11 ธันวาคม 2557
ว่านสี่ทิศ
ว่านสี่ทิศ ชื่อวิทยาศาสตร์ Hippeastrum johnsonii จัดอยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae เช่นเดียวกับกระเทียม กุยช่าย พลับพลึงขาว พลับพลึงแดง พลับพลึงตีนเป็ด หอมแดง และหอมใหญ่ จริงๆ แล้วมีพืชที่คล้ายกันคือสกุล Amaryllis ซึ่งเดิมว่านสี่ทิศก็อยู่ในสกุลนี้ ต่อมามีการลงรายละเอียดในการจำแนกมากขึ้น จึงแยกว่าสี่ทิศสายพันธุ์ที่พบในทวีปอเมริกาออกมาเป็นสกุล Hippeastrum ต่างหาก ส่วนสกุล Amaryllis ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบในทวีปอาฟริกาเหลือพืชเพียงไม่กี่ชนิด แต่คนก็ยังเรียกว่านสี่ทิศติดปากว่าเป็นสกุล Amaryllis
ต้นว่านสี่ทิศ เป็นไม้ดอก พุ่มสูงประมาณ 35-60 เซนติเมตร มีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน โดยส่วนที่โผล่ขึ้นมาจะเป็นส่วนของก้านและใบ โดยหัวของว่านสี่ทิศจะมีลักษณะคล้ายกับหัวหอมใหญ่
ว่านสีทิศความจริงมีหลายสี เช่น สีขาว สีแดง สีส้ม สีชมพูขาว สีส้มขาว เป็นต้น ขอผมน่าจะเป็นพันธุ์ Bright Spark ขอให้เครคิตภาพข้างล่างจาก http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2012/08/J12557490/J12557490.html
การขยายพันธุ์ว่านสี่ทิศทำได้ทั้งการเพาะเมล็ด และการผ่าหัว
2 ตุลาคม 2557
วุ้นน้ำหมัก
จากที่ได้เห็นเรื่องวุ้นน้ำหมักจากครูน้ำหมักหลายๆ แต่ก็ผมก็ยังไม่เข้าใจว่าวุ้นน้ำหมักคืออะไร? เท่าที่ไปค้นหาข้อมูลมา วุ้นน้ำหมักมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Mother of Vinegar เนื่องจากจะช่วยเร่งการเกิดน้ำส้ม และผมมีความเข้าใจทางวิชาการเรื่องวุ้นน้ำหมักดังนี้ :
วุ้นน้ำหมักคืออะไร
เท่าที่เข้าใจวุ้นน้ำหมัก น่าจะคือเพกติน (pectin) ถ้าถามต่อว่าเพกตินคืออะไร? ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าน้ำตาลมีการแบ่งตามลักษณะของโมเลกุลออกมาเป็น 3 ประเภท คือ :
เพกตินมาจากภาษากรีกว่า “pektikos” ซึ่งแปลว่าทำให้ข้นแข็ง (to congeal) หรือทำให้กลายเป็นของแข็ง (to solidify) Kertesz ได้ให้คำจำกัดความของเพกทินว่าเป็นกรดเพกตินิก (pectinic acid) ชนิดละลายน้ำได้ซึ่งมีปริมาณหมู่เมทิลเอสเทอร์หลากหลาย สามารถเกิดเป็นเจลในสภาวะที่มีน้ำตาลและความเป็นกรดที่เหมาะสมหรือสภาวะที่ มีเกลือแคลเซียมร่วมอยู่ด้วย
สารประกอบเพกตินทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ และเป็นสารที่สำคัญในบริเวณ ชั้นผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์หรือมิดเดิลลาเมลลา (middle lamella) ที่ยึดเหนี่ยวเซลล์เข้าด้วยกัน โดยจับกับเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และไกลโคโปรตีนของผนังเซลล์พืช เพกตินช่วยเสริมผนังเซลล์ให้หนา แข็งแรง และยืดหยุ่นได้เล็กน้อย โดยเฉพาะบริเวณที่มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม เช่น ต้นอ่อน ใบ และผลไม้
เนื่องจากเรามักจะพบวุ้นน้ำหมักในสภาวะที่น้ำหมักมีรสเปรี้ยวจัด ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวว่าเมื่อเพกตินจับตัวกันเป็นชั้นวุ้นก็จะมีจุลินทรีย์ซึ่งทำหน้าที่แปลงแอลกอฮอล์ หรือน้ำตาลให้กลายเป็นกรดน้ำส้ม (acetic acid) เข้าไปอาศัยอยู่ในวุ้นค่อนข้างมาก (เดาว่าเมื่อระดับความเป็นกรดในน้ำหมักสูงเกินไปจุลินทรีย์ประเภทนี้ในน้ำหมักก็จะลดจำนวนลง แต่จุลินทรีย์ที่มาหลบอาศัยในน้ำหมักจะสัมผัสกับกรดน้อยกว่าจึงมีชีวิตอยู่ได้ในปริมาณมากกว่า ) เมื่อเรานำเอาวุ้นน้ำหมักไปใส่ในถังน้ำหมักอื่นก็จะเร่งการเกิดกรดน้ำส้มให้เร็วมากขึ้นกว่าปกติ ในภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า mother of vinegar
ปริมาณของเพกตินในพืชผักผลไม้
เพกตินพบปริมาณมากในพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง, ถั่วเหลือง และถั่วเขียว จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลิตภัณฑ์ จากถั่วจะมีความข้นสูง และสามารถนำมาทำเต้าหู้ได้ดี นอกจากนั้นเพกตินยังพบมาในเปลือกของพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มเช้ง, มะนาว, ส้มโอ และส้มเขียวหวาน รวมถึงผลไม้อื่นอย่าง เช่น มะขามป้อม, กระท้อน, มะกอก, ละมุด, ฝรั่ง, กล้วย, แอปเปิ้ล, มะม่วง และสตรอเบอร์รี่ รวมทั้งพืชผักอื่นๆ เช่น แครอท, บีท, ฟักทอง, กระเทียม, เผือก, มัน, ใบหมาน้อย และหัวหอม
ในพืชบางประเภทจะพบเพกตินในปริมาณที่น้อยกว่า เช่น มะเขือเทศ, องุ่น, แตงโม, แตงกวา, สัปปะรด และพริก ดังนั้นถ้าเราทำแยมจากผลไม้ที่มีเพกตินน้อยจึงจะต้องมีการเติมเพกตินลงไปให้เกิดเป็นเจลมากขึ้น โดยเพกตินที่ขายอาจจะสกัดมาจากพืชที่มีเพกตินสูงตามธรรมชาติ เช่น เปลือกส้ม เปลือกมะนาว แอปเปิ้ล
ดังนั้นน้ำหมักของผลไม้บางอย่างที่มีเพกตินมากอยู่แล้วจึงจะมีโอกาสเกิดวุ้นน้ำหมักได้มากกว่า การตรวจสอบปริมาณเพกตินในน้ำผลไม้อย่างง่าย ๆ คือ น้ำผลไม้ที่กรองจนใส 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol 95%) 3 ส่วน ใส่ในถ้วยแก้วที่ ใสสะอาดผสมให้เข้ากันดี ถ้าเกิดตะกอนคล้ายวุ้นหนา แสดงว่าเพกตินมาก ถ้าวุ้นบาง แสดงว่ามีเพกตินปานกลาง ถ้าเป็นตะกอนเล็ก ๆ ลอยอยู่ทั่วไป แสดงว่ามีเพคตินน้อย
ควรทานวุ้นน้ำหมักหรือไม่?
เพกตินยังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
ปัญหาที่น่ากังวัลคือปริมาณของโครงสร้างเมธิลแอลกอฮอล์ที่อยู่ใน HMP จึงไม่ควรที่จะบริโภควุ้นที่อยู่ในน้ำหมักเมื่อยังมีอายุหมักน้อย (เช่น 3-4 เดือน) เมื่อทิ้งวุ้นไว้นานตั้งแต่ 1 ปีเป็นต้นไปเมธิลแอลกอฮอล์ที่ปนเปื้อนจะระเหยไปบางส่วน และ HMP บางส่วนอาจจะแปลงไปเป็น LMP ทำให้ได้ชั้นวุ้นน้ำหมักที่มีความนุ่มมากขึ้น ไม่จับตัวเป็นวุ้นแข็งๆ
สรุปก็คือถ้าจะบริโภคน่าจะต้องรอให้วุ้นมีอายุหมักมาก (ควรจะ 2-3 ปีขึ้นไป) เพื่อหลีกเลี่ยงพิษจากเมธิลแอลกอฮอล์ที่ปนเปื้อนในวุ้นน้ำหมัก ถ้าจะใช้เมื่อมีอายุหมักน้อยควรจะใช้ทาภายนอกเท่านั้น
คุณประโยชน์ของวุ้นน้ำหมัก
คุณสมบัติการยึดเกาะเป็นเจลของเพกตินทำให้สามารถนำมาใช้ภายนอกในหลายๆ กรณี เช่น ใช้รักษาแผลสด, แผลเริม, งูสวัด หรือบำรุงผิวพรรณ แต่ขอให้ระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำหมักในกรณีที่ใช้กับแผลเปิด
การนำเอาเพกตินผสมร่วมในสูตรอาหารมีผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมและการย่อย เช่น ผลต่อการดูดซึมกลูโคส ผลต่อระดับคอเลสเตอรอล มีการศึกษาจำนวนมากทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ที่แสดงถึงประสิทธิภาพของเพกตินที่รับประทานในการลดอัตราการใช้น้ำตาลและการผลิตอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2) ซึ่งโดยปกติจะทำการรักษาโดยการควบคุมอาหารเป็นอันดับแรก นอกจากนั้นการนำเอาเพกตินผสมร่วมในสูตรอาหารยังสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้ ทั้งนี้ขึ้นกับระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่เป็นอยู่เดิมและอาหารที่รับประทานเป็นประจำ
นอกจากนั้นเพกตินยังมีผลยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและมีผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัวแต่ไม่มีผลรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุในร่างกาย
การใช้เพกตินเป็นสารสำคัญในตำรับยาเพื่อรักษาอาการท้องเสีย โดยเพกตินช่วยกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อบุผิวในลำไส้ใหญ่ หรือไปลดการยึดติดเยื่อบุผิวในลำไส้ใหญ่ของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค
การทดสอบเพกตินกับยาฮอร์โมนเพื่อรักษาหนูทดลองที่ป่วยเป็นลูกกระดูกพรุนซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่ลำไส้แต่สลายตัวเร็วมาก การใช้เพกตินเป็นสารยึดติดจะช่วยชะลอการสลายตัวของยาฮอร์โมนทำให้อยู่ในระบบทางเดินอาหารได้นานขึ้น และออกฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 2.5 เท่า มีความเป็นไปได้ที่เพกตินในน้ำหมักจะดูดซับเอ็มไซน์ และฮอร์โมนต่างๆ เข้าไปในวุ้น และช่วยทำให้การดูดซับเข้าไปในร่างกายมีประสิทธิภาพสูงกว่าการดื่มน้ำหมักโดยตรง
การใช้เพกตินในขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งต้องให้ความสำคัญและศึกษาเพิ่มเติมต่อไป การใช้เพกตินร่วมกับยาอื่นต้องระมัดระวังเนื่องจากเพกตินสามารถเกิดอันตรกิริยากับตัวยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่มีประจุบวกหรือเพกตินอาจดูดซับตัวยาไว้ทำให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ดังนั้นจะเห็นว่าทุกๆ อย่างมีทั้งคุณ และโทษ ไม่มีอะไรเป็นยาวิเศษรักษาทุกโรค การเลือกใช้ควรเข้าใจคุณสมบัติ ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และควรทำความเข้าใจว่าควรจะ หรือไม่ควรจะบริโภคพร้อมกับอะไร
ปัจจัยการเกิดวุ้นในน้ำหมัก
ฟังแบบนี้แล้วเพื่อนๆ คงอยากลองวิชาเหมือนผม ก็คงถามๆ ตัวเองว่าทำอย่างไรให้ได้วุ้นน้ำหมักเยอะๆ จากข้อมูลข้างบนพอจะสรุปปัจจัยในการเกิดน้ำหมักได้ดังนี้ :
วุ้นน้ำหมักคืออะไร
