อ่านกระทู้แม่นางสุสะดุด กับวลี "..จะรวยไปทำไม
ไม่ทราบ.." ทำให้จิตย้อนไประลึกถึงแนวคิดเก่าๆ
ของมนุษย์ที่แสวงหาสังคมที่สงบสุขบริบูรณ์เสมอมานานหลายพันปีแล้ว
มนุษย์มีความหวังว่าสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะทำให้เรามีสังคมที่สงบ
สุขบริบูรณ์ ตัวอย่างเช่น ท่าน จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard
Keynes) นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งทรงอำนาจทางแนวคิดที่สุดในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา
หมายเหตุ
เดิมทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะอิงกฎของเซย์เรื่องตลาดเสรีจะเกิดความสมดุลหากภาครัฐ
ไม่เข้าไปแทรกแซง ต่อมาเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงทศวรรษที่ 1920 และ
1930 เป็นช่วงกำเนิดของทฤษฎีเคนส์
ที่เสนอว่าภาครัฐจะต้องเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้ไม่เกิดปัญหาเศรษฐกิจ
และกลายเป็นแนวคิดพื้นฐานในการทำงานของรัฐบาลทั่วโลกมาจนปัจจุบัน
สนใจอ่านรายละเอียดได้ที่
https://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์
http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_economic_doctrines/29.html
เคนส์กล่าวไว้ว่า
"For
at least another hundred years we must pretend to ourselves and to
everyone that fair is foul and foul is fair; for foul is useful and fair
is not. Avarice and usury and precaution must be our gods for a little
longer still."
"ในช่วงเวลาอีกอย่างน้อยร้อยปีต่อไป
เราจะต้องแสร้งทำเสมือนว่าความเท่าเทียมคือความเลวทราม
และความคดโกงคือความยุติธรรม เพราะความคดโกงมีประโยชน์
แต่ความเท่าเทียมหามีประโยชน์ไม่ พวกเราคงจะต้องยึดความโลภ
การขูดรีดทางการเงิน(ของชนชั้นนายทุน) และการระแวดระวังไว้ก่อน
(ความไม่เชื่อใจกัน ต้องระวัดการคดโกง) เป็นพระเจ้าของเราไปอีกสักพักใหญ่ๆ "
ตาม
แนวคิดของเคนส์การสร้างความร่ำรวยได้เร็วเราอาจจะไม่ต้องสนใจเรื่องจริยธรรม
หรือความยุติธรรมก็ได้ เนื่องจากจริยธรรมจะอุปสรรคในการสร้างความร่ำรวย
หลังจากทุกคนร่ำรวยพอแล้ว พวกเขาจะมีความสุขและเป็นคนดีเอง
รัฐบาลทั่วโลกที่ดำเนินการตามแนวคิดของเคนส์จึงมุ่งเน้นให้ประชาชนกินดี
อยู่ดีเป็นหลัก และหวังว่าทุกอย่างจะดีตามไปเอง
นโยบายในแนวนี้มีปัญหานอกเหนือจากเรื่องของจริยธรรมและเรื่องของสมมติฐานที่
ว่าความร่ำรวยนำไปสู่ความสุข นั่นคือ ณ
จุดไหนมนุษย์จึงจะรู้สึกว่าเขารวยหรือมีความสุขเพียงพอแล้วและจะเริ่มเป็นคน
ดี ในวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักซึ่งยึด
การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเป็นสรณะไม่มีคำว่า "เพียงพอ"
หากมีแต่คำว่า "มากขึ้น"
ฉะนั้นท่ามกลางสังคมที่มีแต่ความขาดแคลนซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโลก
จึงไม่มีสังคมไหนบอกว่ารวยพอแล้ว หรือรวยเกินไปแล้ว เพื่อแก้ปัญหาชนิดนี้
ใน
ปัจจุบันการผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูงสุดอย่างต่อเนื่องประสบความ
สำเร็จอย่างงดงาม เมื่อเทียบกับในยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คำนวณว่าในช่วงเวลาราว 1,000 ปีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่
6-16 เศรษฐกิจโลกขยายตัวโดยเฉลี่ยปีละ 0.1% เท่านั้น
