8 พฤศจิกายน 2556

แอร์ธรรมชาติ เป็นไปได้หรือ?

ก่อนอื่นขอให้พิจารณาภาพใหญ่ก่อน  ในการทำความเย็นให้กับบ้านจะแบ่งออกเทคนิคออกเป็น

  • การป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในตัวบ้าน เช่น
    • Site Design คือการเลือกตำแหน่งของการสร้างบ้านที่เหมาะสม การดูสภาพแวดล้อมภายนอกที่อาจจะสร้างไม่ว่าจะเป็นทิศแดด ลม และต้นไม้ที่จะสร้าง Microclimate ที่มีความร้อนน้อยกว่าปกติ
    • Solar control คือการลดความร้อนจากแสงแดด เช่น การทำโครงสร้างบังแดด การเลือกสีในการทาบ้านที่เหมาะสม
    • Building form และ layout หมายถึง ทิศทางของบ้าน การเลือกโซนการใช้ห้องที่เหมาะสมกับอุณหภูมิในช่วงเวลาต่างๆ ของวัน ทิศทางการไหลของลม เป็นต้น
    • Thermal insulation การเลือกวัสดุหรือแบบในการสร้างบ้านในส่วนต่างๆ ก็จะมีผลต่อความเป็นฉนวนของบ้าน เช่น การทำผนัง 2 ชั้น การทำผนังแบบมีฉนวนอยู่ตรงกลาง การเลือกใช้อิฐมวลเบาเป็นต้น
    • Internal gain control หมายถึง การเลือกที่จะทำให้ภายในบ้านลดการสร้างความร้อนที่ไม่จำเป็น การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมก็จะช่วยลดการเกิดความร้อนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ลงได้
  • การกระจายความร้อน (Heat Dissipation) ใช้หลักการจุความร้อน หรือการนำเอาความร้อนจากในบ้านออกมาภายนอกบ้านซึ่งแบ่งได้ออกเป็นเทคนิคย่อยๆ อีกหลายอย่าง
    • Thermal mass คือ การสร้างบ้านให้มีความจุความร้อนที่เหมาะสม เช่นการสะสมความร้อนในช่วงกลางวันและปล่อยความร้อนในตอนกลางคืนเพื่อให้อุณหภูมิในบ้านอุ่นในฤดูหนาว ในฤดูร้อนซึ่งเราอาจจะไม่ต้องการ affect แบบนี้อาจจะต้องทำงานร่วมกับเทคนิคอื่นๆ เช่น การระบายอากาศในตอนกลางคืน
    • Natural Cooling คือการใช้ระบบระบายอากาศ และการแผ่รังสีความร้อนที่เหมาะสมในการนำพาความร้อนจากในบ้านออกไปนอกบ้านซึ่งจะแบ่งออกเป็นเทคนิคย่อยๆ ได้อีก 4 แบบคือ :
      • ระบบระบายอากาศ เพื่อให้อากาศช่วยในการนำพาอากาศร้อนออกไปซึ่งมีอีกหลายวิธี เช่น :
        • cross ventilation คือการออกแบบช่องลมต่างเพื่อให้ลมพัดพาความร้อนจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งจนกระทั่งออกไปจากตัวบ้าน โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเน้นให้ทิศทางเข้าออกของลมอยู่ในแนวเหนือใต้ซึ่งเป็นทิศทางลมประจำ