เท่าที่เข้าใจวุ้นน้ำหมัก น่าจะคือเพกติน (pectin) ถ้าถามต่อว่าเพกตินคืออะไร? ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าน้ำตาลมีการแบ่งตามลักษณะของโมเลกุลออกมาเป็น 3 ประเภท คือ :
- น้ำตาลชั้นเดียว (Monosaccharides) เช่น ฟรุกโตส, กาแลกโทส, กลูโคส
- น้ำตาลสองชั้น (Disaccharides) เช่น ซูโครส (กลูโคส + ฟรุกโทส), แลกโทส (กลูโคส + กาแลกโทส) , มอลโทส (กลูโคส + กลูโคส)
- น้ำตาลหลายชั้น (Polysaccharides) เช่น แป้งสตาร์ซ, เซลลูโลส และเพกติน
เพกตินมาจากภาษากรีกว่า “pektikos” ซึ่งแปลว่าทำให้ข้นแข็ง (to congeal) หรือทำให้กลายเป็นของแข็ง (to solidify) Kertesz ได้ให้คำจำกัดความของเพกทินว่าเป็นกรดเพกตินิก (pectinic acid) ชนิดละลายน้ำได้ซึ่งมีปริมาณหมู่เมทิลเอสเทอร์หลากหลาย สามารถเกิดเป็นเจลในสภาวะที่มีน้ำตาลและความเป็นกรดที่เหมาะสมหรือสภาวะที่ มีเกลือแคลเซียมร่วมอยู่ด้วย
สารประกอบเพกตินทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ และเป็นสารที่สำคัญในบริเวณ ชั้นผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์หรือมิดเดิลลาเมลลา (middle lamella) ที่ยึดเหนี่ยวเซลล์เข้าด้วยกัน โดยจับกับเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และไกลโคโปรตีนของผนังเซลล์พืช เพกตินช่วยเสริมผนังเซลล์ให้หนา แข็งแรง และยืดหยุ่นได้เล็กน้อย โดยเฉพาะบริเวณที่มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม เช่น ต้นอ่อน ใบ และผลไม้
เนื่องจากเรามักจะพบวุ้นน้ำหมักในสภาวะที่น้ำหมักมีรสเปรี้ยวจัด ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวว่าเมื่อเพกตินจับตัวกันเป็นชั้นวุ้นก็จะมีจุลินทรีย์ซึ่งทำหน้าที่แปลงแอลกอฮอล์ หรือน้ำตาลให้กลายเป็นกรดน้ำส้ม (acetic acid) เข้าไปอาศัยอยู่ในวุ้นค่อนข้างมาก (เดาว่าเมื่อระดับความเป็นกรดในน้ำหมักสูงเกินไปจุลินทรีย์ประเภทนี้ในน้ำหมักก็จะลดจำนวนลง แต่จุลินทรีย์ที่มาหลบอาศัยในน้ำหมักจะสัมผัสกับกรดน้อยกว่าจึงมีชีวิตอยู่ได้ในปริมาณมากกว่า ) เมื่อเรานำเอาวุ้นน้ำหมักไปใส่ในถังน้ำหมักอื่นก็จะเร่งการเกิดกรดน้ำส้มให้เร็วมากขึ้นกว่าปกติ ในภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า mother of vinegar
ปริมาณของเพกตินในพืชผักผลไม้
เพกตินพบปริมาณมากในพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง, ถั่วเหลือง และถั่วเขียว จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลิตภัณฑ์ จากถั่วจะมีความข้นสูง และสามารถนำมาทำเต้าหู้ได้ดี นอกจากนั้นเพกตินยังพบมาในเปลือกของพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มเช้ง, มะนาว, ส้มโอ และส้มเขียวหวาน รวมถึงผลไม้อื่นอย่าง เช่น มะขามป้อม, กระท้อน, มะกอก, ละมุด, ฝรั่ง, กล้วย, แอปเปิ้ล, มะม่วง และสตรอเบอร์รี่ รวมทั้งพืชผักอื่นๆ เช่น แครอท, บีท, ฟักทอง, กระเทียม, เผือก, มัน, ใบหมาน้อย และหัวหอม
ในพืชบางประเภทจะพบเพกตินในปริมาณที่น้อยกว่า เช่น มะเขือเทศ, องุ่น, แตงโม, แตงกวา, สัปปะรด และพริก ดังนั้นถ้าเราทำแยมจากผลไม้ที่มีเพกตินน้อยจึงจะต้องมีการเติมเพกตินลงไปให้เกิดเป็นเจลมากขึ้น โดยเพกตินที่ขายอาจจะสกัดมาจากพืชที่มีเพกตินสูงตามธรรมชาติ เช่น เปลือกส้ม เปลือกมะนาว แอปเปิ้ล
ดังนั้นน้ำหมักของผลไม้บางอย่างที่มีเพกตินมากอยู่แล้วจึงจะมีโอกาสเกิดวุ้นน้ำหมักได้มากกว่า การตรวจสอบปริมาณเพกตินในน้ำผลไม้อย่างง่าย ๆ คือ น้ำผลไม้ที่กรองจนใส 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol 95%) 3 ส่วน ใส่ในถ้วยแก้วที่ ใสสะอาดผสมให้เข้ากันดี ถ้าเกิดตะกอนคล้ายวุ้นหนา แสดงว่าเพกตินมาก ถ้าวุ้นบาง แสดงว่ามีเพกตินปานกลาง ถ้าเป็นตะกอนเล็ก ๆ ลอยอยู่ทั่วไป แสดงว่ามีเพคตินน้อย
ควรทานวุ้นน้ำหมักหรือไม่?
เพกตินยังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- เพกตินที่ละลายน้ำได้ ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
High Methoxyl Pectins (HMP) ซึ่งมีเมทอกซิล (รูปหนึ่งของเมธิลแอลกอฮอล์) ตั้งแต่ 8.16% เป็นต้นไป ซึ่งจะเกิดเป็นเจลได้ในสภาวะที่มีน้ำตาลและกรดเหมาะสม เจลจะมีความคงตัว ความหนืดสูง ทำให้เกินรูปทรง มักใช้ในการเติมอาหารจำพวกแยม เยลลี่ ผลไม้กวน
Low Methoxyl Pectin (LMP) ซึ่งจะเกิดเป็นเจลได้เมื่อมีไอออนของโลหะ เช่น แคลเซียมไอออน หรือแมกนีเซียมไอออน เจลจะมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่มกว่า จึงใช้ในการเติมลงในโยเกิร์ต นมรสช็อคโกแลต เป็นต้น - เพกตินที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ (โปรเพกติน) แต่เมื่อทำปฏิกิริยากับกรด หรือแอลกอฮอล์จะสามารถละลายน้ำได้เนื่องจากไฮโรเจนจากกรดจะเข้าไปแทนที่แคลเซียม หรือแมกนีเซีมในเพกตินประเภทนี้
- เพกตินที่มีโครงสร้างของกรดกาแลคทูโรนิกที่ม่มีหมู่ของเมทอกซิล เพกตินประเภทนี้จะไม่เกิดเป็นเจล
ปัญหาที่น่ากังวัลคือปริมาณของโครงสร้างเมธิลแอลกอฮอล์ที่อยู่ใน HMP จึงไม่ควรที่จะบริโภควุ้นที่อยู่ในน้ำหมักเมื่อยังมีอายุหมักน้อย (เช่น 3-4 เดือน) เมื่อทิ้งวุ้นไว้นานตั้งแต่ 1 ปีเป็นต้นไปเมธิลแอลกอฮอล์ที่ปนเปื้อนจะระเหยไปบางส่วน และ HMP บางส่วนอาจจะแปลงไปเป็น LMP ทำให้ได้ชั้นวุ้นน้ำหมักที่มีความนุ่มมากขึ้น ไม่จับตัวเป็นวุ้นแข็งๆ
สรุปก็คือถ้าจะบริโภคน่าจะต้องรอให้วุ้นมีอายุหมักมาก (ควรจะ 2-3 ปีขึ้นไป) เพื่อหลีกเลี่ยงพิษจากเมธิลแอลกอฮอล์ที่ปนเปื้อนในวุ้นน้ำหมัก ถ้าจะใช้เมื่อมีอายุหมักน้อยควรจะใช้ทาภายนอกเท่านั้น
คุณประโยชน์ของวุ้นน้ำหมัก
คุณสมบัติการยึดเกาะเป็นเจลของเพกตินทำให้สามารถนำมาใช้ภายนอกในหลายๆ กรณี เช่น ใช้รักษาแผลสด, แผลเริม, งูสวัด หรือบำรุงผิวพรรณ แต่ขอให้ระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำหมักในกรณีที่ใช้กับแผลเปิด
การนำเอาเพกตินผสมร่วมในสูตรอาหารมีผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมและการย่อย เช่น ผลต่อการดูดซึมกลูโคส ผลต่อระดับคอเลสเตอรอล มีการศึกษาจำนวนมากทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ที่แสดงถึงประสิทธิภาพของเพกตินที่รับประทานในการลดอัตราการใช้น้ำตาลและการผลิตอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2) ซึ่งโดยปกติจะทำการรักษาโดยการควบคุมอาหารเป็นอันดับแรก นอกจากนั้นการนำเอาเพกตินผสมร่วมในสูตรอาหารยังสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้ ทั้งนี้ขึ้นกับระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่เป็นอยู่เดิมและอาหารที่รับประทานเป็นประจำ
นอกจากนั้นเพกตินยังมีผลยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและมีผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัวแต่ไม่มีผลรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุในร่างกาย
การใช้เพกตินเป็นสารสำคัญในตำรับยาเพื่อรักษาอาการท้องเสีย โดยเพกตินช่วยกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อบุผิวในลำไส้ใหญ่ หรือไปลดการยึดติดเยื่อบุผิวในลำไส้ใหญ่ของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค
การทดสอบเพกตินกับยาฮอร์โมนเพื่อรักษาหนูทดลองที่ป่วยเป็นลูกกระดูกพรุนซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่ลำไส้แต่สลายตัวเร็วมาก การใช้เพกตินเป็นสารยึดติดจะช่วยชะลอการสลายตัวของยาฮอร์โมนทำให้อยู่ในระบบทางเดินอาหารได้นานขึ้น และออกฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 2.5 เท่า มีความเป็นไปได้ที่เพกตินในน้ำหมักจะดูดซับเอ็มไซน์ และฮอร์โมนต่างๆ เข้าไปในวุ้น และช่วยทำให้การดูดซับเข้าไปในร่างกายมีประสิทธิภาพสูงกว่าการดื่มน้ำหมักโดยตรง
การใช้เพกตินในขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งต้องให้ความสำคัญและศึกษาเพิ่มเติมต่อไป การใช้เพกตินร่วมกับยาอื่นต้องระมัดระวังเนื่องจากเพกตินสามารถเกิดอันตรกิริยากับตัวยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่มีประจุบวกหรือเพกตินอาจดูดซับตัวยาไว้ทำให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ดังนั้นจะเห็นว่าทุกๆ อย่างมีทั้งคุณ และโทษ ไม่มีอะไรเป็นยาวิเศษรักษาทุกโรค การเลือกใช้ควรเข้าใจคุณสมบัติ ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และควรทำความเข้าใจว่าควรจะ หรือไม่ควรจะบริโภคพร้อมกับอะไร
ปัจจัยการเกิดวุ้นในน้ำหมัก
ฟังแบบนี้แล้วเพื่อนๆ คงอยากลองวิชาเหมือนผม ก็คงถามๆ ตัวเองว่าทำอย่างไรให้ได้วุ้นน้ำหมักเยอะๆ จากข้อมูลข้างบนพอจะสรุปปัจจัยในการเกิดน้ำหมักได้ดังนี้ :
- ชนิดของผลไม้ที่นำมาใช้หมัก ผลไม้ที่มีเพกตินสูงมีโอกาสเกิดวุ้นมากกว่า
- การหั่นผลไม้ เมื่อหั่นเป็นชิ้นเล็กลงจะทำให้กรดที่เกิดจากการหมักมีโอกาสสัมผัสกับเพกตินชนิดไม่ละลายน้ำ (โปรเพกติน) ที่อยู่ในเนื้อผลไม้มากกว่า และสกัดเอาเพกตินออกมาได้เร็วกว่า ทำให้มีโอกาสเกิดวุ้นน้ำหมักได้เร็วกว่าการหมักทั้งลูกโดยไม่หั่นเลย