ในยุคปัจจุบันเศรษฐกิจโลกขยายตัวโดยเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 3%
อย่างไรก็ตามการผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงจนดูจะลืมไปว่าเศรษฐกิจมีไว้
เพื่อรับใช้คนก่อให้เกิดปัญหาตามมาสารพัด
ในเบื้องแรก
จริงอยู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจนำไปสู่ความมั่งคั่งและการบริโภคได้ในระดับ
สูง แต่ความมั่งคั่งและการบริโภคได้ตามใจชอบ
จนเข้าขั้นสุดโต่งนั้นมิได้นำความสุขมาให้สังคมมนุษย์
ดังสมมติฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์
การวิจัยครั้งแล้วครั้งเล่าในสหรัฐอเมริกาช่วงเวลา 30
ปีที่ผ่านมายืนยันตรงกันว่า
ชาวอเมริกันมิได้มีความสุขเพิ่มขึ้นทั้งที่มีความมั่งคั่ง
และการบริโภคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตรงข้ามพวกเขากลับมีความรู้สึกว่า
มีความสุขน้อยลงเนื่องจากความเสื่อมทรามของสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น
การหย่าร้าง ยาเสพย์ติด ความเครียด ความหงอยเหงาเศร้าซึมและมลพิษต่างๆ
การศึกษาเหล่านั้นนำไปสู่การถกเถียงกันอย่างเข้มข้น
วิชา
เศรษฐศาสตร์วัดค่าของสิ่งต่างๆ ตามราคาในตลาดโดยไม่คำนึงว่าสิ่ง
เหล่านั้นมีค่าหรือโทษมหันต์ในตัวของ
มันเองในปัจจุบันและในวันข้างหน้าอย่างไรหรือไม่ ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ
ได้แก่ อากาศรอบตัวเราซึ่งมีค่าต่อชีวิตสูงยิ่ง
แต่ไม่มีการซื้อขายกันในตลาด มันจึงไม่มีราคา
และไม่ถูกนำมารวมเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ การไม่ตีราคาให้อากาศ
เพราะคิดว่ามันมีอยู่อย่างไม่จำกัดนี้นำไปสู่การใช้อากาศแบบไม่ระวัง
จนสร้างปัญหาหนักหนาสาหัส ในรูปของการมีมลพิษอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
มลพิษในอากาศเป็นส่วนหนึ่ง ของความเสื่อมทรามของระบบนิเวศ
ซึ่งมีผลกระทบทางลบ ร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ การคิดว่าอากาศ
มีอยู่อย่างไม่จำกัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของสมมติฐานที่ว่า
โลกนี้มีทรัพยากรมากมาย จนไม่จำกัด ซึ่งเป็นสมมติฐานที่ผิด
เป็นที่
ประจักษ์อย่างแจ้งชัดด้วยว่า มีกิจกรรมจำนวนมากที่มีค่าแต่ไม่มีราคาในตลาด
มันจึงไม่เคยถูกวัดเป็นส่วนหนึ่งเศรษฐกิจ เช่น
งานของแม่บ้านซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อครอบครัว
ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการทำอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
หรือการดูแลเด็กและคนชราซึ่งล้วนมีค่าสูงยิ่งทั้งในด้านร่างกายและจิตใจของ
สมาชิกในครอบครัว สิ่งเหล่านี้ไม่มีราคาในตลาด
จึงไม่เคยถูกวัดเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ แต่ถ้าแม่บ้านสองคน
เกิดมีไอเดียแปลก โดยการแลกงานกันทำ แล้วจ่ายค่าแรงให้กันและกัน
ค่าแรงเหล่านั้นจะถูกนำมาคิดเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจทันที
ทั้งที่ความอยู่ดีกินดีของทั้งสองครอบครัวมิได้เพิ่มขึ้น ตรงข้ามมันอาจลดลง
ดัง
นั้นเราจึงเริ่มได้ความชัดเจนมากขึ้นว่าความร่ำรวยไม่ได้เท่ากับความสงบสุข
ของสังคม (แม่นางสุเลยถามว่า "..จะรวยไปทำไม ไม่ทราบ..")
แต่ประชาชนจำเป็นจะต้องมีความกินอยู่ที่ดีพอในระดับหนึ่งที่เราเรียกว่า
"ความพอเพียง"
แล้วความพอเพียงจะวัดได้อย่างไรในเมื่อมนุษย์แต่ละคนมีความโลภแตกต่างกัน?