        • stack ventilation เทคนิคนี้จะดีกว่าแบบ cross ventilation ซึ่งต้องพึ่งลมจากภายนอก โดยอาศัยหลักการปกติที่อากาศร้อนจะลอยขึ้นด้านบน การทำช่องลมที่เหมาะสมทางด้านเพดานจะทำให้อากาศร้อนลอยออกไปทางด้านบน และอากาศที่เย็นกว่าจากช่องอากาศล่างด้านล่างจะไหลจากด้านล่างขึ้นไปแทนที่อากาศร้อน ช่วยลดความร้อนให้กับบ้าน กลไกนี้สามารถทำงานได้แม้นว่าจะไม่มีลมพัดในแนวระดับ
        • night flush cooling เทคนิคนี้จะใช้ได้ดีในกรณีที่มีความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิในตอนกลางวัน และกลางคืน (อาจจะใช้ไม่ค่อยได้ผลกับบ้านในเมืองที่เต็มได้ด้วยอาคารคอนกรีต และมีต้นไม้น้อยมาก แต่น่าจะได้ผลพอสมควรกับบ้านในชนบท) โดยตอนกลางวันบ้านที่มีความจุความร้อนสูงจะค่อยๆ สะสมความร้อนไว้ ซึ่งถ้าอากาศร้อนมากๆ เราอาจะหลีกเลี่ยงการปล่อยอากาศร้อนเข้ามาในบ้านในตอนกลางวัน พอตกกลางคืนอุณหภูมิของอากาศภายนอกลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ภายในบ้านจะยังได้รับความร้อนที่ตัวบ้านสะสมไว้ เพื่อเร่งลดอุณหภูมิภายในบ้านให้ใกล้เคียงกับภายนอก การเร่งให้มีอากาศภายนอกเข้ามาด้วยการเปิดประตู/หน้าต่าง หรือกระทั่งใช้พัดลมดูดอากาศภายนอกเข้ามาก็จะช่วยให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นลง
      • Radiative Cooling คือการกระจายความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อนของบ้านให้กับอากาศเย็นในตอนกลางคืน ทำให้อุณหภูมิของบ้านลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจุดที่เหมาะสมคือหลังคา เทคนิคการแผ่รังสีความร้อนโดยตรงที่มักจะนิยมคือการทำสระน้ำบนหลังคา หรือนำเอาน้ำบรรจุในถุงพลาสติกไปไว้ติดกับหลังคา ในตอนกลางวันน้ำบนหลังคาจะดูดซับความร้อนจากแสงแดดไว้ไม่ให้แผ่ลงมาในบ้าน ในตอนกลางคืนน้ำจะคายความร้อนออกมาไปยังอากาศเย็นที่อยู่ด้านบนโดยตรง ส่วนเทคนิคการแผ่รังสีความร้อนทางอ้อมได้แก่การทำกล่องลมเพื่อนำพาอากาศจากภายนอกให้ผ่านบริเวณที่มีความจุความร้อนมากของบ้าน ลมจะรับความร้อนจากการแผ่รังสี และถูกส่งออกไปยังอากาศภายนอกทางหลังคา
      • Evaporative Cooling ความการควบคุมให้ลมพัดผ่านบริเวณที่มีความชื้นสูง หรือเป็นละอองน้ำ ระบบจะอาศัยหลักที่ว่าน้ำจะดูดพลังงานความร้อนจากอากาศเพื่อให้น้ำระเหยเป็นไอน้ำ ซึ่งจะทำให้อากาศรอบๆ บริเวณที่มีการระเหยเย็นลง เพื่อให้มีการระเหยของน้ำต่อเนื่อง ลมจะต้องพัดพาอากาศที่มีไอน้ำเยอะออกไปที่อื่น
      • Earth Coupling คือการอาศัยการการแลกเปลี่ยนความร้อนกับดินในชั้นล่างๆ เพื่อพาอากาศที่เย็นกว่าขึ้นมาข้างบน

