เราลองมาดูว่าควรจะปลูกพืชอะไรในส่วนไหนของ
swale ผมอยากจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ บนเนินดิน ในร่อง
และดินบริเวณก่อนถึงร่อง
(พืชหลายอย่างที่แนะนำจะเป็นช่วงที่ระบบเข้าสู่สมดุลแล้ว ในช่วงแรกๆ
พืชที่ต้องการน้ำมากอาจจะมีน้ำไม่พอ)
ดิน
บริเวณก่อนถึงร่อง จะมีโอกาสโดนน้ำเยอะบ้างในกรณีที่น้ำเต็มร่อง
อาจจะเป็นพื้นที่ชื้น แต่ไม่ใช่บริเวณน้ำขัง
พืชที่แนะนำควรจะเป็นพืชที่ชอบชื้นไม่ชอบแฉะ ได้แก่ ผักกูด ผักขลู่ ผักคราด
หน่อไม้ฝรั่ง สาระเหน่ ขิง เป็นต้น
ในร่อง
เป็นบริเวณที่อาจจะถูกน้ำขังได้หลายวัน แต่บางช่วงก็จะมีน้ำแห้ง
พืชที่แนะนำให้ปลูกควรจะชอบน้ำ และทนน้ำท่วมขังระยะสั้นๆ ได้ เช่น เผือก
ข้าว ผักบุ้ง อ้อดิบ ว่านน้ำ ไอริส แห้ว ผักกูดน้ำ เป็นต้น
บนเนิน
ดิน เราต้องการป้องกันน้ำฝนกัดเซาะเนินดิน
พืชที่ปลูกควรจะเป็นพืชที่คลุมหน้าดิน มีรากช่วยยึดเกาะดินไว้
อาจจะเป็นพืชที่มี่รากลึกได้บ้าง เช่น มัน กล้วย ถั่ว ผักชีลาว สาคูจีน
ใบบัวบก เตยหอม เพกา ตะไคร้ หญ้าแฝก หญ้างวงช้าง
ดินถัดจากเนินดิน ควรจะเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีรากลึก เช่น ไม้ผลต่างๆ
ทั้ง
หมดนั้นเป็นทฤษฎี ภาพแรกๆ ที่เพื่อนๆ เห็นตอนขุด swale ใหม่ๆ
ดินที่ตักขึ้นมายังมีความชื้นอยู่บ้างเลยมีสีเข้ม
เมื่อได้อาบแสงแดดสักหน่อยก็โชว์สภาพที่แท้จริงของดินที่สวนแห่งนี้ซึ่ง
ประกอบไปด้วยหินจำนวนมาก
นับเป็นข้อดีว่าดินเหล่านี้ยังมีแหล่งต้นกำเนิดเยอะ
น่าจะมีแร่ธาตุพื้นฐานเยอะอยู่ในรูปของหินที่ยังไม่ได้ย่อยสลาย
แต่ข้อเสียคือเยอะเกินไปจนขาดแคลนอินทรีย์วัตถุ ส่วนดินเดิมแถวๆ
บริเวณที่ขุด swale จะแข็งมากๆ ต้องใช้ชะแลง และอีเตอร์ในการขุดเท่านั้น
ผม
พยายามปลูกพืชตามทฤษฎีเนื่องจากเป็นเดือนมิถุนายน -
กรกฎาคมซึ่งน่าจะเป็นหน้าฝนแล้ว
และทดสอบทฤษฎีด้วยการพึ่งน้ำฝนเพียงอย่างเดียว
อีกอย่างท่อเมนก็โดนรถบรรทุก/รถขุดทับแตกหลายจุดตอนพวกเขาเข้ามาปรับพื้นที่
ทำให้ต้องขุดซ่อมเดินท่อใหม่เป็นระยะทางยาวประมาณ 270 เมตร
หาคนงานมาทำให้ไม่ได้นานหลายเดือน ทำให้ใช้งานปั๊มน้ำไม่ได้
(น้ำที่ใช้ในบ้าน ผมยังต้องขนมาเองจากกรุงเทพฯ)
แท้งค์น้ำยังรั่วซ่อมไม่เสร็จทำให้ไม่มีน้ำสักหยด
เลยยิ่งเป็นไฟท์บังคับให้ต้องเชื่อใจในทฤษฎีของ swale
พืชที่ทดลองปลูกโดยไม่รดน้ำเลยก็ตายเยอะ
ที่รอดชีวิตมาได้ก็มีเพียงบางชนิดบางต้น
หญ้าแฝกปลูกที่อื่นๆ ตายยกแถว ดินแห้งแตกเป็นทาง
หญ้าแฝกที่ปลูกที่ swale มีรอดบ้างเป็นบางต้น แต่ไม่งาม
มันต่อเผือกปลูกด้วยหัว รอดมาได้สักประมาณ 50-60%
ปอเทืองงอกบางส่วนประมาณ 50% น่าจะเสร็จมด กระรอก และแมลงไปเยอะ แต่ที่รอดมาได้ก็งอกงามพอเป็นกำลังใจ
ถั่วครก ถั่วปี รอดแล้งมาได้ประมาณ 60-70%
ต้นกล้วยงอกมาท้าทายแสงแดด
ต้นไม้หลายต้นที่ปลูก แห้งเหี่ยว เหลือเพียงไม้ค้ำยัน ไม่น่าเชื่อว่านี่คือต้นฤดูฝนของเพชรบุรี
เมื่อ
เห็นสภาพแบบนี้ในช่วงแรกๆ ผมเริ่มถอดใจกับ swale ที่ขุดมาใหม่ๆ
และเริ่มหมดกำลังใจมากขึ้นเมื่อเห็นต้นไม้ที่ปลูกค่อยๆ ทยอยตาย
การป้องกันความชื้นด้วยการคลุมฟาง
และเล่มเกมต่อถั่วดูเหมือนจะไม่สามารถทานแสงแดดอันร้อนแรงของเมืองเพชรบุรี
ได้ เพื่อนบ้านที่ขึ้นมาปั๊มน้ำรดต้นไม้ที่สวนของเขาทุกๆ 2
วันเริ่มมาแซวว่าผมกำลังทำอะไรอยู่
ผมเองก็เริ่มสงสัยว่าคงจะต้องกลับไปติดสปริงเกอร์เหมือนที่เจ้าของเดิมทำไว้
แน่ๆ
ปล. ข้อสังเกตุคือปอเทืองที่ตรงขอบ
ตรงมุมจะงอกได้มากกว่าปอเทืองที่โรยไว้ตรงกลางเนิน
โดยที่ผมหาคำอธิบายไม่ได้ แต่ปู่บิลเคยสอนไว้เรื่อง "ทฤษฎีขอบ"
โดยไม่ได้อธิบายเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับ บอกเพียงว่าตรงขอบรอยต่อต่างๆ
จะมีสิ่งชีวิตเจริญงอกงามได้ดีกว่าตรงอื่นเสมอ เช่น
ขอบรอยต่อระหว่างหินกับดิน ขอบชายป่า ขอบสระน้ำ
ปลูกบิลจึงบอกว่าในการออกแบบให้เลือก pattern ที่จะสร้างขอบได้เยอะๆ
จะได้สร้างความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ได้มากกว่า pattern ที่มีขอบน้อย
ผมเองก็ยังไม่เข้าใจทฤษฎีนี้ซึ่งดูเหมือนจะนำไปประยุกต์ใช้งานได้
แต่อธิบายเหตุผลไม่ได้
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น