4 ธันวาคม 2556

กระบวนท่าที่ 2 (ตอนที่ 1) - Sub-surface Watering

ความจริงคิดอยู่นานว่าจะใช้ชื่ออะไรดี  เพราะว่าจะมีหลายๆ เทคนิคที่คล้ายกันมากๆ และใช้ชื่อแตกต่างกัน  แต่โดยหลักแล้วเทคนิคในกลุ่มนี้จะเป็นการให้น้ำที่ระดับลึกลงไปในดิน เพื่อเลี่ยงการรดน้ำวัชพืชที่มีรากตื้น และลดอัตราการระเหยของน้ำที่ผิวดิน เหมือนวิธีการอื่นๆ ที่รดน้ำที่ผิวดิน  วิธีการในกลุ่มนี้จึงเป็นการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพมาก   คิดไปคิดมาสุดท้ายเลยเลือกชื่อกลางๆ ว่า Sub-surface Watering

เทคนิค แรกในกลุ่มนี้ที่อยากจะกล่าวถึงคือ การให้น้ำด้วยตุ่มดินเผา ซึ่งในหนังสือ Fan Sheng-chih Shu มีบันทึกไว้ว่ามีการใช้เทคนิคนี้ในประเทศจีนเมื่อนานกว่า 2,000 ปีที่แล้ว (ประเทศจีนเป็นประเทศแรกๆ ในโลกที่มีการทำเครื่องปั้นดินเผา มีบางหลักฐานบ่งชี้ว่าอาจจะมีการใช้เทคนิคนี้ในประเทศจีนนานมากกว่า 4,000 ปีด้วยซ้ำไป)  ในเมืองไทยก็มีปราชญ์ชาวบ้านหลายท่านกล่าวถึงเทคนิคนี้ เช่น พ่อ ผาย สร้อยสระกลาง ปราชญ๋จากภาคอีสาน  หลักการคือฝังตุ่มดินเผาชนิดไม่เคลือบ ซึ่งจะมีรูพรุนขนาดเล็กมาก ทำให้น้ำสามารถซึมผ่านผนังของตุ่มออกมาในดินได้  ที่ฝาตุ่มก็จะมีฝาปิดเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำ  และป้องกันการรบกวนจากสัตว์/แมลง



ใน ทวีปอาฟริกาได้พัฒนาตุ่มให้มีรูปร่างทรงปากแคบสำหรับใช้ในเทคนิคการให้น้ำ แบบนี้เรียกว่า Ollas (ดูรูปด้านล่าง)  ทำให้ลดอัตราการระเหยดีขึ้นไปอีก บางครั้งการให้น้ำแบบนี้จึงถูกเรียกว่า Ollas Irrigation  ปัจจุบันเทคนิคการให้น้ำด้วยตุ่มดินเผายังเป็นที่นิยมในหลายประเทศในทวีปอา ฟริกา อินเดีย อิหร่าน และบราซิล



เทคนิค ถัดมาเป็นการพัฒนาในสมัยใหม่โดยการใช้กระถางที่มีราคาถูกว่าแทน  โดยทากาวปิดรูปของกระถางด้านล่าง และทากาวประกบกระถาง 2 ใบให้เป็นรูปเหมือนด้านล่าง  เพื่อใช้ทดแทนตุ่มที่มีราคาแพงกว่า



ใน ปัจจุบันการขึ้นรูปด้วยพลาสติกมีราคาถูกกว่าเครื่องปั้นดินเผา  จึงมีการปรับปรุงเป็นแบบ Deep Pipe Irrigation (ดูรูปด้านล่าง) โดยได้มีการทดลองในทะเลทรายในรัฐแคริฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา  ด้วยการฝังท่อ PVC ขนาด 2" ยาว 40 ซม. ฝังลึกในดิน 30 ซม. และให้โผล่เหนือดิน 10 ซม.  มีการเจาะรูเป็นระยะๆ ห่างกัน 1.5" เพื่อให้น้ำสามารถไหลออกไปยังดินข้างๆ ท่อได้ มีตาข่ายปิดที่ด้านบนของท่อเพื่อป้องกันสัตว์ และแมลง



ใน การทดลองนี้ได้ทำการรดน้ำทุกๆ 2 สัปดาห์ในปริมาณที่เท่ากัน  ปรากฎว่าต้นไม้ที่ให้น้ำด้วยตุ่มดินเผามีอัตราการรอดเกือบ 100% ในขณะที่เทคนิค Deep Pipe Watering มีอัตราการรอดประมาณ 70-80% ในขณะที่การรดน้ำที่ผิวมีอัตราการรอดเพียง 2%  ส่วนอัตราการเจริญเติบโต (ความสูงของต้น) ในเทคนิคของการให้น้ำด้วยตุ่ม และการฝังท่อ (Deep Pipe Irrigation) ไม่แตกต่างกันมากนัก  โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าในการทดลองนี้ไม่ได้ทำฝาปิดด้านบนของท่อ PVC จึงทำให้มีอัตราการระเหยสูงกว่าให้ให้น้ำด้วยตุ่มดินเตา  แต่ที่เคยเห็นมีการทดลองที่โครงการห้วยทรายในพระราชดำริ  จะมีการเอากระป๋องอลูมิเนียมของ เบียร์กระป๋อง หรือน้ำอัดลมกระป๋องมาครอบท่อแทนการใช้ตาข่าย ซึ่งน่าจะลดการระเหยได้ดีขึ้น (หมายเหตุ ขนาดหน้าตัดของกระป๋องอลูมิเนียมจะครอบท่อขนาด 2" ได้พอดี)





