30 มิถุนายน 2557

มะเดื่อไทย - มะเดื่อฝรั่ง

มะเดื่อ (ภาษาอังกฤษ Fig) เป็นชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae (ไทร) มะเดื่อเป็นต้นไม้ที่แทรกอยู่ในตำนาน ความเชื่อ คติธรรมและการใช้ประโยชน์ในทุกศาสนา ในพุทธศาสนา กล่าวไว้ในพระไตรปีฎกว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 26 จะตรัสรู้ใต้ควงไม้มะเดื่อ ในศาสนาอิสลาม กล่าวว่า มะเดื่อและมะกอกเป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบสำหรับมนุษย์ ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการต่างๆ สูง ในศาสนาฮินดู เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ในคริสต์ศาสนายังปรากฏเรื่องราวของมะเดื่อ ตั้งแต่ครั้งพระเจ้าสร้างโลกและความละอายของอีฟและอดัม ที่แอบขโมยผลไม้กิน ซึ่งก็คือมะเดื่อ บ้างก็ว่าเป็นผลแอปเปิล และอาดัมใช้ใบมะเดื่อปิดบังความอาย มะเดื่อยังเป็นต้นไม้ที่อารยะชนตั้งแต่ยุคโบราณให้ความเคารพบูชา ถือเป็นต้นไม้มงคลมาจวบจนถึงปัจจุบัน

มะเดื่อทั่วโลกมีหลายสายพันธุ์ ซึ่งอาจมีมากถึงกว่า 600 สายพันธุ์ เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ต้นโพธิ์ ต้นไทร หรือหม่อน คือวงศ์ MORACEAE ในประเทศไทยมะเดื่อที่รู้จักกันแพร่หลายคือ มะเดื่อปล้องและมะเดื่ออุทุมพร โดยเฉพาะมะเดื่ออุทุมพร หรือเรียกว่ามะเดื่อชุมพรอาจจะคุ้นมากกว่า เพราะรากของมะเดื่อนี้เป็นหนึ่งในตัวยาของตำรับยาห้าราก หรือยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้ไข้สำคัญของไทย เป็นตำรับยาที่ได้รับการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และมะเดื่อนี้ยังเป็นไม้ประจำจังหวัดชุมพรด้วย

แต่จริงๆ แล้วมีมะเดื่อที่พบในประเทศไทยหลายชนิด ได้แก่

  • มะเดื่ออุทุมพร หรือ มะเดื่อชุมพร (ภาษาอังกฤษ Cluster Fig) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus racemosa
  • มะเดื่อปล้อง (ภาษาอังกฤษ Hairy Fig) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus hispida
  • มะเดื่อกวาง หรือ ลิ้นกระบือ (ภาษาอังกฤษ Calloused Fig) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus callosa
  • มะเดื่อดิน (ภาษาอังกฤษ Weeping Fig) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus chartacea
  • มะเดื่อฝรั่ง (ภาษาอังกฤษ Common fig หรือ Fig) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus carica
  • มะเดื่อฉิ่ง หรือ ฉิ่ง (ภาษาอังกฤษ Laurel Fig) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus botryocarpa
  • มะเดื่อเถา หรือ ตีนตุ๊กแก (ภาษาอังกฤษ Creeping Fig หรือ Climbing Fig) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus pumila
  • มะเดื่อหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus hirta
  • มะเดื่อน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus ischnopoda
สาเหตุที่คนไทยไม่นิยมบริโภคมะเดื่อ อาจด้วยมะเดื่อนั้นเป็นพันธุ์ไม้ในพุทธประวัติ ไม่กล้ากิน จึงไม่ปรากฏการนำมาใช้ประโยชน์ด้านอาหาร และส่วนมากจะเน้นไปทางการใช้ทำยา ซึ่งไม่แตกต่างจากมะขามป้อมเท่าใดนัก ทั้งๆ ที่เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกประการคือผลมะเดื่อเป็นแหล่งรวมแมลงวี่จำนวนมาก เพราะในระหว่างที่มะเดื่อผลิดอกบาน แมลงหวี่จะบินเข้ามาตอมและอาศัยเป็นที่ฟักไข่ พร้อมกันนั้นก็ทำให้เกสรดอกเกิดการผสมพันธุ์กันขึ้น จนมะเดื่อกลายเป็นลูก พอเราเอามากินก็เจอกับแมลงวี่เต็มไปหมด หรือแถวต้นมะเดื่อมีแมลงวี่บินว่อนยิ่งผลสุกหล่นเต็มใต้ต้นส่งกลิ่นหึ่ง แมลงหวี่ก็ตอมหึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ไม่มีใครชอบปลูกและกินมะเดื่อก็เป็นได้ มันจึงกลายเป็นอาหารอันโอชะของนกแทน

