1 เมษายน 2557

ผักกาดนกเขา - ว่านมหากาฬ - ผักคออ่อน - แป๊ะตำปึง - หนาดหลวง - หนาดน้อย - หนาดวัว - สาบแฮ้ง

ผักกาดนกเขา

ผักกาดนกเขา (ชื่อวิทยาศาสตร์ Emilia sonchifolia วงศ์ Compositae หรือ Asteraceae ) มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ เช่น ภาคกลาง เรียกว่าหางปลาช่อน ภาคอีสานเรียก ผักลิ้นปี่ ภาคเหนือเรียก ผักบั้ง

ผักกาดนกเขาเป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่คนทั่วไป นิยมนำมาใช้บริโภคเป็นอาหาร เช่นนำมาประกอบเป็นแกงเผ็ดประเภทแกงพุงปลา (แกงไตปลา) แกงส้ม(แกงเหลือง) และบริโภคเป็นผักเหนาะสำหรับแกล้มแกงเผ็ดและขนมจีน เป็นต้น

ลักษณะของใบ ใบของผักกาดนกเขา มีลักษณะยาวปลายมน ขอบใบโค้งหยักเล็กน้อย เป็นประเภทใบเดี่ยวเกิดสลับตำแหน่ง-ตรงกันข้าม มีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วใบ ก้านใบห่อหุ้มลำต้น หลังใบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีม่วงแดง ส่วนก้านใบและยอดสีเขียวนวล

ลักษณะของดอก ดอกของผักกาดนกเขามีลักษณะ เป็นช่อ ออกปลายยอด ก้านช่อดอกยาว และมีใบเล็ก ๆ ที่ก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงยาวเกือบปิดกลีบดอก มีสีเขียว ส่วนกลีบดอกสีม่วงอมชมพูมีเกสรสีขาวฟูเป็นฝอยฝอยคล้ายพู่
ผักลิ้นปี่
ลักษณะของเมล็ด ผักกาดนกเขามี เมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะแบนรี สีน้ำตาล อมดำ ตรงปลายมีขนสีขาว และปลิวตามลมได้ง่าย

ประโยชน์ของผักกาดนกเขา
ผักกาดนกเขา เป็นพืชที่มีรสจืดเย็น สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

1. ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อนกินเป็นผักเหนาะ จิ้มน้ำพริก แกงเลียง แกงคั่วพริกกับปลาย่าง
2. ทางยา ในทางการแพทย์พื้นบ้านนิยมใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคหลายประการ ดังนี้
- ใช้ลำต้นตำให้แหลกคั่นน้ำดื่มเป็นยา แก้เจ็บคอ รักษาโรค บิด และ ท้องร่วง
- ใช้ทั้งต้นตำให้แหลกพอกหัวฝี และใช้ทาแก้อาการผื่นคัน
- ใช้รากตำให้แหลกคั่นเอาน้ำดื่ม แก้ตานซางขโมยในเด็ก


พืชอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีลักษณะใบและดอกคล้ายต้นผักกาดนกเขา (บางครั้งก็อาจถูกเรียกว่าผักกาดนกเขา)  แต่ไม่ใช่ต้นเดียวกัน (เครดิตภาพข้างล่างจากอินเทอร์เน็ตทั้งหมด) ได้แก่ :

ว่านมหากาฬ ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura pseudochina วงศ์ Compositae
ว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ

ผักคออ่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Crassocephalum crepidioides วงศ์ Compositae
ผักคออ่อน


ผักคออ่อน

แป๊ะตำปึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura procumbens วงศ์ Compositae (ปล. มีบางแหล่งสับสนบอกว่าชื่อวิทยาศาสตร์คือ Gynura divaricata แต่เท่าที่ตรวจสอบข้อมูลจากต่างประเทศแล้วเป็นคนละต้น ต้นที่มีสรรพคุณทางยาเหมือนแป๊ะตำปึงคือ Gynura procumbens )
แป๊ะตำปึง


แป๊ะตำปึง


นอกจากนั้นที่คล้ายกันก็เป็นสกุล Blumea  (วงศ์ Compositae หรือ Asteraceae)ซึ่งในประเทศไทยมี 5 ชนิดคือ หนาดหลวง (Blumea balsamifera DC.), หนาดวัว (B. lacera DC.), สาบแฮ้ง (B. membranacea DC.), หนาดน้อย (B. napifolia DC.) และหนาดขาว (B. mollis Merr.)   เรามาลองดูว่าจะคล้ายกับชนิดไหน 

หนาดหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea balsamifera


หนาดวัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea lacera


สาบแฮ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea membranacea


หนาดน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea napifolia


ส่วนต้นที่สวนของผม (รูปด้านล่าง) ดูๆ แล้วคิดว่าต้นที่ผมเจอที่สวนคล้ายกับต้น "สาบแฮ้ง" และต้น "หนาดน้อย" มากพอสมควร






อ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน http://my-experimental-farm.blogspot.com/p/plants.html

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น