8 กุมภาพันธ์ 2557

บทเรียนเรื่องน้ำจากประเทศจีน

สำหรับประเทศจีน ปัญหาเรื่องความแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นสิ่งที่ดูเหมือนอยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของจีน ที่สามารถย้อนหลังไปได้มากกว่า 4 พันปีที่มีการบันทึกในเรื่องของคลองส่งน้ำและการใช้น้ำบาดาล แม้ในปัจจุบัน ประชากรของจีนมีน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้เฉลี่ยต่อปีเท่ากับหนึ่งในสี่ของ ปริมาณน้ำเฉลี่ยที่ใช้กันต่อประชากรของโลก หรืออยู่ที่ 2,117 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี (มากกว่าอินเดีย น้อยกว่าประเทศไทย)  สำหรับเขตภาคเหนือของประเทศจีนรวมถึงปักกิ่งที่เป็นเมืองหลวง สถานการณ์ดูเหมือนยิ่งเลวร้าย ประชากรเกือบครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ แต่มีน้ำที่สามารถใช้ได้น้อยกว่า หนึ่งในห้า ของน้ำทั้งหมดของประเทศ  นั่นคือ ประชากรทางตอนเหนือมีน้ำที่สามารถใช้ได้เพียงหนึ่งในสี่ของประชากรทางใต้ของ ประเทศ

แตกต่างกับแนวทางของประเทศอินเดียที่เน้นการอนุรักษ์น้ำเพื่อ ให้ชุมชนสามารถประทังชีพได้จากปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่  รัฐบาลกลางของประเทศจีนมักแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยวิธีการสร้างเขื่อน คลองส่งน้ำขนาดใหญ่ ตลอดประวัติศาสตร์ของประเทศ จนถึงปัจจุบัน   ตรงข้ามกับอินเดียที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐ จีนที่มีลักษณะการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจไว้รัฐบาลกลาง การดำเนินการโครงการขนาดใหญ่จึงสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบกลไก ของรัฐ

เมื่อประเทศจีนได้เริ่มเปิดประเทศเพื่อรองรับการลงทุนจาก ต่างประเทศ ทำให้ประเทศจีนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าสองหลักมากว่าทศวรรษ ความจำเป็นในการต้องใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและ ประชากรเพิ่มสูงขึ้น ตามรายงานของธนาคารโลก ความต้องการน้ำในจีนเพิ่มขึ้น 32% หรือ 818 พันล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2573 รัฐบาลกลางจีนทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลใช้ลงทุนในการสร้างโครงการที่เกี่ยว กับทรัพยากรน้ำขนาดใหญ่ อาทิเช่น โครงการส่งน้ำใต้สู่เหนือที่นำน้ำจากแม่น้ำแยงซี เข้าสู่แม่น้ำเหลือง โดยการก่อสร้างใช้งบประมาณมากกว่า 5.8 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเสร็จในปี 2557 โครงการเขื่อนสามผาทั้งสองโครงการส่งผลกระทบต่อสังคมและสภาพแวด ล้อมอย่างมหาศาล



การ ที่รัฐบาลจีนยังคงแนวความคิดการจัดการทรัพยากรน้ำเรื่องโครงการส่งน้ำขนาด ใหญ่ ได้ทำให้เกิดกรณีพิพาทขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการน้ำของจีนเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้นทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ โดยประชาชนในเขตเหอเป่ย แสดงความไม่พอใจกับโครงการส่งน้ำใต้สู่เหนือ ในการที่ต้องแบ่งน้ำส่งยังคลองส่งน้ำเข้าสู่กรุงปักกิ่ง  กลายเป็นประเด็นพิพาทในระดับภูมิภาค กับการที่จีนได้เข้าควบคุมแหล่งน้ำในทิเบตอันเป็นต้นน้ำสำคัญของประเทศ อินเดียและประเทศในอาเซียน