- ปริมาณของน้ำตาลในน้ำหมัก และระดับ pH ของน้ำหมัก (โมเลกุลเพกตินมีความเสถียรสูงที่ pH 2.5-4.5 หาก pH สูงกว่า 4.5 โมเลกุลของเพกตินจะค่อยๆ สลายตัวระหว่างสกัด ระดับที่เหมาะสมที่สุดคือ 3.2) การเร่งการเกิดกรดและแอลกอฮอล์ในน้ำหมักโดยการใส่หัวเชื้อจากน้ำหมักเดิม อาจจะช่วยเพิ่มปริมาณเพกตินที่สกัดได้ นอกจากนั้นการแยกวุ้นมาหมักต่อด้วยการเติมน้ำตาลเข้าไปน่าจะช่วยเพิ่มการเป็นเจลของเพกตินที่ละลายอยู่ในน้ำได้ในระด้บหนึ่ง
- ปริมาณของไอออนของโลหะ เช่น แคลเซียมไอออน (พบมากในน้ำปูนใส) หรือแมกนีเซียมไอออน พืชที่มีแคลเซียมสูงจึงอาจจะมีโอกาสเกินวุ้นมากกว่า เช่น กะหล่ำปลี กล้วย บลอคโคลี กีวี คะน้ำ ใบยอ หอมหัวใหญ่
- อุณหภูมิ โดยปกติแล้วเพกตินจะละลายได้มากกว่าที่อุณหภูมิสูงกว่า แต่อาจจะมีผลต่อคุณภาพของวุ้น โดยการสกัดที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะได้วุ้นที่มีความหนืดมากกว่า
- ข้อสุดท้ายฟังดูไม่น่าจะเกี่ยวกันโดยตรง แต่การไม่ไปเขย่ารบกวนน้ำหมักมากนักจะทำให้มีโอกาสเกิดชั้นวุ้นมากกว่า
- การปนเปื้อนของเอนไซม์ที่ย่อยสลายเพกติน ในการผลิตไวน์โดยเฉพาะในขั้นตอนกรองไวน์ ผู้หมักจะไม่ค่อยชอบเพกติน เพราะจะทำให้น้ำไวน์ขุ่น ซึ่งถ้าเป็นไวน์ของผลไม้ที่มีเพกตินมากจะต้องมีการเติมเอนไซม์เพกติเนส (pectinase) ลงไปช่วยเร่งการย่อยเพกติน ในธรรมชาติเชื้อราบางชนิดก็สามารถสร้างเอนไซม์ที่ย่อยสลายเพกตินได้เหมือนกัน ดังนั้นความสะอาดในการเตรียมวัตถุดิบ และการไม่เปิดฝาถังน้ำหมักบ่อย จะช่วยลดโอกาสการปนเปื้อนของเชื้อราที่สร้างเอนไซม์ย่อยสลายเพกติน
29 กันยายน 2557
ต้นสาธร
คนทั่วไปมักจะไม่รู้จักต้นสาธร จึงมักจะถามว่า "สาธร" เป็นชื่อต้นไม้ด้วยหรือ? รู้จักแต่เขตสาทร ถนนสาทร แต่ว่าไม่ใช่เขียน “สาธร” นะ เขียนเป็น “สาทร” มากกว่า ดังนั้นจึงขอนำเสนอประวัติของคำว่า "สาธร" หรือ "สาทร" กันก่อน
สืบเนื่อง คำว่า “สาธร” ซึ่งเป็นชื่อสำนักงานเขตสาธร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ไม่มีประวัติความเป็นมา และไม่มีความหมายคำแปล ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 แต่คลองสาทร กับถนนสาทร มีประวัติความเป็นมาจากบรรดาศักดิ์ขุนนางในสมัยในรัชกาลที่ 5 คือ เมื่อปีพุทธศักราช 2431 มีคหบดีจีนชื่อ เจ๊สัวยม บุตรพระยาพิศลสมบัติบริบูรณ์ (เจ๊สัวยิ้ม) อุทิศที่ดินของตนและทำการขุดคลองขึ้น จากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ไปบรรจบคลองวัดหัวลำโพง นำดินที่ขุดคลองทำถนนทั้ง 2 ฝั่งคลอง คนทั่วไปเรียก “คลองเจ๊สัวยม” เมื่อเจ๊สัวยมได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสาทรราชายุกต์คลองและถนนทั้ง 2 ฝั่ง เรียกว่า “คลองสาทร” และ “ถนนสาทร” ต่อมาเมื่อการเขียนภาษาไทย ได้มีการเขียนผิดเพี้ยนไปเป็น “สาธร” จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเขียนชื่อคลอง และถนนสาทร ผิดไปจากความเป็นมาในอดีต เมื่อจัดตั้งสำนักงานเขตขึ้น ได้นำชื่อถนนสาทรมาใช้เป็นชื่อเขตสาทร โดยใช้ “ธ ธง” จึงทำให้ไม่ถูกต้องด้วย เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า การเขียนชื่อเขตสาธร คลองสาธร และถนนสาธรเหนือ-ใต้ ไม่ถูกต้องตามประวัติความเป็นมาของคลองและถนน ซึ่งหลักฐานคำว่า “สาทร” ใช้ ท ทหาร ทั้งหมด กรุงเทพมหานครจึงได้เสนอ กระทรวงมหาดไทย โดยคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย ของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 2 พิจารณาแล้วเห็นว่า คำว่า “สาธร” ไม่มีความหมาย และคำแปลตามหลักภาษาไทย ส่วน คำว่า “สาทร” มีความหมายและคำแปลว่า “เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่” ตามหลักภาษาไทย ในพจนานุกรม และเป็นคำที่มาจากบรรดาศักดิ์ของหลวงสาทรราชายุกต์ (เจ๊สัวยม) ซึ่งตามประวัติอักขรานุกรม ขุนนางในสมัยรัชกาลที่ 5 จะใช้ ท ทหาร ทั้งหมด เมื่อเขตสาทรจัดตั้งขึ้น และใช้ชื่อคลองสาทร และถนนสาทร เป็นชื่อสำนักงานเขต โดยใช้ “ธ ธง” จึงเป็นการเขียนไม่ตรง กับที่มาชื่อบรรดาศักดิ์ และหลักภาษาไทย กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศ ลงวันที่ 23 เมษายน 2542 เปลี่ยนแปลงชื่อ “เขตสาธร” เป็น “เขตสาทร” ตามหลักฐานดังกล่าว
ดังนั้น ชื่อสำนักงานเขตสาทร ต้องใช้ ท ทหาร และถนนสาทรเหนือ-ใต้ ตลอดจนซอยแยก จากถนนสาทร ต้องเขียนป้ายชื่อ เป็น ท ทหาร ทั้งหมด ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 116 ตอนพิเศษ 35 ง. ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตั้งแต่ วันที่ 23 เมษายน 2542 เป็นต้นไป “สาธร” เป็น “สาทร” ที่ถูกต้อง ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ ความเป็นมาแต่อดีต และถูกต้องตามหลักภาษาไทย สรุปมีแต่ ต้นสาธร เท่านั้น ที่เขียนโดยใช้ “ธ ธง”
"สาธร" เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นไม้มงคลของจังหวัดนครราชสีมา ชื่อวิทยาศาสตร์: Millettia leucantha วงศ์: Leguminosa-Papilionoideae เป็นพืชวงศ์ถั่วชนิดหนึ่ง ชื่ออื่น: ขะเจ๊าะ กะเซาะ ขะแมบ กระเจา ขะเจา เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 18 - 20 เมตร ออกดอกสีขาวแบบช่อกระจายแยกแขนง เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ฝักแก่เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม
เนื้อไม้และแก่นของต้นสาธรเมื่อตัดใหม่ๆ สีเทาอมม่วง เมื่อถูกอากาศนานๆ เข้า เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วงถึงน้ำตาลปนสีช็อกโกแลตเข้ม มีริ้วสีอ่อนและแก่กว่าสีพื้นสลับ เสี้ยนค่อนข้างตรง เนื้อละเอียดปานกลาง แข็ง เหนียว หนัก แข็งแรงทนทานดีมาก เลื่อยผ่าไสกบตกแต่งและชักเงาได้ดี จึงนำมาใช้ในการก่อสร้าง ใช้ทำเครื่องเรือน และด้ามเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสาเรือน ขื่อ รอด เพลา เกวียน เครื่องนอน ครก สาก ลูกหีบ ทำส่วนประกอบของกระบะรถยนต์ ทำกระสวยทอผ้า และไม้เท้า
สิ่งที่น่าสนใจคือมีต้นไม้ที่บางครั้งมีชื่อเรียกว่า "สาธร" แต่เป็นคนละต้นกัน นั่นคือต้นสะทอน หรือต้นสะท้อน (บางครั้งคนฟังเสียงแล้วเลยไปสับสนว่าเป็น"สาธร") ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia utilis ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับต้นสาธคือวงศ์ Leguminosa-Papilionoideae เนื่องจากเป็นญาติกันลักษณะต้นเลยคล้ายกัน เจ้าต้นสะท้อนนี้ชาวจังหวัดเลยนำมาหมัก โดยเริ่มจากการตัดยอดอ่อนของต้นสะทอนช่วงระยะเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ นำใบสะทอนอ่อนมาตำให้ละเอียด จากนั้นนำไปแช่ด้วยนำสะอาดในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท 2 คืน จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำ และนำน้ำหมักสะทอนที่ได้มาต้มจนแห้ง จะได้น้ำปรุงรสที่เรียกว่า “น้ำผักสะทอน” ใช้ระยะเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง รสชาติออกหวานธรรมชาติและเค็มเล็กน้อย ชาวบ้านที่ด่านซ้ายนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน ซึ่งใช้แทนน้ำปลา
ส่วนอีกต้นซึ่งมีลักษณะคล้ายกับต้นสาธรมากคือต้นกระพี้จั่น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia brandisiana เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับต้นสาธรมาก (เนื่องจากเป็นญาติกัน) แต่จะมีดอกสีม่วงแทนที่เป็นดอกสีขาวเหมือนต้นสาธร ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคมเหมือนกับต้นสาธรครับ
19 กันยายน 2557
ถั่ว...ไม่ใช่ถั่ว
เพื่อนๆ บางท่านที่อ่าน blog เรื่องพืชวงศ์ถั่วใน http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/01/blog-post_30.html มาก่อนอาจจะสังเกตว่ามีชื่อถั่วหลายชนิดที่ท่านรู้จักแต่ไม่ถูกนำมาใส่ในบทความดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากมีพืชหลายชนิดที่ภาษาไทยเรียกว่าอยู่ "กลุ่มถั่ว" แต่ไม่ใช่พืชวงศ์ถั่ว เราจะมาทำความรู้จักกับพืชเหล่านี้กัน
1.ถั่วอัลมอนด์ หรือ ถั่วแอลมอนด์ ชื่อภาษาอังกฤษ : Almond ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus dulcis วงศ์ : Rosaceae หรือวงศ์กุหลาบซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแอพริค็อท (Apricot) ต้นสูง 4-10 เมตร
2.ถั่วแมคคาเดเมีย ชื่อภาษาอังกฤษ : Macadamia ชื่อนี้หมายถึงพืช 4 ชนิด ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ดังนี้ Macadamia integrifolia, Macadamia jansenii, Macadamia ternifolia และ Macadamia tetraphylla วงศ์ : Protaceae ต้นสูง 2-12 เมตร
3.ถั่วมะม่วงหิมพานต์ ชื่อภาษาอังกฤษ : Cashew Nut ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale วงศ์ : Anacardiaceae คือวงศ์มะม่วงนั่นเอง ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกว่า "มะม่วงหิมพานต์" เฉยๆ ซึ่งถูกต้องตามชื่อวงศ์แล้ว ต้นมะม่วงหิมพานต์สูง 4-14 เมตร
4.ถั่วพิสทาชิโอ ชื่อภาษาอังกฤษ : Pistachio ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pistacia vera วงศ์ : Anacardiaceae หรือวงศ์มะม่วง สูง 2-10 เมตร
5.ถั่วบราซิล ชื่อภาษาอังกฤษ : Brazil Nut ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bertholletia excelsa วงศ์ : Lecythidaceae หรือวงศ์จิก
