หากไม่สนใจ
เรื่องมูลค่าของหินว่าจะเป็นบ่อทองหรือไม่ ในมุมของกลุ่มเพอร์มาคัลเชอร์
หินเองก็เป็นประโยชน์กับการปลูกต้นไม้ และระบบนิเวศน์หลายอย่าง เช่น
หาก จะหาวิธีใช้ประโยชน์กับหินในธรรมชาติ คงจะหาได้อีกมากมาย เช่น เอามาทำสิ่งปลูกสร้าง เอามาประดับ ฯลฯ แต่คิดว่าเพื่อนๆ น่าจะได้ไอเดียบ้างว่าการมีหินในสวนขี้คร้านอาจจะไม่ได้เป็นความโชคร้ายซะที เดียวนัก อาจจะเป็นความกรุณาของธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับพื้นหิน เอ๊ย...พื้นดินเหล่านี้แล้ว เราจึงยังต้องขุดหินปลูกต้นไม้กันต่อไป
- ช่วย ในการยึดเกาะของรากต้นไม้ มีการพบว่าต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณที่มีหินอยู่ใต้ดินจะสามารถทนต่อการโค่น ล้มจากแรงลมพายุ ได้ดีกว่าต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณที่ไม่มีหินเลย
- ช่วน
รักษาความชื้น ภายใต้ดินที่ปกคลุมด้วยหินจะชื้นกว่าหน้าดินเปลือยๆ
ในธรรมชาติเราจึงจะพบพืชหลายชนิดที่งอกออกมาจากซอกหิน
รากของพืชมักจะอยู่ใต้หินที่มีความชื้นมากกว่า
และโพล่เฉพาะส่วนต้นตรงขอบหิน
ใน เรื่องนี้ปู่บิลเรียกว่า "Edge Effect" (อิทธิพลของแนวขอบ) โดยได้ขยายความออกไปไม่เฉพาะที่ขอบของก้อนหิน แต่ยังแนวขอบอื่นๆ เช่น ตามแนวขอบป่าแสงสว่างจะส่องเข้าไปข้างในป่าได้มาก อากาศใกล้ผิวดินตามแนวขอบป่าก็ผันแปรมาก เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น จึงจะทำให้มีพืชที่ชอบร่มมากๆ เติบโตได้ไม่ดี ในขณะเดียวกันก็ทำให้ต้นไม้ที่ชอบแดดมากๆ ก็เติบโตไม่ดีเช่นกัน จึงจะมีพืชชนิดใหม่ๆ ที่สามารถเติบโตได้ดีในลักษณะแบบนี้ เพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธู์ไม้ในพื้นที่ หรือตามแนวขอบน้ำโดยเฉพาะในบริเวณน้ำตื้น บางช่วงก็ถูกน้ำท่วม บางช่วงก็แห้งเห็นพื้นดิน จึงเป็นที่อยู่ของพืชอีกกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างจากต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณอื่นๆ
ในแนวของกลุ่มเพอร์มาคัลเชอร์เชื่อในเรื่องความหลากหลาย ทั้งความหลากหลายในเรื่องชนิด (Species Diversity) ความหลากหลายของพันธุกรรม (Genetic Diversity) และความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecosystem Diversity) ยิ่งมีความหลากหลายมากยิ่งมีโอกาสมากที่เราจะพบความสัมพันธ์แบบการอยู่ร่วม กัน (symbiosis) ที่สิ่งหนึ่งในธรรมชาติจะเกื้อกูลอีกสิ่งหนึ่งในธรรมชาติ เป็นการสร้างโอกาสให้ธรรมชาติช่วยเราทำงานได้มากขึ้น - ช่วย
ดักไอน้ำในอากาศ เนื่องจากคุณสมบัติความจุความร้อนของหิน
ในช่วงเช้าหินจึงจะเย็นกว่าอากาศ
หินที่กองรวมกันจึงทำให้ไอน้ำในอากาศช่วงเช้าเกิดการจับตัวเป็นน้ำค้าง
แต่เนื่องจากหินไม่อุ้มน้ำ น้ำค้างจึงจะไหลลงมายังดินด้านล่าง
ให้ความชุ่มชื้นกับดิน
เครดิตภาพจาก http://permaculturenews.org/2009/11/02/rethinking-water-a-permaculture-tour-of-the-inland-northwest
ในบางพื้นที่จึงใช้เทคนิคการกองหินเป็นตัวช่วยดักน้ำจากไอน้ำในอากาศให้กับต้นไม้ - ลดการสูญเสียความชื้น โดยกองหินให้ร่มเงาบังแดดไม่ให้โดนพื้นดินโดยตรง และบังลมไม่ให้พัดพาความชื้นจากผิวดินเร็วจนเกินไป
