ความจริงทั้ง 3 ต้นเป็นญาติกันในวงศ์ LYTHRACEAE โดยมีชื่อวิทยาศาตร์คล้ายกันมาก
ชื่อไทย | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อภาษาอังกฤษ | ชื่ออื่น |
เสลา | Lagerstroemia loudoni | Salao | |
ตะแบก | Lagerstroemia floribunda | Bungor | ตะแบกนา, ตะแบกไข่ |
อินทนิลน้ำ | Lagerstroemia speciosa | Pride of India หรือ Queen's flower | ตะแบกดำ, ตะแบกอนเดีย |
อินทนิลบก | Lagerstroemia macrocarpa | Pride of India หรือ Queen's flower | กากะเลา กาเสลา จ้อล่อ จะล่อ ซีมุง ปะหน่าฮอ |
มีคนบอกว่าให้สังเกตุความแตกต่างกันที่ลำต้น เปลือกไม้ ใบอ่อน และดอกตูม ดังภาพด้านล่าง (เครดิตภาพจาก http://www.mornor.com/2009/forum/viewthread.php?tid=9281) ส่วนตอนนี้ก็ได้แต่รอต้นไม้เหล่านี้เขาโตก่อน อีก 3-4 ปีค่อยมาสังเกตุอีกที
เปลือกต้นเสลาจะแตกตามยาวเป็นแถบเล็กๆทั้งต้น
เปลือกต้นตะแบกมักจะหลุดล่อนเป็นแผ่นเล็ก ทำให้ลำต้นดูเรียบแต่มีลักษณะเป็นดวงๆสีขาว คล้ายเปลือกต้นฝรั่ง
เปลือกต้นอินทนิลจะแตกตามยาวคล้ายต้นเสลา แต่จะมีปุ่มๆ ขรุขระตามลำต้น ไม่เป็นระเบียบ และเปลือกจะออกดำๆหน่อย
ใบต้นเสลามีปลายใบมน สีเขียวอ่อน ใบเป็นขนทั้งหน้าใบหลังใบ ใบไม่มัน
ใบต้นตะแบกมีใบเล็ก ปลายใบแหลม ใบมันคล้ายใบอินทนิล และยอดอ่อนจะสีชมพูแดง
ใบต้นอินทนิลบกมีขนาดใหญ่ สีเขียวแก่ ปลายใบมน ใบแข็ง เป็นมันทั้งหน้าใบและหลังใบ ส่วนใบอินทนิลน้ำจะมีปลายใบแหลม ใบบางกว่าอินทนิลบก
ดอกตูม ดอกตูมของตะแบกจะหัวแบนๆ ส่วนอินทนิลจะเป็นทรงโดมยอดขรุขระ เสลาจะเป็นทรงโดมยอดโดมเรียบและมีขนปกคลุม
ดอกเสลาช่อดอกห้อยย้อย ดอกดกแน่นเป็นพวง สีอ่อนหวานกว่าตะแบกและอินทนิล
ดอกตะแบกช่อดอกจะตั้งขึ้น มีขนาดเล็ก ขึ้นถี่หนาแน่นกว่าดอกอินทนิล
ดอกอินทนิลช่อดอกจะตั้งขึ้น มีขนาดใหญ่ และยาวกว่าดอกตะแบก ช่อดอกห่าง
สนใจเรื่องพืชที่น่าสับสนแบบนี้อีกติดตามได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/p/plants.html
สนใจเรื่องราวต่างๆ ในสวนขี้คร้านติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น