โดยต้นถั่วบราซิลจะเป็นไม้ยืนต้น แต่มักจะมีคนไทยบางท่านไปสับสนกับถั่วปินโต (Pinto Peanut) ซึ่งเป็นพืชวงศ์ถั่ว (แต่ Brazil Nut อยู่วงศ์จิก) เนื่องจากถั่วปินโตมีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิลเหมือนกัน จนบางครั้งก็มีคนเรียกว่า Brazil Peanut บ้าง เหตุที่เรียกว่า Peanut เนื่องจากลักษณะของถั่วปินโตจะคล้ายกับถั่วลิสง ดังนั้นถ้าจะแปลชื่อภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องควรจะเรียกว่าถั่วลิสงบราซิล แต่มีคนไปตัดคำว่า "ลิสง" ออกกลายเป็น "ถั่วบราซิล" ซึ่งจะทำให้สับสนกับ Brazil Nut ซึ่งเป็นคนละต้นกัน (และไม่ใช่พืชวงศ์ถั่วด้วย) ดังนั้นชื่อเรียกที่ถูกต้องของ Pinto Peanut ภาษาไทยควรจะเรียกว่า "ถั่วปินโต" หรือ "ถั่วลิสงเถา" ครับ
6.ถั่วฮาเซลนัท ชื่อภาษาอังกฤษ : Hazelnut ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corylus sp. วงศ์ : Betulaceae หรือ วงศ์กำลังเสือโคร่ง
ุ7.ถั่วเกาลัด ชื่อภาษาอังกฤษ : Chestnut ชื่อวิทยาศาสตร์ : Castanea sp. วงศ์ : Fagaceae หรือ วงศ์ก่อ
8.ถั่วพีแคน ชื่อภาษาอังกฤษ : Pecan ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carya illinoensis วงศ์ : Juglandaceae หรือวงศ์ค่าหด
9.ถั่ววอลนัท ชื่อภาษาอังกฤษ : Walnut ชื่อวิทยาศาสตร์ : Juglans sp. วงศ์ : Juglandaceae หรือวงศ์ค่าหด
10.ลูกประ ชื่อภาษาอังกฤษ : Blume seed ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elater iospermum วงศ์ : Euphorbiaceae
เนื่องจากพืชเหล่านี้ไม่ใช่พืชวงศ์ถั่ว ดังนั้นจึงไม่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจน
16 กันยายน 2557
ความจริง..เกี่ยวกับภาษี
หลายครั้งที่เราได้ยินคนบ่นว่าเสียภาษีทุกปีไปแล้วรัฐบาลไปเอาไปโกงกินหมด แต่คนที่บ่นแบบนี้ส่วนใหญ่จะคือมนุษย์เงินเดือน เรามาดูความจริงกันว่ามนุษย์เงินเดือนจริงๆ แล้วมีเท่าไหร่กัน
ข้อมูลในปี 2555 ประเทศไทยมีประชากร 64 ล้านคน แต่มีมนุษย์เงินเดือนที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเพียง 9-10 ล้านคน (ปี พ.ศ. 2555 มีคนเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 9.79 ล้านคน) ซึ่งคือพวกมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย แต่เกษตรกร และอาชีพอิสระหลายอย่าง (เช่น ขายของตามตลาดนัด) ไม่เคยต้องเสียภาษีนี้
ในจำนวน 9-10 ล้านคนนี้มีผู้อยู่ในเกณฑ์ต้องจ่ายเงินภาษีจริงเพียง 3.2 ล้านคนเท่านั้น (เนื่องจากเงินเดือนเกิน 150000 บาทต่อปี) แต่เมื่อหักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว ทำให้คนส่วนหนึ่งมีรายได้หลังหักค่าลดหย่อนแล้วไม่เกินเกณฑ์จึงไม่ต้องมีภาระเสียภาษี ทำให้เหลือคนเสียภาษีจริงๆ ประมาณ 2 ล้านกว่าคนเท่านั้น ซึ่งทั้ง 9-10 ล้านคนนี้ยังมีภาระต้องเสียเงินประกันสังคม ในขณะที่คนอีก 55 ล้านกว่าคนได้รับการรักษาฟรีจากรัฐ จึงอาจกล่าวได้ว่ามีคนเพียง 2 ล้านกว่าคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระจายรายได้ ซึ่งความตลกของระบบนี้ก็คือเกษตรกร หรืออาชีพอิสระบางท่านสามารถทำกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเป็นเงินปีละหลายล้านบาทกลับไม่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา นี่เป็นแรงจูงในส่วนหนึ่งที่ทำให้บางท่านลาออกจากงานมาทำอาชีพอิสระ หรือการเกษตร
แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราจะมองให้ครบถ้วนเงินภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาคิดเป็นเพียง 11% ของรายได้ของรัฐเท่านั้น (ยังไม่รวมเงินประกันสังคมที่ท่านช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลของรัฐ) ดังนั้นท่านทั้งหลายที่เสียภาษีจริงมีส่วนโดยตรงในการแบกภาระของประเทศเพียง 11% (ยังไม่รวมภาษีทางอ้อมอื่นๆ) เรามาดูข้อมูลโครงสร้างรายได้ภาครัฐปี 2555 จาก http://dwfoc.mof.go.th กันว่าเงินส่วนที่เหลือมาจากไหน?
ภาษีส่วนใหญ่ที่สุดของประเทศมาจาก "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" 27.9% ซึ่งทุกท่านที่ซื้อของในระบบช่วยๆ กันจ่าย เช่น ถ้าท่านซื้ออาหารจากตลาดนัดก็ไม่ต้องเสียภาษีนีั แต่ถ้าท่านไปซื้อในร้านสะดวกซื้อ หรือห้างท่านก็ต้องจากภาษีมูลค่าเพิ่มนี้
ลำดับถัดมาคือ "ภาษีเงินได้นิติบุคคล" 22.8% พูดกันง่ายๆ คือธุรกิจที่ท่านซื้อของมาก็ทำกำไรจึงต้องไปจ่ายภาษีนี้ ดังนั้นถ้าท่านไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อท่านจะเจอกับทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคลแฝงอยู่ บางอย่างท่านก็อาจจะเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผ่านระบบล้วนมีภาษีทั้ง 2 ตัวอยู่ด้วยทั้งนั้น
ลำดับถัดมาคือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย คือ "ภาษีสรรพสามติ" 16.7% (เช่น น้ำมัน เครื่องดื่ม เครื่องไฟฟ้า รถยนต์ เป็นต้น) และสินค้านำเข้า "ภาษีศุลกากร" 4.9% โดยสรุปคือถ้าท่านซื้อของฟุ่มเฟือย เช่น ถ้าท่านซื้อรถยนต์นำเข้า ท่านก็จะเสียทั้งภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามติ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และแฝงด้วยภาษีนิติบุคคล
โดยสรุปประชาชนไทยต่างก็ร่วมกันเสียภาษีทั้งสิ้น โดยภาษีส่วนใหญ่จะเป็นภาษีทางอ้อม แต่อาจจะไม่ยุติธรรมบ้างก็ตรงที่มนุษย์เงินเดือนจำนวน 2 ล้านกว่าคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางกลับต้องแบกภาระภาษีสูงกว่าคนที่เหลือ ในขณะที่คนที่ทำงานนอกระบบที่มีรายได้มากกว่าชนชั้นกลางกลับไม่ต้องร่วมเสียภาษีนี้
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคมมากขึ้น ทางรัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะยกเลิกการผ่อนปรนลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 10% มาเป็น 7% ชั่วคราว ซึ่งถ้ายกเลิกการลดภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะทำให้ได้รายได้จากส่วนนี้เพิ่มขึ้น 43% และจะทำให้สัดส่วนของรายได้ภาครัฐจากภาษีมูลค่าเพิ่มปรับเพิ่มเป็น 35% และภาษีจากเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดเป็น 9.8% ของรายได้ภาครัฐ ซึ่งจะทำให้สังคมเสมอภาคมากขึ้น
นอกเหนือจากมาตรยกเลิกการลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม รัฐบาลก็อาจจะมีแนวทางอื่นๆ อีกที่จะเข้ามาช่วยรักษาความสมดุลในการกระจายรายได้จากคนที่มีรายได้มาก ไปยังคนที่มีรายได้น้อย เช่น ภาษีมรดก, ภาษีที่ดิน, Capital Gain Tax เป็นต้น แต่ช่องโหว่ที่น่าสนใจคือ เกษตรกรรายได้เยอะมากๆ ไม่ต้องเสียภาษีอะไรมากมาย เนื่องจากภาครัฐยังคงใช้สมมุติฐานว่าเกษตรกรจะต้องมีรายได้น้อย ดังนั้นเกษตรที่มีเงินทุนสามารถลงทุนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้เหนือกว่าเกษตรกรรายเล็ก โดยที่ระบบภาษีจะยังไม่สามารถติดตามเก็บภาษีเรื่องนี้ได้ทันอีกเป็นเวลาหลายสิบปีข้างหน้า เราจึงเริ่มเห็นนายทุนจำนวนมากหันมาทำเกษตรในปัจจุบัน
ข้อมูลในปี 2555 ประเทศไทยมีประชากร 64 ล้านคน แต่มีมนุษย์เงินเดือนที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเพียง 9-10 ล้านคน (ปี พ.ศ. 2555 มีคนเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 9.79 ล้านคน) ซึ่งคือพวกมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย แต่เกษตรกร และอาชีพอิสระหลายอย่าง (เช่น ขายของตามตลาดนัด) ไม่เคยต้องเสียภาษีนี้
ในจำนวน 9-10 ล้านคนนี้มีผู้อยู่ในเกณฑ์ต้องจ่ายเงินภาษีจริงเพียง 3.2 ล้านคนเท่านั้น (เนื่องจากเงินเดือนเกิน 150000 บาทต่อปี) แต่เมื่อหักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว ทำให้คนส่วนหนึ่งมีรายได้หลังหักค่าลดหย่อนแล้วไม่เกินเกณฑ์จึงไม่ต้องมีภาระเสียภาษี ทำให้เหลือคนเสียภาษีจริงๆ ประมาณ 2 ล้านกว่าคนเท่านั้น ซึ่งทั้ง 9-10 ล้านคนนี้ยังมีภาระต้องเสียเงินประกันสังคม ในขณะที่คนอีก 55 ล้านกว่าคนได้รับการรักษาฟรีจากรัฐ จึงอาจกล่าวได้ว่ามีคนเพียง 2 ล้านกว่าคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระจายรายได้ ซึ่งความตลกของระบบนี้ก็คือเกษตรกร หรืออาชีพอิสระบางท่านสามารถทำกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเป็นเงินปีละหลายล้านบาทกลับไม่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา นี่เป็นแรงจูงในส่วนหนึ่งที่ทำให้บางท่านลาออกจากงานมาทำอาชีพอิสระ หรือการเกษตร
แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราจะมองให้ครบถ้วนเงินภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาคิดเป็นเพียง 11% ของรายได้ของรัฐเท่านั้น (ยังไม่รวมเงินประกันสังคมที่ท่านช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลของรัฐ) ดังนั้นท่านทั้งหลายที่เสียภาษีจริงมีส่วนโดยตรงในการแบกภาระของประเทศเพียง 11% (ยังไม่รวมภาษีทางอ้อมอื่นๆ) เรามาดูข้อมูลโครงสร้างรายได้ภาครัฐปี 2555 จาก http://dwfoc.mof.go.th กันว่าเงินส่วนที่เหลือมาจากไหน?