ส่งที่เน้นใน blog นี้คงการใช้เทคนิคร่วมระหว่าง Stack ventilation และ Earth Coupling


หลักการทำงานของอุโมงค์เย็นเกิดจากหลักการทำงานตามธรรมชาติที่อากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นด้านบน  ปกติอากาศเย็นจะไม่ลอยขึ้นมา  แต่การสร้างเป็นอุโมงค์ปิดเมื่อมีอากาศร้อนไหลออกจากบ้านไปด้านบน (ทำงานได้เพราะอากาศร้อนใต้หลังคามีทางไหลออก) อากาศที่เย็นกว่าในอุโมงค์ก็จะถูกดึงให้ขึ้นมาแทนที่อากาศที่ไหลออกไป  หลังคาร้อนจึงทำหน้าที่เหมือนปั๊มอากาศธรรมชาติในการดึงอากาศเย็นขึ้นมาจาก อุโมงค์

เมื่ออากาศเย็นขึ้นมาจากปากอุโมงค์ด้านในบ้านก็จะไปดึงอากาศ อุณหภูมิปกติที่ปลายอุโมงค์อีกด้านให้ไหลลงมาแทนที่  ในขณะที่อากาศอุณหภูมิปกติถูกดึงให้ไหลผ่านอุโมงค์ที่ฝังไว้ใต้ดิน  ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนทำให้อากาศค่อยๆ เย็นลง  และจะมีความชื่้นในอากาศที่ไหลผ่านอุโมงค์บางส่วนถูกความเย็นในดินจนกลั่น ตัวเป็นหยดน้ำ ไหลกลับไปทางปากอุโมงค์ด้านที่อากาศไหลเข้ามาทำให้ความชื้นในอากาศที่ไหล เข้าไปในห้องมีความชื้นน้อยลง ถ้าเรายังจำได้ความชื้นที่น้อยลงก็จะช่วยลดความรู้สึกว่าร้อนของมนุษย์เรา เมื่อเทียบกับอากาศที่ชื้น  ส่วนอากาศที่ไหลผ่านอุโมงค์และเย็นลงนั้นสุดท้ายก็จะถูกถึงให้ไหลขึ้นไปทด แทนอากาศร้อนที่ไหลออกไปทางหลังคาเป็นวัฎจักรหมุนเวียนไปแบบนี้เรื่อยๆ ตลอดเวลาที่ยังมีอากาศร้อนบนหลังคา (เฉพาะช่วงกลางวันนั่นเอง) โดยไม่ต้องใช้พลังงานอื่นมาช่วย

เพื่อให้อุโมงค์เย็นนี้ทำงานตามหลักการนี้ได้จะต้องทำดังนี้
- ฝังท่อให้ลึกพอ เช่น ลึกอย่างน้อย 60 เซนติเมตร - 1.5 เมตร (ความลึกแนะนำคือ 1 เมตร) ไม่งั้นจะมีอุณหภูมิภายในอุโมงค์จะใกล้เคียงกับอุณหภูมิผิวดินไม่ช่วยเรื่อง ทำให้บ้านเย็น
-  ท่อต้องยาวพอเพื่อให้อากาศมีเวลาในการแลกเปลี่ยนความร้อน ควรจะยาวอย่างน้อย 10 เมตร (ระยะแนะนำคือ 15-20 เมตร) แต่ถ้ายาวเกิน 30 เมตรจะไม่ช่วยให้เย็นมากขึ้น  และท่อควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-12 นิ้ว
-  ท่อควรจะเอียงลงไปทางด้านที่ไกลจากบ้าน  เพื่อให้ไอน้ำที่กลั่นตัวไหลไปด้านที่ไกลจากบ้าน  ทำให้อากาศที่ไหลเข้าบ้านไม่ชื้น  ความเอียงควรดิ่งจะอย่างน้อย 1-2 เซนติเมตรต่อทุกๆ ความยาวท่อ 1 เมตร
-  ริมด้านอากาศเข้าควรจะมีหลุมใส่หินไว้ด้านล่างเพื่อให้น้ำที่กลั่นตัวไหลไปรวม และซึมกลับเข้าไปในดินได้
-  ปลายท่อเหนือดินด้านอากาศไหลเข้าอาจจะทำเป็นรูปตัวที เพื่อไม่ให้น้ำฝนตกเข้ามาในท่ออากาศได้ (คล้ายๆ ท่อระบายอากาศของส้วมซึม)
-  ปลายท่อทั้งสองด้าน (ทั้งนอกบ้าน และในบ้าน) ควรจะหุ้มปลายด้วยตะแกรงลวดเพื่อป้องกันหนู หรืองูเข้าไปอยู่อาศัย

ระบบ อุโมงค์เย็นแบบนี้ค่อนข้างดี  เหมาะสำหรับบ้านสร้างใหม่มากกว่าจะเป็นการปรับปรุงบ้านเดิม  แต่ก็เพิ่มค่าก่อสร้างอีกพอสมควร  ในช่วงตอนต้นที่ขุดหลุมจะฝังเสาเข็มของขนำ  ผมสังเกตุว่าหน้าดินค่อนข้างจะตื้น  เมื่อขุดลงไปไม่ลึกจะเจอชั้นหิน  ทำให้งานขุดดินทำได้ช้ามาก  จึงตัดสินใจยกเว้นการทำอุโมงค์เย็นไปก่อน (ยังเสียดายอยู่เลย  โกรธ โกรธ โกรธ)