- ลด การแข่งขันกับวัชพืชในช่วงต้น เนื่องจากเหลือพื้นที่หน้าดินน้อยลงให้เมล็ดวัชพืชจะงอกได้ยากขึ้น แต่ในระยะยาวหากมีวัชพืชที่สามารถงอกได้แล้ว วัชพืชก็ได้รับประโยชน์จากหินเหมือนๆ กับต้นไม้ของเรา ในเวลานั้นหวังว่าต้นไม้ที่เราปลูกจะเติบโตบดบังแสงไม่ให้ถึงวัชพืชมากนัก
- ให้
แร่ธาตุกับต้นไม้ โดยปกติในดินประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง
อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศที่มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไป
แร่ธาตุเหล่านี้เกิดจากการผุพังของหิน
ในดินที่มีอายุมากแล้วเราจะไม่ค่อยพบวัตถุต้นกำเนิดอย่างหินมากนักจึงอาจจะ
ต้องเติบผงหิน (rock dust) เพื่อให้เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้น
ส่วน ในดินแบบทีสวนขี้คร้าน มีหินเป็นทรัพยากรที่จะผุพังเป็นแร่ธาตุต่อไปในอนาคต ขาดอยู่เพียงอินทรีย์วัตถุจำนวนมากๆ การปล่อยให้วัชพืชเติบโตเพื่อเสริมอินทรีย์วัตถุจึงเป็นกลจักรสำคัญในการ สร้างดินในพื้นที่ ส่วนอากาศจะเกิดจากความโปร่งที่สิ่งมีชีวิตในดิน เช่น ไส้เดือน มด ปลวก จะช่วยสร้างให้ แต่เราก็ต้องสร้างอาหารให้พวกเขา อาหารอย่างหนึ่งของพวกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้คือวัชพืช - ปก ป้องต้นไม้จากสัตว์ที่ชอบคุ้ย ( เช่น ไก่ หนู ฯลฯ) ในช่วงแรกที่ต้นไม้ยังไม่แข็งแรงพอ ซึ่งบางครั้งเป็นการขุดเพื่อหาแมลง การขุดเพื่อกินรากอ่อนของต้นไม้ โดยหินจะเป็นอุปสรรคในการคุ้ย หรือการขุดของสัตว์เหล่านี้พอๆ กับความลำบากของเราในการขุดดินปนหินเพื่อปลูกต้นไม้
- เป็น ที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก และแมลง โดยสัตว์/แมลงเหล่านี้จะอาศัยช่องว่างระหว่างก้อนหินเป็นที่หลบภัยจากศัตรู สัตว์/แมลงเหล่านี้หลายชนิดมีส่วนในการกำจัดศัตรูของพืช แต่เราเองก็ต้องระมัดระวังเพราะบางชนิดก็มีอันตรายกับคน เช่น ตะขาบ
- เป็น ที่ยืนของนกและสัตว์ขนาดเล็กบริเวณชายขอบของสระน้ำ การวางก้อนหินไว้ที่ชายน้ำจึงทำให้นก และสัตว์ขนาดเล็กสบายใจมากขึ้นที่จะลงมากินน้ำในสระโดยไม่พลาดจมน้ำตาย หรือจมเลนไปซะก่อน จึงเป็นดึงดูดให้ระบบนิเวศน์มีความหลากหลายในทางอ้อม นอกจากนั้นหินยังช่วยทำให้อุณหภูมิของน้ำแตกต่างกันมากขึ้น ช่วยในเรื่องการไหลเวียนของน้ำในสระ
หาก จะหาวิธีใช้ประโยชน์กับหินในธรรมชาติ คงจะหาได้อีกมากมาย เช่น เอามาทำสิ่งปลูกสร้าง เอามาประดับ ฯลฯ แต่คิดว่าเพื่อนๆ น่าจะได้ไอเดียบ้างว่าการมีหินในสวนขี้คร้านอาจจะไม่ได้เป็นความโชคร้ายซะที เดียวนัก อาจจะเป็นความกรุณาของธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับพื้นหิน เอ๊ย...พื้นดินเหล่านี้แล้ว เราจึงยังต้องขุดหินปลูกต้นไม้กันต่อไป
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0
รู้แล้วค่ะทีนี้...ว่าทำไมสวนหินๆถึงมีปลวกเยอะจัง...ใต้ต้นขบเบอรี่เวลาจะปลูกผักหวานป่า..เขี่ยใบไม้แถวนั้น มักจะพบปลวกมากเลยค่ะ...เพิ่แบบนี้นี่เอง...ขอบคุณค่ะ... : )
ตอบลบ