ปัญหาเรื่องน้ำกำลังกลายเป็นปัญหาหลักที่ท้าทาย
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศอินเดีย
ปริมาณน้ำฝนต่อปีของประเทศอินเดียอาจจะดูเหมือนไม่ขาดแคลน แต่คล้ายๆ
กับประเทศไทยคือฝนในประเทศอินเดียมักจจะตกในช่วงเวลาสั้นๆ
ในฤดูมรสุมเท่านั้น และช่วงเวลาของมรสุมดูเหมือนว่าจะสั้นลงเรื่อยๆ
เหมือนที่เพื่อนๆ
ในเวปเกษตรพอเพียงกำลังประสบคือจำนวนเดือนที่ฝนไม่ตกเลยติดต่อกันจะเป็นช่วง
เวลาที่นานขึ้นเรื่อยๆ บางคนอาจจะเจอปัญหาว่าฝนไม่ตกต่อเนื่องกันนานกว่า 6
เดือน เวลาฝนตกก็ตกหนักมากจนบางครั้งอาจจะเจอปัญหาน้ำท่วม
(ลองสังเกตุทุ่งกุลาร้องไห้ที่เจอทั้งปัญหาภัยแล้ง
และปัญหาน้ำท่วมในปีเดียวกันเป็นตัวอย่าง)
สภาพอากาศที่ขึ้นกับ
มรสุม การบริหารจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพ
และแรงกดดันอื่นจากฝีมือมนุษย์ (ด้วยเหตุของสิ่งที่เรียกว่าความเจริญ)
ทำให้เกษตรกร ครัวเรือน
และภาคอุตสาหกรรมต่างก็พึ่งพาการใช้น้ำใต้ดินมากกว่าน้ำผิวดินในแม่น้ำ
คลองชลประทาน และสระน้ำ
แต่แนวโน้มการใช้น้ำใต้ดินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี่เองที่ทำให้เกิดปัญหา
ที่แย่ลงเรื่อยๆ ของระดับน้ำใต้ดิน
ผลจากความไร้ประสิทธิภาพของระบบ
ชลประทานของน้ำผิวดินอย่างคลองชลประทาน ทำให้มีน้ำไม่เพียงพอ
จึงมีการใช้น้ำใต้ดินอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำใต้ดินถูกใช้มากถึง 65%
ของระบบชลประทาน และ 85% ของแหล่งน้ำเพื่อการบริโภค
เนื่องจากไม่มีการเติมเต็มน้ำใต้ดินทำให้เกิดปัญหาอย่างหนักในปี พ.ศ. 2555
ที่ผ่านมาที่มีปริมาณฝนในช่วงมรสุมน้อยกว่าปกติ
ระดับใต้ดินลงจนกระทั่งบ่อน้ำ และบ่อน้ำบาดาลในหลายพื้นที่ไม่มีน้ำให้สูบ
ประชาชนเดือดร้อยอย่างหนักเหมือนปัญหาภัยแล้งครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2552
จากผลการสำรวจพบว่าระดับน้ำใต้ดินของหลายแห่งทั่วทั้งอินเดียลดลงมากกว่า 4
เมตรต่อปี
ปัญหาเรื่องน้ำของประเทศอินเดียเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง
ในช่วงกลางทศวรรษ 1960 มีการ "ปฏิวัติเขียว" ซึ่งทำให้ต้องใช้น้ำ ปุ๋ยเคมี
และยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
แหล่งน้ำผิวดินในช่วงต้นยังพอมีให้ใช้แต่ไม่ปลอดภัยสำหรับการอุปโภคบริโภค
เนื่องจากขยะจากมนุษย์ และการปนเปื้อนจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรสมัยใหม่
ระบบน้ำประปาไร้ประสิทธิภาพ และเชื่อถือไม่ได้ในภูมิภาค
มีปริมาณน้ำประปาสูญเสียจากการรั่วซึมมากถึง 40% ในกรุงนิวเดลี
ทางเลือกที่ประหยัดกว่าในระยะยาวคือการขุดน้ำบาดาล
แต่ค่าขุดน้ำบาดาลมีราคาค่อนข้างสูง
ประชาชนที่ยากจนจำนวนมากไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะจ่ายค่าขุด
การซื้อน้ำที่มีราคาแพงจากรถขนน้ำจึงเป็นทางเลือกเดียวสำหรับหลายๆ
ครัวเรือน
เพื่อเอาใจประชาชนส่วนให้ที่มีรายได้น้อยในภูมิภาคนักการ
เมืองออกหลักเกณฑ์ที่ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี
หรือช่วยสนับสนุนค่าไฟฟ้าให้มีราคาถูกกว่าปกติสำหรับเกษตรกร (ฟังดูคุ้นๆ
จัง) ทำให้ต้นทุนของการสูบน้ำต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
แม้นว่าเกษตรกรจะเผชิญปัญหาระดับน้ำใต้ดินที่ต่ำลงและต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
ในสูบมากขึ้นก็ยังไม่ค่อยเป็นประเด็นสำหรับพวกเขาเนื่องจากราคาค่าไฟฟ้า
ถูกกว่าปกติ
การเติบโตของสังคมเมือง และช่องว่างของรายได้
ทำให้มีการเติบโตของประชากรที่ร่ำรวยในสังคมเมืองมากขึ้น
พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มากขึ้น
ทำให้ต้องปลูกพืชมากขึ้น (และใช้น้ำมากขึ้น)
เพื่อเลี้ยงประชากรในสังคมเมือง
มีการประมาณการว่าจะความต้องการใช้น้ำจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปี พ.ศ. 2573
ปัญหาจะรุนแรงมากขึ้นนอกจากว่าจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
การ
ใช้งานน้ำใต้ดินอย่างไม่ยั่งยืน (มีการสูบน้ำมาใช้มากกว่าการเติมน้ำ)
นอกจากจะทำให้ระดับน้ำใต้ดินลดลงอย่างต่อเนื่องยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ
ด้วย การสูบน้ำใต้ดินในระดับที่ลึกมากขึ้นเรื่อยๆ พบว่ามีปริมาณสารหนู
สารฟลูออไรด์ และสารพิษอื่นๆ ปนเปื้อนอยู่ในระดับที่สูงมากขึ้น
ส่งผลกระทบกับสุขภาพของคนที่มีรายได้น้อยที่ไม่มีทางเลือกอื่นในการหาน้ำ
บริโภค (ต้องใช้น้ำใต้ดินในการบริโภค)
ในบางแหล่งน้ำใต้ดินมีเกลือปนเปื้อนอยู่การสูบขึ้นมาใช้ในการเกษตร
ก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนของเกลือที่ผิวดิน
ทำให้ดินเค็มทำการเกษตรไม่ได้ผลอีกต่อไป
ระดับน้ำใต้ดินที่ต่ำลง
ยยังทำให้เกิดการซึมของน้ำจากผิวดินซึ่งปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีมากขึ้น
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีการซึมของน้ำจากระบบส้วม ระบบน้ำถึง
รวมถึงสารเคมีจากการเกษตรลงไปในแหล่งน้ำใต้ดินมากขึ้นเรื่อยๆ
ตามระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง
ในพื้นที่ใกล้ทะเลก็พบการแทรกซึมของน้ำเค็มจากทะเลเข้ามาแทนที่น้ำจืดใต้ดิน
ที่ถูกดึงไปใช้งาน
ปัญหาการหมดไปของน้ำใต้ดินกำลังเป็นปัญหาวิกฤตที่
ยากในการแก้ไข เนื่องจากเป็นการยากที่จะให้ทุกๆ
คนลดการใช้น้ำใต้ดินลงเพื่อให้ปริมาณการใช้น้ำรวมทั้งชุมชนลดลง
สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นมากกว่าคือต่างคนต่างจะสูบน้ำใต้ดินออกมาให้มากที่สุด
ในระหว่างที่ยังสามารถทำได้ซึ่งสุดท้ายแล้วจะทำให้ทุกๆ
คนแย่ลงกว่าการพยายามร่วมมือกันลดการใช้น้ำ
เราอาจจะสามารถทำให้คนในหมู่บ้านเดียวกันมาร่วมมือกันลดการใช้น้ำได้
แต่แหล่งน้ำใต้ดินเดียวกันอาจจะเชื่อมต่อหลายหมู่บ้าน หลายตำบล
หรือแม้นแต่หลายอำเภอ
แต่การที่เราจะได้รับความร่วมมือลดการใช้น้ำของทุกครัวเรือนของทั้งจังหวัด
คงจะเป็นเรื่องยากมากๆ
ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วม