สำหรับมะเดื่อในประเทศไทยนั้นจะมีขนาดลูกเล็ก ไม่ใคร่พบว่ามีการนำมาบริโภคอย่างแพร่หลาย หรือไม่เป็นที่รู้จักเลยก็ว่าได้ อาจเป็นเพราะเป็นที่รู้จักน้อยมากเมื่อเทียบกับไม้ต้นชนิดอื่นๆ และยังไม่นิยมปลูกทั่วไปหรือปลูกตามบ้านเรือน ส่วนมากมักพบตามป่า ชาวบ้านมักเด็ดลูกมะเดื่ออ่อนมาเป็นผักเคียงกับน้ำพริก บ้างก็กินสด บ้างก็ต้มให้สุกแล้วแต่ความชอบ

มะเดื่อฝรั่งจะมีขนาดลูกใหญ่กว่ามะเดื่อไทย รสหวาน อุดมด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ทั้งวิตามิน เกลือแร่ แคลเซี่ยม ไฟเบอร์ ช่วยสร้างสมดุลของกรดในร่างกาย ช่วยชะลอความชรา เป็นต้น มะเดื่อฝรั่งจึงได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสิบผลไม้เพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก ชาวตะวันตกนิยมนำมารับประทานในโอกาสที่แสดงถึงความยินดี การเฉลิมฉลอง ในประเทศไทยมีการทดลองและปลูกมะเดื่อฝรั่งมานานร่วม 30 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมและรู้จักนัก เพิ่งจะเริ่มนิยมปลูกกันในปัจจุบัน

ความจริงแล้วพืชวงศ์ไทร (Moraceae) มีสมาชิกทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด การกระจายพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน ในไทยมีประมาณ 115 ชนิด ซึ่งชื่อเรียกในภาษาไทยอาจจะมีคำว่า "เดื่อ" อยู่หรือไม่ได้ก็ได้ (แต่ชื่อวิทยาศาสตร์จะขึ้นด้วยคำว่า Ficus )  ในสกุลมะเดื่อยังแบ่งเป็น 6 สกุลย่อย  ได้แก่

  • สกุลย่อย Ficus ในไทยมีประมาณ 20 ชนิด เช่น ไทรใบขน Ficus fulva, มะนอดน้ำ Ficus hirta, เดื่อน้ำ Ficus ischnopoda, มะเดื่อไทย Ficus thailandica, มะเดื่อฝรั่ง Ficus carica, มะเดื่อญี่ปุ่น Ficus erecta, มะเดื่อหอม Ficus hirta เป็นต้น

    สกุลย่อย Ficus ส่วนใหญ่ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น มักออกเป็นคู่ตามซอกใบหรือตามกิ่งที่ใบหลุดร่วง ใบประดับที่โคน 3 ใบ ดอกเพศผู้อยู่ใกล้ช่องเปิดหรือกระจายทั่วไป กลีบรวม 3-5 กลีบ แยกกัน เกสรเพศผู้ 1-4 อัน ดอกเพศเมียแบบก้านเกสรเพศเมียยาวไม่เท่ากัน ยอดเกสรเพศเมียแตกแขนงหรือเรียบ
  • สกุลย่อย Pharmacosycea ในไทยมี 5 ชนิด เช่น มะเดื่อกวาง Ficus callosa เป็นต้น

