
นั่นหมายความว่าในพื้นที่ชายขอบจึงจะมีความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าปกติ และจะช่วยในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ด้วยเหตุผลดังนี้ :
- ทรัพยากรของทั้ง 2 สภาพแวดล้อมสามารถเข้าถึงได้ในโซนเดียว
- สภาพต่างๆ เช่น อุณหภูมิของอากาศ, ความชื้นในอากาศ, ความชื้นในดิน หรือความเข้มของแสงจะเปลี่ยนแปลงที่ชายขอบ
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่ชายขอบจะสร้าง microclimate ที่จะสนับสนุนการดำรงอยู่ของพืช และสิ่งมีชีวิตสกุลใหม่ๆ ทำให้มีความหลากหลายมากขึ้น
- ความหลากหลายทางชีววิทยาของพืชทำให้เพิ่มแมลง ซึ่งจะเพิ่มนก และสุดท้ายจะเพิ่มสัตว์ที่เป็นนักล่าต่างๆ
- ขอบยังทำหน้าที่เป็นเหมือนกับตาข่ายในการดักจับการเคลื่อนที่ของแร่ธาตุ ต่างๆ ข้ามรอบขอบ เช่น ฝุ่นถูกลมพัดพามาจะหยุดที่แนวของชายป่า หรือเปลือกหอยถูกคลื่นพัดพามาอยู่ที่ริมชายหาด เป็นต้น
- นอกจากจะมีการเคลื่อนที่ของสสารที่ชายขอบ ก็ยังมีการเคลื่อนที่ของพลังงานด้วย การเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติเหล่านี้จะส่งอิทธิพลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ทาง นิเวศวิทยา
ตัวอย่างที่แม่นางสุนำเสนอก็เป็นอีกตัวอย่างที่ดี ด้านที่ต่ำกว่าจะรองรับน้ำให้ซึมลงในดิน ส่วนด้านที่สูงกว่าจะตอบโจทย์เรื่องอากาศสำหรับรากของพืช
ในการนำมา ใช้ในงานออกแบบของเพอร์มาคัลเชอร์จึงมุ่งเน้นที่จะใช้แพทเทิร์นที่จะเพิ่ม พื้นที่ชายขอบ เช่น ขนาดสระที่มีความจุเท่ากันเราอาจจะปรับรูปแบบให้มีขอบตลิ่งมากขึ้น

การสร้างทางเดินในสวนแทนที่จะทำเป็นร่องตรงๆ การทำเป็นแนวโค้งไปมา หรือทำเป็น key hole จะเพิ่มพื้นที่ชายขอบมากกว่า

การ ปลูกต้นไม้สลับแถวกันด้วยระยะห่างระหว่างต้นเท่ากัน จะทำให้สามารถปลูกได้จำนวนต้นมากกว่า การปลูกสลับระหว่างต้นไม้หลายชนิดที่มีความสูงหลากหลายกันก็จะยิ่งทำให้เรา สามารถปลูกต้นไม้ได้จำนวนมากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม

การใช้พื้นที่ในแนวดิ่ง เป็นอีกเทคนิคในการเพิ่มความหลากหลายของพื้นที่ ทำให้เราปลูกพืชต่างชนิดได้มากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม

ด้วยความรู้เรื่อง Edge Effect Theory แบบนี้ผมจึงมักจะเลือกปลูกต้นไม้ที่ชายขอบก่อน แล้วค่อยๆ ขยายออกไป

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น