16 ธันวาคม 2556

กระบวนท่าที่ 3 (ตอนที่ 1) - การห่มดิน (mulching)

การห่มดิน (หรือการคลุมดิน) คือ การคลุมหน้าดินด้วยวัสดุพรุนซึ่งมีคุณสมบัติอุ้มน้ำ เช่น ปุ๋ยหมัก, มูลสัตว์ที่ผ่านการหมักแล้ว, ขี้เลื่อย, ไม้สับ, ฟาง, หญ้าแห้ง แม้นกระทั่งหิน

การคลุมดิน
หน้า ดินเปลือยจะสูญเสียความชื้นส่วนใหญ่ในดินเนื่องจากการระเหยของน้ำบริเวณผิว ดิน โดยเฉพาะบริเวณ 10 ซม. แรกจากผิวดิน และแรงแคพพิลลารีก็จะดึงให้น้ำที่อยู่ในชั้นดินที่อยู่ลึกจากผิวดินลงไป ประมาณ 30-45 ซม. ให้ขึ้นมาที่ใกล้ผิวดิน  จนกระทั่งระเหยหมดไป

ห่มดิน
การห่มดินจะช่วยรักษาดินด้วยกลไกหลายอย่าง ได้แก่ :

  • วัสดุคลุมดิน (Mulch) จะช่วยดูดซับแรงกระแทกจากน้ำฝนที่ตกลงมา ทำให้ดินไม่โดยทำให้แน่นมากขึ้นด้วยแรงกระแทกของฝน
  • วัสดุ คลุมดิน (Mulch) จะช่วยชะลอการไหลของ run off บริเวณผิวหน้าของดิน  ทำให้น้ำมีเวลาในการซึมลงดินนานมากขึ้น  จึงเป็นการลดปริมาณน้ำ run off ไปในตัว  นอกจากนั้นยังช่วยกั้นไม่ให้หน้าดินไหลไปกับน้ำได้สะดวก เป็นการรักษาหน้าดินไว้
  • วัสดุคลุมดิน (Mulch) ยังช่วยลดการเติบโตของวัชพืช ทำให้ความหนาแน่นของพืชน้อยลง และลดการแข่งขันในการใช้ความชื้นในดิน
  • วัสดุ คลุมดิน (Mulch) มีทั้งแบบอินทรีย์ (organic mulch เช่น ใบไม้ ฟาง ไม้สับ) และอนินทรีย์ (inorganic mulch เช่น หิน เม็ดดินเผา เศษอิฐหัก) วัสดุคลุมดินแบบอินทรีย์ส่วนใหญ่แล้วจะย่อยสลายกลายเป็นฮิวมัสในที่สุด  ซึ่งฮิวมัสนี่เองที่จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติการอุ้มน้ำในดิน  ทำให้ดินเก็บน้ำไว้ได้มากขึ้น
  • เมื่อ วัสดุคลุมดินแบบอินทรีย์ (Organic Mulch) ย่อยสลายจะเป็นอาหารของสัตว์ และแมลงอีกหลายชนิด เช่น ไส้เดือน ทำให้สัตว์พวกนี้เข้ามาขุดรูอยู่อาศัยใต้วัสดุคลุมดิน  โดยทางอ้อมสัตว์เหล่านี้จึงช่วยทำให้ดินโปร่งมากขึ้นโดยที่เราไม่ได้พรวน ดิน  ทำให้น้ำสามารถซึมเข้าไปดินได้มากขึ้น จึงเป็นการลด Run off ไปในตัว
  • วัสดุ คลุมดินแบบอนินทรีย์ (Inorganic Mulch) อาจจะไม่มีประโยชน์หลากหลายเท่ากับแบบอินทรีย์  แต่จะมีความเด่นในเรื่องความทนทาน อายุการใช้งานนาน เนื่องจากไม่ค่อยย่อยสลาย  และวัสดุคลุมดินแบบอนินทรีย์ก็ยังคงช่วยลดการ run off การบุกรุกเข้ามาขุดดินทำรังของหนู และยังช่วยให้ความอบอุ่นกับต้นไม้สำหรับเขตภูมิอากาศหนาว  ส่วนตัวแล้วผมนิยมใช้วัสดุคลุมดินแบบอนินทรีย์คลุมดินเฉพาะทางเดินเท้า และถนนในสวน
โดยสรุปแล้วไม่ว่า จะเป็นวัสดุคลุมดินแบบอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ต่างก็มีประโยชน์ในการรักษาความชื้นทั้งคู่  แต่จะมีข้อเด่น ข้อด้อยแตกต่างกัน  การห่มดินนั้นเราอาจจะต้องช่วยในช่วงแรก  แต่เมื่อต้นไม้เริ่มเติบโตแล้ว  ใบไม้ที่ร่วงลงมาจากต้นไม้ก็จะกลายเป็นวัสดุคลุมดินแบบอินทรีย์ไปโดย อัตโนมัติ  สิ่งที่เราต้องทำก็เพียงแค่อย่ากวาดเอาไปไม้ออกไป  ทิ้งมันไว้ตามธรรมชาติ (เรื่องขี้คร้านแบบนี้ถนัด  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม )

