเครื่องบดขยี้ให้คนเหล่านั้นยากจนยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณด้วยสิ่งที่เรียกว่า "ดอกเบี้ย"  เวทย์มนต์ของเขาทำให้ผู้คนมากมายกลายเป็นหนี้บัตรเครดิทชนิดที่ไม่มีปัญญาจ่าย  รวมทั้งลูกสาวแท้ๆ ของพ่อมดเองก็เป็นหนี้บัตรเครดิตจนต้องมาให้พ่อล้างหนี้บัตรเครดิทถึง 3 ครั้ง 3 คราวแล้ว  แต่ผู้คนอีกจำนวนมากไม่ได้มีพ่อที่รวยเหมือนพ่อมด บางคนหลงทางพยายามหลบจากหนี้จาก "เครดิท" ในระบบ มาเป็นหนี้นอกระบบ แต่มันกลายเป็นเครื่องจักรที่รุนแรงมากขึ้น ถูกมาเฟียตามหนี้ทำร้าย หรือบังคับให้ทำธุรกิจผิดกฎหมาย หลายคนเสียชีวิตไปด้วยฤทธิ์ของเวทย์มนต์   เวทย์มนต์ของพ่อมดหาได้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนจนมีงานทำ 100% อย่างที่เขาคิดไม่ มันกลับทำให้คนจนที่ไม่รู้จักประมาณตนหลายๆคนยิ่งจนมากขึ้นไปอีก

อีกฝากหนึ่งของโลกมีพระราชาพัฒนาเวทย์มนต์ที่เรียกว่า "พอเพียง" ขึ้น แต่ดูเหมือนเวทย์มนต์นี้จะไม่ได้ขลังเท่ากับเวทย์มนต์ของพ่อมดที่กระตุ้นที่ความอยากของมนุษย์  ในขณะที่เวทย์มนต์ของพระราชากำลังบอกให้เรารู้จัก "พอ" เสียบ้าง ลดความอยากลงเสียบ้าง อย่าใช้จ่ายจนเกินกำลังของตนเอง และให้หันกลับมาใช้ชีวิตในโลกความจริงมากกว่าโลกมายา พระราชาร่ายเวทย์มาต่อเนื่องหลายสิบปีแต่ดูเหมือนผู้คนที่ทำตามจะมีน้อยมากเมื่อเทียบจำนวนประชาชนทั้งประเทศ แม้นแต่หลายๆ คนที่เอ่ยปากว่า"เรารักพระราชา" ก็หาได้เลือกเดินตามเส้นทางของพระราชาไม่

ผมเองไม่รู้ว่าบทสรุปของ "คัมภีร์สีทันดร" ของอาจารย์ตั้ม แห่งแดนมหัศจรรน์จะเป็นเช่นไร แต่หลายแนวคิดในคัมภีร์คล้ายคลึงกับเวทย์มนต์ของพ่อมด ในขณะที่เจ้าของคัมภีร์พยายามเตือนสติผู้อ่านอยู่เสมอถึงเวทย์มนต์ของพระราชา ฤ ความลับจะอยู่ที่การสลับไปมาระหว่าง 2 โลก ผู้ด้อยปัญญาอย่างผมกำลังติดตามอ่านเรื่องราวของแดนมหัศจรรย์อย่างใจจดใจจ่อ


"Earth provides enough to satisfy every man's need, but not every man's greed"
"ทรัพยากรบนโลกมีเพียงพอสำหรับความจำเป็นของทุกคน แต่ไม่พอสำหรับความโลภของทุกคน"
--มหาตมะคานธี--


ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติมใน http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

11 กุมภาพันธ์ 2557

ประโยชน์ของหิน

หากไม่สนใจ เรื่องมูลค่าของหินว่าจะเป็นบ่อทองหรือไม่ ในมุมของกลุ่มเพอร์มาคัลเชอร์  หินเองก็เป็นประโยชน์กับการปลูกต้นไม้ และระบบนิเวศน์หลายอย่าง เช่น
  • ช่วย ในการยึดเกาะของรากต้นไม้  มีการพบว่าต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณที่มีหินอยู่ใต้ดินจะสามารถทนต่อการโค่น ล้มจากแรงลมพายุ ได้ดีกว่าต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณที่ไม่มีหินเลย
  • ช่วน รักษาความชื้น ภายใต้ดินที่ปกคลุมด้วยหินจะชื้นกว่าหน้าดินเปลือยๆ  ในธรรมชาติเราจึงจะพบพืชหลายชนิดที่งอกออกมาจากซอกหิน  รากของพืชมักจะอยู่ใต้หินที่มีความชื้นมากกว่า และโพล่เฉพาะส่วนต้นตรงขอบหิน



    ใน เรื่องนี้ปู่บิลเรียกว่า "Edge Effect" (อิทธิพลของแนวขอบ)  โดยได้ขยายความออกไปไม่เฉพาะที่ขอบของก้อนหิน  แต่ยังแนวขอบอื่นๆ เช่น ตามแนวขอบป่าแสงสว่างจะส่องเข้าไปข้างในป่าได้มาก  อากาศใกล้ผิวดินตามแนวขอบป่าก็ผันแปรมาก  เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น จึงจะทำให้มีพืชที่ชอบร่มมากๆ เติบโตได้ไม่ดี ในขณะเดียวกันก็ทำให้ต้นไม้ที่ชอบแดดมากๆ ก็เติบโตไม่ดีเช่นกัน  จึงจะมีพืชชนิดใหม่ๆ ที่สามารถเติบโตได้ดีในลักษณะแบบนี้ เพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธู์ไม้ในพื้นที่   หรือตามแนวขอบน้ำโดยเฉพาะในบริเวณน้ำตื้น  บางช่วงก็ถูกน้ำท่วม บางช่วงก็แห้งเห็นพื้นดิน จึงเป็นที่อยู่ของพืชอีกกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างจากต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณอื่นๆ

    ในแนวของกลุ่มเพอร์มาคัลเชอร์เชื่อในเรื่องความหลากหลาย ทั้งความหลากหลายในเรื่องชนิด (Species Diversity)  ความหลากหลายของพันธุกรรม (Genetic Diversity) และความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecosystem Diversity)  ยิ่งมีความหลากหลายมากยิ่งมีโอกาสมากที่เราจะพบความสัมพันธ์แบบการอยู่ร่วม กัน (symbiosis) ที่สิ่งหนึ่งในธรรมชาติจะเกื้อกูลอีกสิ่งหนึ่งในธรรมชาติ   เป็นการสร้างโอกาสให้ธรรมชาติช่วยเราทำงานได้มากขึ้น
  • ช่วย ดักไอน้ำในอากาศ เนื่องจากคุณสมบัติความจุความร้อนของหิน  ในช่วงเช้าหินจึงจะเย็นกว่าอากาศ  หินที่กองรวมกันจึงทำให้ไอน้ำในอากาศช่วงเช้าเกิดการจับตัวเป็นน้ำค้าง  แต่เนื่องจากหินไม่อุ้มน้ำ  น้ำค้างจึงจะไหลลงมายังดินด้านล่าง  ให้ความชุ่มชื้นกับดิน

    เครดิตภาพจาก http://permaculturenews.org/2009/11/02/rethinking-water-a-permaculture-tour-of-the-inland-northwest


    ในบางพื้นที่จึงใช้เทคนิคการกองหินเป็นตัวช่วยดักน้ำจากไอน้ำในอากาศให้กับต้นไม้
  • ลดการสูญเสียความชื้น  โดยกองหินให้ร่มเงาบังแดดไม่ให้โดนพื้นดินโดยตรง  และบังลมไม่ให้พัดพาความชื้นจากผิวดินเร็วจนเกินไป
  • ลด การแข่งขันกับวัชพืชในช่วงต้น  เนื่องจากเหลือพื้นที่หน้าดินน้อยลงให้เมล็ดวัชพืชจะงอกได้ยากขึ้น  แต่ในระยะยาวหากมีวัชพืชที่สามารถงอกได้แล้ว  วัชพืชก็ได้รับประโยชน์จากหินเหมือนๆ กับต้นไม้ของเรา  ในเวลานั้นหวังว่าต้นไม้ที่เราปลูกจะเติบโตบดบังแสงไม่ให้ถึงวัชพืชมากนัก
  • ให้ แร่ธาตุกับต้นไม้  โดยปกติในดินประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศที่มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไป  แร่ธาตุเหล่านี้เกิดจากการผุพังของหิน  ในดินที่มีอายุมากแล้วเราจะไม่ค่อยพบวัตถุต้นกำเนิดอย่างหินมากนักจึงอาจจะ ต้องเติบผงหิน (rock dust) เพื่อให้เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้น



    ส่วน ในดินแบบทีสวนขี้คร้าน  มีหินเป็นทรัพยากรที่จะผุพังเป็นแร่ธาตุต่อไปในอนาคต  ขาดอยู่เพียงอินทรีย์วัตถุจำนวนมากๆ  การปล่อยให้วัชพืชเติบโตเพื่อเสริมอินทรีย์วัตถุจึงเป็นกลจักรสำคัญในการ สร้างดินในพื้นที่  ส่วนอากาศจะเกิดจากความโปร่งที่สิ่งมีชีวิตในดิน เช่น ไส้เดือน มด ปลวก จะช่วยสร้างให้  แต่เราก็ต้องสร้างอาหารให้พวกเขา  อาหารอย่างหนึ่งของพวกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้คือวัชพืช
  • ปก ป้องต้นไม้จากสัตว์ที่ชอบคุ้ย ( เช่น ไก่ หนู ฯลฯ) ในช่วงแรกที่ต้นไม้ยังไม่แข็งแรงพอ  ซึ่งบางครั้งเป็นการขุดเพื่อหาแมลง การขุดเพื่อกินรากอ่อนของต้นไม้  โดยหินจะเป็นอุปสรรคในการคุ้ย หรือการขุดของสัตว์เหล่านี้พอๆ กับความลำบากของเราในการขุดดินปนหินเพื่อปลูกต้นไม้ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
  • เป็น ที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก และแมลง โดยสัตว์/แมลงเหล่านี้จะอาศัยช่องว่างระหว่างก้อนหินเป็นที่หลบภัยจากศัตรู   สัตว์/แมลงเหล่านี้หลายชนิดมีส่วนในการกำจัดศัตรูของพืช  แต่เราเองก็ต้องระมัดระวังเพราะบางชนิดก็มีอันตรายกับคน เช่น ตะขาบ
  • เป็น ที่ยืนของนกและสัตว์ขนาดเล็กบริเวณชายขอบของสระน้ำ  การวางก้อนหินไว้ที่ชายน้ำจึงทำให้นก และสัตว์ขนาดเล็กสบายใจมากขึ้นที่จะลงมากินน้ำในสระโดยไม่พลาดจมน้ำตาย หรือจมเลนไปซะก่อน  จึงเป็นดึงดูดให้ระบบนิเวศน์มีความหลากหลายในทางอ้อม  นอกจากนั้นหินยังช่วยทำให้อุณหภูมิของน้ำแตกต่างกันมากขึ้น ช่วยในเรื่องการไหลเวียนของน้ำในสระ

หาก จะหาวิธีใช้ประโยชน์กับหินในธรรมชาติ คงจะหาได้อีกมากมาย เช่น เอามาทำสิ่งปลูกสร้าง เอามาประดับ ฯลฯ  แต่คิดว่าเพื่อนๆ น่าจะได้ไอเดียบ้างว่าการมีหินในสวนขี้คร้านอาจจะไม่ได้เป็นความโชคร้ายซะที เดียวนัก  อาจจะเป็นความกรุณาของธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับพื้นหิน เอ๊ย...พื้นดินเหล่านี้แล้ว  เราจึงยังต้องขุดหินปลูกต้นไม้กันต่อไป  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