ภาษีส่วนใหญ่ที่สุดของประเทศมาจาก "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" 27.9% ซึ่งทุกท่านที่ซื้อของในระบบช่วยๆ กันจ่าย เช่น ถ้าท่านซื้ออาหารจากตลาดนัดก็ไม่ต้องเสียภาษีนีั แต่ถ้าท่านไปซื้อในร้านสะดวกซื้อ หรือห้างท่านก็ต้องจากภาษีมูลค่าเพิ่มนี้
ลำดับถัดมาคือ "ภาษีเงินได้นิติบุคคล" 22.8% พูดกันง่ายๆ คือธุรกิจที่ท่านซื้อของมาก็ทำกำไรจึงต้องไปจ่ายภาษีนี้ ดังนั้นถ้าท่านไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อท่านจะเจอกับทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคลแฝงอยู่ บางอย่างท่านก็อาจจะเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผ่านระบบล้วนมีภาษีทั้ง 2 ตัวอยู่ด้วยทั้งนั้น
ลำดับถัดมาคือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย คือ "ภาษีสรรพสามติ" 16.7% (เช่น น้ำมัน เครื่องดื่ม เครื่องไฟฟ้า รถยนต์ เป็นต้น) และสินค้านำเข้า "ภาษีศุลกากร" 4.9% โดยสรุปคือถ้าท่านซื้อของฟุ่มเฟือย เช่น ถ้าท่านซื้อรถยนต์นำเข้า ท่านก็จะเสียทั้งภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามติ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และแฝงด้วยภาษีนิติบุคคล
โดยสรุปประชาชนไทยต่างก็ร่วมกันเสียภาษีทั้งสิ้น โดยภาษีส่วนใหญ่จะเป็นภาษีทางอ้อม แต่อาจจะไม่ยุติธรรมบ้างก็ตรงที่มนุษย์เงินเดือนจำนวน 2 ล้านกว่าคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางกลับต้องแบกภาระภาษีสูงกว่าคนที่เหลือ ในขณะที่คนที่ทำงานนอกระบบที่มีรายได้มากกว่าชนชั้นกลางกลับไม่ต้องร่วมเสียภาษีนี้
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคมมากขึ้น ทางรัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะยกเลิกการผ่อนปรนลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 10% มาเป็น 7% ชั่วคราว ซึ่งถ้ายกเลิกการลดภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะทำให้ได้รายได้จากส่วนนี้เพิ่มขึ้น 43% และจะทำให้สัดส่วนของรายได้ภาครัฐจากภาษีมูลค่าเพิ่มปรับเพิ่มเป็น 35% และภาษีจากเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดเป็น 9.8% ของรายได้ภาครัฐ ซึ่งจะทำให้สังคมเสมอภาคมากขึ้น
นอกเหนือจากมาตรยกเลิกการลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม รัฐบาลก็อาจจะมีแนวทางอื่นๆ อีกที่จะเข้ามาช่วยรักษาความสมดุลในการกระจายรายได้จากคนที่มีรายได้มาก ไปยังคนที่มีรายได้น้อย เช่น ภาษีมรดก, ภาษีที่ดิน, Capital Gain Tax เป็นต้น แต่ช่องโหว่ที่น่าสนใจคือ เกษตรกรรายได้เยอะมากๆ ไม่ต้องเสียภาษีอะไรมากมาย เนื่องจากภาครัฐยังคงใช้สมมุติฐานว่าเกษตรกรจะต้องมีรายได้น้อย ดังนั้นเกษตรที่มีเงินทุนสามารถลงทุนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้เหนือกว่าเกษตรกรรายเล็ก โดยที่ระบบภาษีจะยังไม่สามารถติดตามเก็บภาษีเรื่องนี้ได้ทันอีกเป็นเวลาหลายสิบปีข้างหน้า เราจึงเริ่มเห็นนายทุนจำนวนมากหันมาทำเกษตรในปัจจุบัน
8 กันยายน 2557
โกฐ...สารพัดชนิด
ต่อจาก blog เรื่อง "โกฐจุฬา" ผมขออนุญาตขยายาความคำว่า "โกฐ" ซึ่งเป็น ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ
โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต
โกฐทั้ง ๗ มี โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้าไปในโกฐทั้ง ๕ มีสรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก
โกฐทั้ง ๙ มี โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี เพิ่มเข้าไปในโกฐทั้ง ๗ มีสรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย
โกฐพิเศษอีก ๔ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง โกฐน้ำเต้า และโกฐจุฬา
หากเรามาดูชื่อวิทยาศาสตร์ของแต่ละโกฐจะพบว่าหมายถึงพืชต่อไปนี้
ตํารายาแผนโบราณ เขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี
สนใจอ่านรายละเอียดของโกฐจุฬา โกฐจุฬาลัมพา และพืชชนิดอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/03/blog-post_18.html
โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต
โกฐทั้ง ๗ มี โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้าไปในโกฐทั้ง ๕ มีสรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก
โกฐทั้ง ๙ มี โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี เพิ่มเข้าไปในโกฐทั้ง ๗ มีสรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย
โกฐพิเศษอีก ๔ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง โกฐน้ำเต้า และโกฐจุฬา
หากเรามาดูชื่อวิทยาศาสตร์ของแต่ละโกฐจะพบว่าหมายถึงพืชต่อไปนี้
ชื่อภาษาไทย | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อวงศ์ | ชื่อภาษาอังกฤษ |
๑. โกฐหัวบัว | Ligusticum sinense หรือ Ligusticum chuanxiong | Umbelliferae | Lovage Root |
๒. โกฐสอ | Angelica dahurica | Umbelliferae | Dhurian angelica root |
๓. โกฐเขมา | Atractylodes lancea | Compositae | Atractylodes Rhizome |
๔. โกฐเชียง | Angelica sinensis | Umbelliferae | Angelica root |
๕. โกฐจุฬาลัมพา | Artemisia annua Artemisia pallens Artemisia vulgaris | Asteraceae | Sweet Wormwood Davanam Mugwort |
๖. โกฐกระดูก | Saussurea lappa | Compositae | Costus |
๗. โกฐก้านพร้าว | Picrorrhiza kurroa | Scrophulariaceae | Picrorhiza |
๘. โกฐพุงปลา | Terminalia chebula | Combretaceae | Myrobalan fruit |
๙. โกฐชฎามังสี | Nardostachys grandiflora | Valerianaceae | Spikenard |
๑๐. โกฐกักกรา | Anacyclus pyrethrum | Asteraceae | Pellitory |
๑๑. โกฐกะกลิ้ง หรือแสลงใจ | Strychnos nux-vomica | Strychnaceae | Strychnine tree |
๑๒. โกฐน้ำเต้า | Rheum palmatum | Polygonaceae | Rhubarb |
๑๓. โกฐจุฬา | Eupatorium capillifolium | Asteraceae | Dog fennel |
ตํารายาแผนโบราณ เขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี
สนใจอ่านรายละเอียดของโกฐจุฬา โกฐจุฬาลัมพา และพืชชนิดอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/03/blog-post_18.html
24 สิงหาคม 2557
เงิน..คืออะไร?
ผมเขียนกระทู้นี้สืบเนื่องจากคำถามจากพี่ชุติพนต์ที่ถามว่าสหรัฐพิมพ์เงินเองได้จริงหรือ? ถ้าจริงอย่างนี้เงินก็จะไม่มีค่าอะไรเลยสิ ใครนึกอยากพิมพ์ธนบัตรก็พิมพ์ ก่อนจะตอบคำถามจึงต้องกลับมาดูว่า "เงิน" คืออะไร?