    สกุลย่อย Pharmacosycea ดอกแยกเพศร่วมต้น แผ่นใบมีซิสโทลิททั้งสองด้านหรือเฉพาะด้านล่าง figs ออกเป็นคู่ เดี่ยว หรือเป็นกระจุก ส่วนมากออกตามซอกใบ มีก้านผลหรือก้านผลเทียม ใบประดับที่โคนส่วนมากมี 3 ใบ ช่องเปิดมี 3-5 ใบ กลีบรวม 2-6 กลีบ เกสรเพศผู้ 1-3 อัน มีที่เป็นหมัน ยอดเกสรเพศเมียส่วนมากมี 2 อัน
  • สกุลย่อย Sycidium ในไทยมี 15 ชนิด เช่น ไทรหิน Ficus anastomosans, มะนอดน้ำ Ficus heterophylla, มะเดื่อหิน Ficus montana เป็นต้น

    สกุลย่อย Sycidium ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น มีซิสโทลิทบนแผ่นใบทั้งสองด้านหรือเฉพาะด้านล่าง figs มีปุ่มหรือจุดโปร่งแสง ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่ ตามซอกใบ กิ่ง หรือลำต้น ใบประดับที่ก้าน 1-3 ใบ ส่วนมากมีใบประดับด้านข้าง ช่องเปิดขนาดเล็กหรือมีใบประดับที่ปลายชี้ขึ้น ดอกเพศผู้อยู่ใกล้ช่องเปิด มี 1 หรือหลายดอกในแต่ละแถว กลีบรวม 3-6 กลีบ เกสรเพศผู้มักมี 1 อัน มีดอกเพศผู้ที่เป็นหมัน ดอกเพศเมีย กลีบรวม 3-6 กลีบ แยกกัน
  • สกุลย่อย Sycomorus ในไทยมี 16 ชนิด เช่น เดื่อหว้า Ficus auriculata, โพะ Ficus obpyramidata, มะเดื่ออุทุมพร Ficus racemosa, มะเดื่อปล้อง Ficus hispida, จิ้งเขา Ficus schwarzii, เดื่อปล้องหิน Ficus semicordata, ฉิ่ง Ficus botryocarpa เป็นต้น

    สกุลย่อย Sycomorus ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นหรือแยกเพศร่วมต้น มักมีต่อมไขตามข้อกิ่ง figs เกลี้ยง มีปุ่มหรือเป็นสัน ออกเป็นคู่หรือออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ตามกิ่ง หรือเป็นช่อตามลำต้นหรือไหล ใบประดับ 3-7 ใบ ส่วนมากมีใบประดับด้านข้าง ใบประดับที่ช่องเปิดมีมากกว่า 3 ใบ ดอกเพศผู้เรียงอยู่ใกล้ช่องเปิด มี 1 หรือหลายแถว ส่วนมากมีใบประดับย่อย 2 ใบ วงกลีบรวม 2-3 กลีบ เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 2 อัน ดอกเพศเมียวงกลีบรวม 3-6 กลีบ เชื่อมติดกัน แยกกัน หรือลดรูป ยอดเกสรเพศเมีย 1 อัน
  • สกุลย่อย Synoecia ในไทยมี 14 ชนิด เช่น ตีนตุ๊กแก Ficus pumila, เดื่อเถาใบใหญ่ Ficus punctata เป็นต้น

    สกุลย่อย Synoecia เป็นไม้เถา มีรากเกาะ สั้นๆ ตามข้อ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ใบที่โคนรูปร่างและขนาดต่างจากใบที่ออกตามเถาที่มี figs ติดอยู่ ปลายใบคล้ายรูหยาดน้ำ (hydathode-like) figs ออกตามกิ่ง ลำต้น หรือตามไหลที่โคนต้น ออกเป็นคู่ เดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุก ใบประดับที่โคน 3 ใบ ส่วนมากไม่มีใบประดับด้านข้าง ช่องเปิดขนาดเล็ก บุ๋มเล็กน้อย อาจมีขนแข็งที่ด้านในช่องเปิด เกสรเพศผู้ 1-2 อัน กลีบรวม 0-7 กลีบ สีแดงเข้ม รังไข่ส่วนมากมีก้าน มีดอกที่ไม่มีเพศในช่อดอกเพศเมีย
  • สกุลย่อย Urostigma ในไทยมีประมาณ 45 ชนิด เช่น ไฮ Ficus annulata, นิโครธ Ficus benghalensis, กร่าง Ficus altissima, ไทรย้อยใบแหลม Ficus benjamin, ไทรย้อย Ficus microcarpa, ลุงขน Ficus drupacea, เฮือด Ficus lacor, ไฮหิน Ficus orthoneura, โพศรีมหาโพ Ficus religiosa, โพขี้นก Ficus rumphii เป็นต้น

