ในอินเดีย
การเกษตรกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนยากจน
แม้ว่าการเกษตรกรรมดังกล่าวใช้ปริมาณน้ำมากกว่า 80%
ของปริมาณน้ำทั้งหมดในประเทศ ด้วยประชากรจำนวน 1.2 พันล้านคน
มีปริมาณน้ำที่ได้ต่อปีต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่ 1,560 ลูกบาศก์เมตร
ซึ่งต่ำกว่าไทยที่อยู่ที่ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี (ข้อมูลเฉลี่ยของปี
ค.ศ. 1961-1990 จากเวป http://www.nationmaster.com/graph/env_wat_ava-environment-water-availability
) และจากการคาดการณ์ของธนาคารโลกประมาณว่า
ความต้องการน้ำในอีกสองทศวรรษข้างหน้าของอินเดียจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวอยู่
ที่ 1.5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวกันก็คาดการณ์ว่า
หากอินเดียยังคงใช้น้ำในระดับปัจจุบัน น้ำในอินเดียจะหมดไปในปี 2050
ตามรายงานขององค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
แหล่งน้ำในอินเดีย
มาจากแหล่งน้ำผิวดิน อันได้แก่ แม่น้ำและแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ
แต่ประสบปัญหาในเรื่องการกระจายน้ำไปยังแหล่งอื่นที่ขาดแคลน
อันเป็นผลมาจากการที่น้ำเป็นสิ่งที่ต้องใช้ต้นทุนมหาศาลในการจัดทำระบบการ
ส่งน้ำต่างๆ ทั้งยังติดปัญหาในเรื่องการทำงานที่ล่าช้า เฉื่อยชา
ความไม่มีประสิทธิภาพของระบบราชการ
การรั่วไหลของน้ำจำนวนมหาศาลจากท่อส่งอันเป็นผลมาจากการขาดแคลนเงินทุนในการ
ซ่อมบำรุง การตั้งราคาของน้ำที่ไม่สอดคล้องกับต้นทุน
เพราะการตั้งราคาน้ำเป็นผลกระทบต่อนักการเมืองโดยตรง
โดยเฉพาะกับฐานเสียงที่เป็นคนยากจนอันเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ทำให้นักการเมืองนำเรื่องกลไกราคาของน้ำมาใช้อย่างจริงจัง
ที่สำคัญการบริหารจัดการน้ำเป็นภายในรัฐแต่ละรัฐ
รัฐบาลกลางไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้
ทำให้ไม่เกิดความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการน้ำของทั้งประเทศ
ขณะที่ความขัดแย้งระหว่างรัฐในอินเดียเพิ่มสูงมากขึ้นในเรื่องปัญหาการจัด
สรรน้ำ ทั้งในด้านไม่ไว้วางใจในระหว่างรัฐ
รวมถึงการไม่อนุญาตให้มีการแบ่งน้ำหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำของรัฐ
ไปยังรัฐอื่นหรือรัฐบาลกลาง
เกษตรกรในอินเดียส่วนหนึ่งต้องพึ่งพาน้ำ
เพื่อการเพาะปลูกจากมรสุมที่เริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม
อันเป็นเดือนเริ่มต้นของฤดูฝน นอกจากนี้
อินเดียเป็นประเทศที่มีการใช้น้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาลมากที่สุดในโลกจำนวน 20
ล้านบ่อ
หากเอาความยาวของบ่อน้ำบาดาลที่มีการสูบขึ้นมาใช้ในอินเดียมาต่อเข้าด้วยกัน
จะมีความยาวเท่ากับ หนึ่งในสี่ ของความยาวรอบโลก การใช้น้ำบาดาลที่เพิ่ม
ไม่ได้มีสาเหตุเพียงแค่การเพิ่มขึ้นของความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นเท่า
นั้น แต่ยังเป็นผลมาจากการให้การสนับสนุนของรัฐบาลท้องถิ่น
รวมถึงค่าใช้จ่ายดำเนินการในเรื่องน้ำบาดาลที่มีราคาถูกในเรื่องการสูบน้ำ
บาดาลขึ้นมาใช้ เพราะว่าการที่ทางรัฐบาลได้มีการอุดหนุนในเรื่องของ
พลังงานไฟฟ้าโดยเฉพาะกับเขตชนบทที่ห่างไกล
การส่งเสริมให้มีการใช้
น้ำบาดาลอย่างกว้างขวางส่งผลให้ปริมาณน้ำใต้ดินถูกสูบขึ้นมาใช้เกินกว่า
ปริมาณน้ำที่ไหลกลับลงไปยังชั้นดิน ทำให้ปริมาณน้ำใต้ดินลดลง นอกจากนี้
การที่มรสุมซึ่งเป็นแหล่งสำคัญในการเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินในอินเดียมีปริมาณ
ลดลง เป็นผลให้ปริมาณน้ำใต้ดินที่นำมาใช้ลดลงจนอยู่ระดับวิกฤติในรัฐ
กุตตาราช ฮายานา มหารัชตะ ราชาสถาน และทมิฬนาดู นอกจากนี้
การสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้มากเกินไปเป็นผลให้เกษตรกรมีต้นทุนในการใช้พลังงาน
ไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากระดับที่ลึกขึ้น
ทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำเกษตรกรรมลดลง
เกิดภาระหนี้สินและปัญหาสังคมตามมา
โครงการสร้างเขื่อนและโครงการส่ง
น้ำขนาดใหญ่ แทบไม่สามารถดำเนินการได้ในอินเดีย
อันเป็นผลมาจากการบริหารทรัพยากรน้ำเป็นอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่น