เพื่อให้เป็นมาตรฐานความเพียงพอจึงควรจะอยู่บนฐานของความต้องการของร่างกาย
หรือความจำเป็น
การแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เกินความจำเป็นเกิดจากความต้องการสนองความอยากอันมีฐานอยู่บนความโลภจะต้องถูกจำกัดเพราะ
โลกนี้ไม่มีทรัพยากรพอที่จะสนองความอยากของทุกคนได้
นอกจากนั้นกระบวนแสวงหาอันไม่มีวันสิ้นสุดยังนำไปสู่การทำลายจิตวิญญาณของ
มนุษย์เองอีกด้วย
ฉะนั้นเศรษฐศาสตร์จะช่วยแก้ปัญหาได้ก็ต่อเมื่อต้องยอมรับความจริงที่ว่าคน
ไม่ใช่เครื่องจักร หากเป็นสิ่งที่มีจิตวิญญาณ
วิชาเศรษฐศาสตร์จะมี
จิตวิญญาณได้ด้วยการยอมรับหลักปรัชญาซึ่งมองสิ่งต่างๆ
ไม่เหมือนกับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก อาทิ
เรื่องแรงงานซึ่งเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการผลิตสินค้าและบริการ
เศรษฐศาสตร์กระแสหลักมองว่า
แรงงานเป็นต้นทุนที่นายจ้างจะต้องหาทางลดให้เหลือน้อยที่สุด
หรือถ้าเป็นไปได้ก็แทนที่แรงงานทั้งหมดด้วยเครื่องจักร
ส่วนแรงงานเองก็มองว่างานมิใช่สิ่งที่น่าพิสมัยอะไรนัก
การมีรายได้โดยไม่ต้องทำงานคือสิ่งที่ดีที่สุด
แต่ปรัชญาของศาสนาต่างไม่มองเช่นนั้น หากมองแรงงานว่า
มีความหมายในสามระดับด้วยกัน คือ มันเปิดโอกาสให้คน
(1)พัฒนาและใช้สติปัญหาของตน (2)ลดความเห็นแก่ตัว และ
(3)ผลิตสิ่งที่มีค่าสำหรับดำเนินชีวิต การมุ่งเน้นการผลิตสินค้า
และบริการด้วยการใช้เทคโนโลยีที่จำกัดแรงงานจึงไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสม
เทคโนโลยี ที่เหมาะสมสำหรับการคงไว้ซึ่ง
จิตวิญญาณของมนุษย์ได้แก่เครื่องมือ ที่เอื้อให้การทำหัตถกรรมสะดวกขึ้น
ไม่ใช่เครื่องจักรอัตโนมัติที่มีมนุษย์เป็นเพียงฟันเฟืองเท่านั้น
การพัฒนาเศรษฐกิจจึงไม่ควรจะอยู่บนพื้นฐานของการสร้างกำไรสูงสุด
แต่เป็นเศรษฐที่ทำให้ทุกคนมีอาชีพมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง
อยู่รอดได้ทั้งพนักงานและบริษัท
เรื่องการบริโภคก็เช่นเดียวกัน
เศรษฐศาสตร์กระแสหลักวัดมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนด้วยระดับของการบริโภค
คนที่บริโภคมากกว่าถือว่าเป็นผู้ที่มีมาตรฐานความเป็นอยู่สูงกว่าผู้ที่
บริโภคน้อย ฉะนั้นทุกคนจะต้องบริโภค อย่างน้อยเท่ากับเพื่อนบ้าน
และถ้าหากเป็นไปได้ก็ให้พยายามบริโภคมากกว่านั้น
เพื่อจะได้มีความรู้สึกว่าอยู่ดีกินดี และมีความสำเร็จสูงกว่า
คนจึงเป็นเครื่องบริโภคที่ไร้จิตวิญญาณและมีหน้าที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว
สำหรับ
ในระดับปฏิบัติ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในขณะนี้คือ
การค้าเสรีมีผลทำให้สินค้าราคาถูกลง
เพราะบริษัทข้ามชาติย้ายฐานไปผลิตสินค้าในประเทศที่มีค่าแรงต่ำ
การที่สินค้ามีราคาถูกกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอย่างเมามัน พร้อมๆ
กับการก่อหนี้ยืมสินแบบท่วมท้นโดยทั่วไป
ในขณะที่บริษัทข้ามชาติและคนกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในประเทศที่มีค่าแรงต่ำ ร่ำรวยขึ้น
ความยากจนข้นแค้นแสนสาหัสยังกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในโลก
นอกจากนั้นยังมีปัญหาที่ผุดขึ้นมาอย่าง ต่อเนื่องอีกด้วย
แต่ทั้งหมด
เป็นเพียงการแสวงหาความมั่งคั่งมากขึ้น...เพิ่มขึ้น...ดีขึ้น...ซับซ้อน
ขึ้น...ยิ่งใหญ่ขึ้น...ยิ่งใหญ่...มาก...มากกว่าเดิม...มากกว่าเดิม
โดยไม่มีจุดจบ ไม่มีจุดพอดี...ไม่มีความพอเพียง
การผลักดันให้
เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาที่เน้นการเติบทางเศรษฐกิจด้วยการ
เพิ่มการผลิต เพิ่มการกินการใช้ทรัพยากรเป็นหนทางที่ไม่ถูกต้อง
เพราะไม่นานทรัพยากรในโลกก็ต้องหมด
การเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นสินค้าแทนที่จะคิดเป็นต้นทุนก็เป็นการถลุง