คำว่าเงินทุกคนก็ย่อมรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่จะถ้าว่าจริงๆแล้วเงินคืออะไร คำตอบแต่ละคนก็มักจะไม่เหมือนกัน คำว่า "เงิน" จริงๆ แล้วมีความหมายว่า "สิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน" สิ่งที่แลกเปลี่ยนนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ซึ่งสมัยยุคพวกชนเผ่าต่างๆ อาจจะใช้หินสวยๆ เปลือก หอยสวยๆ แล้วแต่พวกชนเผ่าจะยอมรับว่ามีค่า ซึ่งถือว่าเป็นยุคต้นที่มนุษย์สร้างโลกมายาที่เรียกว่า "โลกการเงิน" ขึ้นมา ต่อมาก็เลือกใช้สิ่งที่หาได้ยากมาเป็นสื่อกลาง ได้แก่ หินมีค่า (เช่น หยก) หรือโลหะมีค่า (เช่น ทองคำ เงิน) เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ต่อมามนุษย์เริ่มค้นพบว่าการขนย้ายเงินจำนวนมาก หรือการพกพาเงินไม่สะดวกเนื่องจากน้ำหนักของโลหะ รวมทั้งอันตรายจากการโดนปล้นในระหว่างการขนย้ายโลหะจำนวนมาก ทำให้มีต้นทุนสูงต้องจ้างทีมคุ้มกันเงิน
มนุษย์จึงมีการพัฒนาความหมายของเงินขึ้นไปอีกขั้นกลายเป็นว่า "เงินเป็นคือสิ่ง ใดๆที่คนในสังคมยอมรับสำหรับการจ่ายค่าสินค้าและบริการ และยอมรับในการจ่ายชำระหนี้" จึงสามารถใช้ของที่ไม่มีค่าเช่นกระดาษ ตราบใดที่ผู้คนในสังคมยอมรับกระดาษใบนั้นก็สามารถใช้แทนโลหะมีค่าได้ โดยในช่วงต้นจะออกเป็นตั๋วเงินโดยองค์กรเอกชนที่สังคมยอมรับ ทำให้สามารถนำตั๋วเงินเหล่านี้ไปขึ้นเงินตามแหล่งต่างๆ ได้ การขนย้ายก็สามารถซ่อนได้ง่ายขึ้นทำให้ไม่เป็นที่สังเกตุของโจรมากเหมือนเดิม
ต่อภาครัฐได้เข้ามารับรองโดยการจัดทำกระดาษซึ่งมีมาตรการต่างๆ ในการป้องกันการปลอมแปลงเพื่อให้มีความหน้าเชื่อถือสูง กระดาษที่ออกโดยภาครัฐจึงเรียกว่า "ธนบัตร" เพื่อให้ "ธนบัตร" ที่ออกโดยรัฐบาลในประเทศหนึ่งสามารถใช้ในการชำระข้ามประเทศได้ แต่ละประเทศจึงต้องมีการรับประกันว่าสามารถนำธนบัตรสกุลเงินของตนเองกลับมาแลกเปลี่ยนเป็นโลหะมีค่า เช่น ทองคำ ได้ จึงมีการตกลงร่วมกันว่าให้แต่ละประเทศต้องมีการสำรองโลหะมีค่าไว้ และฝากความเป็นเจ้าของไว้ที่องค์กรกลาง (เช่น ธนาคารโลก) ก่อนที่จะพิมพ์ธนบัตร เพื่อเป็นการรับรองค่าของเงินสกุลของแต่ละประเทศเองให้น่าเชื่อถือ (เผื่อว่ามีใครในอีกประเทศหนึ่งอยากแลกธนบัตรกลับเป็นโลหะมีค่า) ต่อมามีการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมูลค่าเงินในโลกมายาก็เพิ่มขึ้น โลหะก็ถูกนำมาใช้ในการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ จึงทำให้เริ่มเกิดการขาดแคลนโลหะมีค่าในตลาดโลก
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ มีการต่อสู้กันทั้งในยุโนบและเอเชีย เมื่อสงครามยุติลงประเทศต่างๆ ก็บอบช้ำเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของสนามรบ แต่ประเทศสหรัฐอเมริกามาร่วมในสงครามในช่วงหลังจึงไม่บอบช้ำมากเนื่องจากไม่ได้มีการสู้รบในทวีปอเมริกา แถมได้กำไรจากการผลิตอาวุธไปขายให้ประเทศต่างๆ ที่ร่วมในการรบในสงครามโลก
เนื่องจากประเทศต่างๆ บอบช้ำจากสงคราม และไม่มีโลหะมีค่ามากพอที่จะมาใช้ในการผลิตธนบัตรมาใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของตนเอง สหรัฐอเมริกาจึงใช้จังหวะนี้ในการเสนอให้มีการใช้สกุลเงินหลักของโลกเป็นหลักประกันแทนการใช้โลหะมีค่าอย่างทองคำ ในปี ค.ศ. 1970 จึงมีการลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอร์ให้ใช้สกุลของประเทศฝรั่งเศส, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เยอรมัน, และสหรัฐอเมริกา เป็นสกุลหลักในการคำนวน SDR (Special Drawing Right) currency ใช้ทดแทนการใช้โลหะมีค่าอย่างทองเป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตรของแต่ละประเทศ โดยมีหน่วยงาน IMF (International Monetary Fund) เป็นองค์กรกลางในการคำนวนอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละสกุลเงิน ดังนั้นประเทศที่สกุลเงินถูกใช้เป็นสกุลเงินอ้างอิงจึงสามารถพิมพ์ธนบัตรได้เองตามสนธิสัญญา สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในนั้น
สหรัฐอเมริกาชิงเอาความได้เปรียบเนื่องจากประเทศตนเองไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกโดยตรง อาศัยจังหวะในระหว่างที่ 4 ประเทศที่เหลือในสนธิสัญญายังบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ชิงความนิยมในการใช้สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐซึ่งมีเสถียรภาพมากที่สุดในช่วงนั้น ให้กลายเป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตรของประเทศต่างๆ ในโลก ทำให้เกิดกระแสในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจำนวนมากจากประเทศต่างๆ เพื่อใช้ในการพิมพ์ธนบัตรในสกุลเงินของตนเอง (แทนการสำรองทองซึ่งหาได้ยากในช่วงนั้น) เป็นเหตุให้เกิดความประหลาดในทางเศรษฐศาสตร์คือสหรัฐอเมริกาขาดดุลทางการค้าต่อเนื่อง แต่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐกลับไม่ลดลงเนื่องจากยังมีความต้องการซื้อเงิน ดอลล่าร์สหรัฐไปใช้เป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร
ดิมธนาคารเคยมีการควบคุมมาตรการทางการเงินด้วยการควบคุมปริมาณธนบัตร หรือเหรียญเงินในระบบเศรษฐกิจ ต่อมามนุษย์พัฒนาต่อถึงขั้นเชื่อถึงตัวเลขทางอีเลกทรอนิกส์ว่าเป็นเงิน ดังนั้นจำนวนเงินที่ทุกคนถือครองจึงมีได้มากกว่าจำนวนธนบัตร และเหรียญเงินที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ การควบคุมมาตรการทางการเงินจึงมิอาจใช้วิธีการควบคุมธนบัตรที่ไหลเวียนในระบบได้มากนัก การคลังของประเทศจึงต้องใช้มาตรการทางการเงินอื่นๆ แทน เช่น การควบคุมอัตราดอกเบี้ย การปรับปริมาณเงินสำรองของธนาคาร เป็นต้น
กลับมาที่คำถามของพี่ชุติพนต์ว่าสหรัฐสามารถพิมพ์ธนบัตรได้เองโดยไม่ต้องมีหลักประกันอะไรเลยจริงหรือไม่? ในความจริงแล้วยังมีหลักประกันที่แต่ละประเทศในคู่สัญญาจะต้องรักษาวินัยทางการเงินเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของสกุลเงินนั้นๆ การพิมพ์ธนบัตรจึงไม่ได้มีอิสระซะที่เดียว ส่วนที่เป็นข่าวในเร็วๆ นี้เรื่อง "หน้าผาทางการคลัง" ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นมาตรการในรับประกันความมั่นคงของรัฐบาลสหรัฐว่าจะมีปัญหาจ่ายหนี้ธนบัตรที่ประเทศต่างๆ ใช้เป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร ซึ่งโชคดีกว่ารัฐสภาของสหรัฐอนุมัตินโยบายปลดล๊อกปัญหาดังกล่าวไปชั่วคราว ทำให้ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐไม่หยุดชะงัก สหรัฐจึงยังสามารถพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเติมได้ การพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีปริมาณเงินในระบบมากขึ้นทำให้ค่าเงินของสหรัฐตกต่ำลง
ในช่วงที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นก็มีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนตัวลงมา เช่น ชาติยุโรปที่เป็นฝรั่งด้วยกันเริ่มรู้ว่าเสียโง่ให้สหรัฐในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงร่วมกันหาทางเลิกใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร และหันมาออกเงินสกุลยูโรดอลลาร์ใช้กันเอง มูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐจึงเริ่มเสื่อมค่าลงเนื่องจากมีหลายประเทศเริ่มหันไปใช้สกุลเงินยูโรเป็นหลักประกันแทน
นอกจากนั้นชาติผลิตน้ำมันอย่างเช่นเวเนซุเอลา อิรัก และอิหร่าน จะเลิกใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายน้ำมัน มูลค่าดอลลาร์สหรัฐก็เหมือนนกปีกหักที่ร่วงจากท้องฟ้าลงสู่ดิน สหรัฐจึงต้องโจมตีอิรักและหาเรื่องโจมตีอิหร่าน โดยหวังยึดบ่อน้ำมันและบังคับขายน้ำมันด้วยดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ประเทศต่างๆยอมรับสกุลเงินของตัวเอง
สิ่งที่น่ากลัวตอนนี้คือสหรัฐอเมริกามีกองทัพที่มีอาวุธทันสมัยที่สุดในโลก และพยายามบีบไม่ให้คนอื่นพัฒนาอาวุธขึ้นมาต่อกรกับตนเอง ถ้าสหรัฐทำตัวเป็นจิ๊กโก๋ไม่ยอมแพ้ในสงครามมายา (สงครามเศรษฐกิจ) ก็อาจจะใช้กำลังอำนาจทางการทหารไปบีบเอารัดเอาเปรียบประเทศอื่นเช่นเดียวกับการบุกปล้นประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางที่ผ่านมา ในชั่วโมงนี้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และวิกฤตทางการเงินในยุโรบแล้วก็ดูเหมือนจะมีเพียงจีนที่จะต่อกรกับสหรัฐอเมริกาได้ แต่พวกเราไว้ใจจีนได้จริงหรือ? ดูจากการคุกคามประเทศต่างๆ ในทะเลจีนใต้เพื่อแย่งชิงดินแดนที่คาดว่าน่าจะมีแหล่งน้ำมันอยู่ เราก็มิอาจไว้ใจจีนได้ 100% ในวันข้างหน้าที่ peak oil มาถึงจริงๆ ทองคำสีดำ "น้ำมัน" คงมีค่ามากขึ้นไปอีกมหาศาล มีค่ามากกว่าทองคำซะอีก เงาของสงครามโลกครั้งที่ 3 เพื่อแย่งชิงทองคำสีดำกำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ทุกขณะ แล้วสยามประเทศที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศและไม่มีกำลังทหารที่จะต่อกรกับมหาอำนาจได้จะทำอย่างไร ตะน่าว ตะน่าว...