ระบบอุโมงค์เย็นแบบนี้ถูกใช้งานในต่างประเทศตั้งแต่ปี 1960's และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง 1990s โดยจะใช้ทั้งในการทำความเย็น และความร้อนให้กับอาคาร  โดยหลักๆ จะแบ่งย่อยออกมาได้เป็นอีก 3 แบบคือ Open system, Closed loop system และ Combination System 



ใน ระบบ Open System จะเป็นแบบที่แสดงในภาพเป็นแบบง่ายสุด ความจริงระบบแบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโรมันเมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว โดยอาศัยการลดความชื้นด้วยการทำท่อเอียงลงไปด้านไกลเพื่อให้น้ำที่ควบแน่นใน อุโมงค์ไหลไปไกลจากตัวบ้านเท่ากับความยาวของอุโมงค์ มีการทำที่หลุมซึม/ดูดความชื้นตรงปลายเพื่อให้น้ำซึมลงใต้ดินเร็วที่สุด จึงลดปัญหาเรื่องเชื้อราทางด้านปากท่อที่จะเข้าบ้าน  ปัญหาเรื่องสัตว์เลื้อยคลานจะต้อง seal อุโมงค์ให้ดีด้วยตะแกรงทุกๆ ด้าน ทั้งด้านทางอากาศไหลเข้า และด้านในบ้าน   รวมทั้งควรจะติดตั้ง air filter ด้านในบ้านก่อนจะปล่อยอากาศเข้ามา  รวมทั้งควรจะมีระบบวาวล์เปิดปิดเพื่อควบการทำงานเมื่อต้องการ  ด้วยระบบ passive แบบนี้จะมีปริมาณอากาศไหลช้ามากทำให้ปัญหาการนำภายเชื้อโรคด้วยลมจึงค่อน ข้างน้อย แต่ถ้าเราใจร้อนติดพัดลมเร่งการไหลของอากาศก็อาจต้องหามาตรการควบคุมให้มาก ขึ้น

หาอ่านเทคนิคอื่นๆ (เช่น การทำความสะอาดอุโมงค์ลม) เพิ่มเติมได้ที่ http://www.ehow.com/how_7892203_use-underground-air-condition-home.html

ส่วน ในระบบ Closed loop system จะมีต้นทุนสูงกว่าด้วยการใช้อากาศภายในอาคารไหลเวียนลงไปใต้ดินเพื่อลด อุณหภูมิก่อนจะไหลกลับเข้ามาในอาคาร  ลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก

http://phelpsheatingandair.com/geothermal_how.php
http://en.wikipedia.org/wiki/Ground-coupled_heat_exchanger

ส่วนระบบ combination จะมีตัวสลับให้ใช้งานได้ทั้ง 2 แบบ


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0 

2 ความคิดเห็น:

  1. https://en.m.wikipedia.org/wiki/Ground-coupled_heat_exchanger

    ##########################################################################################
    Renata Limited, a prominent pharmaceutical company in Bangladesh, tried out a pilot project trying to find out whether they could use the Earth Air Tunnel technology to complement the conventional air conditioning system. Concrete pipes with a total length 60 feet (~18¼m), inner diameter 9 inches, (~23 cm) outer diameter 11 inches (~28cm) were placed at a depth of 9 feet (~2¾m) underground and a blower of 1.5 kW rated power was employed. The underground temperature at that depth was found to be around 28 °C. The mean velocity of air in the tunnel was about 5 m/s. The coefficient of performance (COP) of the underground heat exchanger thus designed was poor ranging from 1.5–3. The results convinced the authorities that in hot and humid climates, it is unwise to implement the concept of Earth-Air heat exchanger. The cooling medium (earth itself) being at a temperature approaching that of the ambient environment happens to be the root cause of the failure of such principles in hot, humid areas (parts of Southeast Asia, Florida in the U.S. etc.). However, investigators from places like Britain and Turkey have reported very encouraging COPs-well above 20. The underground temperature seems to be of prime importance when planning an Earth-Air heat exchanger.

    ตอบลบ