นอก จากนั้นจะต้องระวังว่าการใช้วัสดุคลุมดินเป็นการวางไว้ที่ผิวดินเฉยๆ ไม่ใช่การคลุกกับดิน  ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุคลุมดินแบบอินทรีย์ส่วนใหญ่จะมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ ประกอบสูง แต่มีไนโตรเจนต่ำ  จุลินทรีย์ซึ่งทำให้เกิดการย่อยสลายของสารอินทรีย์เหล่านี้จะต้องใช้ ไนโตรเจนมาใช้งานในการย่อย  จึงจะมีการดึงออกธาตุไนโตรเจนออกจากบริเวณรอบๆ ถ้าเราเอาวัสดุคลุมดินไปคลุกกับดินแล้ว จะเร่งให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น และจะทำให้ดินขาดไนโตรเจน  เมื่อดินขาดธาตุไนโตรเจนมากเกินไป  ต้นไม้ก็จะขาดธาตุไนโตรเจนจนออกอาการใบสีเขียวซีด หรือใบเหลือง

ประเด็น ที่ 2 ที่กลุ่มเพอร์มาคัลเจอร์ไม่นับว่าเป็นการห่มดินคือ การใช้พลาสติกคลุมผิวดินเนื่องจากพลาสติกไม่ใช่วัสดุพรุน (porous material) การคลุมแบบนี้จะทำให้น้ำฝนซึมผ่านไม่ได้เวลาฝนตก จึงไม่ช่วยเรื่องการลด Run off แม้นว่าการคลุมแบบนี้จะช่วยลดการเจริญเติบโตของวัชพืช  แต่ในเวลาเดียวกันการคลุมด้วยพลาสติกก็จะฆ่าสิ่งมีชีวิตในดินอีกจำนวนมาก  รวมทั้งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา  จึงไม่นับว่าการใช้พลาสติกคลุมดินเป็นการห่มดิน 

ห่มดิน
ใน ทางตรงกันข้ามมีการใช้พลาสติกคลุมดินเพื่อการทำลายล้างสื่งมีชีวิต เรียกวิธีนี้ว่า Soil Solarization โดยการใช้พลาสิกใสคลุมดิน  แล้วขุดดินตรงชายขอบและกลบด้วยดินอีกครั้งเพื่อลดปริมาณอากาศที่ไหลเข้าออก ดินในบริเวณตรงกลางจะเป็นเหมือนตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งจะฆ่าทั้งวัชพืช และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในบริเวณนั้นหลังจากทิ้งไว้ประมาณ 2-4 เดือน  เทคนิคนี้ใช้เพื่อที่จะเริ่มต้นปลูกต้นไม้ในบริเวณนั้นใหม่จากศูนย์  มีการพบว่าถ้าเปลี่ยนจากพลาสติกใสมาเป็นพลาสติกสีดำก็ได้ผลใกล้เคียงกัน


ในกรณีอุดมคตินิดๆ เราจะอยากใช้งานเทคนิคการห่มดินร่วมกับเทคนิค Sunken Basin เพื่อให้น้ำไหลมารวมที่ต้นไม้  ถ้ามีใบไม้ร่วงก็จะมีโอกาสถูกน้ำฝนพัดพาให้กลับมาที่บริเวณใต้เรือนพุ่ม  ส่วนการห่มดินก็อยากจะให้ชั้นล่างเป็นปุ๋ยหมักเพื่อป้องกันปัญหาการขาด ไนโตรเจนจากขบวนการย่อยสลายของวัสดุคลุมดินแบบอินทรีย์  จากนั้นจึงจะเป็นชั้นของวัสดุคลุมดินแบบอินทรีย์  ส่วนชั้นบนสุดจึงจะเป็นใบไม้ที่ร่วงหล่นมาจากต้น

