หลัก การทำงานของระบบนี้ง่ายๆ คือน้ำฝนจากรางน้ำฝนจะตกลงมาในท่อแนวดิ่งก่อน ตะกอนจะอยู่ด้านล่างของท่อเป็นส่วนใหญ่ และอาจจะมีบางส่วนที่ฟุ้งอยู่ในน้ำในท่อด้วย เมื่อฝนตกมากพอน้ำก็จะค่อยสูงขึ้นมาจนถึงส่วนที่เป็นข้องอ 45 องศา ด้านในของท่อส่วนที่เอียง 45 องศานี่เองผมติดมุ้งลวดอลูมิเนียมพับ 2 ชั้นไว้ 2 จุด เพื่อเป็นตัวดักตะกอนขนาดใหญ่ที่ฟุ้งลอยขึ้นมาไม่ให้ไหลเข้าไปในโอ่ง ส่วนตะกอนขนาดเล็กก็อาจจะผ่านไปได้บ้าง แต่ก็มีแรงโน้มถ่วงที่จะช่วยดึงให้ตะกอนไหลลงมาตามแนวท่อ 45 องศา
ตรง ปลายท่อด้านล่างของท่อดักตะกอน ผมเลือกขนาดท่อที่พอจะเอามือเข้าไปล้วงทำความสะอาดได้ และปิดปลายท่อด้านล่างด้วยฝาปิดเกลียวธรรมดา และจะไม่ปิดท่อจนแน่น จะยอมให้น้ำรั่วออกมาหน่อยๆ เมื่อฝนหยุดตกน้ำก็จะค่อยๆ ซึมออกจนแห้งเพื่อไม่ให้ตะกอนที่ค้างอยู่ถูกหมักรวมกับน้ำจนเน่ามากเกินไป ทุกๆ 1-2 สัปดาห์ (เฉพาะในช่วงหน้าฝน) ผมก็จะไขเกลียวออกเป็นทำความสะอาดเอาตะกอนที่ค้างอยู่ในท่อออกมา
ในหนังสือ
ของปู่บิล
ยังนำเสนอวิธีการทำระบบที่จะเก็บน้ำฝนหลังจากที่ฝนตกไปแล้วสักพักโดย
อัตโนมัติ และไม่ต้องใช้พลังงานอะไรมาก 2 ตัวอย่าง ระบบแบบนี้ซับซ้อนกว่า
และน่าจะทำงานได้ดีกว่าระบบที่ผมทำ
แบบแรกใช้กับถังที่มีฝาเปิดด้านบน โดยอาศัยน้ำฝนที่ตกช่วงแรกไปในถังซึ่งต่อกับคานกระดก เมื่อน้ำฝนเยอะพอก็จะกระดกให้น้ำฝนที่ตกช่วงหลังๆ ไหลลงไปในถังเก็บน้ำฝนแทน แต่ถังแบบเปิดมีข้อเสียคือต้องเปิดฝาไว้ตลอดเวลาอาจจะมีฝุ่นหรือใบไม้ร่วง ไปตรงฝาที่เปิดไว้ได้ ทำให้ต้องมีตาข่ายดักไว้ด้านบน แต่ตาข่ายดังกล่าวอาจจะไม่แข็งแรงมากพอสำหรับหนู นก หรือแมลงที่อาจจะเจาะตาข่ายเข้าไปในถังได้
แบบ ที่สองอาศัยหลักการว่าช่วงแรกๆ กระป๋องจะมาขวางน้ำสกปรกที่ตกลงมาจากรางน้ำฝน และไหลไปลงถังเก็บน้ำฝนสกปรก เมื่อฝนตกมากขึ้น น้ำในถังจะมากขึ้นจนถังกระดกเปิดทางให้น้ำตกลงไปในกรวยน้ำฝนที่อยู่ด้านล่าง แบบที่สองจะใช้กับถังปิด (คล้ายๆ ถังเก็บน้ำที่มีขายในปัจจุบัน) และใช้ท่อน้ำเข้าทำเป็นรูปตัวยู (U) เพื่อกันสัตว์/แมลงไม่ให้เข้าถังผ่านทางท่อขาเข้า แต่เนื่องจากเป็นถังปิดทำให้น้ำฝนที่มากเกินไปไม่สามารถล้นผ่านฝาด้านด้าน บนได้ จึงอาจจะต้องมีท่อระบายน้ำล้นของถังเก็บน้ำซึ่งก็ควรที่จะมีท่อรูปตัวยู เพื่อป้องกันสัตว์/แมลงเข้าทางท่อน้ำล้น