10 กุมภาพันธ์ 2557

การจัดการน้ำในที่ราบลุ่ม

ได้รับคำถามน่าสนใจมากจากเพื่อนสมาชิกว่า ผมเน้นเรื่องการจัดการปัญหาขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะในที่ลาดเท  แล้วถ้าที่ดินเป็นบริเวณราบลุ่มที่ไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ และเสี่ยงกับน้ำท่วมจะต้องจัดการอย่างไร  ซึ่งเรื่องนี้มีสูตรสำเร็จสำหรับพื้นที่ราบที่นิยมกันคือการขุดคูคันดินรอบ ที่ดินของตนเองก่อนเป็นลำดับแรก  โดยปกติจะนิยมกัน 2 ขนาดเหมือนที่เคยตอบพี่หญ้าไป (เครดิตภาพทั้งหมดจากเอกสารของกรมพัฒนาที่ดินที่ผมเคยแชร์ในกระทู้ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=43627.00)

ถ้าถามว่าทำไมเป็นสูตรสำเร็จก็เนื่องจากการทำแบบนี้มีประโยชน์ดังนี้




  • ป้องกันน้ำ run off ไหลออก
    ใน ช่วงหน้าฝน น้ำที่ตกมากเกินไปจะไหลออกจากที่ดินของเราไปยังที่ต่ำกว่า  แต่หากเรามีที่พักน้ำเป็นคูรอบๆ ที่ดินน้ำ run off ก็จะไหลลงไปในคูที่ต่ำว่าระดับพื้นดินปกติ ทำให้น้ำ run off จะมีช่วงเวลาพักให้น้ำได้มีเวลาซึมลงดินรอบๆ ที่ดินแทนที่จะไหลออกไปนอกที่ดินของเรา  หากเราทำประกอบกับการขุดสระน้ำเราก็จะสามารถลำเลียงน้ำ run off เหล่านี้มาลงในสระน้ำ  เป็นการใช้สระน้ำเป็น buffer ในการรองรับน้ำที่มากจนเกินไปจากคูน้ำ  โดยเมื่อฝนตกน้อยน้ำจะไหลจากคูมาลงสระซึ่งจะมีอัตราการระเหยน้อยกว่าการ ทิ้งน้ำไว้ในคู (เนืองจากปริมาตรน้ำที่เท่ากันสระที่ลึกว่าจะมีพื้นที่ผิวจะน้อยกว่า จึงระเหยน้อยกว่า)  ในช่วงที่น้ำเยอะมากจนล้นสระจึงจะปล่อยให้น้ำไหลกลับไปในคูเมื่อให้มีพื้น ดินที่จะดูดซับน้ำลงใต้ดินมากขึ้น  น้ำที่ถูกดูดซับไม่ทันจึงจะปล่อยให้ล้นออกนอกที่ดินของเราไป
  • ป้องกันน้ำท่วม
    การ นำดินที่ขุดขึ้นมาทำเป็นคันดินด้านนอกรอบที่ดินครบทุกด้านก็จะทำหน้าที่เป็น กำแพงกันน้ำในช่วงน้ำหลากมาจากพื้นที่อื่นไม่ให้ไหลเข้าที่ดินของเรา   โดยหากเรามีปัญหาจากน้ำหลากบ่อยๆ อาจจะต้องพิจารณาให้คันดินกว้างอย่างน้อย 2-3 เมตร  ในช่วงวิกฤตเรายังสามารถเสริมด้วยการใช้ปั๊มสูบน้ำสูบน้ำออกไปนอกคันดินของ เรา (โปรดระมัดระวังการข้อพิพาทกับเพื่อนบ้านที่มีที่ดินใกล้เคียง)  
  • ปลูกต้นไม้บนคันดินเป็นแนวกันลม
    การ ขุดคูคันดินจะทำค่อนข้างหนากว่าคันนาทั่วไปจึงมีพื้นที่มากพอที่จะปลูก ต้นไม้อย่างน้อย 2 แถว  เมื่อต้นไม้เหล่านี้เติบใหญ่ขึ้นก็จะทำหน้าที่เป็นทั้งแนวเขต และแนวกันลมรอบๆ ที่ดินเพื่อไม่ให้ลมที่พัดแรงในช่วงมีพายุเข้ามาทำความเสียหายในที่ดินมากจน เกินไป
  • ระบบชลประทานภายในที่ดิน
    ในช่วงที่ต้องการใช้น้ำเราอาจจะเลือกสูบน้ำจากในสระกลับมาใส่ในคูน้ำเพื่อเป็นการลำเลียงน้ำไปยังจุดที่ต้องการ
  • เป็นเส้นทางขนของ
    คัน ดินที่กว้างพอเมื่อปลูกต้นไม้เฉพาะด้านข้างเว้นตรงกลางไว้เป็นทาง  ทำให้เราสามารถเอารถเข็น หรือมอเตอร์ไซด์ขึ้นไปใช้งานในการขนของได้  ส่วนหากในคูมีน้ำลึกพอก็จะใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการขนของทางด้วยทุ่น หรือเรือได้

หากเราจะลอง คิดต่อก็คงหาประโยชน์จากโครงสร้างนี้ได้อีกมากมายตามแต่คนจะประยุกต์ใช้  ส่วนคำถามถัดไปคือด้านในควรจะยกร่องหรือไม่?  การยกร่องในที่นี้หมายถึงการขุดเอาดินด้านในที่ดินมาทำเป็นคันดินเพื่อให้ มีระดับสูงกว่าระดับดินเดิม (ตามรูปด้านล่าง)



คำ ตอบคงขึ้นกับพืชที่จะปลูก  ถ้าเป็นข้าวก็คงไม่จำเป็นต้องยกร่อง  ส่วนถ้ามีความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม และจะเพาะปลูกไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับและพืชผักได้ตลอดปีโดยไม่โดนท่วมตายไปซะก่อนทุกปี ก็น่าจะลงทุนยกร่องสวนตามรูปด้านบน  (ในทางปฏิบัติน่าจะทดลองสังเกตุน้ำดูก่อนว่ามีโอกาสท่วมมากน้อยแค่ไหน)

คำ ถามถัดมาคือถ้าปลูกไม้ป่าล่ะ? จะต้องยกร่องมั๊ยเพราะอาจจะไม่คุ้มค่า?  คำตอบจริงๆ แล้วจะคล้ายกับการปลูกไม้ผลแต่เราต้องดูชนิดของต้นไม้ป่าที่เราปลูก หากเราจะเน้นปลูกต้นสักซึ่งไม่ทนน้ำท่วมเลยก็ควรจะปลูกบนคันดินด้านนอก และถ้าจะปลูกอีกเยอะๆ ก็อาจจะพิจารณาเรื่องการขุดยกร่อง  ส่วนถ้าเราเลือกไม้ป่าที่ทนน้ำท่วมได้มาปลูกในที่ต่ำ การโดนท่วมที่ไม่ยาวนานมากก็จะไม่ทำความเสียหายให้ไม้ป่ากลุ่มนี้  ลงพิจารณาต้นไม้เหล่านี้ดูนะครับ

  • วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เช่น ยางนา ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย สยาขาว กระบาก จันทน์กะพ้อ พะยอม
  • วงศ์มะเกลือ (Ebenaceae) เช่น มะเกลือ มะพลับ ไม้ดำ ดำดง สั่งทำ ตะโกพนม ตะโกนา ตะโกสวน จันดำ จันอิน พญารากดำ
  • วงศ์ ถั่ว (Leguminosae) ขนาดใหญ่บางชนิด เช่น อโศก จามจุรี ทองกราว ขี้เหล็ก นนทรี ประดู่บ้าน ประดู่ป่า อินทนิล มะขาม มะขามเทศ ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ พฤกษ์ กระพี้จั่น
  • วงศ์ปาล์ม (Palm) หลายชนิด เช่น ปาล์มแวกซ์ จาก ตาล มะพร้าว กะพ้อ หมาก
  • วงศ์ ไม้โกงกาง (Rhizophoraceae) เช่น โกงกางหัวสุม ประสักแดง  เฉียงพร้านางแอ โปรงขาว โปรงแดง รังกะแท้ ไอ้แกรกใบเล็ก  โกงกางใบเล็ก  โกงกางใบใหญ่
  • วงศ์ เตย-ลำเจียก (Pandanaceae) เช่น เตยเหาะ   เตยหอม  เตยด่าง   ลักกะจันทน์  เตยแก้ว   เตยทะเล  เกี๋ยงป่า  เกี๋ยงหลวง   เตยแดง   เตยหอมใหญ่  ลำเจียก   เตยญี่ปุ่น  ลำดวน  การะเกดด่าง
  • วงศ์ลำพู (Sonneratiacea) เช่น ลำพูทะเล ลำแพน และลำแพนหิน หรือลำแพนทะเล
  • วงศ์ ไม้ลั่นทม(Apocynaceae) หลายชนิด เช่น โมกเครือ ตีนเป็ดเล็ก พญาสัตบรรณ ชะลูด ตีนเป็ดน้ำ  ตีนเป็ดแดง  พุดจีบ  พุดฝรั่ง  พุดสวน  โมกใหญ่  ลั่นทม(ลีลาวดี) ระย่อม  รำเพย
  • ไม้วงศ์สารภี (Guttiferae) หลายชนิด เช่น กระทิง ชะมวง มะพูด มะดัน สารภี
  • วงศ์ไม้ประสัก เช่น พังกาหัวสุม ประสัก ถั่วดำ ถั่วขาว และรุ่ย
  • วงศ์ไม้โปรง เช่น โปรงแดง และโปรงขาว  
  • วงศ์ไม้แสม เช่น แสมทะเล แสมขาว แสมดำ และสำมะง่า  
  • วงศ์ไม้ตะบูน เช่น ตะบูนขาว ตะบูนดำ และตะบัน  
  • วงศ์ไม้ฝาด เช่น ฝาดแดง และฝาดขาว  
  • วงศ์เหงือกปลาหมอ เช่น เหงือกปลาหมอดอกสีฟ้าหรือนางเกรง และเหงือกปลาหมอดอกสีขาว  
  • พวกมีชื่อน้ำๆ เช่น มะกอกน้ำ ชมพู่น้ำ นาวน้ำ กุ่มน้ำ จิกน้ำ ขะเจาะน้ำ การเวกน้ำ
  • นอกเหนือจากนั้นก็ลองฟังๆ จากผู้รู้ เช่น กระโดน กระเบา ไทร โพธิ์ มะตูม ตานหก


ตอน ผมไปเที่ยวน้ำตกที่คนสร้างขึ้นมา  พบว่าต้นไม้ตามรายชื่อด้านบนหลายชนิดมาโดนน้ำท่วมในตอนที่ต้นไม้เขาโตแล้ว โดยจะโดนแช่น้ำทั้งปีก็สามารถอยู่ได้โดยไม่มีปัญหา โดยเฉพาะยางนาและตะเคียน แต่ทั้งนี้ก็คงต้องมาทดลองปลูกกันดูนะครับ

ส่วนในต่างประเทศการยก ร่องก็พบว่าทำกันในพื้นที่ลุ่มต่ำ ในกลุ่มเพอร์มาคัลเจอร์จะเรียกว่า Chinampas ซึ่งเป็นชื่อวิธีการเพาะปลูกของชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกา



“And when we saw all those cities and villages built in the water and other great towns on dry land, and that straight and level causeway leading to Tenochtitlan, we were amazed…Indeed, some of our soldiers asked if it was not all a dream”