ทำลายอนาคตของโลก น้ำมันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีจำกัด
เท่าที่สำรวจและกำลังขุดมาใช้อยู่กำลังบ่งชี้ว่าเรากำลังอยู่ใกล้จุดพีคอ
อยล์ ถ้าเรายังใช้กันอย่างไม่ยั้งคิดก็จะหมดในเวลาอีกไม่กี่สิบปี
หากขุดพบเพิ่มใหม่อีกบ้างตามตัวเลขที่สำรวจก็จะอยู่ได้ถึงเพียง 200 ปี
แล้วจากนั้นมนุษย์ก็จะต้องกลับมาปรับตัวย้อนสู่ยุคที่ยากลำบากยิ่งกว่ายุค
โบราณ
ในขณะที่พลังงานทางเลือกจะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองอัตราการใช้งานในปัจจุบัน
ได้เพียงพอ
นอกจากนั้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องนี้ยังนำไปสู่ปัญหาต่างๆ
มากมายที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การขาดแคลนน้ำ การพังทลายของดิน
การสูญหายไปของ สิ่งมีชีวิต
มลพิษในอากาศและการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบนผิวโลก
ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีพลังที่จะทำให้เกิดความหายนะต่อสังคมมนุษย์ทั้งสิ้น
ดังนั้นความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจด้วยการเร่งเพิ่มการผลิตจึงเป็นทางสู่หายนะ
ของมนุษยชาติ เพราะยิ่งเร่งความเจริญ ก็ต้องยิ่งเร่งผลิต
เร่งใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ก็จะเร่งไปสู่ทางตัน
ถ้าชาวโลกทุกคนจะ
บริโภคด้วยอัตราสูงเหมือนเช่นชาวอเมริกันจริงๆ เราจะเอาทรัพยากรจะมาจากไหน
การจะทำเช่นนั้นได้ต้องใช้ทรัพยากรอย่างน้อย 6
เท่าของที่ชาวโลกใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่โลกไม่มี
ฉะนั้นในขณะนี้จึงมีการแย่งชิงทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น
ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่างกัน
เกี่ยวกับผลของการแย่งชิงทรัพยากรจะออกมาในรูปไหน
กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าโลกยังมีทรัพยากรอีกมากมาย
และรอเพียงวันที่มันจะถูกค้นพบเท่านั้น กลุ่มนี้เชื่อด้วยว่าเทคโนโลยี
มีอานุภาพสูงพอที่จะแก้ปัญหาในอนาคตได้
หรือไม่ก็จะมีอะไรสักอย่างเกิดขึ้นในวันข้างหน้า
ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาความขาดแคลนได้
อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่ากลไกตลาดมีอำนาจสูงพอที่จะแก้ปัญหาได้ นั่นคือ
เมื่อทรัพยากรชนิดหนึ่งขาดแคลน ราคาของมันก็จะพุ่งสูงขึ้น
ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการค้นหาส่วนที่ยังมี หลงเหลืออยู่
พร้อมกันนั้นการพัฒนาสิ่งอื่นขึ้นมาทดแทนก็จะเกิดขึ้นด้วย
แต่ทฤษฎีที่ไม่รวมปัจจัยของเวลา และความไม่แน่นอนเข้าไปด้วย
เมื่อสองปัจจัยนี้ถูกนำมาคิด ทฤษฎีของ
พวกเขาจะพังลงทันทีเนื่องจากจะมีช่วงยากลำบากในระหว่างมีการค้นหาทางออก
เมื่อค้นหาพบก็ยังมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาเรื่องการทำให้พอเพียง
ในช่วงเวลายากลำบากดังกล่าวอาจจะมีชาวโลกอีกจำนวนมากต้องลำบากจากปัญหาการ
ขาดแคลนทรัพยากร
ในสภาวะปัจจุบันที่รัฐบาลต่างๆ
ทั่วโลกก็ยังไม่ได้เปลี่ยนทิศทางการบริหารประเทศ
ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจในกระแสหลัก
คนคิดจะถามคำถามอย่างแม่นางสุว่า "..จะรวยไปทำไม ไม่ทราบ.."
จึงเป็นคนกลุ่มน้อย
ในภาพรวมมนุษย์ยังคงมุ่งหน้าใช้ทรัพยากรอย่างเมามัวเพื่อความร่ำรวยทางการ
เงินอย่างเมามัน ทุกคนคงจินตนาการจุดจบของกระแสนี้ได้
แต่...แม่นางสุเริ่มเห็นตัวชี้วัดความร่ำรวยในมิติอื่นๆ
ที่ไม่ใช่ตัวเงินแต่เพียงอย่างเดียว ความสุขเล็กๆ
จากพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ของสวนริมห้วย อากาศบริสุทธิ์ สรรพสัตว์เล็กๆ
และความสงบในจิตใจที่ได้รับทุกครั้งที่ไปเยือนสวนริมห้วยทำให้เกิดคำถามในใจ
แม่นางสุว่า "..จะรวยไปทำไม ไม่ทราบ.." แต่ teerapan ไม่มีคำตอบ
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น