    สกุลย่อย Urostigma ส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งอิงอาศัย มีรากอากาศ ไม่มีรากตามข้อ ดอกแยกเพศร่วมต้น แผ่นใบด้านล่างมีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ 1 ต่อม figs เกลี้ยง ออกเป็นคู่หรือออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบหรือตามกิ่ง พบน้อยออกตามลำต้น ใบประดับที่โคน 2-3 ใบ ไม่มีใบประดับด้านข้าง ช่องเปิดมีใบประดับ 2-5 ใบ ปิดด้านบน ดอกเพศผู้เรียงกระจัดกระจายระหว่างดอกเพศเมีย หรืออยู่ใกล้ช่องเปิด กลีบรวม 3-5 กลีบ เกสรเพศผู้ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียส่วนมากมี 1 อัน


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน http://my-experimental-farm.blogspot.com/p/plants.html

29 มิถุนายน 2557

การปลูกกล้วยเป็นวงกลม ตอนที่ 2

ได้รับแรงบันดาลใจจากคำถามของครูบาสุทธินันท์ เรื่องไส้เดือนหายไปไหน?  เราจะนำไส้เดือนกลับสู่ธรรมชาติได้อย่างไร?  คำตอบอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น การเลี้ยงไส้เดือนในระบบปิด แล้วนำเอาไส้เดือนไปปล่อยในธรรมชาติเป็นระยะๆ หรือการเลี้ยงไส้เดือนในระบบเปิดแบบ Free Range คือให้ไส้เดือนสามารถเลื้อยเข้าออกจากที่เลี้ยงได้แบบหอคอยไส้เดือน ใน http://my-experimental-farm.blogspot.com/2013/12/2-3-worm-tower.html  ผมเลือกที่จะทดลองเลี้ยงไส้เดือนในระบบเปิดโดยใช้  Banana Circle ใน http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/01/banana-circle.html

ผม ตั้งใจเลือกลานทดลองบริเวณในสวนขี้คร้านเป็นส่วนที่เคยปลูกกล้วยหอมแล้วตาย ทั้ง 100% และมีไส้เดือนในบริเวณนี้น้อยมาก เริ่มต้นจากการขุดหลุมตรงกลาง
การปลูกกล้วยเป็นวงกลม

มาดูใกล้ๆ กันตอนขุดหลุมปลูกกล้วยจะเห็นว่ามีหินปนอยู่หลายชนิดทั้งที่เป็นสีขาว สีเทา สีแดง และสีน้ำตาล
การปลูกกล้วยเป็นวงกลม

การปลูกกล้วยเป็นวงกลม

การปลูกกล้วยเป็นวงกลม

การปลูกกล้วยเป็นวงกลม

หน้า ดินมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นดินแข็งๆ และหิน ต้องใช้อีเตอร์เป็นตัวเบิกนำ และใช้ชะแลงค่อยๆ แต่งหลุมปลูก  ยิ่งขุดลึกยิ่งเจอหินดูไม่ค่อยมีอนาคตเท่าไหร่  โกรธ โกรธ




ขุดหลุมปลูกเสร็จก็ปลูกกล้วยรอบๆ เป็นวงกลมกล้วย แล้วเอาดินในหลุมใหญ่มาพูนเป็นเนินรูปวงกลม
การปลูกกล้วยเป็นวงกลม

แนว คิดของ Banana Circle เป็นผสมผสานแนวคิดของหอคอยไส้เดือน เข้ากับการทำปุ๋ยหมักแบบหลุม เข้ากับการทำร่องชะลอน้ำ (Swale) โดยเราจะต้องขุดหลุมตรงกลางให้ลึกมากพอที่น้ำซึ่งปกติไม่ค่อยจะซึมลงดินชั้น ล่าง (เนื่องจากดินชั้นดินแข็งๆ )  สามารถจะนำเอาน้ำฝนลงไปยังดินชั้นล่างได้ง่ายขึ้น  น้ำเป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งในการช่วยย่อยสลายหิน การนำน้ำลงไปโดยหินได้เยอะๆ จึงจะช่วยเร่งการย่อยสลายนี้