Spanish chronicler, Bernal Diaz del Castillo

ข้อ ความข้างบนเป็นของนักสำรวจชาวสเปนเมื่อครั้งที่ทีมสำรวจค้นพบเมือง Tenochtitlan ในประเทศเม๊กซิโกในปี ค.ศ. 1325  เมืองของชาวอินเดียนแดง Aztec ทั้งเมืองถูกสร้างขึ้นมากลางน้ำ เสมอหนึ่งเป็นสวนลอยน้ำ (จริงๆ แล้วไม่ได้ลอย) ที่อุดมสมบูรณ์  สามารถผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งเมืองขนาด 200,000 คนได้โดยไม่ต้องดูแลพืชผลมาก





Chinampas เป็นเกาะกลางน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นมีขนาดประมาณ 30 × 2.5 m หรือยาวกว่า  ชาว Aztec จะปักเสารอบๆ ขอบของเกาะ และใช้ฝาขัดแตะ (คล้ายผนังขัดแตะไม้ไผ่ของเรา แต่เขาจะใช้ไม้ willow ซึ่งจะไม่ผุง่ายเวลาแช่น้ำเหมือนไม้ไผ่)  บริเวณที่ถูกกันมาให้เป็นเกาะจะค่อยถูกถมด้วยโคลน ตะกอนใต้น้ำ เศษไม้/ใบไม้ที่เน่าเปื่อย เป็นชั้นๆ ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งดินสูงจนกลายเป็นเกาะไป  ชาว Aztec ก็จะปลูกต้นไม้ที่ทนน้ำไว้ตลอดริมเกาะเพื่อช่วยป้องกันตลิ่งพัง  ระหว่างเกาะจะเป็นร่องน้ำขนาดใหญ่พอที่จะใช้เรือแคนูเป็นพาหนะในการขนพืชผล ที่เก็บเกี่ยว (พวกเขาจะพยายามไม่ขึ้นไปย่ำบนเกาะ จะพยายามทำงานจากบนเรือ เพื่อให้ดินไม่แน่น)   การปลูกพืชที่หลากหลายบนแต่ละเกาะ Chinampas น้ำใต้ดินจากร่องรอบๆ เกาะจะซึมเข้าไปเลี้ยงพืชที่ปลูกโดยไม่ต้องรดน้ำ ในร่องน้ำจะปลูกพืขน้ำเพื่อให้เน่าเปื่อย และสามารถโกยขึ้นไปเป็นปุ๋ยบนเกาะได้  การขยันตักเลน/เศษพืชในร่องไปราดบนเกาะ ทำให้มีปุ๋ยไปเติมบนเกาะ Chinampas อย่างต่อเนื่อง  มีการกล่าวถึงว่าชาว Aztec สามารถเพาะปลูกได้ถึง 6-7 รอบใน 1 ปีด้วยระบบนี้



ร่อง น้ำของระบบ Chinampas ในกรุง Tenochtitlan  เชื่อมต่อกันเป็นคูคลอง และถูกใช้เป็นระบบขนส่งทางน้ำด้วย  การมาถึงของชาวตะวันตก ได้ทำลายระบบนี้ลงในเวลาอันสั้น  ด้วยการพังทำลายฝาย คูคลอง  เปลี่ยนการเพาะปลูกแบบผสมผสานมาเป็นเชิงเดี่ยว ถมคูคลองเพื่อเอาที่ดินมาใช้งานให้มากที่สุด  ประเทศเม๊กซิโกจึงกลายมาเป็นประเทศยากจนประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกา (แต่รายได้ต่อหัวยังสูงกว่าประเทศไทยประมาณ 30-40%)  ปัจจุบัน Chinampas ที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด จึงกลายเป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยวเท่านั้น

เรา จะเห็นว่าเทคนิคการเพาะปลูกแบบ Chinampas ก็ไม่ได้แตกต่างจากการยกร่องสวนที่นิยมทำกันในบางพื้นที่ของประเทศไทย และเวียดนาม เพียงแต่จะมีการใช้ไม้มากันริมตลิ่งไม่ให้ดินพัง และร่องของเขาจะลึกกว่าร่องที่นิยมทำกันในเอเชียเพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจร โดยทางเรือด้วย


ส่วนประเทศไทยภาพร่องสวนแบบในรูปด้านล่างเป็นอะไรที่เราเห็นจนชินตาแล้ว


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

9 กุมภาพันธ์ 2557

จะรวยไปทำไม?

อ่านกระทู้แม่นางสุสะดุด กับวลี "..จะรวยไปทำไม ไม่ทราบ.." ทำให้จิตย้อนไประลึกถึงแนวคิดเก่าๆ ของมนุษย์ที่แสวงหาสังคมที่สงบสุขบริบูรณ์เสมอมานานหลายพันปีแล้ว  มนุษย์มีความหวังว่าสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะทำให้เรามีสังคมที่สงบ สุขบริบูรณ์  ตัวอย่างเช่น ท่าน จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งทรงอำนาจทางแนวคิดที่สุดในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

หมายเหตุ เดิมทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะอิงกฎของเซย์เรื่องตลาดเสรีจะเกิดความสมดุลหากภาครัฐ ไม่เข้าไปแทรกแซง  ต่อมาเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงทศวรรษที่ 1920 และ 1930 เป็นช่วงกำเนิดของทฤษฎีเคนส์  ที่เสนอว่าภาครัฐจะต้องเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้ไม่เกิดปัญหาเศรษฐกิจ และกลายเป็นแนวคิดพื้นฐานในการทำงานของรัฐบาลทั่วโลกมาจนปัจจุบัน  สนใจอ่านรายละเอียดได้ที่

https://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์
http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_economic_doctrines/29.html

เคนส์กล่าวไว้ว่า

"For at least another hundred years we must pretend to ourselves and to everyone that fair is foul and foul is fair; for foul is useful and fair is not. Avarice and usury and precaution must be our gods for a little longer still."

"ในช่วงเวลาอีกอย่างน้อยร้อยปีต่อไป เราจะต้องแสร้งทำเสมือนว่าความเท่าเทียมคือความเลวทราม และความคดโกงคือความยุติธรรม  เพราะความคดโกงมีประโยชน์ แต่ความเท่าเทียมหามีประโยชน์ไม่  พวกเราคงจะต้องยึดความโลภ  การขูดรีดทางการเงิน(ของชนชั้นนายทุน) และการระแวดระวังไว้ก่อน (ความไม่เชื่อใจกัน ต้องระวัดการคดโกง) เป็นพระเจ้าของเราไปอีกสักพักใหญ่ๆ "

ตาม แนวคิดของเคนส์การสร้างความร่ำรวยได้เร็วเราอาจจะไม่ต้องสนใจเรื่องจริยธรรม หรือความยุติธรรมก็ได้ เนื่องจากจริยธรรมจะอุปสรรคในการสร้างความร่ำรวย  หลังจากทุกคนร่ำรวยพอแล้ว พวกเขาจะมีความสุขและเป็นคนดีเอง  รัฐบาลทั่วโลกที่ดำเนินการตามแนวคิดของเคนส์จึงมุ่งเน้นให้ประชาชนกินดี อยู่ดีเป็นหลัก  และหวังว่าทุกอย่างจะดีตามไปเอง   นโยบายในแนวนี้มีปัญหานอกเหนือจากเรื่องของจริยธรรมและเรื่องของสมมติฐานที่ ว่าความร่ำรวยนำไปสู่ความสุข นั่นคือ ณ จุดไหนมนุษย์จึงจะรู้สึกว่าเขารวยหรือมีความสุขเพียงพอแล้วและจะเริ่มเป็นคน ดี ในวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักซึ่งยึด การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเป็นสรณะไม่มีคำว่า "เพียงพอ" หากมีแต่คำว่า "มากขึ้น" ฉะนั้นท่ามกลางสังคมที่มีแต่ความขาดแคลนซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโลก จึงไม่มีสังคมไหนบอกว่ารวยพอแล้ว หรือรวยเกินไปแล้ว เพื่อแก้ปัญหาชนิดนี้

ใน ปัจจุบันการผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูงสุดอย่างต่อเนื่องประสบความ สำเร็จอย่างงดงาม เมื่อเทียบกับในยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คำนวณว่าในช่วงเวลาราว 1,000 ปีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6-16 เศรษฐกิจโลกขยายตัวโดยเฉลี่ยปีละ 0.1% เท่านั้น ในยุคปัจจุบันเศรษฐกิจโลกขยายตัวโดยเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 3% อย่างไรก็ตามการผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงจนดูจะลืมไปว่าเศรษฐกิจมีไว้ เพื่อรับใช้คนก่อให้เกิดปัญหาตามมาสารพัด

ในเบื้องแรก จริงอยู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจนำไปสู่ความมั่งคั่งและการบริโภคได้ในระดับ สูง แต่ความมั่งคั่งและการบริโภคได้ตามใจชอบ จนเข้าขั้นสุดโต่งนั้นมิได้นำความสุขมาให้สังคมมนุษย์ ดังสมมติฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ การวิจัยครั้งแล้วครั้งเล่าในสหรัฐอเมริกาช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมายืนยันตรงกันว่า ชาวอเมริกันมิได้มีความสุขเพิ่มขึ้นทั้งที่มีความมั่งคั่ง และการบริโภคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตรงข้ามพวกเขากลับมีความรู้สึกว่า มีความสุขน้อยลงเนื่องจากความเสื่อมทรามของสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การหย่าร้าง ยาเสพย์ติด ความเครียด ความหงอยเหงาเศร้าซึมและมลพิษต่างๆ การศึกษาเหล่านั้นนำไปสู่การถกเถียงกันอย่างเข้มข้น

วิชา เศรษฐศาสตร์วัดค่าของสิ่งต่างๆ ตามราคาในตลาดโดยไม่คำนึงว่าสิ่ง เหล่านั้นมีค่าหรือโทษมหันต์ในตัวของ มันเองในปัจจุบันและในวันข้างหน้าอย่างไรหรือไม่ ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ ได้แก่ อากาศรอบตัวเราซึ่งมีค่าต่อชีวิตสูงยิ่ง แต่ไม่มีการซื้อขายกันในตลาด มันจึงไม่มีราคา และไม่ถูกนำมารวมเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ การไม่ตีราคาให้อากาศ เพราะคิดว่ามันมีอยู่อย่างไม่จำกัดนี้นำไปสู่การใช้อากาศแบบไม่ระวัง จนสร้างปัญหาหนักหนาสาหัส ในรูปของการมีมลพิษอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน มลพิษในอากาศเป็นส่วนหนึ่ง ของความเสื่อมทรามของระบบนิเวศ ซึ่งมีผลกระทบทางลบ ร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ การคิดว่าอากาศ มีอยู่อย่างไม่จำกัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของสมมติฐานที่ว่า โลกนี้มีทรัพยากรมากมาย จนไม่จำกัด ซึ่งเป็นสมมติฐานที่ผิด

เป็นที่ ประจักษ์อย่างแจ้งชัดด้วยว่า มีกิจกรรมจำนวนมากที่มีค่าแต่ไม่มีราคาในตลาด มันจึงไม่เคยถูกวัดเป็นส่วนหนึ่งเศรษฐกิจ เช่น งานของแม่บ้านซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการทำอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือการดูแลเด็กและคนชราซึ่งล้วนมีค่าสูงยิ่งทั้งในด้านร่างกายและจิตใจของ สมาชิกในครอบครัว  สิ่งเหล่านี้ไม่มีราคาในตลาด จึงไม่เคยถูกวัดเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ แต่ถ้าแม่บ้านสองคน เกิดมีไอเดียแปลก  โดยการแลกงานกันทำ แล้วจ่ายค่าแรงให้กันและกัน ค่าแรงเหล่านั้นจะถูกนำมาคิดเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจทันที ทั้งที่ความอยู่ดีกินดีของทั้งสองครอบครัวมิได้เพิ่มขึ้น ตรงข้ามมันอาจลดลง

