ก่อนจะเข้าเรื่องนี้ผมขอถามคำถามง่ายๆ 1 ข้อ ถ้าคุณสามารถเลือกได้ว่ายาฆ่าแมลงของจะฆ่าแมลงตัวผู้ หรือตัวเมีย คุณจะเลือกฆ่าแมลงเพศไหนถึงจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดมากที่สุด? ...ติ๊ก..ติ๊ก..ติ๊ก... หลายๆ ท่านคงตอบถูกว่าควรจะเลือกฆ่าตัวเมียก่อน เนื่องจากในธรรมชาติแมลงตัวผู้หนึ่งตัวจะผสมพันธุ์กับแมลงตัวเมียได้หลายตัว แต่การฆ่าแมลงตัวเมียจะช่วยหยุดยั้งการขยายพันธุ์ในรุ่นถัดไปได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ทำให้ในระยะยาวจะช่วยลดประชากรแมลงลงได้มากกว่าการเน้นฆ่าตัวผู้ ดังนั้นเราจึงไม่น่าแปลกใจว่ายาฆ่าแมลงส่วนใหญ่ที่เราใช้จะเน้นการทำลายระบบสืบพันธุ์ของแมลงตัวเมีย
นักวิทยาศาสตร์มีการค้นพบผมกระทบของยาฆ่าแมลงต่อการสืบพันธุ์ของมนุษย์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991(23 ปีที่แล้ว) แต่หนังสือที่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการนำเอาประเด็นนี้พูดในวงกว้าง (ในความคิดเห็นส่วนตัว ใครมีข้อมูลอื่นแย้งได้เสมอนะครับ) น่าจะเป็นหนังสือ "Our Stolen Future: Are We Threatening Our Fertility, Intelligence, and Survival?-A Scientific Detective Story" แต่งโดย Theo Colborn, Dianne Dumanoski และ John Peterson Myers พิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 (18 ปีที่แล้ว) ดูรายละเอียดของหนังสือใน http://www.amazon.com/Our-Stolen-Future-Threatening-Intelligence/dp/0452274141
โดยในหนังสือกล่าวถึงผลลกระทบของยาฆ่าแมลงที่มีเน้นทำลายระบบสืบพันธุ์ (เช่น DES, DDT, kepone เป็นต้น ) และการควบคุมสารเคมีสังเคราะห์อื่นๆ ซึ่งให้ผลในลักษณะเดียวกัน (แต่ไม่ได้ใช้เป็นยาฆ่าแมลงโดยตรง) โดยในหนังสือจะเน้นเรียกร้องให้มีการกล่าวโทษสารเคมีเหล่านี้ว่าผิดไปก่อน และให้เลิกการใช้งานทันที แล้วให้ผู้ผลิตหาผลงานวิจัยมาแย้งว่าสารเคมีของตนไม่มีกระทบตามที่ถูกกล่าวหา จึงจะอนุญาตให้ใช้งาน แน่นอนว่าแนวทางนี้ถูกต่อต้านโดยอุตสาหกรรมผลิตสารเคมี และยาฆ่าแมลงอย่างหนัก อย่างไรก็ตามในหลายประเทศชาติตะวันตกก็ได้เริ่มมีการกฎหมายควบคุม หรือห้ามการใช้งานยาฆ่าแมลงในกลุ่มดังกล่าว
โดยทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าสารเคมีในกลุ่มดังกล่าวมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิงในมนุษย์มาก (เนื่องจากเป็นยาฆ่าแมลงที่มุ่งเน้นทำลายแมลงเพศเมีย) เป็นผลให้พิษของการใช้ยาฆ่าแมลงดังกล่าวตกค้างในพืชอาหารที่เรารับประทาน และไหลลงไปผสมในแหล่งน้ำบนดิน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ ทำให้เกิดการปนเปื้อนในสัตว์น้ำที่เรารับประทาน
อีกส่วนหนึ่งจะซึมลงไปในระบบน้ำใต้ดินซึ่งเราก็นำเอาน้ำเหล่านี้กลับมาใช้อุปโภคบริโภค บางส่วนของน้ำใต้ดิน น้ำบนดิน และพืชอาหารที่ปนเปื้อนถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ซึ่งก่อนที่สัตว์ 1 ตัวจะถูกฆ่ามาทำอาหารให้มนุษย์รับประทานก็จะกินพืชอาหารปนเปื้อนมากยิ่งกว่าการที่เรารับประทานพืชอาหารโดยตรง ยิ่งเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีระยะเวลาในการเลี้ยงนาน และกินอาหารเยอะก็จะยิ่งมีสารปนเปื้อนสะสมมาก เช่น วัว จะมีโอกาสมีสารปนเปื้อนสะสมมากกว่าหมู หมูจะมีโอการมีสารปนเปื้อนมากกว่าไก่ เป็นต้น กอปรกับวิถีของสังคมเมืองสมัยใหม่ที่บริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นทำให้มนุษย์ได้รับสารปนเปื้อนในปริมาณที่มากขึ้นกว่าวิถีเดิมที่เราเคยรับประทานพืชผักกันมากกว่านี้