ส่วนสีงที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือระบบทุกปัจจุบันปลูกฝังให้คนหาหนทาง "ให้รวยขึ้น" มากกว่าหนทาง "แก้จน" หรือบริโภคให้น้อยลง หรือลดการอยู่อาศัยโดยการใช้เงิน เนื่องการการใช้เงินของแต่ละคนจะเป็นกลจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของระบบทุน แต่ในขณะเดียวกันแนวคิดแบบนี้กำลังส่งเสริมให้มนุษย์บริโภคทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น หนทางหนึ่งของการทำให้คนรวยขึ้นคงส่งเสริมให้คนมีความต้องการเทียมขึ้นมาผ่านเทคนิคของการตลาด เพื่อให้มนุษย์นำเงินออกมาใช้จนเงินไหลจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งที่ต้องการรวย ความต้องการเทียมนี้มาให้เราต้องนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ในสิ่งที่ไม่ได้มีความจำเป็นกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากเราทำแบบนี้อย่างต่อเนื่อง และมีประชากรของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วันหนึ่งจะถึงวันที่ทรัพยกรธรรมชาติจะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองกับความต้องการเกินจำเป็นของมนุษย์
ปล. ฟังหูไว้หูนะครับอย่าเพิ่งเชื่อคนเพี้ยน แห่งสวนขี้คร้านเลยครับ
คำว่าเงินทุกคนก็ย่อมรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่จะถ้าว่าจริงๆแล้วเงินคืออะไร คำตอบแต่ละคนก็มักจะไม่เหมือนกัน คำว่า "เงิน" จริงๆ แล้วมีความหมายว่า "สิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน" สิ่งที่แลกเปลี่ยนนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ซึ่งสมัยยุคพวกชนเผ่าต่างๆ อาจจะใช้หินสวยๆ เปลือก หอยสวยๆ แล้วแต่พวกชนเผ่าจะยอมรับว่ามีค่า ซึ่งถือว่าเป็นยุคต้นที่มนุษย์สร้างโลกมายาที่เรียกว่า "โลกการเงิน" ขึ้นมา ต่อมาก็เลือกใช้สิ่งที่หาได้ยากมาเป็นสื่อกลาง ได้แก่ หินมีค่า (เช่น หยก) หรือโลหะมีค่า (เช่น ทองคำ เงิน) เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ต่อมามนุษย์เริ่มค้นพบว่าการขนย้ายเงินจำนวนมาก หรือการพกพาเงินไม่สะดวกเนื่องจากน้ำหนักของโลหะ รวมทั้งอันตรายจากการโดนปล้นในระหว่างการขนย้ายโลหะจำนวนมาก ทำให้มีต้นทุนสูงต้องจ้างทีมคุ้มกันเงิน
มนุษย์จึงมีการพัฒนาความหมายของเงินขึ้นไปอีกขั้นกลายเป็นว่า "เงินเป็นคือสิ่ง ใดๆที่คนในสังคมยอมรับสำหรับการจ่ายค่าสินค้าและบริการ และยอมรับในการจ่ายชำระหนี้" จึงสามารถใช้ของที่ไม่มีค่าเช่นกระดาษ ตราบใดที่ผู้คนในสังคมยอมรับกระดาษใบนั้นก็สามารถใช้แทนโลหะมีค่าได้ โดยในช่วงต้นจะออกเป็นตั๋วเงินโดยองค์กรเอกชนที่สังคมยอมรับ ทำให้สามารถนำตั๋วเงินเหล่านี้ไปขึ้นเงินตามแหล่งต่างๆ ได้ การขนย้ายก็สามารถซ่อนได้ง่ายขึ้นทำให้ไม่เป็นที่สังเกตุของโจรมากเหมือนเดิม
ต่อภาครัฐได้เข้ามารับรองโดยการจัดทำกระดาษซึ่งมีมาตรการต่างๆ ในการป้องกันการปลอมแปลงเพื่อให้มีความหน้าเชื่อถือสูง กระดาษที่ออกโดยภาครัฐจึงเรียกว่า "ธนบัตร" เพื่อให้ "ธนบัตร" ที่ออกโดยรัฐบาลในประเทศหนึ่งสามารถใช้ในการชำระข้ามประเทศได้ แต่ละประเทศจึงต้องมีการรับประกันว่าสามารถนำธนบัตรสกุลเงินของตนเองกลับมาแลกเปลี่ยนเป็นโลหะมีค่า เช่น ทองคำ ได้ จึงมีการตกลงร่วมกันว่าให้แต่ละประเทศต้องมีการสำรองโลหะมีค่าไว้ และฝากความเป็นเจ้าของไว้ที่องค์กรกลาง (เช่น ธนาคารโลก) ก่อนที่จะพิมพ์ธนบัตร เพื่อเป็นการรับรองค่าของเงินสกุลของแต่ละประเทศเองให้น่าเชื่อถือ (เผื่อว่ามีใครในอีกประเทศหนึ่งอยากแลกธนบัตรกลับเป็นโลหะมีค่า) ต่อมามีการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมูลค่าเงินในโลกมายาก็เพิ่มขึ้น โลหะก็ถูกนำมาใช้ในการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ จึงทำให้เริ่มเกิดการขาดแคลนโลหะมีค่าในตลาดโลก
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ มีการต่อสู้กันทั้งในยุโนบและเอเชีย เมื่อสงครามยุติลงประเทศต่างๆ ก็บอบช้ำเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของสนามรบ แต่ประเทศสหรัฐอเมริกามาร่วมในสงครามในช่วงหลังจึงไม่บอบช้ำมากเนื่องจากไม่ได้มีการสู้รบในทวีปอเมริกา แถมได้กำไรจากการผลิตอาวุธไปขายให้ประเทศต่างๆ ที่ร่วมในการรบในสงครามโลก
เนื่องจากประเทศต่างๆ บอบช้ำจากสงคราม และไม่มีโลหะมีค่ามากพอที่จะมาใช้ในการผลิตธนบัตรมาใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของตนเอง สหรัฐอเมริกาจึงใช้จังหวะนี้ในการเสนอให้มีการใช้สกุลเงินหลักของโลกเป็นหลักประกันแทนการใช้โลหะมีค่าอย่างทองคำ ในปี ค.ศ. 1970 จึงมีการลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอร์ให้ใช้สกุลของประเทศฝรั่งเศส, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เยอรมัน, และสหรัฐอเมริกา เป็นสกุลหลักในการคำนวน SDR (Special Drawing Right) currency ใช้ทดแทนการใช้โลหะมีค่าอย่างทองเป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตรของแต่ละประเทศ โดยมีหน่วยงาน IMF (International Monetary Fund) เป็นองค์กรกลางในการคำนวนอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละสกุลเงิน ดังนั้นประเทศที่สกุลเงินถูกใช้เป็นสกุลเงินอ้างอิงจึงสามารถพิมพ์ธนบัตรได้เองตามสนธิสัญญา สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในนั้น
สหรัฐอเมริกาชิงเอาความได้เปรียบเนื่องจากประเทศตนเองไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกโดยตรง อาศัยจังหวะในระหว่างที่ 4 ประเทศที่เหลือในสนธิสัญญายังบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ชิงความนิยมในการใช้สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐซึ่งมีเสถียรภาพมากที่สุดในช่วงนั้น ให้กลายเป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตรของประเทศต่างๆ ในโลก ทำให้เกิดกระแสในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจำนวนมากจากประเทศต่างๆ เพื่อใช้ในการพิมพ์ธนบัตรในสกุลเงินของตนเอง (แทนการสำรองทองซึ่งหาได้ยากในช่วงนั้น) เป็นเหตุให้เกิดความประหลาดในทางเศรษฐศาสตร์คือสหรัฐอเมริกาขาดดุลทางการค้าต่อเนื่อง แต่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐกลับไม่ลดลงเนื่องจากยังมีความต้องการซื้อเงิน ดอลล่าร์สหรัฐไปใช้เป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร
ดิมธนาคารเคยมีการควบคุมมาตรการทางการเงินด้วยการควบคุมปริมาณธนบัตร หรือเหรียญเงินในระบบเศรษฐกิจ ต่อมามนุษย์พัฒนาต่อถึงขั้นเชื่อถึงตัวเลขทางอีเลกทรอนิกส์ว่าเป็นเงิน ดังนั้นจำนวนเงินที่ทุกคนถือครองจึงมีได้มากกว่าจำนวนธนบัตร และเหรียญเงินที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ การควบคุมมาตรการทางการเงินจึงมิอาจใช้วิธีการควบคุมธนบัตรที่ไหลเวียนในระบบได้มากนัก การคลังของประเทศจึงต้องใช้มาตรการทางการเงินอื่นๆ แทน เช่น การควบคุมอัตราดอกเบี้ย การปรับปริมาณเงินสำรองของธนาคาร เป็นต้น
กลับมาที่คำถามของพี่ชุติพนต์ว่าสหรัฐสามารถพิมพ์ธนบัตรได้เองโดยไม่ต้องมีหลักประกันอะไรเลยจริงหรือไม่? ในความจริงแล้วยังมีหลักประกันที่แต่ละประเทศในคู่สัญญาจะต้องรักษาวินัยทางการเงินเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของสกุลเงินนั้นๆ การพิมพ์ธนบัตรจึงไม่ได้มีอิสระซะที่เดียว ส่วนที่เป็นข่าวในเร็วๆ นี้เรื่อง "หน้าผาทางการคลัง" ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นมาตรการในรับประกันความมั่นคงของรัฐบาลสหรัฐว่าจะมีปัญหาจ่ายหนี้ธนบัตรที่ประเทศต่างๆ ใช้เป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร ซึ่งโชคดีกว่ารัฐสภาของสหรัฐอนุมัตินโยบายปลดล๊อกปัญหาดังกล่าวไปชั่วคราว ทำให้ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐไม่หยุดชะงัก สหรัฐจึงยังสามารถพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเติมได้ การพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีปริมาณเงินในระบบมากขึ้นทำให้ค่าเงินของสหรัฐตกต่ำลง
ในช่วงที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นก็มีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนตัวลงมา เช่น ชาติยุโรปที่เป็นฝรั่งด้วยกันเริ่มรู้ว่าเสียโง่ให้สหรัฐในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงร่วมกันหาทางเลิกใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร และหันมาออกเงินสกุลยูโรดอลลาร์ใช้กันเอง มูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐจึงเริ่มเสื่อมค่าลงเนื่องจากมีหลายประเทศเริ่มหันไปใช้สกุลเงินยูโรเป็นหลักประกันแทน
นอกจากนั้นชาติผลิตน้ำมันอย่างเช่นเวเนซุเอลา อิรัก และอิหร่าน จะเลิกใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายน้ำมัน มูลค่าดอลลาร์สหรัฐก็เหมือนนกปีกหักที่ร่วงจากท้องฟ้าลงสู่ดิน สหรัฐจึงต้องโจมตีอิรักและหาเรื่องโจมตีอิหร่าน โดยหวังยึดบ่อน้ำมันและบังคับขายน้ำมันด้วยดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ประเทศต่างๆยอมรับสกุลเงินของตัวเอง
สิ่งที่น่ากลัวตอนนี้คือสหรัฐอเมริกามีกองทัพที่มีอาวุธทันสมัยที่สุดในโลก และพยายามบีบไม่ให้คนอื่นพัฒนาอาวุธขึ้นมาต่อกรกับตนเอง ถ้าสหรัฐทำตัวเป็นจิ๊กโก๋ไม่ยอมแพ้ในสงครามมายา (สงครามเศรษฐกิจ) ก็อาจจะใช้กำลังอำนาจทางการทหารไปบีบเอารัดเอาเปรียบประเทศอื่นเช่นเดียวกับการบุกปล้นประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางที่ผ่านมา ในชั่วโมงนี้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และวิกฤตทางการเงินในยุโรบแล้วก็ดูเหมือนจะมีเพียงจีนที่จะต่อกรกับสหรัฐอเมริกาได้ แต่พวกเราไว้ใจจีนได้จริงหรือ? ดูจากการคุกคามประเทศต่างๆ ในทะเลจีนใต้เพื่อแย่งชิงดินแดนที่คาดว่าน่าจะมีแหล่งน้ำมันอยู่ เราก็มิอาจไว้ใจจีนได้ 100% ในวันข้างหน้าที่ peak oil มาถึงจริงๆ ทองคำสีดำ "น้ำมัน" คงมีค่ามากขึ้นไปอีกมหาศาล มีค่ามากกว่าทองคำซะอีก เงาของสงครามโลกครั้งที่ 3 เพื่อแย่งชิงทองคำสีดำกำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ทุกขณะ แล้วสยามประเทศที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศและไม่มีกำลังทหารที่จะต่อกรกับมหาอำนาจได้จะทำอย่างไร ตะน่าว ตะน่าว...