ดัง นั้นเราจึงเริ่มได้ความชัดเจนมากขึ้นว่าความร่ำรวยไม่ได้เท่ากับความสงบสุข ของสังคม (แม่นางสุเลยถามว่า "..จะรวยไปทำไม ไม่ทราบ..") แต่ประชาชนจำเป็นจะต้องมีความกินอยู่ที่ดีพอในระดับหนึ่งที่เราเรียกว่า "ความพอเพียง"  แล้วความพอเพียงจะวัดได้อย่างไรในเมื่อมนุษย์แต่ละคนมีความโลภแตกต่างกัน?  เพื่อให้เป็นมาตรฐานความเพียงพอจึงควรจะอยู่บนฐานของความต้องการของร่างกาย หรือความจำเป็น

การแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เกินความจำเป็นเกิดจากความต้องการสนองความอยากอันมีฐานอยู่บนความโลภจะต้องถูกจำกัดเพราะ โลกนี้ไม่มีทรัพยากรพอที่จะสนองความอยากของทุกคนได้ นอกจากนั้นกระบวนแสวงหาอันไม่มีวันสิ้นสุดยังนำไปสู่การทำลายจิตวิญญาณของ มนุษย์เองอีกด้วย ฉะนั้นเศรษฐศาสตร์จะช่วยแก้ปัญหาได้ก็ต่อเมื่อต้องยอมรับความจริงที่ว่าคน ไม่ใช่เครื่องจักร หากเป็นสิ่งที่มีจิตวิญญาณ

วิชาเศรษฐศาสตร์จะมี จิตวิญญาณได้ด้วยการยอมรับหลักปรัชญาซึ่งมองสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก อาทิ เรื่องแรงงานซึ่งเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการผลิตสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์กระแสหลักมองว่า แรงงานเป็นต้นทุนที่นายจ้างจะต้องหาทางลดให้เหลือน้อยที่สุด หรือถ้าเป็นไปได้ก็แทนที่แรงงานทั้งหมดด้วยเครื่องจักร ส่วนแรงงานเองก็มองว่างานมิใช่สิ่งที่น่าพิสมัยอะไรนัก การมีรายได้โดยไม่ต้องทำงานคือสิ่งที่ดีที่สุด แต่ปรัชญาของศาสนาต่างไม่มองเช่นนั้น หากมองแรงงานว่า มีความหมายในสามระดับด้วยกัน คือ มันเปิดโอกาสให้คน (1)พัฒนาและใช้สติปัญหาของตน (2)ลดความเห็นแก่ตัว และ (3)ผลิตสิ่งที่มีค่าสำหรับดำเนินชีวิต  การมุ่งเน้นการผลิตสินค้า และบริการด้วยการใช้เทคโนโลยีที่จำกัดแรงงานจึงไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสม เทคโนโลยี ที่เหมาะสมสำหรับการคงไว้ซึ่ง จิตวิญญาณของมนุษย์ได้แก่เครื่องมือ ที่เอื้อให้การทำหัตถกรรมสะดวกขึ้น ไม่ใช่เครื่องจักรอัตโนมัติที่มีมนุษย์เป็นเพียงฟันเฟืองเท่านั้น   การพัฒนาเศรษฐกิจจึงไม่ควรจะอยู่บนพื้นฐานของการสร้างกำไรสูงสุด  แต่เป็นเศรษฐที่ทำให้ทุกคนมีอาชีพมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง อยู่รอดได้ทั้งพนักงานและบริษัท

เรื่องการบริโภคก็เช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์กระแสหลักวัดมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนด้วยระดับของการบริโภค คนที่บริโภคมากกว่าถือว่าเป็นผู้ที่มีมาตรฐานความเป็นอยู่สูงกว่าผู้ที่ บริโภคน้อย ฉะนั้นทุกคนจะต้องบริโภค อย่างน้อยเท่ากับเพื่อนบ้าน และถ้าหากเป็นไปได้ก็ให้พยายามบริโภคมากกว่านั้น เพื่อจะได้มีความรู้สึกว่าอยู่ดีกินดี และมีความสำเร็จสูงกว่า คนจึงเป็นเครื่องบริโภคที่ไร้จิตวิญญาณและมีหน้าที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว

สำหรับ ในระดับปฏิบัติ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในขณะนี้คือ การค้าเสรีมีผลทำให้สินค้าราคาถูกลง เพราะบริษัทข้ามชาติย้ายฐานไปผลิตสินค้าในประเทศที่มีค่าแรงต่ำ การที่สินค้ามีราคาถูกกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอย่างเมามัน พร้อมๆ กับการก่อหนี้ยืมสินแบบท่วมท้นโดยทั่วไป ในขณะที่บริษัทข้ามชาติและคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในประเทศที่มีค่าแรงต่ำ ร่ำรวยขึ้น ความยากจนข้นแค้นแสนสาหัสยังกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในโลก นอกจากนั้นยังมีปัญหาที่ผุดขึ้นมาอย่าง ต่อเนื่องอีกด้วย

แต่ทั้งหมด เป็นเพียงการแสวงหาความมั่งคั่งมากขึ้น...เพิ่มขึ้น...ดีขึ้น...ซับซ้อน ขึ้น...ยิ่งใหญ่ขึ้น...ยิ่งใหญ่...มาก...มากกว่าเดิม...มากกว่าเดิม โดยไม่มีจุดจบ ไม่มีจุดพอดี...ไม่มีความพอเพียง

การผลักดันให้ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาที่เน้นการเติบทางเศรษฐกิจด้วยการ เพิ่มการผลิต เพิ่มการกินการใช้ทรัพยากรเป็นหนทางที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่นานทรัพยากรในโลกก็ต้องหมด การเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นสินค้าแทนที่จะคิดเป็นต้นทุนก็เป็นการถลุง ทำลายอนาคตของโลก น้ำมันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีจำกัด เท่าที่สำรวจและกำลังขุดมาใช้อยู่กำลังบ่งชี้ว่าเรากำลังอยู่ใกล้จุดพีคอ อยล์   ถ้าเรายังใช้กันอย่างไม่ยั้งคิดก็จะหมดในเวลาอีกไม่กี่สิบปี หากขุดพบเพิ่มใหม่อีกบ้างตามตัวเลขที่สำรวจก็จะอยู่ได้ถึงเพียง 200 ปี แล้วจากนั้นมนุษย์ก็จะต้องกลับมาปรับตัวย้อนสู่ยุคที่ยากลำบากยิ่งกว่ายุค โบราณ   ในขณะที่พลังงานทางเลือกจะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองอัตราการใช้งานในปัจจุบัน ได้เพียงพอ   นอกจากนั้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องนี้ยังนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมายที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การขาดแคลนน้ำ การพังทลายของดิน การสูญหายไปของ สิ่งมีชีวิต มลพิษในอากาศและการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบนผิวโลก ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีพลังที่จะทำให้เกิดความหายนะต่อสังคมมนุษย์ทั้งสิ้น   ดังนั้นความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจด้วยการเร่งเพิ่มการผลิตจึงเป็นทางสู่หายนะ ของมนุษยชาติ   เพราะยิ่งเร่งความเจริญ ก็ต้องยิ่งเร่งผลิต  เร่งใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ก็จะเร่งไปสู่ทางตัน

ถ้าชาวโลกทุกคนจะ บริโภคด้วยอัตราสูงเหมือนเช่นชาวอเมริกันจริงๆ เราจะเอาทรัพยากรจะมาจากไหน   การจะทำเช่นนั้นได้ต้องใช้ทรัพยากรอย่างน้อย 6 เท่าของที่ชาวโลกใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่โลกไม่มี  ฉะนั้นในขณะนี้จึงมีการแย่งชิงทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่างกัน เกี่ยวกับผลของการแย่งชิงทรัพยากรจะออกมาในรูปไหน กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าโลกยังมีทรัพยากรอีกมากมาย และรอเพียงวันที่มันจะถูกค้นพบเท่านั้น กลุ่มนี้เชื่อด้วยว่าเทคโนโลยี มีอานุภาพสูงพอที่จะแก้ปัญหาในอนาคตได้ หรือไม่ก็จะมีอะไรสักอย่างเกิดขึ้นในวันข้างหน้า ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาความขาดแคลนได้ อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่ากลไกตลาดมีอำนาจสูงพอที่จะแก้ปัญหาได้ นั่นคือ เมื่อทรัพยากรชนิดหนึ่งขาดแคลน ราคาของมันก็จะพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการค้นหาส่วนที่ยังมี หลงเหลืออยู่ พร้อมกันนั้นการพัฒนาสิ่งอื่นขึ้นมาทดแทนก็จะเกิดขึ้นด้วย  แต่ทฤษฎีที่ไม่รวมปัจจัยของเวลา และความไม่แน่นอนเข้าไปด้วย เมื่อสองปัจจัยนี้ถูกนำมาคิด ทฤษฎีของ พวกเขาจะพังลงทันทีเนื่องจากจะมีช่วงยากลำบากในระหว่างมีการค้นหาทางออก  เมื่อค้นหาพบก็ยังมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาเรื่องการทำให้พอเพียง  ในช่วงเวลายากลำบากดังกล่าวอาจจะมีชาวโลกอีกจำนวนมากต้องลำบากจากปัญหาการ ขาดแคลนทรัพยากร

ในสภาวะปัจจุบันที่รัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกก็ยังไม่ได้เปลี่ยนทิศทางการบริหารประเทศ ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจในกระแสหลัก  คนคิดจะถามคำถามอย่างแม่นางสุว่า  "..จะรวยไปทำไม ไม่ทราบ.." จึงเป็นคนกลุ่มน้อย  ในภาพรวมมนุษย์ยังคงมุ่งหน้าใช้ทรัพยากรอย่างเมามัวเพื่อความร่ำรวยทางการ เงินอย่างเมามัน  ทุกคนคงจินตนาการจุดจบของกระแสนี้ได้   แต่...แม่นางสุเริ่มเห็นตัวชี้วัดความร่ำรวยในมิติอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงินแต่เพียงอย่างเดียว  ความสุขเล็กๆ จากพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ของสวนริมห้วย อากาศบริสุทธิ์ สรรพสัตว์เล็กๆ และความสงบในจิตใจที่ได้รับทุกครั้งที่ไปเยือนสวนริมห้วยทำให้เกิดคำถามในใจ แม่นางสุว่า "..จะรวยไปทำไม ไม่ทราบ.."  แต่ teerapan ไม่มีคำตอบ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

8 กุมภาพันธ์ 2557

บทเรียนเรื่องน้ำจากประเทศจีน

สำหรับประเทศจีน ปัญหาเรื่องความแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นสิ่งที่ดูเหมือนอยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของจีน ที่สามารถย้อนหลังไปได้มากกว่า 4 พันปีที่มีการบันทึกในเรื่องของคลองส่งน้ำและการใช้น้ำบาดาล แม้ในปัจจุบัน ประชากรของจีนมีน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้เฉลี่ยต่อปีเท่ากับหนึ่งในสี่ของ ปริมาณน้ำเฉลี่ยที่ใช้กันต่อประชากรของโลก หรืออยู่ที่ 2,117 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี (มากกว่าอินเดีย น้อยกว่าประเทศไทย)  สำหรับเขตภาคเหนือของประเทศจีนรวมถึงปักกิ่งที่เป็นเมืองหลวง สถานการณ์ดูเหมือนยิ่งเลวร้าย ประชากรเกือบครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ แต่มีน้ำที่สามารถใช้ได้น้อยกว่า หนึ่งในห้า ของน้ำทั้งหมดของประเทศ  นั่นคือ ประชากรทางตอนเหนือมีน้ำที่สามารถใช้ได้เพียงหนึ่งในสี่ของประชากรทางใต้ของ ประเทศ