ปัญหา เล็กน้อยของ Deep Pipe Irrigation คือดินจะค่อยๆ ไหลเข้ามาในท่อสุดท้ายก็จะทำให้ด้านในท่อเต็มไปด้วยตะกอนดิน  ทำให้น้ำไม่ไหลลงในไปในส่วนลึกเหมือนตอนที่ติดตั้งแรกๆ (หวังว่ากว่าท่อจะตัน  ต้นไม้ก็น่าจะแข็งแรงพอ)  และอัตราการระเหยที่สูงเนื่องจากเป็นโพรงอากาศลงไปถึงดินด้านล่างของท่อ

เพื่อ แก้ไขปัญหาอุดตันจากดินที่ไหลเข้ามาในท่อต่อมาจึงได้มีการพัฒนาด้วยการเติม วัสดุพรุน (Porous Material) เข้าไปในท่อ  เพื่อลดการไหลเข้ามาของตะกอนดิน และลดการระเหยของน้ำจากใต้ดินในเวลาเดียวกัน  นอกจากวัสดุพรุนแล้วก็มีการเติมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำดีเข้าไปในท่อด้วย  มีการทดลองปรับสัดส่วนจาก 100% วัสดุพรุน จนเป็น 100% ปุ๋ยหมัก  ปรากฎว่าสัดส่วนที่เหมาะสมคือ 50% วัสดุพรุน และ 50% ปุ๋ยหมัก โดยหลักการแล้วเข้าใจว่าเทคนิคแบบนี้จะช่วยให้อากาศผ่านร่องระหว่างวัสดุไป ที่ระดับดินด้านล่างได้มากขึ้น และปุ๋ยคอกที่ช่วยทั้งเรื่องการรักษาความชื้น เป็นแหล่งเจริญเติบโตของจุลลินทรีย์ที่ดี และเป็นปุ๋ยให้แร่ธาตุสำหรับต้นไม้  ทำให้ต้นไม้มักจะงอกรากมาคลุมรอบๆ ท่อนี้เพื่อดูดน้ำ อาหาร และอากาศ  เทคนิคนี้จึงถูกเรียกว่า "Vertical Mulch"  ซึ่งแปลแบบตรงตัวว่า "การคลุมดินในแนวดิ่ง"  ต่างกับการคลุมดินรักษาความชื้นทั่วๆ ไปจะคลุมที่ผิวดินในแนวนอน

เทคนิค Vertical Mulch นี้ได้มีการพัฒนาอีกหลายรูปแบบ เช่น การนำเอาวัสดุพรุนมาใส่ถุงผ้า แล้วฝังดินแทนการใช้ท่อ (ดูรูปด้านล่าง)



รวม ทั้งการขุดหลุมในแนวดิ่งลึกประมาณ 30 - 60 ซม. รอบๆ ต้นไม้ในแนวเรือนยอดของต้นไม้  แล้วนำเอาวัสดุพรุนผสมปุ๋ยหมักฝังเข้าไปในรูเหล่านี้ (คล้ายๆ รูปในกระทู้ของพี่ Sompol ) เทคนิค Vertical mulch ยังถูกนำไปใช้ช่วยต้นไม้ที่เติบโตช้าเนื่องจากอยู่ในบริเวณดินที่ถูกอัดแน่น  เรียกว่าเทคนิคการทำสาวต้นไม้นั่นเอง



เทคนิค การทำสาวต้นไม้ยังมีการพัฒนาไปในอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า Radial Aeration โดยการขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 30-60 ซม. เป็นแนวยาวออกไปจากลำต้นของต้นไม้เป็นแนวยาวจากลำต้นออกไปจนถึงแนวชายพุ่ม ของเรือนยอดต้นไม้ คล้ายกับรูปดาว (ดูรูปด้านล่าง)   โดยจะพยายามขุดร่องในระหว่างแนวของรากต้นไม้เพื่อลดการกระทบกระเทือน  จากนั้นก็นำเอาวัสดุพรุนผสมปุ๋ยหมักฝังลงไปในร่องแบบเดียวกับการทำ vertical mulch  ในการขุดเป็นแนวยาวแบบนี้อาจจะกระทบกระเทือนกับรากมาก  บางครั้งจึงใช้เครื่องอัดลม หรือเครื่องอัดน้ำแรงดันสูงในการขุดร่อง แทนการใช้อุปกรณ์ขุดตามปกติ  



สุดท้ายแล้วก็มีการพัฒนานำไปใช้ร่วมกับระบบน้ำหยดทั้งแบบเดินสายบนดิน



และการฝังท่อน้ำหยดไว้ใต้ดิน

  

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น