เราเอา ใบไม้ ในกรณีนี้ผมใช้ฟาง 2 มัดใส่ในหลุมให้เต็ม เอาเศษกิ่งไม้วางทับเพื่อไม่ให้ฟางปลิว เมื่อใบไม้เหล่านี้เริ่มย่อยสลายก็จะทำตัวเหมือนกับฟองน้ำ รักษาความชื้นให้กับหลุม  และเป็นอาหารของไส้เดือน  ไส้เดือนเองก็จะช่วยเจาะดินให้เป็นรู  ทำให้ความชื้นจากตรงกลางหลุมกระจายไปโดนหินได้มากขึ้น  รากของกล้วยโดยรอบเองก็จะพยายามชอนไชมาหาน้ำในกลางหลุม   ใบของกล้วยโดยรอบหลุมจะช่วยบังแดดรักษาความชื้นในหลุม  ใบกล้วยโดยรอบยังทำหน้าที่เหมือนกรวยที่จะ Direct ให้น้ำฝนลงมาในกลางหลุมมากขึ้น  สิ่งที่ผมคาดหวังคือ Banana Circle จะเป็นที่เลี้ยงไส้เดือนของดินบริเวณนี้  และเป็นหลุมที่ช่วยเร่งการสร้างดิน
การปลูกกล้วยเป็นวงกลม

ปล.ท่าน ไหนต้องการออกกำลังกายทดลองแบบนี้ได้เลยนะครับ ผมใช้เวลาวันหยุดตั้ง 4 วันเพิ่งปลูกกล้วยไปได้ 45 หน่อ และขุดหลุมใหญ่แบบนี้เสร็จจนถึงขั้นใส่ฟางแค่ 1 หลุม ยังเหลือต้องขุดอีกหลายหลุม  การขุดหลุมบนดินแข็งๆ นั้นช่างใช้พลังกายดีแท้ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ส่วนในภาพข้างล่างจะเป็นหลุมถัดไปเล็กน้อย หลุมนี้จะมีหินสีขาวอยู่ค่อนข้างมาก จะเห็นดินที่ขุดขึ้นมาเป็นสีขาวตามสีของหิน

การปลูกกล้วยเป็นวงกลม

เนื่องจากหลุมนี้ผมขุดใหญ่ขึ้น และลึกมากขึ้น จึงต้องใช้ฟางใส่ลงในหลุมมากขึ้นเป็น 4 มัด

การปลูกกล้วยเป็นวงกลม

23 มิถุนายน 2557

เรากำลังคุกคามการอยู่รอดในอนาคตของพวกเราเองหรือไม่?

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมทดลองไปเข้าคอร์สล้างพิษตับมา ประเด็นที่น่าสนใจระหว่างคอร์สคือวิทยากรที่สอนพูดถึงปัญหาที่เจอเด็กผู้หญิงอายุน้อยมากๆ มีประจำเดือนในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยอ้างว่าเหตุของปัญหาน่าจะเป็นฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตในไก่แต่เพียง อย่างเดียว  เนื่องจากวิทยากรยังไม่ทราบเรื่องยาฆ่าแมลงที่มีฤทธิ์เหมือนกับฮอร์โมน ผู้หญิง  ผมจึงขออนุญาตแชร์เรื่องราวนี้เพิ่มเติมครับ

ก่อนจะเข้าเรื่องนี้ผมขอถามคำถามง่ายๆ 1 ข้อ  ถ้าคุณสามารถเลือกได้ว่ายาฆ่าแมลงของจะฆ่าแมลงตัวผู้ หรือตัวเมีย  คุณจะเลือกฆ่าแมลงเพศไหนถึงจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดมากที่สุด? ...ติ๊ก..ติ๊ก..ติ๊ก... หลายๆ ท่านคงตอบถูกว่าควรจะเลือกฆ่าตัวเมียก่อน  เนื่องจากในธรรมชาติแมลงตัวผู้หนึ่งตัวจะผสมพันธุ์กับแมลงตัวเมียได้หลายตัว  แต่การฆ่าแมลงตัวเมียจะช่วยหยุดยั้งการขยายพันธุ์ในรุ่นถัดไปได้มีประสิทธิภาพมากกว่า  ทำให้ในระยะยาวจะช่วยลดประชากรแมลงลงได้มากกว่าการเน้นฆ่าตัวผู้  ดังนั้นเราจึงไม่น่าแปลกใจว่ายาฆ่าแมลงส่วนใหญ่ที่เราใช้จะเน้นการทำลายระบบสืบพันธุ์ของแมลงตัวเมีย