ห่มดิน

ตำแหน่ง ของการห่มดินที่ดีไม่ควรที่จะมากองกันบริเวณโคนต้น (ภาษาประกิตเรียกว่าการกองแบบภูเขาไฟ)  เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเชื้อราที่โคนต้น
ห่มดิน

ที่ ถูกต้องคือควรจะเว้นไม่คลุมตรงโคนต้นเลย และเริ่มคลุมดินห่างจากโคนต้นออกมาประมาณ 2-3 นิ้วออกมาจนกระทั่งถึงอย่างน้อยบริเวณชายพุ่มของต้นไม้  ถ้ายังมีวัสดุคลุมเหลือก็สามารถคลุมไกลออกไปได้อีก ความหนาของวัสดุคลุมดินควรจะหนาประมาณ 2-4 นิ้ว ถ้าบางไปวัชพืชก็ขึ้นแทรกได้ง่าย ถ้าเริ่มหนากว่านี้ก็อาจจะเป็นปัญหาจากการย่อยสลาย หรือปัญหารากเน่า (ภาษาประกิตบอกว่าเวลาห่มดินให้เน้นห่มให้ครอบคุลมบริเวณเยอะ ไม่ใช่ห่มให้หนา)
ห่มดิน

ส่วน ในพื้นที่ที่ลาดชันจะเจอปัญหาวัสดุคลุมดินไหลมากองกันด้านล่าง  จะต้องมีการทำเนินคั่นเป็นระยะๆ เพื่อที่จะดักใบไม้ และวัสดุคลุมดินที่จะไหลลงมา

เทคนิคการ ห่มดินยังถูกเอาไปใช้ในการทำ No-dig garden (แปลงผักที่ไม่ต้องพรวนดิน) ในกลุ่มนักเพอร์มาคัลเจอร์  ในรายละเอียดเทคนิคของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันบ้าง  แต่หลักการแล้วเหมือนกันดังนี้

ห่มดิน

  • ชั้น ล่างสุดจะเป็นการปูด้วยกระดาษลูกฟูกจากเศษลังกระดาษ 2-3 ชั้น หรือเศษหนังสือพิมพ์หนาๆ บนพื้นดินโดยไม่ต้องขุดดิน เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชเติบโตขึ้นมาแข่งขันกับผักที่ปลูก
  • ชั้น ตรงกลางจะเป็นส่วนผสมของวัสดุอินทรีย์ เช่น หญ้าแห้ง ฟางข้าว และผสมกับปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกที่หมักเสร็จแล้ว (ต้องระวังว่าต้องผ่านขบวนการหมักที่สมบูรณ์ไม่งั้นจะมีเมล็ดของวัชพืชปนมา) เพื่อเป็นการเติมไนโตรเจนเข้าไปชดเชย ไนโตรเจนที่จะถูกเอาไปใช้ในขบวนการย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์ ชั้นตรงกลางควรจะหนาอย่างน้อย 30-60 ซม.
  • ชั้นบนสุดจะเป็นการคลุมด้วยวัสดุคลุมดินแบบอินทรีย์อีกครั้งเพื่อรักษาความชื้น

ใน การปลูกผักแบบนี้จะไม่มีการพรวนดิน  เวลาปลูกมักจะต้องเพาะผักให้เป็นต้นเล็กๆ ก่อน  แล้วย้ายลงมาปลูกในแปลงผักแบบนี้โดยการแหวกฟางออกให้เป็นช่องแล้ววางต้นกล้า ลงไป ตามด้วยการกลบด้วยฟางอีกรอบ  ในปีถัดๆ ไปอาจจะต้องมีการเติบวัสดุคลุมดินที่ด้านบนเรื่อยๆ แต่จุดเด่นของการทำแปลงผักแบบนี้คือไม่ต้องคอยกำจัดวัชพืช และดินในแปลงจะมีความชุ่มชื้นสูง  ทำให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อยเหมือนการปลูกทั่วๆ ไป

การคลุมดินด้วยฟาง

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น