4 กุมภาพันธ์ 2557

กระบวนท่าที่ 8 - โครงสร้างเติมน้ำใต้ดิน (Water Recharge Structure)

ขออนุญาต ย้อนกลับไปดูข้อมูลเรื่องปริมาณการระเหยของน้ำที่ผิวน้ำโดยเฉลี่ยในประเทศ ไทยพบว่าสูงถึง 110-150 มิลลิเมตรต่อเดือน หรือมากกว่า 1,320 มิลลิเมตรต่อปี  ดังนั้นจึงไม่แน่ประหลาดใจที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งมีปริมาณน้ำฝนต่อ ปีน้อยกว่า 1,300 มิลลิเมตรต่อปีจะมีปัญหาน้ำแห้งบ่อเป็นส่วนใหญ่  คนที่ทำการเกษตรในพื้นที่ลุ่ม และโชคดีก็จะขุดเจอตาน้ำ  ทำให้น้ำในสระถูกเติมเต็มด้วยน้ำใต้ดินที่ไหลมาจากที่อื่น   คนที่โชคไม่ดีเท่า หรืออยู่บนที่ดอนก็จะพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการขุดน้ำบ่อ หรือน้ำบาดาลมาใช้งาน

การที่เรานำเอาน้ำใต้ดินที่มีอัตราการระเหยน้ำ มากๆ มาใช้งานที่ผิวดินซึ่งมีอัตราการระเหยมากทำให้ธรรมชาติขาดสมดุล  เนื่องจากเราเอาน้ำมาใช้เร็วกว่าที่ธรรมชาติจะเติมเต็มน้ำลงใต้ดิน  อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว  ทำให้ระดับน้ำใต้ดินต่ำลงเรื่อยๆ เราต้องใช้กำลังสูบมากขึ้น  ขุดบ่อให้ลึกขึ้น ในขณะที่ต้นไม้แย่ลงเนื่องจากระดับน้ำใต้ดินที่เคยเป็นแหล่งน้ำของต้นไม้ ใหญ่ถูกแย่งไปใช้งาน

ดังนั้นในพื้นที่ที่แห้งแล้งมากๆ จึงควรหลีกเลี่ยงการขุดสระ  แต่ให้ใช้วิธีการดักน้ำ Run off ในช่วงหน้าฝนให้ได้มากที่สุด และนำน้ำลงไปเก็บใต้ดินให้ได้เร็วที่สุด  เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำออกไปนอกพื้นที่  ในหน้าแล้งจึงใช้วิธีสูบน้ำใต้ดินจากบ่อกลับมาใช้งาน  หัวใจสำคัญของการใช้น้ำใต้ดินอย่างยั่งยืนคือเราจะต้องช่วยธรรมชาติในการ เติมเต็มน้ำลงใต้ดินในช่วงฤดูฝน  เพื่อให้สมดุลกับการนำน้ำใต้ดินมาใช้งานของเราในหน้าแล้ง  ในบทนี้เราจึงจะมากล่าวถึงโครงสร้างเติมน้ำใต้ดิน (Water Recharge Structure)

Water Recharge Structure มีรูปแบบที่หลากหลาย  ขึ้นอยู่กับระดับความลึกที่เราต้องการเติมน้ำมีหลากหลายชื่อ เช่น


A. Surface Basin เป็นหลักการง่ายๆ โดยการสร้างเนินดิน  เพื่อกันไม่ให้น้ำ Run off ไหลออกไปเร็ว  ทำให้น้ำมีเวลาซึมลงใต้ผิวดินมากขึ้น  แต่โครงสร้างแบบนี้ไม่แข็งแรง  เมื่อมีปริมาณน้ำฝนมากๆ แรงดันน้ำจะกัดเซาะเนินดินออกไปได้

B. Excavated Basin ซึ่งเหมือนกับหลักการทำ Sunken Basin สำหรับปลูกพืชที่เรากล่าวถึงในกระบวนท่าที่ 1 คือการขุดดินให้ลึกลงไป 5-15 ซม. เพื่อให้โครงสร้างแข็งแรงกว่าแบบ surface basin ทำให้รองรับน้ำ Run off ได้มากกว่าแบบ surface basin แต่น้ำที่้ซึมก็ยังอยู่ใกล้ผิวดินเป็นส่วนใหญ่

C. Trench เป็นขุดร่องให้ลึก 50 - 150 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่ดักน้ำ Runoff ได้มากขึ้น  หากไม่ได้ใส่อะไรในร่องก็จะคล้ายๆ กับที่เราทำ Swale ในกระบวนท่าที่ 4 ถ้าใส่หินลงไปเพื่อชะลอการทับถมของดินจากบริเวณปากของร่องก็จะคล้าย French Drain ที่กล่าวถึงในกระบวนท่าที่ 6  การทำ trench แบบนี้ทำให้ดักน้ำได้มากขึ้น และส่งน้ำลงไปใต้ดินได้ลึกขึ้น

D. Vadose Zone Well (บ่อน้ำ) เป็นการขุดช่องลงไปถึงระดับน้ำบ่อเพื่อเติมน้ำลงไปที่ระดับน้ำบ่อ



E. Aquifer Well (บ่อน้ำบาดาล) เป็นการขุดลงไปจนถึงระดับน้ำบาดาล  เพื่อเติมน้ำในระดับน้ำบาดาล

หาก พิจารณาจะเห็นว่าในกระบวนท่าต้นๆ ที่เราผ่านมาก็ล้วนแล้วแต่เป็นรูปแบบหนึ่งของการเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินทั้ง สิ้น  ในบทนี้เราจึงจะมาลงรายละเอียดเฉพาะเรื่องการเติมน้ำใต้ในแบบ C, D และ E เท่านั้น


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น