นักวิทยาศาสตร์มีการค้นพบผมกระทบของยาฆ่าแมลงต่อการสืบพันธุ์ของมนุษย์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991(23 ปีที่แล้ว)   แต่หนังสือที่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการนำเอาประเด็นนี้พูดในวงกว้าง (ในความคิดเห็นส่วนตัว  ใครมีข้อมูลอื่นแย้งได้เสมอนะครับ) น่าจะเป็นหนังสือ "Our Stolen Future: Are We Threatening Our Fertility, Intelligence, and Survival?-A Scientific Detective Story" แต่งโดย Theo Colborn, Dianne Dumanoski และ John Peterson Myers  พิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 (18 ปีที่แล้ว)  ดูรายละเอียดของหนังสือใน http://www.amazon.com/Our-Stolen-Future-Threatening-Intelligence/dp/0452274141

โดยในหนังสือกล่าวถึงผลลกระทบของยาฆ่าแมลงที่มีเน้นทำลายระบบสืบพันธุ์ (เช่น DES, DDT, kepone เป็นต้น )  และการควบคุมสารเคมีสังเคราะห์อื่นๆ ซึ่งให้ผลในลักษณะเดียวกัน (แต่ไม่ได้ใช้เป็นยาฆ่าแมลงโดยตรง)  โดยในหนังสือจะเน้นเรียกร้องให้มีการกล่าวโทษสารเคมีเหล่านี้ว่าผิดไปก่อน และให้เลิกการใช้งานทันที  แล้วให้ผู้ผลิตหาผลงานวิจัยมาแย้งว่าสารเคมีของตนไม่มีกระทบตามที่ถูกกล่าวหา จึงจะอนุญาตให้ใช้งาน  แน่นอนว่าแนวทางนี้ถูกต่อต้านโดยอุตสาหกรรมผลิตสารเคมี และยาฆ่าแมลงอย่างหนัก  อย่างไรก็ตามในหลายประเทศชาติตะวันตกก็ได้เริ่มมีการกฎหมายควบคุม หรือห้ามการใช้งานยาฆ่าแมลงในกลุ่มดังกล่าว

โดยทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าสารเคมีในกลุ่มดังกล่าวมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิงในมนุษย์มาก (เนื่องจากเป็นยาฆ่าแมลงที่มุ่งเน้นทำลายแมลงเพศเมีย) เป็นผลให้พิษของการใช้ยาฆ่าแมลงดังกล่าวตกค้างในพืชอาหารที่เรารับประทาน และไหลลงไปผสมในแหล่งน้ำบนดิน  ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ  ทำให้เกิดการปนเปื้อนในสัตว์น้ำที่เรารับประทาน


อีกส่วนหนึ่งจะซึมลงไปในระบบน้ำใต้ดินซึ่งเราก็นำเอาน้ำเหล่านี้กลับมาใช้อุปโภคบริโภค  บางส่วนของน้ำใต้ดิน น้ำบนดิน และพืชอาหารที่ปนเปื้อนถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์  ซึ่งก่อนที่สัตว์ 1 ตัวจะถูกฆ่ามาทำอาหารให้มนุษย์รับประทานก็จะกินพืชอาหารปนเปื้อนมากยิ่งกว่าการที่เรารับประทานพืชอาหารโดยตรง  ยิ่งเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีระยะเวลาในการเลี้ยงนาน และกินอาหารเยอะก็จะยิ่งมีสารปนเปื้อนสะสมมาก เช่น วัว จะมีโอกาสมีสารปนเปื้อนสะสมมากกว่าหมู หมูจะมีโอการมีสารปนเปื้อนมากกว่าไก่ เป็นต้น  กอปรกับวิถีของสังคมเมืองสมัยใหม่ที่บริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นทำให้มนุษย์ได้รับสารปนเปื้อนในปริมาณที่มากขึ้นกว่าวิถีเดิมที่เราเคยรับประทานพืชผักกันมากกว่านี้