ทั้งสองแบบจะมีการเจาะรูที่ถังน้ำเพื่อรีเซทระบบให้กลับไปอยู่ตำแหน่งเดิมก่อนฝนตก โดยขนาดของรูจะเป็นการปรับระยะเวลาที่ระบบจะรีเซท
อีก ระบบกรองน้ำฝนสมัยใหม่เรียกว่า Cyclone Filter ซึ่งอาจจะมีรูปร่างแตกต่างกันไปบ้างตามยี่ห้อที่เขาทำขาย แต่หลักการทำงานคล้ายๆ กัน
ระบบ กรองจะถูกออกแบบมาพิเศษให้น้ำฝนไหลเข้ามาด้านข้าง เพื่อให้น้ำเกิดแรงเหวี่ยงคล้ายๆ พายุหมุน (Cyclone) ทำให้น้ำส่วนใหญ่ถูกเหวี่ยงไปอยู่ด้านขอบของที่กรอง ส่วนเศษขยะ และตะกอนจะถูกแยกด้วยแผ่นกรองรูปทรงกระบอกไม่ให้ถูกเหวี่ยงไปรวมกับน้ำที่ ด้านข้างของท่อกรองได้ และจะตกลงมาในช่องตรงกลางของท่อกรอง ที่ส่วนล่างของท่อกรองจะมีที่รับน้ำที่ถูกเหวี่ยงออกไปด้านข้าง และส่งน้ำต่อไปยังที่เก็บน้ำฝนที่ติดตั้งอยู่ที่ระดับต่ำกว่า
อ้อ...เกือบลืมว่าอีกวิธีของการแยกน้ำฝนช่วงต้น (First Flush) โดยใช้ลูกบอล หลักการทำงานคือน้ำช่วงแรกจะถูกเก็บเข้าไปในท่อก่อน จะทำให้ลูกบอลลอยขึ้นมาปิดทางเข้าของน้ำฝน ทำให้น้ำส่วนที่เหลือจะไหลไปอีกทางแทน ส่วนในท่อพักน้ำก็จะมีทางให้น้ำไหลเล็กๆ เพื่อให้น้ำไหลออกไปให้หมดท่อเตรียมไว้สำหรับฝนตกครั้งต่อไป
แบบแรกใช้กับถังที่มีฝาเปิดด้านบน โดยอาศัยน้ำฝนที่ตกช่วงแรกไปในถังซึ่งต่อกับคานกระดก เมื่อน้ำฝนเยอะพอก็จะกระดกให้น้ำฝนที่ตกช่วงหลังๆ ไหลลงไปในถังเก็บน้ำฝนแทน แต่ถังแบบเปิดมีข้อเสียคือต้องเปิดฝาไว้ตลอดเวลาอาจจะมีฝุ่นหรือใบไม้ร่วง ไปตรงฝาที่เปิดไว้ได้ ทำให้ต้องมีตาข่ายดักไว้ด้านบน แต่ตาข่ายดังกล่าวอาจจะไม่แข็งแรงมากพอสำหรับหนู นก หรือแมลงที่อาจจะเจาะตาข่ายเข้าไปในถังได้