แตกต่างกับแนวทางของประเทศอินเดียที่เน้นการอนุรักษ์น้ำเพื่อ ให้ชุมชนสามารถประทังชีพได้จากปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่  รัฐบาลกลางของประเทศจีนมักแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยวิธีการสร้างเขื่อน คลองส่งน้ำขนาดใหญ่ ตลอดประวัติศาสตร์ของประเทศ จนถึงปัจจุบัน   ตรงข้ามกับอินเดียที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐ จีนที่มีลักษณะการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจไว้รัฐบาลกลาง การดำเนินการโครงการขนาดใหญ่จึงสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบกลไก ของรัฐ

เมื่อประเทศจีนได้เริ่มเปิดประเทศเพื่อรองรับการลงทุนจาก ต่างประเทศ ทำให้ประเทศจีนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าสองหลักมากว่าทศวรรษ ความจำเป็นในการต้องใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและ ประชากรเพิ่มสูงขึ้น ตามรายงานของธนาคารโลก ความต้องการน้ำในจีนเพิ่มขึ้น 32% หรือ 818 พันล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2573 รัฐบาลกลางจีนทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลใช้ลงทุนในการสร้างโครงการที่เกี่ยว กับทรัพยากรน้ำขนาดใหญ่ อาทิเช่น โครงการส่งน้ำใต้สู่เหนือที่นำน้ำจากแม่น้ำแยงซี เข้าสู่แม่น้ำเหลือง โดยการก่อสร้างใช้งบประมาณมากกว่า 5.8 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเสร็จในปี 2557 โครงการเขื่อนสามผาทั้งสองโครงการส่งผลกระทบต่อสังคมและสภาพแวด ล้อมอย่างมหาศาล



การ ที่รัฐบาลจีนยังคงแนวความคิดการจัดการทรัพยากรน้ำเรื่องโครงการส่งน้ำขนาด ใหญ่ ได้ทำให้เกิดกรณีพิพาทขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการน้ำของจีนเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้นทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ โดยประชาชนในเขตเหอเป่ย แสดงความไม่พอใจกับโครงการส่งน้ำใต้สู่เหนือ ในการที่ต้องแบ่งน้ำส่งยังคลองส่งน้ำเข้าสู่กรุงปักกิ่ง  กลายเป็นประเด็นพิพาทในระดับภูมิภาค กับการที่จีนได้เข้าควบคุมแหล่งน้ำในทิเบตอันเป็นต้นน้ำสำคัญของประเทศ อินเดียและประเทศในอาเซียน

การเติมน้ำลงใต้ดินเป็นกระบวนการไหลซึม ของน้ำจากผิวดินสู่ชั้นระดับน้ำใต้ดิน  กระบวนนี้อาจจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือผ่านการเติมโดยโครงโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงจำนวนมากของจีน อันได้แก่ เขื่อน ม่านวาน (Manwan) เขื่อนต้าเฉาซาน (Dachaoshan) เขื่อนจิ่งหง (Jinghong) และอีกสามเขื่อนซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอันได้แก่ เขื่อนกงกว่อเฉียว (Gongguoaiao) เขื่อนเสี่ยววาน (Xiaowan) และเขื่อนนั่วจาตู้ (Nuozhadu) ยังมีแผนสร้างอีกสองเขื่อน อันได้แก่ เขื่อนเม็งซอง (Mengsong) และเขื่อนกันหลั่นป้า (Ganlanba) ทำให้เกิดปัญหาความแห้งแล้งในลุ่มน้ำตอนล่างอันกระทบต่อ ประเทศในแถบอาเซียน อันได้แก่ ไทย เวียดนาม กัมพูชา และลาว  ทำให้ประเทศในตอนล่างของลุ่มน้ำโขงได้รับผลกระทบจากการเหือดแห้งของน้ำ เมื่อ มีนาคม 2553 อันกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรสองฝั่งแม่น้ำ และได้กลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงระหว่างประเทศ เห็นได้ว่าการดำเนินการของจีนในเรื่องนโยบายที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ กลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศและมีแนวโน้มที่จะรุนแรงเพิ่มขึ้น



จีน ได้วางแผนในการสร้างเขื่อนในแม่น้ำหยาหลง ซางโป (Yarlong Zangpo) ที่ไหลผ่านอินเดียและบังกลาเทศในชื่อแม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra) โครงการเขื่อนซางโป (Tsang Po) ใช้พื้นที่ในการรับน้ำจำนวน 90,000 ตารางกิโลเมตรในอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทที่จีนอ้างสิทธิครอบครอง ทางการอินเดียได้แสดงความวิตกกังวลในการประชุมครั้งล่าสุดกับจีนในโครงการ ดังกล่าว

การขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาใหญ่ แต่การดำเนินการของจีนในเรื่องการสร้างเขื่อน ส่งผลให้เกิดปัญหา เป็นการเพิ่มความตึงเครียดกับทางอินเดียมากขึ้นรวมถึงกับประเทศที่ได้รับผล กระทบจากแม่น้ำโขง จนอาจกลายเป็นข้อพิพาทในระดับภูมิภาค จีนต้องเลือกระหว่างสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นกับความต้องการทรัพยากรน้ำของตน กับประเทศเพื่อนบ้าน หรือความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้น จนนำไปสู่การพิพาทเรื่องแหล่งน้ำ

จีนสามารถแก้ปัญหาเรื่องทรัพยากร น้ำ นอกเหนือจากการสร้างโครงการขนาดใหญ่ ที่หลายประเทศมองว่าเป็นการกอบโกยทรัพยากรน้ำ แต่ไม่ได้มีการจัดการบริหารน้ำภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพรองรับ จีนต้องหันกลับมาปรับปรุงการบริหารจัดการความต้องการน้ำให้ดีขึ้น (demand management) ดังที่ปรากฏในรัฐอุตตรประเทศของประเทศอินเดีย เพื่อให้สามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยไม่ทำให้ต้องมีการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและมลพิษทางน้ำต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นตามการเจริญของอุตสาหกรรม การออกกฎหมายและบังคับใช้ในเรื่องการบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง เข้มงวด เป็นต้น

การควบคุมความต้องการในการใช้น้ำโดยผ่านกลไกด้าน ราคา เป็นทางเลือกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้น้ำ ดังเช่นที่ประสบความสำเร็จในสิงคโปร์ ในการกำหนดผ่านอัตราภาษีในการใช้น้ำในอัตราที่สูงขึ้นกับการใช้น้ำที่เกิน กว่า 40 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน และการเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมกับอุตสาหกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรน้ำเกิน กว่าที่กำหนด ทั้งจีนและอินเดียสามารถนำมาปรับใช้กับเขตเมือง ที่มีอัตราในการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

ในส่วนของภาค เกษตรกรรม ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนยากจน การนำกลไกราคามาใช้เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา การบริหารจัดการน้ำผ่านการเลือกปลูกพืชที่เหมาะสมเป็นแนวทางในการจัดการ บริหารน้ำโดยให้ทางเกษตรกรผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนในการตัดสินใจ และสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ดังปรากฏในรัฐอุตตรประเทศ เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการจัดการบริหารความต้องการน้ำในอนาคต

ปัญหา ความขาดแคลนน้ำเพิ่มความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว การขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อการเจริญเติบโตของประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอันมีผลต่อประชากรทั้งประเทศ และเสี่ยงต่อความขัดแย้งและข้อพิพาทระหว่างประเทศ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในอนาคต จึงเป็นการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมกับระบบที่มีประสิทธิภาพในประเทศ

จากปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำที่ เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่เห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างประเทศต้น น้ำกับประเทศท้ายน้ำ ชนบทที่ใช้น้ำเพื่อการกสิกรรมกับเขตเมืองที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ดังนั้น มาตรการกระจายน้ำให้เท่าเทียมกันอย่างยุติธรรม จึงสะท้อนให้เห็นถึงความยุติธรรมในสังคมนั้น

การกระจายน้ำให้ทั่วถึง อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม สามารถสะท้อนผ่านกลไกด้านราคาและภาษี ในเขตเมืองซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีรายได้สูง การนำกลไกด้านภาษีมาใช้ ดังเช่นรูปแบบที่สิงคโปร์ดำเนินการ สามารถกระทำได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับเขตชนบทที่ต้องพึ่งพาน้ำเพื่อการกสิกรรมและสร้างรายได้ กลไกด้านราคาและภาษีจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานในการนำไปสู่การปฏิบัติ แต่การให้เกิดความเข้าใจในเรื่องคุณค่าของทรัพยากรน้ำและการมีส่วนร่วมเพื่อ ให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นความจำเป็นอันเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในรัฐอุตตรประเทศ

สำหรับความขัดแย้งระหว่าง ประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ประเทศที่อยู่ในลุ่มน้ำคงต้องจัดสรรผลประโยชน์จากทรัพยากรน้ำดังกล่าวร่วม กัน ตามลักษณะของความเหมาะสมของแต่ละประเทศ ดังตัวอย่างกรณีของโครงการเขื่อนในประเทศลาว ซึ่งเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นหุบเขา และมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน ประกอบกับการที่มีประชากรน้อย ทำให้การสร้างเขื่อนเกิดปัญหาในแง่ผู้ได้รับผลกระทบไม่มาก ประมาณกันว่า ประเทศลาวสามารถสร้างเขื่อนได้มากกว่า 70 แห่ง ซึ่งสามารถส่งน้ำและไฟฟ้าให้ประเทศใกล้เคียง อันเนื่องจากการที่ประชากรในประเทศลาวน้อย การบริโภคน้ำและไฟฟ้าจึงมีปริมาณน้อย ทำให้มีปริมาณน้ำส่วนเกินในการส่งออก ซึ่งขณะนี้มีการลงทุนของประเทศไทย 2 แห่ง และเกาหลีใต้อีก 1 แห่ง เขื่อนดังกล่าวสามารถส่งน้ำและไฟฟ้าส่วนเกินเลี้ยงประเทศไทยและประเทศใกล้ เคียงได้ อันเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่เกิดขึ้นในภูมิภาค

หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลจากบทความเรื่อง "วิกฤติการขาดแคลนน้ำของจีน-อินเดีย กับ ความตึงเครียดทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น" โดย : ดร.พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูล, สมยศ อรรคฮาดสี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


สำหรับประเทศไทย บทเรียนเรื่องการขาดแคลนและการบริหารจัดการน้ำของจีนและอินเดีย แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า ปัญหาเรื่องความมั่นคงของด้านทรัพยากรน้ำ หมายถึง ความมั่นคงของอาหารในการเลี้ยงประชากร ความมั่นคงในเรื่องพลังงาน  ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก อันเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการพิจารณาแก้ไขในภาพรวม รวมถึงต้องมีความร่วมมืออย่างจริงจังในระหว่างประเทศ ความร่วมมือในเรื่องโครงการลุ่มน้ำโขง อันประกอบด้วย ประเทศไทย จีน พม่า เวียดนาม ลาว และเขมร ต้องมีการวางแผนระยะยาวในเรื่องการแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรน้ำ