สารปนเปื้อนเหล่านี้จึงเข้ามาสะสมในมนุษย์มากขึ้นในลักษณะสังคมเมืองสมัยใหม่ ผลกระทบที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวถึงได้แก่ การที่ผู้ชายมีจำนวนอสุจิน้อยลง และอสุจิแข็งแรงน้อยลง การแท้งลูกในหญิงมีครรภ์ การที่เด็กผู้หญิงมีประจำเดือนเร็วขึ้น การที่ผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านมกันมากขึ้น และการที่เด็กผู้ชายมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศมากขึ้น ความผิดปกติในต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อไทรอยด์ ผลกระทบกับระบบภูมิคุ้มกันในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ การเกิดมะเร็ง เป็นต้น
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกๆ ในยุโรบที่ออกมารณรงค์ในเรื่องนี้โดยในปี ค.ศ. 1992 สรุปผลงานวิจัยว่าน้ำใต้ดินในยุโรปมีการปนเปื้อนอย่างหนัก มากกว่า 65% ของพื้นที่การเกษตรมีปริมาณยาฆ่าแมลงปนเปื้อนมากกว่าระดับมาตรฐานเกิน 10 เท่าตัว และที่น่าเป็นกังวัลคือเนเธอร์แลนด์มีแหล่งน้ำผิวดิน (อย่างเช่นแม่น้ำ ทะเลสาป) ค่อนข้างจำกัด น้ำอุปโภคบริโภคจะพึ่งพืงแหล่งน้ำใต้ดินเป็นหลัก การที่จะหลีกเลี่ยงไปใช้น้ำบนดินซึ่งจะมีน้ำฝนลงมาเจือจางสารเคมีจึงทำได้น้อย เป็นเหตุให้ต้องเร่งแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในแหล่งน้ำใต้ดินโดยด่วนที่สุด เนื่องจากปัญหานี้มีผลกระทบกับอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศ และสุขภาพของประชาชนในประเทศ และมีการประมาณการว่าการที่จะทำให้ปริมาณสารปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดินกลับมาอยู่ในระดับมาตรฐานนั้นจะต้องใช้เวลาหลายสิบปีในการดำเนินการ ทำให้รัฐบาลเร่งออกมาตรฐานต่างๆ เช่น :
- การลดการใช้ยาฆ่าแมลงโดยรวมลงมากกว่า 50%
- การห้ามการใช้ยาฆ่าแมลงหลายชนิด และสารเคมีสำคัญหลายชนิดโดยเด็ดขาย
- การปรับเปลี่ยนมาตรฐานการตรวจวัดสารเคมีปนเปื้อนที่เข้มงวดขึ้น
- การฝึกอบรม และออกใบอนุญาตผู้ที่มีสิทธิใช้ยาฆ่าแมลง
- การออกมาตรการลดปริมาณ และความถี่ในการยาฆ่าแมลง
- การทดสอบ และอนุมัติอุปกรณ์ที่ใช้ฉีดยาฆ่าแมลง
- ลดการใช้งานยาฆ่าแมลงแบบที่ต้องฉีดพ่น
- การเพิ่มภาษีสิ่งแวดล้อมบนยาฆ่าแมลง
- การสนับสนุนการกำจัดแมลงโดยใช้วิธีกล หรือวิธีทางชีวะ (เช่น ใช้เชื้อรา ใช้แมลงที่เป็นศัตรูกับแมลงที่เราไม่ต้องการ เป็นต้น)
นอกเหนือจากเนเธอร์แลนด์ก็มีอีกหลายประเทศใน EU ที่ได้ออกมาตรการคล้ายกัน เช่น เดนมาร์ค สวีเดน เป็นต้น ที่น่าตกใจคือสารเคมีหลายอย่างได้ถูกห้ามใช้งานในประเทศของเขาเอง แต่บริษัทในประเทศเหล่านี้ก็ยังคงผลิตสารเคมีเหล่านี้ส่งออกมาขายในประเทศอื่นๆ ในโลกได้
โดย สรุปประเด็นที่ผมอยากจะแชร์คือการที่เราพบเด็กหญิงไทยมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยนั้นไม่ได้เกิดจากผลของยาเร่งการเจริญเติบโตในไก่แต่เพียงอย่างเดียว อาหารที่เราซื้อทานนั้นมีโอกาสปนเปื้อนทั้งในพืชผัก และเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ ด้วย ดังนั้นไม่ใช่ว่าเราหลีกเลี่ยงการรับประทานไก่แล้วจะไม่เกิดปัญหานี้ ปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหารที่คนไทยรับประทานนั้นรุนแรงกว่าที่เราคิดมากๆ ครับพี่น้อง