การเติมน้ำลงใต้ดินเป็นกระบวนการไหลซึม ของน้ำจากผิวดินสู่ชั้นระดับน้ำใต้ดิน  กระบวนนี้อาจจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือผ่านการเติมโดยโครงโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงจำนวนมากของจีน อันได้แก่ เขื่อน ม่านวาน (Manwan) เขื่อนต้าเฉาซาน (Dachaoshan) เขื่อนจิ่งหง (Jinghong) และอีกสามเขื่อนซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอันได้แก่ เขื่อนกงกว่อเฉียว (Gongguoaiao) เขื่อนเสี่ยววาน (Xiaowan) และเขื่อนนั่วจาตู้ (Nuozhadu) ยังมีแผนสร้างอีกสองเขื่อน อันได้แก่ เขื่อนเม็งซอง (Mengsong) และเขื่อนกันหลั่นป้า (Ganlanba) ทำให้เกิดปัญหาความแห้งแล้งในลุ่มน้ำตอนล่างอันกระทบต่อ ประเทศในแถบอาเซียน อันได้แก่ ไทย เวียดนาม กัมพูชา และลาว  ทำให้ประเทศในตอนล่างของลุ่มน้ำโขงได้รับผลกระทบจากการเหือดแห้งของน้ำ เมื่อ มีนาคม 2553 อันกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรสองฝั่งแม่น้ำ และได้กลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงระหว่างประเทศ เห็นได้ว่าการดำเนินการของจีนในเรื่องนโยบายที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ กลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศและมีแนวโน้มที่จะรุนแรงเพิ่มขึ้น



จีน ได้วางแผนในการสร้างเขื่อนในแม่น้ำหยาหลง ซางโป (Yarlong Zangpo) ที่ไหลผ่านอินเดียและบังกลาเทศในชื่อแม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra) โครงการเขื่อนซางโป (Tsang Po) ใช้พื้นที่ในการรับน้ำจำนวน 90,000 ตารางกิโลเมตรในอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทที่จีนอ้างสิทธิครอบครอง ทางการอินเดียได้แสดงความวิตกกังวลในการประชุมครั้งล่าสุดกับจีนในโครงการ ดังกล่าว

การขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาใหญ่ แต่การดำเนินการของจีนในเรื่องการสร้างเขื่อน ส่งผลให้เกิดปัญหา เป็นการเพิ่มความตึงเครียดกับทางอินเดียมากขึ้นรวมถึงกับประเทศที่ได้รับผล กระทบจากแม่น้ำโขง จนอาจกลายเป็นข้อพิพาทในระดับภูมิภาค จีนต้องเลือกระหว่างสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นกับความต้องการทรัพยากรน้ำของตน กับประเทศเพื่อนบ้าน หรือความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้น จนนำไปสู่การพิพาทเรื่องแหล่งน้ำ

จีนสามารถแก้ปัญหาเรื่องทรัพยากร น้ำ นอกเหนือจากการสร้างโครงการขนาดใหญ่ ที่หลายประเทศมองว่าเป็นการกอบโกยทรัพยากรน้ำ แต่ไม่ได้มีการจัดการบริหารน้ำภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพรองรับ จีนต้องหันกลับมาปรับปรุงการบริหารจัดการความต้องการน้ำให้ดีขึ้น (demand management) ดังที่ปรากฏในรัฐอุตตรประเทศของประเทศอินเดีย เพื่อให้สามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยไม่ทำให้ต้องมีการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและมลพิษทางน้ำต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นตามการเจริญของอุตสาหกรรม การออกกฎหมายและบังคับใช้ในเรื่องการบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง เข้มงวด เป็นต้น

การควบคุมความต้องการในการใช้น้ำโดยผ่านกลไกด้าน ราคา เป็นทางเลือกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้น้ำ ดังเช่นที่ประสบความสำเร็จในสิงคโปร์ ในการกำหนดผ่านอัตราภาษีในการใช้น้ำในอัตราที่สูงขึ้นกับการใช้น้ำที่เกิน กว่า 40 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน และการเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมกับอุตสาหกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรน้ำเกิน กว่าที่กำหนด ทั้งจีนและอินเดียสามารถนำมาปรับใช้กับเขตเมือง ที่มีอัตราในการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

ในส่วนของภาค เกษตรกรรม ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนยากจน การนำกลไกราคามาใช้เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา การบริหารจัดการน้ำผ่านการเลือกปลูกพืชที่เหมาะสมเป็นแนวทางในการจัดการ บริหารน้ำโดยให้ทางเกษตรกรผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนในการตัดสินใจ และสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ดังปรากฏในรัฐอุตตรประเทศ เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการจัดการบริหารความต้องการน้ำในอนาคต