ใน ส่วนภาคเกษตรกรรม การจัดการน้ำของรัฐอุตตรประเทศของอินเดียเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับรัฐบาลไทย ในเรื่องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินในเรื่องการบริหารจัดการ น้ำ รวมถึงการกำหนดประเภทของพืชที่จะทำการเพาะปลูก ภายใต้การสนับสนุนเรื่องข้อมูลต่างๆ ที่ช่วยให้หมู่บ้านสามารถดำเนินการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น การวัดปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำใต้ดิน เป็นต้น ขณะที่โครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับน้ำ อาทิเช่น เขื่อนขนาดใหญ่ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก และประสบปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน ดังเช่นที่ประสบปัญหาในจีน ที่ต้องเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการน้ำในประเทศ มากกว่าการแสวงหาแหล่งน้ำใหม่เพียงอย่างเดียว

จากงบประมาณในโครงการ ของภาครัฐ จะพบว่างบประมาณส่วนใหญ่ได้ใช้ในเรื่องของโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการชลประทานขนาดใหญ่  ภาครัฐของไทยกำลังไปพยายามบริหารจัดการที่ปลายน้ำ หรือกลางน้ำ (เช่น แม่น้ำสายหลัก) แทนที่จะไปบริหารจัดการที่ต้นน้ำ  งบประมาณดังกล่าวควรที่จะนำมาส่งเสริมการสร้างเขื่อนขนาดเล็ก ฝาย ระบบการจัดเก็บน้ำฝน หรือโครงสร้างการเติมน้ำลงใต้ดินต่างๆ ในระดับครัวเรือน/หมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการรองรับน้ำเพิ่มขึ้น และสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวมากกว่าโครงการขนาดใหญ่ ที่มีปัญหาทั้งในแง่สิ่งแวดล้อม และการจัดสร้างเพิ่มมากขึ้น  โดยในช่วงต้นควรจะไปเน้นที่พื้นที่ต้นน้ำ และพื้นที่ที่ความสูงในทุกๆ จังหวัด  เพื่อจะชะลอน้ำที่จะไหลมารวมในแม่น้ำ  เพิ่มการซึมของน้ำลงใต้ดิน  ลดการไหลของตะกอนมาลงแม่น้ำ  ทำให้การซึมของน้ำจากแม่น้ำลงในดินทำได้มากขึ้น (เนื่องจากตะกอนโคลนตมเหล่านี้จะไปอุดตันการไหลของน้ำลงใต้ดิน)  ลดการสะสมของตะกอนดินเหนือเขื่อน (ซึ่งทำให้เขื่อนมีอายุสั้นลง และลดประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำของเขื่อน การที่เขื่อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราก็อาจจะไม่ต้องสร้างเขื่อนจำนวนมากจนเกินไป)

ผมไม่ทราบว่าเราจะรอ ให้ภาครัฐรู้ตัวแล้วหันมาส่งเสริมการอนุรกษ์น้ำที่ระดับครัวเครือ/ชุมชนหรือ เปล่า?  แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน  ผมคิดว่ารัฐบาลคงจะวุ่นวายกับสถานการณ์เฉพาะหน้าของเขาไปก่อน ทั้งปัญหาราคาสินค้าเกษตร ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่ความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ต่อให้วันนี้เปลี่ยนเป็นรัฐบาลของอีกค่ายหนึ่งก็ยังคงต้องมุ่งที่การบริหาร ความขัดแย้งของคนในชาติเป็นหลักก่อน   ดูท่าแล้วท่าทางภาคประชาชนคงจะรอให้ภาครัฐเป็นคนริเริ่มไม่ไหว  เราคงจะพยายามริเริ่มกันไปเองก่อน   แล้วได้แต่ภาวนาว่าสักวันหนึ่งภาครัฐจะมีดวงตาเห็นธรรม(ชาติ)

ปล1. ที่หมู่บ้านผมเริ่มต้นบ้างแล้ว โดยมีโครงการสร้างฝายชะลอน้ำบนภูเขาบริเวณต้นน้ำ  การปลูกแฝกตามแนวลำห้วยส่งน้ำไปยังหมู่บ้าน และโครงการปลูกป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติ แต่ดูเหมือนโครงการเหล่านี้จะถูกพลักดันมาจากทีมงาน NGO ของโครงการปิดทองหลังพระ และมูลนิธิชัยพัฒนา  ไม่ได้เป็นโครงการของภาครัฐดังที่เคยหวังไว้ 

ปล2. ถ้าเป็นโครงการของภาครัฐอาจจะสนับสนุนการปลูกหญ้าแพรกแทน  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

7 กุมภาพันธ์ 2557

หมู่บ้าน Ralegan Siddhi - บทเรียนเรื่องน้ำจากประเทศอินเดีย ตอนที่ 3

หากยังจำเรื่องราวของหมู่บ้าน Hiware Bazar ได้  ผมได้เกริ่นไว้ว่าแนวทางการพัฒนาหลายอย่างได้ทำตามแนวทางของหมู่บ้าน Ralegan Siddhi  โดยผู้นำการเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้าน Ralegan Siddhi คือทหารเก่าชื่อ Anna Hazare  โดยในสมัยที่เขายังทำงานให้กับกองทัพบกของอินเดีย  เขามักจะขอลากลับมาเยี่ยมบ้านทุกๆ ปี  สภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านน่าเวทนาเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจากหมู่บ้าน Ralegan Siddhi อยู่ในเขตเงาฝน มีปริมาณน้ำฝนต่อปีเพียง 400-500 มิลลิเมตร  (น้อยกว่าของหมู่บ้าน Hiware Bazar ที่มีปริมาณฝนประมาณ 600 มิลลิเมตรต่อปี  และเป็นเพียง 1 ใน 3 ของค่าเฉลี่ยปริมาณฝนของประเทศไทยที่ 1,498 มิลลิเมตรต่อปี)  แผ่นดินว่างเปล่าเนื่องจากไม่สามารถเพาะปลูกได้  ปริมาณฝนที่ตกในช่วงฤดูมรสุมกลายเป็นน้ำ run off ที่ถูกทิ้งไปโดยไม่มีวิธีการในการเก็บเกี่ยวน้ำเหล่านั้นไว้ใช้งานอย่างมี ประสิทธิภาพ  มีการเก็บน้ำไว้บ้างแต่ก็เพียงพอสำหรับการเพาะปลูก 1 ครั้งในที่ดินประมาณ 758-885 ไร่ จากพื้นที่หมู่บ้านทั้งหมด 5,564 ไร่   80%ของครัวเรือนในหมู่บ้านมีอาหารประทังชีพเพียง 1 มื้อต่อวัน

กำลัง การผลิตอาหารของหมู่บ้านไม่เพียงพอ และไม่มีการจ้างงานในหมู่บ้าน  ชาวบ้านบางคนแอบต้มสุราเถื่อนเพื่อหาประทังชีพ  ในไม่ช้าจำนวนบ้านที่ต้มเหล้าเถื่อนเพิ่มขึ้นเป็น 35 แห่ง  ชาวบ้านบางส่วนต้องเดินเท้ามากกว่าวันละ 10 - 15 กิโลเมตรทุกวันเพื่อไปหางานทำในหมู่บ้านข้างเคียง   ด้วยสภาพแวดล้อมที่กันดาร และสิ้นหวังทำให้ชาวบ้านบางคนเริ่มหนีปัญหาด้วยการดื่มสุรา  สุดท้ายกลายเป็นคนติดสุราอย่างรุนแรง  การโต้เถียงและการลงมือชกต่อยกลายเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อยๆ ในหมู่บ้าน  บ้านของ Ana อยู่ใกล้ใจกลางหมู่บ้าน แต่เขาจะพยายามเดินอ้อมเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่านใจกลางหมู่บ้าน เนื่องจากเขาไม่ต้องการเห็นภาพที่น่าสังเวชเหล่านี้ในขณะที่ตัวเขาไม่สามารถ ทำอะไรเพื่อแก้ไขสถานะการณ์ของหมู่บ้านได้เลย

ในปี พ.ศ. 2518 Ana ตัดสินใจที่อุทิศตนเองให้กับงานเพื่อสังคม  เขาเชื่อว่างานการกุศลต้องเริ่มต้นจากที่บ้าน  เขาประทับใจกับความกล่าวของ Swami Vivekananda ที่ว่า "ผู้คนจะไม่สนใจรับฟังปรัชญาหรือการทำงานเพื่อสังคมด้วยท้องที่ว่างเปล่า  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากทุกคนยังถูกหลอกหลอนด้วย ปัญหาประจำวันในการหาเลี้ยงปากท้องของตนเอง"  Ana พยายามมองหาหนทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  เขารำลึกถึงงานทดลองการบริหารจัดการน้ำของ Vilasrao Salumkhe ในอำเภอใกล้เคียง  เขาเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการ และค้นพบหาทางในการแก้ไขปัญหา

เขากลับไปที่หมู่บ้านของเขา และบริจาคเงิน 3,000 รูปีในการบูรณะวัดในหมู่บ้าน  เขาชักชวนให้ชาวบ้านทำการวางแผนครอบครัว ยกเลิกการเลี้ยงสัตว์แบบปล่อยให้เดินไปทำลายต้นไม้ต่างๆ ยกเลิกการตัดต้นไม้ และให้ทำงานอุทิศให้กับส่วนรวม  เขาไปของความช่วยเหลือจากภาครัฐ และเริ่มทำงานควบคุมการก่อสร้างโครงสร้างดักน้ำลงเก็บในดินโดยไม่ได้รับผล ตอบแทนเลย  เขาเริ่มทำงานตั้งแต่เช้ายันมืดค่ำ   งานแรกที่พวกเขาทำคือการก่อสร้าง percolation tank ซึ่งถูกออกแบบมาไม่ให้เก็บน้ำอยู่  ในปีแรกกำแพงกั้นน้ำของ percolation tank ที่สร้างโดยงบของภาครัฐเกิดรั่ว  ทำให้เขาต้องเกณฑ์อาสาสมัครจากในหมู่บ้านมาช่วยกันซ่อมแซมเพื่อให้พนังของ percolation tank ไม่พังลงมา  น้ำจะได้มีเวลาซึมลงดินนานขึ้น   ในปีเดียวกันบ่อน้ำที่อยู่ต่ำกว่าระดับของ percolation tank จำนวน 7 แห่งที่เคยแห้งขอดเกิดมีน้ำขึ้นมา  สร้างความศรัทธาของชาวบ้านต่อแนวทางที่ Ana กำลังทำอยู่เพื่อบริหารจัดการน้ำ



กลุ่ม เยาวชนในหมู่บ้านถูกจัดตั้งขึ้นมา  มีการพลักดันความไม่ทัดเทียมกันในสังคม  ยกเลิกระบบสินสอด การกีดกันของระบบวรรณะ  ยกเลิกสถานที่ต้มสุราเถื่อนโดยเด็ดขาด ยกเลิกการจำหน่ายบุหรี่  เลิกการปลูกพืชที่ใช้น้ำเยอะอย่างอ้อย  และหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และทนแล้งแทน  มีการจัดตั้งสภาหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหากันเองโดยไม่ต้องไปทำการฟ้องร้อง ต่อตำรวจ หรือศาล