แบบ ที่สองอาศัยหลักการว่าช่วงแรกๆ กระป๋องจะมาขวางน้ำสกปรกที่ตกลงมาจากรางน้ำฝน และไหลไปลงถังเก็บน้ำฝนสกปรก เมื่อฝนตกมากขึ้น น้ำในถังจะมากขึ้นจนถังกระดกเปิดทางให้น้ำตกลงไปในกรวยน้ำฝนที่อยู่ด้านล่าง แบบที่สองจะใช้กับถังปิด (คล้ายๆ ถังเก็บน้ำที่มีขายในปัจจุบัน) และใช้ท่อน้ำเข้าทำเป็นรูปตัวยู (U) เพื่อกันสัตว์/แมลงไม่ให้เข้าถังผ่านทางท่อขาเข้า แต่เนื่องจากเป็นถังปิดทำให้น้ำฝนที่มากเกินไปไม่สามารถล้นผ่านฝาด้านด้าน บนได้ จึงอาจจะต้องมีท่อระบายน้ำล้นของถังเก็บน้ำซึ่งก็ควรที่จะมีท่อรูปตัวยู เพื่อป้องกันสัตว์/แมลงเข้าทางท่อน้ำล้น
ทั้งสองแบบจะมีการเจาะรูที่ถังน้ำเพื่อรีเซทระบบให้กลับไปอยู่ตำแหน่งเดิมก่อนฝนตก โดยขนาดของรูจะเป็นการปรับระยะเวลาที่ระบบจะรีเซท
อีก ระบบกรองน้ำฝนสมัยใหม่เรียกว่า Cyclone Filter ซึ่งอาจจะมีรูปร่างแตกต่างกันไปบ้างตามยี่ห้อที่เขาทำขาย แต่หลักการทำงานคล้ายๆ กัน
ระบบ กรองจะถูกออกแบบมาพิเศษให้น้ำฝนไหลเข้ามาด้านข้าง เพื่อให้น้ำเกิดแรงเหวี่ยงคล้ายๆ พายุหมุน (Cyclone) ทำให้น้ำส่วนใหญ่ถูกเหวี่ยงไปอยู่ด้านขอบของที่กรอง ส่วนเศษขยะ และตะกอนจะถูกแยกด้วยแผ่นกรองรูปทรงกระบอกไม่ให้ถูกเหวี่ยงไปรวมกับน้ำที่ ด้านข้างของท่อกรองได้ และจะตกลงมาในช่องตรงกลางของท่อกรอง ที่ส่วนล่างของท่อกรองจะมีที่รับน้ำที่ถูกเหวี่ยงออกไปด้านข้าง และส่งน้ำต่อไปยังที่เก็บน้ำฝนที่ติดตั้งอยู่ที่ระดับต่ำกว่า
อ้อ...เกือบลืมว่าอีกวิธีของการแยกน้ำฝนช่วงต้น (First Flush) โดยใช้ลูกบอล หลักการทำงานคือน้ำช่วงแรกจะถูกเก็บเข้าไปในท่อก่อน จะทำให้ลูกบอลลอยขึ้นมาปิดทางเข้าของน้ำฝน ทำให้น้ำส่วนที่เหลือจะไหลไปอีกทางแทน ส่วนในท่อพักน้ำก็จะมีทางให้น้ำไหลเล็กๆ เพื่อให้น้ำไหลออกไปให้หมดท่อเตรียมไว้สำหรับฝนตกครั้งต่อไป
ส่วนการให้น้ำล้นไปยังโอ่งถัดไป ผมใช้วิธีแบบรูปข้างล่างครับ ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน มีช่องน้ำเข้าจาก 2 ด้านของหลังคา ส่วนโอ่งที่เหลือเชื่อมกันหมด มีตัวดักตะกอนทั้งสองด้านตามรูปที่ถ่ายให้คุณเพียรดูด้านบน ถ้าตะกอนยังหลุดมาอีกก็จะอยู่ในโอ่ง 2 ใบหัวท้ายเป็นส่วนใหญ่ เวลาทำความสะอาดก็จะเน้นเฉพาะ 2 ใบนี้
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0
cyclone filterหาซื้อที่ไหนครับ
ตอบลบ