รวมถึงการที่อินเดียยังคงมีปัญหาเรื่องการขาดดุลงบประมาณในการลงทุนโครงการ
ขนาดใหญ่
ข้อเสนอที่เกี่ยวกับการสร้างเขื่อนและคลองส่งน้ำขนาดใหญ่ของภาครัฐมักได้รับ
การต่อต้านจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
อันเนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ดังเช่นโครงการมูลค่า 5
ล้านล้านรูปีที่รัฐบาลเสนอในปี 2546 ที่ต้องยกเลิกไปในที่สุด
การ
จัดการทรัพยากรน้ำของประเทศอินเดียมีรูปแบบที่เน้นการอนุรักษ์น้ำ
(Conservation) ดังนั้น
รัฐบาลมีการออกกฎหมายบังคับให้บ้านหรือที่อยู่อาศัยที่มีการก่อสร้างใหม่
ต้องมีที่กักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในครัวเรือน
และการที่พรรคร่วมรัฐบาลอนุมัติแผนพัฒนาแหล่งน้ำระยะเวลา 6 ปี
ในการปรับปรุงแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
และสร้างถังกักเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำฝนที่มากับมรสุม
ประจำปี
แม้ว่าทรัพยากรน้ำจะมีปริมาณจำกัด มนุษย์ก็สามารถกำหนดแนวทางในการจัดการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 3 ประการ อันได้แก่ ประการแรก
การปรับปรุงระบบการกักเก็บน้ำและระบบการชลประทานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เช่น การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดิน
แก้ปัญหาเรื่องการรั่วซึมของระบบชลประทาน ประการที่สอง เน้นการเกษตรกรรมที่ใช้น้ำน้อย การปลูกพืช หรือพัฒนาพันธุ์พืชที่สามารถทนความแห้งแล้งได้มากขึ้น ประการที่สาม
การนำกลไกราคามาใช้ในเรื่องการใช้น้ำ
เพื่อเกิดความสมดุลในระหว่างอุปสงค์ความต้องการใช้น้ำและอุปทานแหล่ง
ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ เมื่อราคาของน้ำที่ถูกตั้งอย่างเหมาะสม
จะเป็นการส่งเสริมให้ประเทศและคนในประเทศมีการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพดี
ขึ้น
แม้ว่าประเด็นดังกล่าวอาจเป็นประเด็นที่อ่อนไหวทางการเมืองในหลายประเทศ
โดยเฉพาะกับประเทศกำลังพัฒนา ทั้งสามวิธีการดังกล่าว
ต้องนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน และต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เช่น
การพัฒนาพืชที่ทนแล้ง เป็นต้น
ในรัฐอัตรประเทศ
อันเป็นรัฐที่มีปัญหาทั้งในด้านของข้อจำกัดของแหล่งน้ำใต้ดิน
และแหล่งกักเก็บน้ำจากลมมรสุม จะเป็นรัฐที่ประสบปัญหาความแห้งแล้งอยู่เสมอ
ได้เริ่มโครงการจัดการบริการความต้องการในการใช้ทรัพยากรน้ำในหมู่บ้านขนาด
เล็ก โดยเกษตรกรในหมู่บ้านมีส่วนในการวัดและประมาณปริมาณน้ำฝน น้ำใต้ดิน
น้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับน้ำและพื้นดิน
เพื่อกำหนดหาปริมาณน้ำที่มีอยู่และสามารถใช้งานได้
โดยไม่มีผลกระทบต่อแหล่งน้ำโดยรวม
หลังจากนั้นก็มีการประชุมหารือในหมู่บ้านเพื่อกำหนดประเภทของพืชที่จะปลูก
รวมถึงปริมาณน้ำที่จะใช้ในการเกษตร และการจัดสรรทรัพยากรน้ำ
ข้อมูลถูกปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลาทั้งในช่วงมรสุม เก็บเกี่ยว
ด้วยข้อมูลดังกล่าว
การบริหารทรัพยากรน้ำในรัฐอัตรประเทศจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการ
ดังกล่าวที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำโดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม
ส่งผลให้พื้นที่แห้งแล้งดังกล่าวสามารถปลูกพืชหมุนเวียนได้เพิ่มขึ้นมากกว่า
13 ชนิด เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรน้ำ
ลดการใช้สารเคมีเพื่อให้มีการรักษาทรัพยากรน้ำในการทำการเกษตร
โครงการดังกล่าวเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐอัตรประเทศ
กำลังถูกนำมาใช้ในหลายรัฐ
โดยเฉพาะกับรัฐที่มีปัญหาวิกฤติในเรื่องทรัพยากรน้ำอันได้แก่ รัฐ กุตตาราช
ฮายานา มหารัชตะ ราชาสถาน และทมิฬนาดู
เป็นเรื่องน่าคิดว่า
หากสภาพอากาศยังคงแปรปรวนแบบทุกวันนี้
ในไม่ช้าเราก็อาจจะเผชิญกับปัญหาเหมือนที่ประเทศอินเดียเจอ
การเติมน้ำลงใต้ดินเป็นเพียงจิ๊กซอร์เล็กๆ ในภาพรวมการแก้ไขปัญหาในภาพใหญ่
แต่ก็เป็นเครื่องมือสำคัญในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยอย่างประเทศอินเดีย
เราจะเรียนรู้อะไรจากเขาได้บ้าง ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น