เขาค่อยๆ ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านมาร่วมกันสร้างโครงสร้างดักน้ำทีละแห่งจนสามารถ สร้าง swale ตามแนวระดับ 48 แห่ง ฝายน้ำล้น 5 แห่ง terrace แบบมีกำแพงค้ำยันอีก 16 แห่ง  จากความพยายามต่อเนื่องกันหลายปี  น้ำฝนค่อยถูกเก็บลงสะสมในพื้นดินจนในที่สุดเพิ่มระดับน้ำใต้ดิน  จากที่เคยมีพื้นที่เพาะปลูกเพียง 758-885 ที่สามารถปลูกพืชได้เพียงรอบเดียว  กลายเป็นมีพื้นที่เพาะปลูก 3794 ไร่ที่สามารถเพาะปลูกได้ถึงปีละ 2 รอบ

กำลังการผลิตนมในหมู่บ้าน เพิ่มขึ้นจาก 300 ลิตรมาเป็น 4,000 ลิตร มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมาแปรรูปผลิตภัณฑ์นม สร้างรายได้13-15 ล้านรูปีให้กับหมู่บ้าน  รายได้ต่อหัวของชาวบ้านเพิ่มขึ้นจาก 225 รูปีมาเป็น 2,500 รูปี



ความ สำเร็จของโครงการไม่ได้มีเพียงทางด้านกายภาพอย่างโครงสร้างดักน้ำลงใต้ดิน  หรือการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ  แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากมาย เช่น การแต่งงานถูกเปลี่ยนมาเป็นการแต่งงานหมู่ (ครั้งละ 25-30 คู่) เพื่อลดค่าใช้จ่ายทั้งเจ้าภาพ และผู้มาร่วมงาน   ชาวบ้านจากคนละชั้นวรรณะอยู่อาศัยร่วมกันเหมือนเป็นญาติพี่น้อง  มีการแต่งงานข้ามชั้นวรรณะกันมากขึ้น  อาคารเรียนมูลค่ามากกว่า 2.2 ล้านรูปีของโรงเรียนในหมู่บ้านถูกสร้างขึ้นมาจากเงินของคนในหมู่บ้านโดยไม่ ได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกเลย

ในช่วงเวลานั้นยังมีหลายครอบครัวมี ปัญหาหนี้อย่างหนักจากภาวะความแห้งแล้งที่ติดต่อกันยาวนานจนธนาคารจะนำ ที่ดินออกมาขายทอดตลาด  ชาวบ้านต่างมารวมตัวกันเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยไม่รับค่าจ้าง (งานอาสาสมัคร) ต่อเนืองกันเป็นเวลา 3 ปี เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนที่ดินกลับมาเป็นของหมู่บ้าน  รวมทั้งมีการจัดตั้งองค์กร และสหกรณ์ต่างๆ จำนวนมาก



ใน วันนี้มีน้ำในหมู่บ้าน Ralegan Siddhi เพียงพอสำหรับการเพาะปลูกของทุกครัวเรือน  การเกษตรของหมู่บ้านกำลังไปได้ดี  แต่คำถามคือความเจริญรุ่งเรืองในตอนนี้จะยั่งยืนในชาวบ้านรุ่นถัดไปหลังจาก Ana ไม่มีชีวิตอยู่แล้วได้หรือไม่  Ana ตอบว่า "ขบวนการในการพัฒนาของหมู่บ้าน Ralegan เพื่อให้เป็นชุมชนในอุดมคติยังถูกดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  เมื่อกาลเวลาผ่านไปผู้คนในหมู่บ้านยังคงค้นพบหนทางใหม่ๆ ในการพัฒนา  แม้นวิธีการจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่เขาเชือว่าจิตวิญญาณของการพัฒนาได้ถูกปลูกฝังเข้าไปในชาวบ้านส่วนใหญ่ แล้ว"



ยิ่งรับรู้ตัวอย่างแล้วตัวอย่างเล่าจากประเทศ อินเดีย  ทำให้เห็นพลังของการร่วมมือทำงานของคนทั้งชุมชน  เห็นความสำคัญของการพัฒนาทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมควบคู่กันไป  พวกเขาประสบความสำเร็จทั้งๆ ที่ไม่ใช่คนที่คิดค้นเรื่องเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำ  แต่แค่การนำเอาความรู้จากคนอื่นไปลงมือทำกับชุมชนให้สำเร็จก็ยากมากแล้ว  เราคงยังไม่ต้องหวังเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่มากนักในช่วงนี้

การ หยิบยื่นเพียงเทคโนโลยีในการจัดการน้ำให้กับชาวบ้านอย่างเดียวแทบจะไม่มีผล เลยในทางปฏิบัติ ตราบใดที่ยังไม่ได้รับความร่วมมือกันของคนทั้งชุมชน   ผมจึงเริ่มไม่แปลกใจแล้วล่ะ ที่ชาวบ้านรู้จักหญ้าแฝก แต่ไม่มีใครคิดปลูกหญ้าแฝก  คำถามตัวใหญ่ๆ คือทำอย่างไรที่จะให้พวกเขาเห็นความสำคัญของชุมชนมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง ?

ทั้ง 2 ตัวอย่างประสบความสำเร็จในช่วงเวลาอันสั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเสียสละ และทุ่มเทของผู้นำชุมชน   ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งมีส่วนอย่างมากในการชักจูงชาวบ้านให้มาทำงานพัฒนา   แต่เมื่อกลับมาย้อนดูระบบการเลือกตั้งผู้ใหญ่ในแถบบริเวณใกล้ๆ สวนฯ แล้วใจหาย  ผู้ใหญ่บ้านที่มาอาสามาลงสมัครมักจะแพ้ผู้สมัครที่ใช้เงินซื้อเสียงทุกหมู่ บ้านแบบร้อยทั้งร้อย  ถ้าชาวบ้านยังคงเป็นแบบนี้ก็คงไม่ง่ายในการที่จะพัฒนากันต่อไป  โกรธ โกรธ โกรธ

ปล. ต้นทุนในการทำให้ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านแถบนี้จะประมาณ 1.5 - 2.5 แสนบาท  ส่วนตำแหน่งของกำนัน และ นายก อบต. จะสูงกว่านั้น

6 กุมภาพันธ์ 2557

หมู่บ้าน Hiware Bazar - บทเรียนเรื่องน้ำจากประเทศอินเดีย ตอนที่ 2

ปัญหาเรื่องน้ำกำลังกลายเป็นปัญหาหลักที่ท้าทาย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศอินเดีย   ปริมาณน้ำฝนต่อปีของประเทศอินเดียอาจจะดูเหมือนไม่ขาดแคลน  แต่คล้ายๆ กับประเทศไทยคือฝนในประเทศอินเดียมักจจะตกในช่วงเวลาสั้นๆ ในฤดูมรสุมเท่านั้น   และช่วงเวลาของมรสุมดูเหมือนว่าจะสั้นลงเรื่อยๆ   เหมือนที่เพื่อนๆ ในเวปเกษตรพอเพียงกำลังประสบคือจำนวนเดือนที่ฝนไม่ตกเลยติดต่อกันจะเป็นช่วง เวลาที่นานขึ้นเรื่อยๆ บางคนอาจจะเจอปัญหาว่าฝนไม่ตกต่อเนื่องกันนานกว่า 6 เดือน  เวลาฝนตกก็ตกหนักมากจนบางครั้งอาจจะเจอปัญหาน้ำท่วม  (ลองสังเกตุทุ่งกุลาร้องไห้ที่เจอทั้งปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำท่วมในปีเดียวกันเป็นตัวอย่าง)

สภาพอากาศที่ขึ้นกับ มรสุม การบริหารจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพ และแรงกดดันอื่นจากฝีมือมนุษย์ (ด้วยเหตุของสิ่งที่เรียกว่าความเจริญ) ทำให้เกษตรกร  ครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรมต่างก็พึ่งพาการใช้น้ำใต้ดินมากกว่าน้ำผิวดินในแม่น้ำ คลองชลประทาน และสระน้ำ   แต่แนวโน้มการใช้น้ำใต้ดินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี่เองที่ทำให้เกิดปัญหา ที่แย่ลงเรื่อยๆ ของระดับน้ำใต้ดิน

ผลจากความไร้ประสิทธิภาพของระบบ ชลประทานของน้ำผิวดินอย่างคลองชลประทาน ทำให้มีน้ำไม่เพียงพอ จึงมีการใช้น้ำใต้ดินอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำใต้ดินถูกใช้มากถึง 65% ของระบบชลประทาน และ 85% ของแหล่งน้ำเพื่อการบริโภค  เนื่องจากไม่มีการเติมเต็มน้ำใต้ดินทำให้เกิดปัญหาอย่างหนักในปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมาที่มีปริมาณฝนในช่วงมรสุมน้อยกว่าปกติ  ระดับใต้ดินลงจนกระทั่งบ่อน้ำ และบ่อน้ำบาดาลในหลายพื้นที่ไม่มีน้ำให้สูบ  ประชาชนเดือดร้อยอย่างหนักเหมือนปัญหาภัยแล้งครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2552   จากผลการสำรวจพบว่าระดับน้ำใต้ดินของหลายแห่งทั่วทั้งอินเดียลดลงมากกว่า 4 เมตรต่อปี

ปัญหาเรื่องน้ำของประเทศอินเดียเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง  ในช่วงกลางทศวรรษ 1960 มีการ "ปฏิวัติเขียว" ซึ่งทำให้ต้องใช้น้ำ ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก  แหล่งน้ำผิวดินในช่วงต้นยังพอมีให้ใช้แต่ไม่ปลอดภัยสำหรับการอุปโภคบริโภค เนื่องจากขยะจากมนุษย์ และการปนเปื้อนจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรสมัยใหม่   ระบบน้ำประปาไร้ประสิทธิภาพ และเชื่อถือไม่ได้ในภูมิภาค  มีปริมาณน้ำประปาสูญเสียจากการรั่วซึมมากถึง 40% ในกรุงนิวเดลี  ทางเลือกที่ประหยัดกว่าในระยะยาวคือการขุดน้ำบาดาล  แต่ค่าขุดน้ำบาดาลมีราคาค่อนข้างสูง  ประชาชนที่ยากจนจำนวนมากไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะจ่ายค่าขุด   การซื้อน้ำที่มีราคาแพงจากรถขนน้ำจึงเป็นทางเลือกเดียวสำหรับหลายๆ ครัวเรือน

เพื่อเอาใจประชาชนส่วนให้ที่มีรายได้น้อยในภูมิภาคนักการ เมืองออกหลักเกณฑ์ที่ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี หรือช่วยสนับสนุนค่าไฟฟ้าให้มีราคาถูกกว่าปกติสำหรับเกษตรกร (ฟังดูคุ้นๆ จัง) ทำให้ต้นทุนของการสูบน้ำต่ำกว่าที่ควรจะเป็น  แม้นว่าเกษตรกรจะเผชิญปัญหาระดับน้ำใต้ดินที่ต่ำลงและต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในสูบมากขึ้นก็ยังไม่ค่อยเป็นประเด็นสำหรับพวกเขาเนื่องจากราคาค่าไฟฟ้า ถูกกว่าปกติ

การเติบโตของสังคมเมือง และช่องว่างของรายได้  ทำให้มีการเติบโตของประชากรที่ร่ำรวยในสังคมเมืองมากขึ้น  พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มากขึ้น  ทำให้ต้องปลูกพืชมากขึ้น (และใช้น้ำมากขึ้น) เพื่อเลี้ยงประชากรในสังคมเมือง  มีการประมาณการว่าจะความต้องการใช้น้ำจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปี พ.ศ. 2573  ปัญหาจะรุนแรงมากขึ้นนอกจากว่าจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