ปัญหา ความขาดแคลนน้ำเพิ่มความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว การขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อการเจริญเติบโตของประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอันมีผลต่อประชากรทั้งประเทศ และเสี่ยงต่อความขัดแย้งและข้อพิพาทระหว่างประเทศ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในอนาคต จึงเป็นการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมกับระบบที่มีประสิทธิภาพในประเทศ

จากปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำที่ เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่เห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างประเทศต้น น้ำกับประเทศท้ายน้ำ ชนบทที่ใช้น้ำเพื่อการกสิกรรมกับเขตเมืองที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ดังนั้น มาตรการกระจายน้ำให้เท่าเทียมกันอย่างยุติธรรม จึงสะท้อนให้เห็นถึงความยุติธรรมในสังคมนั้น

การกระจายน้ำให้ทั่วถึง อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม สามารถสะท้อนผ่านกลไกด้านราคาและภาษี ในเขตเมืองซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีรายได้สูง การนำกลไกด้านภาษีมาใช้ ดังเช่นรูปแบบที่สิงคโปร์ดำเนินการ สามารถกระทำได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับเขตชนบทที่ต้องพึ่งพาน้ำเพื่อการกสิกรรมและสร้างรายได้ กลไกด้านราคาและภาษีจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานในการนำไปสู่การปฏิบัติ แต่การให้เกิดความเข้าใจในเรื่องคุณค่าของทรัพยากรน้ำและการมีส่วนร่วมเพื่อ ให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นความจำเป็นอันเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในรัฐอุตตรประเทศ

สำหรับความขัดแย้งระหว่าง ประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ประเทศที่อยู่ในลุ่มน้ำคงต้องจัดสรรผลประโยชน์จากทรัพยากรน้ำดังกล่าวร่วม กัน ตามลักษณะของความเหมาะสมของแต่ละประเทศ ดังตัวอย่างกรณีของโครงการเขื่อนในประเทศลาว ซึ่งเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นหุบเขา และมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน ประกอบกับการที่มีประชากรน้อย ทำให้การสร้างเขื่อนเกิดปัญหาในแง่ผู้ได้รับผลกระทบไม่มาก ประมาณกันว่า ประเทศลาวสามารถสร้างเขื่อนได้มากกว่า 70 แห่ง ซึ่งสามารถส่งน้ำและไฟฟ้าให้ประเทศใกล้เคียง อันเนื่องจากการที่ประชากรในประเทศลาวน้อย การบริโภคน้ำและไฟฟ้าจึงมีปริมาณน้อย ทำให้มีปริมาณน้ำส่วนเกินในการส่งออก ซึ่งขณะนี้มีการลงทุนของประเทศไทย 2 แห่ง และเกาหลีใต้อีก 1 แห่ง เขื่อนดังกล่าวสามารถส่งน้ำและไฟฟ้าส่วนเกินเลี้ยงประเทศไทยและประเทศใกล้ เคียงได้ อันเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่เกิดขึ้นในภูมิภาค

หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลจากบทความเรื่อง "วิกฤติการขาดแคลนน้ำของจีน-อินเดีย กับ ความตึงเครียดทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น" โดย : ดร.พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูล, สมยศ อรรคฮาดสี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


สำหรับประเทศไทย บทเรียนเรื่องการขาดแคลนและการบริหารจัดการน้ำของจีนและอินเดีย แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า ปัญหาเรื่องความมั่นคงของด้านทรัพยากรน้ำ หมายถึง ความมั่นคงของอาหารในการเลี้ยงประชากร ความมั่นคงในเรื่องพลังงาน  ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก อันเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการพิจารณาแก้ไขในภาพรวม รวมถึงต้องมีความร่วมมืออย่างจริงจังในระหว่างประเทศ ความร่วมมือในเรื่องโครงการลุ่มน้ำโขง อันประกอบด้วย ประเทศไทย จีน พม่า เวียดนาม ลาว และเขมร ต้องมีการวางแผนระยะยาวในเรื่องการแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรน้ำ