มือกันของคนทั้งชุมชน ตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาน้ำของหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ
Hiware Bazar ซึ่งอยู่ในเขตเงาฝน ในอำเภอ Ahmednagar ของจังหวัด
Maharashtra ของประเทศอินเดีย หมู่บ้านแห่งนี้มีฝนตกประมาณ 600
มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งคิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในประเทศไทย
หรือเพียง 1 ใน 6 ของปริมาณน้ำฝนที่ตกที่จังหวัดตราด หรือระนอง
หมู่
บ้าน Hiware Bazar ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรงในปี พ.ศ. 2515
ทำให้มีปัญหาขาดแคลนน้ำ ปัญหาอาชญกรรมที่เพิ่มขึ้น
และมีการอพยพออกจากหมู่บ้านไปหางานทำในเมืองเป็นจำนวนมาก
ชาวบ้านส่วนที่เหลืออยู่ในหมู่บ้านหันมาต้มสุราเถื่อนขายเพื่อหารายได้ที่
สูงขึ้นแต่มิได้ทำให้สถานะการณ์ดีขึ้น สภาพสังคมกลับเลวร้ายลงเรื่อยๆ
จนกระทั่งนาย Popatrao Baguji Pawar
นักศึกษาจบปริญญาเพียงคนเดียวของหมู่บ้านที่ปฏิเสธการเข้าไปทำงานในเมือง
ใหญ่ เขาเลือกที่จะอยู่พัฒนาหมู่บ้านของเขา
เขาได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านในปี พ.ศ. 2533
ท่ามกลางการคัดค้านของญาติพี่น้องที่ต่างก็ต้องการให้เขาไปทำงานในเมือง
เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
หลังจากที่ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านเขาได้ขออนุมัติงบในการปรับปรุงทรัพยากร
ธรรมชาติตามแบบอย่างของหมู่บ้าน Ralegan Siddhi
ซึ่งประสบปัญหาอย่างเดียวกันแต่ห่างไป 35 กิโลเมตร
เขาใช้งบของภาครัฐและอาศัยแรงงานจากชาวบ้านร่วมกันปรับปรุงหมู่บ้าน
Pawar
ได้เรียกร้องลูกบ้านให้ร่วมกันในการลดการใช้น้ำ
ระบบน้ำหยดถูกนำมาใช้งานแทนการให้น้ำแบบเดิมๆ
มีการหลีกเลี่ยงการปลูกพืชที่ใช้น้ำเยอะอย่างอ้อย และกล้วย มีการขุด
swale และโครงสร้างเติมน้ำใต้ดินที่เรียกว่า percolation tank กว่า 52 แห่ง
สร้าง terrace แบบมีกำแพงค้ำยันเป็นหิน 32 แห่ง และสร้างฝายน้ำล้น
(ฝายแม้ว) 9 แห่ง บนภูเขา และชายเขาของหมู่บ้าน เพื่อดักน้ำฝนลงใต้ดิน
รวมทั้งการอาสาร่วมกันปลูกป่าของชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน
ชาวบ้านร่วมกันสร้าง swale และปลูกต้นไม้
การวางเรียงหินตามแนวระดับเพื่อสร้าง terrace ที่ชะลอน้ำ
การสร้าง Checkdam (ฝายน้ำล้น) และ percolation tank
หมายเหตุ
percolation tank จะคล้ายกับสระน้ำ หรือเขื่อนขนาดเล็ก
เพื่อดักน้ำที่ไหลมาจำนวนมาในฤดูฝน
แต่จะต่างกับสระน้ำทั่วไปตรงที่เขาจะไม่ได้พยายามให้มันเก็บน้ำอยู่
แต่ต้องการเพียงชะลอน้ำ และให้น้ำซึมลงใต้ดินให้มากที่สุด ในฤดูแล้งทุกๆ
ปี
ชาวบ้านมาช่วยกันขุดลอกเอาตะกอนโคลนที่อยู่ที่ก้นสระออกให้ถึงชั้นหินเพื่อ
ใหน้ำซึมลงใต้ดินมากที่สุด
การ
เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอีกหลายอย่างไม่ว่าจะ
เป็นการห้ามตัดต้นไม้โดยเด็ดขาด ห้ามการเลี้ยงวัวในบริเวณป่าฟื้นฟู
การคุมกำเนิด การตรวจโรคเอดส์ก่อนการแต่งงาน
