"มะปราง" ตามข้อมูลจากอากู๋ มะปรางเป็นพืชในวงศ์วงศ์ Anacardiaceae แบ่งตามลักษณะพฤกษศาตร์แบ่งได้ 3 ชนิด
1. Bouae microphylla มะปรางที่มีใบเล็ก มีรสเปรี้ยว มะปรางป่าหรือมะปริงทางภาคใต้ พวกนี้มีรสเปรี้ยวผลเล็กสำหรับทางภาคใต้นั้นมักนำมาบริโถคผลดิบ ใช้ตำน้ำพริก ใส่แกงส้ม หรือเอามาจิ้มกับมันกุ้ง มะปริงมีขึ้นอยู่ทั่วไปทางภาคใต้
2. Bouae macrophylla มะปรางใบใหญ่ ขนาดใบเกือบเท่าใบมะม่วง เป็นพันธุ์ต่างประเทศ มีการปลูกในแถวแหลมมลายู เท่านั้น
3. Bouae burmanica มะปรางที่ปลูกกันโดยทั่วไป เรียกมะปรางบ้านหรือมะปรางสวน
มะปรางที่มักจะพบในบ้านเราน่าจะเป็น Bouae burmanica ซึ่งแบ่งย่อยตามลักษณะของรสชาติได้ 4 ชนิด:
1. มะปรางหวาน เมื่อยังดิบ มีรสมัน ไม่เปรี้ยว เมื่อสุกจะหวาน ผิวสีเหลือง และเหลืองอ่อน รับประทานได้ทั้งเปลือกแต่จะคันคอ
2. มะปรางเปรี้ยว เขาเรียกว่ากาวาง คือเปรี้ยวจนแม้แต่นกกามาจิกแล้วยังต้องรีบวางด้วยความเปรี้ยวครับ
3. มะยงชิด (ความจริงคือมะปรางชนิดหนึ่งแต่แตกต่างกันที่คุณสมบัติของเปลือก) เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว เมื่อสุกผิวเปลือกเป็นสีส้มสด สวยงามมาก สวยกว่ามะปรางทุกชนิด มะยงชิดเมื่อสุก จะมีรสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ แต่เมื่อปอกเปลือกออกจะหวานฉ่ำ เพราะความเปรี้ยวอยู่ที่เปลือกของมันครับ
4. มะยงห่าง (ความจริงคือมะปรางชนิดหนึ่งแต่แตกต่างกันที่คุณสมบัติของเปลือก) จะมีรสเปรี้ยว ไม่ว่าจะปอกเปลือกหรือไม่ก็ตาม
มีผู้รู้แนะนำข้อแตกต่างระหว่างมะปราง และมะยงดังนี้
มะปรางหวาน | มะยง | |
สีผล | ดิบ สีเขียวออกซีดผลใส สุก สีเหลืองอ่อน | ดิบ สีเขียวจัดกว่ามะปราง สุก สีเหลืองแกมส้ม |
รสชาติ | ดิบ รสมันทานได้ สุก รสหวานสนิท | ดิบ รสเปรี้ยว สุก รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย (มะยงชิด) เปรี้ยวอมหวาน (มะยงห่าง) |
ยาง | มียางอยู่ในส่วนของผล ซึ่งรบกวนหลอดอาหาร ทำให้ระคายคอ | ไม่มียางอยู่ในส่วนของผล |
ภาพมะปรางหวานตอนยังไม่สุกเป็นสีเขียวอ่อน
สนใจเรื่องพืชที่น่าสับสนแบบนี้อีกติดตามได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/p/plants.html
สนใจเรื่องราวต่างๆ ในสวนขี้คร้านติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น