สารปนเปื้อนเหล่านี้จึงเข้ามาสะสมในมนุษย์มากขึ้นในลักษณะสังคมเมืองสมัยใหม่  ผลกระทบที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวถึงได้แก่ การที่ผู้ชายมีจำนวนอสุจิน้อยลง และอสุจิแข็งแรงน้อยลง การแท้งลูกในหญิงมีครรภ์ การที่เด็กผู้หญิงมีประจำเดือนเร็วขึ้น การที่ผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านมกันมากขึ้น และการที่เด็กผู้ชายมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศมากขึ้น ความผิดปกติในต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อไทรอยด์  ผลกระทบกับระบบภูมิคุ้มกันในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ การเกิดมะเร็ง เป็นต้น

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกๆ ในยุโรบที่ออกมารณรงค์ในเรื่องนี้โดยในปี ค.ศ. 1992 สรุปผลงานวิจัยว่าน้ำใต้ดินในยุโรปมีการปนเปื้อนอย่างหนัก  มากกว่า 65% ของพื้นที่การเกษตรมีปริมาณยาฆ่าแมลงปนเปื้อนมากกว่าระดับมาตรฐานเกิน 10 เท่าตัว และที่น่าเป็นกังวัลคือเนเธอร์แลนด์มีแหล่งน้ำผิวดิน (อย่างเช่นแม่น้ำ ทะเลสาป) ค่อนข้างจำกัด  น้ำอุปโภคบริโภคจะพึ่งพืงแหล่งน้ำใต้ดินเป็นหลัก การที่จะหลีกเลี่ยงไปใช้น้ำบนดินซึ่งจะมีน้ำฝนลงมาเจือจางสารเคมีจึงทำได้น้อย  เป็นเหตุให้ต้องเร่งแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในแหล่งน้ำใต้ดินโดยด่วนที่สุด เนื่องจากปัญหานี้มีผลกระทบกับอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศ และสุขภาพของประชาชนในประเทศ  และมีการประมาณการว่าการที่จะทำให้ปริมาณสารปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดินกลับมาอยู่ในระดับมาตรฐานนั้นจะต้องใช้เวลาหลายสิบปีในการดำเนินการ  ทำให้รัฐบาลเร่งออกมาตรฐานต่างๆ  เช่น :

  • การลดการใช้ยาฆ่าแมลงโดยรวมลงมากกว่า 50%
  • การห้ามการใช้ยาฆ่าแมลงหลายชนิด และสารเคมีสำคัญหลายชนิดโดยเด็ดขาย
  • การปรับเปลี่ยนมาตรฐานการตรวจวัดสารเคมีปนเปื้อนที่เข้มงวดขึ้น
  • การฝึกอบรม และออกใบอนุญาตผู้ที่มีสิทธิใช้ยาฆ่าแมลง
  • การออกมาตรการลดปริมาณ และความถี่ในการยาฆ่าแมลง
  • การทดสอบ และอนุมัติอุปกรณ์ที่ใช้ฉีดยาฆ่าแมลง
  • ลดการใช้งานยาฆ่าแมลงแบบที่ต้องฉีดพ่น
  • การเพิ่มภาษีสิ่งแวดล้อมบนยาฆ่าแมลง
  • การสนับสนุนการกำจัดแมลงโดยใช้วิธีกล หรือวิธีทางชีวะ (เช่น ใช้เชื้อรา ใช้แมลงที่เป็นศัตรูกับแมลงที่เราไม่ต้องการ เป็นต้น)

นอกเหนือจากเนเธอร์แลนด์ก็มีอีกหลายประเทศใน EU ที่ได้ออกมาตรการคล้ายกัน เช่น เดนมาร์ค สวีเดน เป็นต้น ที่น่าตกใจคือสารเคมีหลายอย่างได้ถูกห้ามใช้งานในประเทศของเขาเอง แต่บริษัทในประเทศเหล่านี้ก็ยังคงผลิตสารเคมีเหล่านี้ส่งออกมาขายในประเทศอื่นๆ ในโลกได้  โกรธ โกรธ โกรธ