ใน ส่วนภาคเกษตรกรรม การจัดการน้ำของรัฐอุตตรประเทศของอินเดียเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับรัฐบาลไทย ในเรื่องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินในเรื่องการบริหารจัดการ น้ำ รวมถึงการกำหนดประเภทของพืชที่จะทำการเพาะปลูก ภายใต้การสนับสนุนเรื่องข้อมูลต่างๆ ที่ช่วยให้หมู่บ้านสามารถดำเนินการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น การวัดปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำใต้ดิน เป็นต้น ขณะที่โครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับน้ำ อาทิเช่น เขื่อนขนาดใหญ่ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก และประสบปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน ดังเช่นที่ประสบปัญหาในจีน ที่ต้องเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการน้ำในประเทศ มากกว่าการแสวงหาแหล่งน้ำใหม่เพียงอย่างเดียว

จากงบประมาณในโครงการ ของภาครัฐ จะพบว่างบประมาณส่วนใหญ่ได้ใช้ในเรื่องของโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการชลประทานขนาดใหญ่  ภาครัฐของไทยกำลังไปพยายามบริหารจัดการที่ปลายน้ำ หรือกลางน้ำ (เช่น แม่น้ำสายหลัก) แทนที่จะไปบริหารจัดการที่ต้นน้ำ  งบประมาณดังกล่าวควรที่จะนำมาส่งเสริมการสร้างเขื่อนขนาดเล็ก ฝาย ระบบการจัดเก็บน้ำฝน หรือโครงสร้างการเติมน้ำลงใต้ดินต่างๆ ในระดับครัวเรือน/หมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการรองรับน้ำเพิ่มขึ้น และสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวมากกว่าโครงการขนาดใหญ่ ที่มีปัญหาทั้งในแง่สิ่งแวดล้อม และการจัดสร้างเพิ่มมากขึ้น  โดยในช่วงต้นควรจะไปเน้นที่พื้นที่ต้นน้ำ และพื้นที่ที่ความสูงในทุกๆ จังหวัด  เพื่อจะชะลอน้ำที่จะไหลมารวมในแม่น้ำ  เพิ่มการซึมของน้ำลงใต้ดิน  ลดการไหลของตะกอนมาลงแม่น้ำ  ทำให้การซึมของน้ำจากแม่น้ำลงในดินทำได้มากขึ้น (เนื่องจากตะกอนโคลนตมเหล่านี้จะไปอุดตันการไหลของน้ำลงใต้ดิน)  ลดการสะสมของตะกอนดินเหนือเขื่อน (ซึ่งทำให้เขื่อนมีอายุสั้นลง และลดประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำของเขื่อน การที่เขื่อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราก็อาจจะไม่ต้องสร้างเขื่อนจำนวนมากจนเกินไป)

ผมไม่ทราบว่าเราจะรอ ให้ภาครัฐรู้ตัวแล้วหันมาส่งเสริมการอนุรกษ์น้ำที่ระดับครัวเครือ/ชุมชนหรือ เปล่า?  แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน  ผมคิดว่ารัฐบาลคงจะวุ่นวายกับสถานการณ์เฉพาะหน้าของเขาไปก่อน ทั้งปัญหาราคาสินค้าเกษตร ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่ความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ต่อให้วันนี้เปลี่ยนเป็นรัฐบาลของอีกค่ายหนึ่งก็ยังคงต้องมุ่งที่การบริหาร ความขัดแย้งของคนในชาติเป็นหลักก่อน   ดูท่าแล้วท่าทางภาคประชาชนคงจะรอให้ภาครัฐเป็นคนริเริ่มไม่ไหว  เราคงจะพยายามริเริ่มกันไปเองก่อน   แล้วได้แต่ภาวนาว่าสักวันหนึ่งภาครัฐจะมีดวงตาเห็นธรรม(ชาติ)

ปล1. ที่หมู่บ้านผมเริ่มต้นบ้างแล้ว โดยมีโครงการสร้างฝายชะลอน้ำบนภูเขาบริเวณต้นน้ำ  การปลูกแฝกตามแนวลำห้วยส่งน้ำไปยังหมู่บ้าน และโครงการปลูกป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติ แต่ดูเหมือนโครงการเหล่านี้จะถูกพลักดันมาจากทีมงาน NGO ของโครงการปิดทองหลังพระ และมูลนิธิชัยพัฒนา  ไม่ได้เป็นโครงการของภาครัฐดังที่เคยหวังไว้ 

ปล2. ถ้าเป็นโครงการของภาครัฐอาจจะสนับสนุนการปลูกหญ้าแพรกแทน  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น