การ ใช้งานน้ำใต้ดินอย่างไม่ยั่งยืน (มีการสูบน้ำมาใช้มากกว่าการเติมน้ำ) นอกจากจะทำให้ระดับน้ำใต้ดินลดลงอย่างต่อเนื่องยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ด้วย  การสูบน้ำใต้ดินในระดับที่ลึกมากขึ้นเรื่อยๆ พบว่ามีปริมาณสารหนู สารฟลูออไรด์ และสารพิษอื่นๆ ปนเปื้อนอยู่ในระดับที่สูงมากขึ้น   ส่งผลกระทบกับสุขภาพของคนที่มีรายได้น้อยที่ไม่มีทางเลือกอื่นในการหาน้ำ บริโภค (ต้องใช้น้ำใต้ดินในการบริโภค)   ในบางแหล่งน้ำใต้ดินมีเกลือปนเปื้อนอยู่การสูบขึ้นมาใช้ในการเกษตร  ก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนของเกลือที่ผิวดิน  ทำให้ดินเค็มทำการเกษตรไม่ได้ผลอีกต่อไป

ระดับน้ำใต้ดินที่ต่ำลง ยยังทำให้เกิดการซึมของน้ำจากผิวดินซึ่งปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีมากขึ้น   หลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีการซึมของน้ำจากระบบส้วม ระบบน้ำถึง รวมถึงสารเคมีจากการเกษตรลงไปในแหล่งน้ำใต้ดินมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง   ในพื้นที่ใกล้ทะเลก็พบการแทรกซึมของน้ำเค็มจากทะเลเข้ามาแทนที่น้ำจืดใต้ดิน ที่ถูกดึงไปใช้งาน

ปัญหาการหมดไปของน้ำใต้ดินกำลังเป็นปัญหาวิกฤตที่ ยากในการแก้ไข  เนื่องจากเป็นการยากที่จะให้ทุกๆ คนลดการใช้น้ำใต้ดินลงเพื่อให้ปริมาณการใช้น้ำรวมทั้งชุมชนลดลง  สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นมากกว่าคือต่างคนต่างจะสูบน้ำใต้ดินออกมาให้มากที่สุด ในระหว่างที่ยังสามารถทำได้ซึ่งสุดท้ายแล้วจะทำให้ทุกๆ คนแย่ลงกว่าการพยายามร่วมมือกันลดการใช้น้ำ  เราอาจจะสามารถทำให้คนในหมู่บ้านเดียวกันมาร่วมมือกันลดการใช้น้ำได้  แต่แหล่งน้ำใต้ดินเดียวกันอาจจะเชื่อมต่อหลายหมู่บ้าน หลายตำบล หรือแม้นแต่หลายอำเภอ   แต่การที่เราจะได้รับความร่วมมือลดการใช้น้ำของทุกครัวเรือนของทั้งจังหวัด คงจะเป็นเรื่องยากมากๆ

ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วม มือกันของคนทั้งชุมชน  ตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาน้ำของหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ Hiware Bazar ซึ่งอยู่ในเขตเงาฝน ในอำเภอ Ahmednagar ของจังหวัด Maharashtra ของประเทศอินเดีย หมู่บ้านแห่งนี้มีฝนตกประมาณ 600 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งคิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในประเทศไทย  หรือเพียง 1 ใน 6 ของปริมาณน้ำฝนที่ตกที่จังหวัดตราด หรือระนอง



หมู่ บ้าน Hiware Bazar ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรงในปี พ.ศ. 2515 ทำให้มีปัญหาขาดแคลนน้ำ  ปัญหาอาชญกรรมที่เพิ่มขึ้น  และมีการอพยพออกจากหมู่บ้านไปหางานทำในเมืองเป็นจำนวนมาก  ชาวบ้านส่วนที่เหลืออยู่ในหมู่บ้านหันมาต้มสุราเถื่อนขายเพื่อหารายได้ที่ สูงขึ้นแต่มิได้ทำให้สถานะการณ์ดีขึ้น สภาพสังคมกลับเลวร้ายลงเรื่อยๆ   จนกระทั่งนาย Popatrao Baguji Pawar นักศึกษาจบปริญญาเพียงคนเดียวของหมู่บ้านที่ปฏิเสธการเข้าไปทำงานในเมือง ใหญ่  เขาเลือกที่จะอยู่พัฒนาหมู่บ้านของเขา  เขาได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านในปี พ.ศ. 2533  ท่ามกลางการคัดค้านของญาติพี่น้องที่ต่างก็ต้องการให้เขาไปทำงานในเมือง เพื่อชีวิตที่ดีกว่า  หลังจากที่ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านเขาได้ขออนุมัติงบในการปรับปรุงทรัพยากร ธรรมชาติตามแบบอย่างของหมู่บ้าน Ralegan Siddhi ซึ่งประสบปัญหาอย่างเดียวกันแต่ห่างไป 35 กิโลเมตร  เขาใช้งบของภาครัฐและอาศัยแรงงานจากชาวบ้านร่วมกันปรับปรุงหมู่บ้าน

Pawar ได้เรียกร้องลูกบ้านให้ร่วมกันในการลดการใช้น้ำ  ระบบน้ำหยดถูกนำมาใช้งานแทนการให้น้ำแบบเดิมๆ  มีการหลีกเลี่ยงการปลูกพืชที่ใช้น้ำเยอะอย่างอ้อย และกล้วย   มีการขุด swale และโครงสร้างเติมน้ำใต้ดินที่เรียกว่า percolation tank กว่า 52 แห่ง  สร้าง terrace แบบมีกำแพงค้ำยันเป็นหิน 32 แห่ง และสร้างฝายน้ำล้น (ฝายแม้ว) 9 แห่ง บนภูเขา และชายเขาของหมู่บ้าน  เพื่อดักน้ำฝนลงใต้ดิน  รวมทั้งการอาสาร่วมกันปลูกป่าของชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน

ชาวบ้านร่วมกันสร้าง swale และปลูกต้นไม้


การวางเรียงหินตามแนวระดับเพื่อสร้าง terrace ที่ชะลอน้ำ


การสร้าง Checkdam (ฝายน้ำล้น) และ percolation tank





หมายเหตุ percolation tank จะคล้ายกับสระน้ำ หรือเขื่อนขนาดเล็ก เพื่อดักน้ำที่ไหลมาจำนวนมาในฤดูฝน  แต่จะต่างกับสระน้ำทั่วไปตรงที่เขาจะไม่ได้พยายามให้มันเก็บน้ำอยู่  แต่ต้องการเพียงชะลอน้ำ และให้น้ำซึมลงใต้ดินให้มากที่สุด  ในฤดูแล้งทุกๆ ปี ชาวบ้านมาช่วยกันขุดลอกเอาตะกอนโคลนที่อยู่ที่ก้นสระออกให้ถึงชั้นหินเพื่อ ใหน้ำซึมลงใต้ดินมากที่สุด



การ เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอีกหลายอย่างไม่ว่าจะ เป็นการห้ามตัดต้นไม้โดยเด็ดขาด ห้ามการเลี้ยงวัวในบริเวณป่าฟื้นฟู  การคุมกำเนิด  การตรวจโรคเอดส์ก่อนการแต่งงาน การส่งเสริมงานอาสาสมัครของชุมชน การให้ความสำคัญกับการศึกษา การห้ามขายที่ดินให้กับคนนอกหมู่บ้าน การจัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน การขอร้องให้ใช้น้ำบาดาลเฉพาะการอุปโภคบริโภค (ไม่ให้นำมาใช้ในการเกษตร) เป็นต้น

การจัดการเรื่องน้ำควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก จนกระทั่งหมู่บ้าน Hiware Bazar ถูกจัดให้เป็น "หมู่บ้านอุดมคติ" โดยจังหวัด Maharashtra  และได้รับรางวัล "National Water Award" จากรัฐบาลอินเดียในปี พ.ศ. 2550

จาก ตอนเริ่มต้นโครงการในปี พ.ศ. 2533 หมู่บ้าน Hiware Bazar มีพื้นดินที่เพาะปลูกได้ในหมู่บ้านเพียง 1 ใน 10 และชาวบ้าน 168 ครัวเรือนจากทั้งหมด 182 ครัวเรือนอยู่ในระดับยากจน  ในปี พ.ศ. 2553 รายได้เฉลี่ยของคนในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น 20 เท่า  มี 50 ครอบครัวที่มีรายได้มากกว่า 1 ล้านรูปี (ประมาณ 5 แสนบาท)  และเหลือครอบครัวที่ยังยากจนเพียง 3 ครอบครัว   ชาวบ้านสามารถเก็บเกี่ยวหญ้ามาเลี้ยงวัวเพิ่มขึ้นจาก 100 ตัน มาเป็น 6,000 ตัน  กำลังการผลิตน้ำวัวเพิ่มขึ้นจาก 150 ลิตรต่อวัว มาเป็น 4,000 ลิตรต่อวัน  ชาวบ้านให้ความสำคัญกับการศึกษามากขึ้น มีชาวบ้านจำนวน 18 ครอบครัวอุทิศที่ดินเพื่อจัดสร้างอาคารเรียนและสนามเด็กเล่นของโรงเรียน  อัตราการอ่านออกเขียนได้เพิ่มจาก 30% เป็น 95%  มีหลายครอบครัวย้ายกลับจากในเมืองเพื่อกลับมาทำงานในหมู่บ้าน

ก่อน จะมาเป็นความสำเร็จในปัจจุบัน Pawar  ต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก  ตอนต้นๆ เขาปลูกต้นไม้และล้อมรั้วไว้  รั้วโดนชาวบ้านตัดไปทำฟืน และปล่อยวัวเข้ามากินต้นไม้ที่ยังเล็กอยู่   ชาวบ้านต่างพยายามใช้น้ำเสมอหนึ่งกับเป็นทรัพยาการส่วนตัว  ไม่ห่วงความเดือดร้อนของคนอื่น  การความพยายามในการเปลี่ยนแปลงชาวบ้านมายาวนาน  ปัจจุบันหมู่บ้านของเขามีการช่วยกันตรวจสอบระดับน้ำ และปริมาณน้ำฝนเป็นประจำ  ข้อมูลถูกนำมารวบรวมและวางแผนการใช้น้ำร่วมกันทั้งหมู่บ้าน กลายเป็นกฎง่ายๆ ดังนี้
- ถ้าฝนตกน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรให้งดเว้นการเพาะปลูกข้าว ยอมให้เพาะปลูกพืชสวนครัวเท่านั้น
- ถ้าฝนตกมากกว่า 100 มิลลิเมตร จะมีน้ำพอสำหรับการดื่ม และการปลูกพืชเพียงรอบเดียว
- ถ้าฝนตกมากกว่า 200 มิลลิเมตร จะมีน้ำพอสำหรับการดื่ม และการปลูกพืชเต็มพื้นที่เพียงรอบเดียว + การปลูกเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นที่ 2 รอบ
- ถ้าฝนตกมากกว่า 300 มิลลิเมตร จะมีน้ำพอสำหรับการดื่ม และการปลูกพืชเต็มพื้นที่สามรอบเดียว
หมายเหตุ ฝนประเทศไทยตกเฉลี่ยประมาณ 1,498 มิลลิเมตรต่อปี ของจังหวัดเพชรบุรีจะอยู่ที่ 1,044.1  มิลลิเมตรต่อปี

ฟังเรื่องราวของหมู่บ้าน Hiware Bazar แล้วไม่น่าเชื่อว่าทุกอย่างเริ่มต้นมาจากการเก็บน้ำลงใต้ดิน   ยิ้ม ยิ้ม ยิ้มเท่ห์