การส่งเสริมงานอาสาสมัครของชุมชน การให้ความสำคัญกับการศึกษา
การห้ามขายที่ดินให้กับคนนอกหมู่บ้าน การจัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน
การขอร้องให้ใช้น้ำบาดาลเฉพาะการอุปโภคบริโภค (ไม่ให้นำมาใช้ในการเกษตร)
เป็นต้น
การจัดการเรื่องน้ำควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้
ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก จนกระทั่งหมู่บ้าน Hiware
Bazar ถูกจัดให้เป็น "หมู่บ้านอุดมคติ" โดยจังหวัด Maharashtra
และได้รับรางวัล "National Water Award" จากรัฐบาลอินเดียในปี พ.ศ. 2550
จาก
ตอนเริ่มต้นโครงการในปี พ.ศ. 2533 หมู่บ้าน Hiware Bazar
มีพื้นดินที่เพาะปลูกได้ในหมู่บ้านเพียง 1 ใน 10 และชาวบ้าน 168
ครัวเรือนจากทั้งหมด 182 ครัวเรือนอยู่ในระดับยากจน ในปี พ.ศ. 2553
รายได้เฉลี่ยของคนในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น 20 เท่า มี 50
ครอบครัวที่มีรายได้มากกว่า 1 ล้านรูปี (ประมาณ 5 แสนบาท)
และเหลือครอบครัวที่ยังยากจนเพียง 3 ครอบครัว
ชาวบ้านสามารถเก็บเกี่ยวหญ้ามาเลี้ยงวัวเพิ่มขึ้นจาก 100 ตัน มาเป็น 6,000
ตัน กำลังการผลิตน้ำวัวเพิ่มขึ้นจาก 150 ลิตรต่อวัว มาเป็น 4,000
ลิตรต่อวัน ชาวบ้านให้ความสำคัญกับการศึกษามากขึ้น มีชาวบ้านจำนวน 18
ครอบครัวอุทิศที่ดินเพื่อจัดสร้างอาคารเรียนและสนามเด็กเล่นของโรงเรียน
อัตราการอ่านออกเขียนได้เพิ่มจาก 30% เป็น 95%
มีหลายครอบครัวย้ายกลับจากในเมืองเพื่อกลับมาทำงานในหมู่บ้าน
ก่อน
จะมาเป็นความสำเร็จในปัจจุบัน Pawar ต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก ตอนต้นๆ
เขาปลูกต้นไม้และล้อมรั้วไว้ รั้วโดนชาวบ้านตัดไปทำฟืน
และปล่อยวัวเข้ามากินต้นไม้ที่ยังเล็กอยู่
ชาวบ้านต่างพยายามใช้น้ำเสมอหนึ่งกับเป็นทรัพยาการส่วนตัว
ไม่ห่วงความเดือดร้อนของคนอื่น
การความพยายามในการเปลี่ยนแปลงชาวบ้านมายาวนาน
ปัจจุบันหมู่บ้านของเขามีการช่วยกันตรวจสอบระดับน้ำ
และปริมาณน้ำฝนเป็นประจำ
ข้อมูลถูกนำมารวบรวมและวางแผนการใช้น้ำร่วมกันทั้งหมู่บ้าน
กลายเป็นกฎง่ายๆ ดังนี้
- ถ้าฝนตกน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรให้งดเว้นการเพาะปลูกข้าว ยอมให้เพาะปลูกพืชสวนครัวเท่านั้น
- ถ้าฝนตกมากกว่า 100 มิลลิเมตร จะมีน้ำพอสำหรับการดื่ม และการปลูกพืชเพียงรอบเดียว
-
ถ้าฝนตกมากกว่า 200 มิลลิเมตร จะมีน้ำพอสำหรับการดื่ม
และการปลูกพืชเต็มพื้นที่เพียงรอบเดียว + การปลูกเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นที่
2 รอบ
- ถ้าฝนตกมากกว่า 300 มิลลิเมตร จะมีน้ำพอสำหรับการดื่ม และการปลูกพืชเต็มพื้นที่สามรอบเดียว
หมายเหตุ ฝนประเทศไทยตกเฉลี่ยประมาณ 1,498 มิลลิเมตรต่อปี ของจังหวัดเพชรบุรีจะอยู่ที่ 1,044.1 มิลลิเมตรต่อปี
ฟังเรื่องราวของหมู่บ้าน Hiware Bazar แล้วไม่น่าเชื่อว่าทุกอย่างเริ่มต้นมาจากการเก็บน้ำลงใต้ดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น