โดย สรุปประเด็นที่ผมอยากจะแชร์คือการที่เราพบเด็กหญิงไทยมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยนั้นไม่ได้เกิดจากผลของยาเร่งการเจริญเติบโตในไก่แต่เพียงอย่างเดียว  อาหารที่เราซื้อทานนั้นมีโอกาสปนเปื้อนทั้งในพืชผัก และเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ ด้วย  ดังนั้นไม่ใช่ว่าเราหลีกเลี่ยงการรับประทานไก่แล้วจะไม่เกิดปัญหานี้  ปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหารที่คนไทยรับประทานนั้นรุนแรงกว่าที่เราคิดมากๆ ครับพี่น้อง

เรื่องราวเหล่านี้ชาติตะวันตกทราบเรื่องผลกระทบเหล่านี้มา 20 กว่าปีแล้ว และได้มีมาตรการต่างๆ ออกลด หรือห้ามการใช้งานยาฆ่าแมลงอย่างจริงจัง  รวมทั้งมีการส่งเสริมสินค้าออร์แกนนิคในวงกว้าง และมีมาตรฐานในการตรวจวัดสินค้าออร์แกนนิคที่มีรายละเอียดเข้มงวด ชัดเจน  และตรวจวัดได้   ผมเองหวังว่ารัฐบาลไทยเองจะออกมาตรการในลักษณะที่คล้ายกัน หรือดีกว่าเพื่อคืนความสุขให้ประชาชน

หมายเหตุ เพื่อนๆ ที่สนใจลองเข้าไปอ่านรายละเอียดในบางส่วนใน http://en.wikipedia.org/wiki/Endocrine_disruptor หรืออ่านบทความต่างๆ เช่น
http://www.beyondpesticides.org/health/endocrine.pdf
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3138025/

หมายเหตุ2 ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น DDT ถูกสั่งห้ามใช้แล้วในอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ค.ศ.2004 โดยห้ามการใช้ดีดีทีทั่วโลก อย่างไรก็ตาม 16 กันยายน 2006 องค์การอนามัยโลกเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับดีดีที โดยประกาศถอนออกจากรายชื่อสารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้ และอนุญาตให้ใช้ดีดีทีเป็นยาฆ่าแมลงภายในอาคารบ้านเรือนได้อีกครั้ง อำนาจของอุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลงนั้นช่างรุนแรงดีจัง


วัฏจักรชีวธรณีเคมี (อังกฤษ: Biogeochemical cycle) คือวงจรหรือแนวกระบวนการที่เกี่ยวกับการที่ธาตุหลักทางเคมีหรือโมเลกุลเคลื่อนที่ผ่านสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศทั้งที่มีชีวิต (ชีวภาพ) และไม่มีชีวิต (ธรณีภาพ) โดยหลักการแล้ว วัฏจักรทุกวัฏจักรย่อมซ้ำกระบวนการเสมอ แม้ว่าในบางวัฏจักร จะใช้เวลาซ้ำกระบวนการนานมาก โดยการเปลี่ยนรูปนี้จะเกิดผ่านทั้งบรรยากาศ น้ำ และบนบก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีส่วนร่วมในวัฏจักร

วัฎจักรหลักที่เราสนใจศึกษาสำหรับเกษตรธรรมชาติ คือ วัฏจักรของธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไฮโดรเจน(H) ออกซิเจน(O) คาร์บอน(C) ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) โพแทสเซียม (P) แคลเซียม(Ca) และกำมะถัน(S) ซึ่งความเข้าใจในวัฏจักรเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในความพยายามที่จะรักษาสมดุลให้มีแร่ธาตุต่างๆ หมุนเวียนในธรรมชาติที่เพียงพอสำหรับพืชที่เราปลูก โดยมนุษย์ไม่ต้องเข้าไปแทรกแซงมากจนเกินไป ผมจึงได้รวบรวมเรื่องราวของวัฏจักรสำคัญๆ ไว้ดังนี้ :