เรื่องราวเหล่านี้ชาติตะวันตกทราบเรื่องผลกระทบเหล่านี้มา 20 กว่าปีแล้ว และได้มีมาตรการต่างๆ ออกลด หรือห้ามการใช้งานยาฆ่าแมลงอย่างจริงจัง รวมทั้งมีการส่งเสริมสินค้าออร์แกนนิคในวงกว้าง และมีมาตรฐานในการตรวจวัดสินค้าออร์แกนนิคที่มีรายละเอียดเข้มงวด ชัดเจน และตรวจวัดได้ ผมเองหวังว่ารัฐบาลไทยเองจะออกมาตรการในลักษณะที่คล้ายกัน หรือดีกว่าเพื่อคืนความสุขให้ประชาชน
หมายเหตุ เพื่อนๆ ที่สนใจลองเข้าไปอ่านรายละเอียดในบางส่วนใน http://en.wikipedia.org/wiki/Endocrine_disruptor หรืออ่านบทความต่างๆ เช่น
http://www.beyondpesticides.org/health/endocrine.pdf
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3138025/
หมายเหตุ2 ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น DDT ถูกสั่งห้ามใช้แล้วในอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ค.ศ.2004 โดยห้ามการใช้ดีดีทีทั่วโลก อย่างไรก็ตาม 16 กันยายน 2006 องค์การอนามัยโลกเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับดีดีที โดยประกาศถอนออกจากรายชื่อสารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้ และอนุญาตให้ใช้ดีดีทีเป็นยาฆ่าแมลงภายในอาคารบ้านเรือนได้อีกครั้ง อำนาจของอุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลงนั้นช่างรุนแรงดีจัง
วัฏจักรชีวธรณีเคมี (อังกฤษ: Biogeochemical cycle) คือวงจรหรือแนวกระบวนการที่เกี่ยวกับการที่ธาตุหลักทางเคมีหรือโมเลกุลเคลื่อนที่ผ่านสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศทั้งที่มีชีวิต (ชีวภาพ) และไม่มีชีวิต (ธรณีภาพ) โดยหลักการแล้ว วัฏจักรทุกวัฏจักรย่อมซ้ำกระบวนการเสมอ แม้ว่าในบางวัฏจักร จะใช้เวลาซ้ำกระบวนการนานมาก โดยการเปลี่ยนรูปนี้จะเกิดผ่านทั้งบรรยากาศ น้ำ และบนบก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีส่วนร่วมในวัฏจักร
วัฎจักรหลักที่เราสนใจศึกษาสำหรับเกษตรธรรมชาติ คือ วัฏจักรของธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไฮโดรเจน(H) ออกซิเจน(O) คาร์บอน(C) ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) โพแทสเซียม (P) แคลเซียม(Ca) และกำมะถัน(S) ซึ่งความเข้าใจในวัฏจักรเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในความพยายามที่จะรักษาสมดุลให้มีแร่ธาตุต่างๆ หมุนเวียนในธรรมชาติที่เพียงพอสำหรับพืชที่เราปลูก โดยมนุษย์ไม่ต้องเข้าไปแทรกแซงมากจนเกินไป ผมจึงได้รวบรวมเรื่องราวของวัฏจักรสำคัญๆ ไว้ดังนี้ :
- วัฏจักรของน้ำ
- ฝนเอย..ทำไมจึงตก?
- ต้นไม้สายฝน - บทบาทของต้นไม้กับสายฝน
- แกะรอยน้ำฝน...น้ำฝนหายไปไหนเมื่อตกมาถึงพื้น?
- การระเหยของน้ำ
- ทำไมต้องเก็บน้ำลงใต้ดิน?
- วัฏจักรออกซิเจน (O)
- วัฏจักรคาร์บอน (C)
- วัฏจักรไนโตรเจน (N)
- วัฏจักรแคลเซียม (Ca)
- วัฏจักรฟอสฟอรัส (P)
- วัฏจักรโพแทสเซียม (K)
- วัฏจักรกำมะถัน (S)
- วัฏจักรไฮโดรเจน (H)
- Dynamic Accumulator ผู้ช่วยในการหมุนเวียนของวัฏจักร
- เรากำลังคุกคามการอยู่รอดในอนาคตของพวกเราเองหรือไม่?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น