ส่วนสีงที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือระบบทุกปัจจุบันปลูกฝังให้คนหาหนทาง "ให้รวยขึ้น" มากกว่าหนทาง "แก้จน" หรือบริโภคให้น้อยลง หรือลดการอยู่อาศัยโดยการใช้เงิน เนื่องการการใช้เงินของแต่ละคนจะเป็นกลจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของระบบทุน แต่ในขณะเดียวกันแนวคิดแบบนี้กำลังส่งเสริมให้มนุษย์บริโภคทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น หนทางหนึ่งของการทำให้คนรวยขึ้นคงส่งเสริมให้คนมีความต้องการเทียมขึ้นมาผ่านเทคนิคของการตลาด เพื่อให้มนุษย์นำเงินออกมาใช้จนเงินไหลจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งที่ต้องการรวย ความต้องการเทียมนี้มาให้เราต้องนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ในสิ่งที่ไม่ได้มีความจำเป็นกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากเราทำแบบนี้อย่างต่อเนื่อง และมีประชากรของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วันหนึ่งจะถึงวันที่ทรัพยกรธรรมชาติจะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองกับความต้องการเกินจำเป็นของมนุษย์
ปล. ฟังหูไว้หูนะครับอย่าเพิ่งเชื่อคนเพี้ยน แห่งสวนขี้คร้านเลยครับ
17 สิงหาคม 2557
กระบวนท่าที่ 4 (ตอนที่ 5) - ติดตามผลของการขุด Swale
ในช่วงต้นๆ หลังจากขุด swale ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับลักษณะของดินในร่อง ในร่องที่สัดส่วนของดินเหนียวมีมากก็จะสามารถอุ้มน้ำได้ดีมากๆ น้ำจะขังในร่องได้เป็นเดือน ทั้งๆ ที่ระดับ Table Table ในบริเวณนี้ไม่สูง ดูจากภาพตัวอย่างข้างล่างเราจะเห็นได้ชัดถือผลของ Capillary action ซึ่งจะทำให้น้ำที่อยู่ระดับต่ำกว่าถูกดึงขึ้นมาที่ระดับสูงขึ้น ดังนั้นน้ำที่อยู่ใต้ดินจะถูกดึงขึ้นมาด้วยแรง Capillary action เพื่อให้ใกล้รากพืชมากขึ้น ประเด็นคือ swale จะช่วยเราในการเอาน้ำที่เดิมจะเป็น run-off มาเก็บเป็นน้ำใต้ดินให้กับเรา และโดยปกติแรง Capillary action จะดึงน้ำใต้ดินขึ้นมาได้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร
ส่วนที่เราจะเห็นส่วนใกล้ผิวดินแห้งเนื่องจากความร้อนจะทำให้น้ำใกล้ผิวดินระเหยออกไป เมื่อน้ำใกล้ผิวดินระเหยก็จะมีแรง Capillary action ดึงน้ำจากส่วนที่อยู่ติดกันขึ้นมาใกล้ผิวดิน ซึ่งก็จะโดนความร้อนที่ผิวทำให้ระเหยอีกจนสุดท้ายหากไม่มีฝน น้ำค้าง หรือการรดน้ำ ดินบริเวณ 30-50 เซนติเมตรแรกจะแห้งสนิท แต่น้ำที่อยู่ล่างลงกว่านั้นจะเกินที่ Capillary action ดึงน้ำขึ้นมา ทำให้น้ำที่อยู่ใต้ดินลึกกว่า 50 เซนติเมตรไม่โดนผลกระทบจากการระเหยเท่าไหร่ แต่หมายความว่าพืชที่จะนำน้ำส่วนนี้มาใช้งานได้จะต้องมีรากลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร ซึ่งส่วนใหญ่พืชที่มีรากลึกแบบนั้นจะเป็นต้นไม้มากกว่าพืชล้มลุก
ในบริเวณที่มีดินเหนียวเป็นองค์ประกอบน้อยก็จะไม่ค่อยเก็บน้ำได้ (ส่วนใหญ่ swale ที่สวนขี้คร้านจะเป็นแบบนี้) เราจะเห็นน้ำค้างในร่องแบบนี้เฉพาะวันที่ฝนตกหนัก และนานจริงๆ หากมีน้ำเต็มร่องก็จะใช้เวลาซึมลงดินจนหมดแตกต่างกันไปตามลักษณะดิน จากผลทดลองที่สวนขี้คร้านจะมีทั้ง swale ที่แห้งภายใน 6 ชั่วโมง ภายใน 1 วัน และภายใน 3 วัน และภายใน 5 วัน
เมื่อดินมีน้ำใต้ดินมากขึ้นเราก็จะเริ่มเห็นวัชพืชประเภทหญ้าจำนวนมากผิดจากลักษณะเดิมของที่ดิน
ถ้าพวกเราศึกษาเรื่องดินจริงจังจะพบว่าอินทรีย์วัตถุ (organic matter) จะเป็นองค์ประกอบสำคัญของดินที่ดี โดยปกติ organic material เช่น รากพืช ใบไม้ กิ่งไม้เมื่อย่อยสลายแล้วจะเหลือเป็น organic matter เพียง 10% หมายความว่าถ้าเราต้องการเพิ่ม organic matter 1 ตัน เราจะต้องใช้ organic material มากถึง 10 ตัน คำถามคือเราจะใช้วิธีซื้อมาจากที่อื่นหรือเราจะให้ธรรมชาติเป็นคนสร้าง organic material ให้กับเรา? (ลองไปอ่านเรื่องวัฏจักรของคาร์บอนที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/04/CarbonCycle.html จะพบมวลของต้นไม้ส่วนหนึ่งจะเกิดจากตรึงธาตุในอากาศให้กลายมาเป็นส่วนต่างๆ ของพืช )
เมื่อเราศึกษาในเชิงลึกลงไปเราจะพบว่าในบริเวณที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่จะเป็นแหล่งของ organic material ได้น้อยกว่าบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าหรือไม้ล้มลุก เนื่องจากต้นไม้ขนาดใหญ่ใช้เวลานานกว่าที่รากจะตาย เราจึงจะได้ organic material จากใบที่ร่วงเท่านั้น แต่หากเป็นพืชล้มลุกมักจะตายในหน้าแล้งทุกปี และงอกขึ้นมาใหม่ในหน้าฝน จึงสามารถเพิ่ม organic material ให้กับพื้นดินมากกว่า การที่เราเห็นว่าพื้นที่ว่างเปล่าที่เสื่อมโทรมนั้นธรรมชาติจะเริ่มต้นการฟื้นฟูด้วยหญ้า และวัชพืชล้มลุกก่อนเพื่อเพิ่ม organic matter จากนั้นเราจึงจะเห็นไม้พุ่มขนาดเล็ก และตามมาด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ ดังนั้นเราอย่าไปมองว่าหญ้าเป็นศัตรู เนื่องจากหญ้าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่จะช่วงฟื้นฟูสภาพดิน การเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินแล้วทำให้หญ้าและวัชพืชที่มีรากตื้นเหล่านี้เติบโตได้ดีจึงเรียกได้ว่าเป็น "ทรัพยากรที่ยังไม่ถูกใช้" (unused resources)
เพื่อเร่งให้มีการสร้าง organic material จำนวนมากขึ้น บางครั้งผมก็จะตัดวัชพืชในช่วงหน้าฝน การตัดเราไม่ได้ต้องการตัดให้ตาย เราต้องการตัดเพื่อให้วัชพืชสามารถงอกขึ้นมาใหม่อีกรอบ เพื่อให้เราได้ organic material ใน 1 ปีเพิ่มขึ้นมากว่าการไม่ตัด (แตกต่างกับการใช้ยาฆ่าหญ้าที่มีจุดมุ่งหมายจะฆ่าวัชพืชมากกว่าจะเพิ่มปริมาณ organic material จากวัชพืช) หรือเราอาจจะตัดเพื่อควบคุมให้ต้นไม้ได้มีโอกาสเติบโตเร็วกว่าการไม่ช่วยควบคุมวัชพืชเลย ส่วนวัชพืชที่ตัดนั้นบางคร้งผมก็ทิ้งกองไว้ตรงนั้น ถ้ามีเวลามากหน่อยก็เอามาสุมรวมๆ กันเพื่อทำปุ๋ย
ถึงแม้นว่าเราจะตัดหรือไม่ตัดวัชพืช การปลูกแนวธรรมชาติที่ไม่มีการให้น้ำที่ผิวดินนั้นวัชพืชมักจะแห้งตายเองในหน้าแล้ง วัชพืชส่วนที่แห้งตายเองตามธรรมชาติก็ดี ส่วนที่เราตัดแล้วทิ้งไว้ให้แห้งก็ดีจะกลายเป็นวัสดุคลุมดิน (mulch) ซึ่งจะช่วยลดน้ำ run off และรักษาความชุ่มชื้นให้กับดิน ความชุ่มชื้นนี่เองก็จะช่วยให้วัชพืชเติบโตได้ดีขึ้นในรอบปีถัด เมื่อผ่านไปนานๆ เข้าชั้นของวัสดุคลุมดินก็จะหนาขึ้น ดินเองก็จะมี organic matter มากขึ้นจนเอื้อให้ไม้พุ่ม หรือต้นไม้ขนาดใหญ่สามารถรอดแล้งและเติบโตได้ดีขึ้น เป็นขบวนการฟื้นฟูป่าโดยธรรมชาติ และเมื่อไม้ใหญ่มีมากขึ้นวัชพืชก็จะได้รับแสงแดดน้อยลง จนเริ่มมีจำนวนลดลงไปเอง
ส่วนที่เราจะเห็นส่วนใกล้ผิวดินแห้งเนื่องจากความร้อนจะทำให้น้ำใกล้ผิวดินระเหยออกไป เมื่อน้ำใกล้ผิวดินระเหยก็จะมีแรง Capillary action ดึงน้ำจากส่วนที่อยู่ติดกันขึ้นมาใกล้ผิวดิน ซึ่งก็จะโดนความร้อนที่ผิวทำให้ระเหยอีกจนสุดท้ายหากไม่มีฝน น้ำค้าง หรือการรดน้ำ ดินบริเวณ 30-50 เซนติเมตรแรกจะแห้งสนิท แต่น้ำที่อยู่ล่างลงกว่านั้นจะเกินที่ Capillary action ดึงน้ำขึ้นมา ทำให้น้ำที่อยู่ใต้ดินลึกกว่า 50 เซนติเมตรไม่โดนผลกระทบจากการระเหยเท่าไหร่ แต่หมายความว่าพืชที่จะนำน้ำส่วนนี้มาใช้งานได้จะต้องมีรากลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร ซึ่งส่วนใหญ่พืชที่มีรากลึกแบบนั้นจะเป็นต้นไม้มากกว่าพืชล้มลุก
ในบริเวณที่มีดินเหนียวเป็นองค์ประกอบน้อยก็จะไม่ค่อยเก็บน้ำได้ (ส่วนใหญ่ swale ที่สวนขี้คร้านจะเป็นแบบนี้) เราจะเห็นน้ำค้างในร่องแบบนี้เฉพาะวันที่ฝนตกหนัก และนานจริงๆ หากมีน้ำเต็มร่องก็จะใช้เวลาซึมลงดินจนหมดแตกต่างกันไปตามลักษณะดิน จากผลทดลองที่สวนขี้คร้านจะมีทั้ง swale ที่แห้งภายใน 6 ชั่วโมง ภายใน 1 วัน และภายใน 3 วัน และภายใน 5 วัน
เมื่อดินมีน้ำใต้ดินมากขึ้นเราก็จะเริ่มเห็นวัชพืชประเภทหญ้าจำนวนมากผิดจากลักษณะเดิมของที่ดิน
ถ้าพวกเราศึกษาเรื่องดินจริงจังจะพบว่าอินทรีย์วัตถุ (organic matter) จะเป็นองค์ประกอบสำคัญของดินที่ดี โดยปกติ organic material เช่น รากพืช ใบไม้ กิ่งไม้เมื่อย่อยสลายแล้วจะเหลือเป็น organic matter เพียง 10% หมายความว่าถ้าเราต้องการเพิ่ม organic matter 1 ตัน เราจะต้องใช้ organic material มากถึง 10 ตัน คำถามคือเราจะใช้วิธีซื้อมาจากที่อื่นหรือเราจะให้ธรรมชาติเป็นคนสร้าง organic material ให้กับเรา? (ลองไปอ่านเรื่องวัฏจักรของคาร์บอนที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/04/CarbonCycle.html จะพบมวลของต้นไม้ส่วนหนึ่งจะเกิดจากตรึงธาตุในอากาศให้กลายมาเป็นส่วนต่างๆ ของพืช )
เมื่อเราศึกษาในเชิงลึกลงไปเราจะพบว่าในบริเวณที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่จะเป็นแหล่งของ organic material ได้น้อยกว่าบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าหรือไม้ล้มลุก เนื่องจากต้นไม้ขนาดใหญ่ใช้เวลานานกว่าที่รากจะตาย เราจึงจะได้ organic material จากใบที่ร่วงเท่านั้น แต่หากเป็นพืชล้มลุกมักจะตายในหน้าแล้งทุกปี และงอกขึ้นมาใหม่ในหน้าฝน จึงสามารถเพิ่ม organic material ให้กับพื้นดินมากกว่า การที่เราเห็นว่าพื้นที่ว่างเปล่าที่เสื่อมโทรมนั้นธรรมชาติจะเริ่มต้นการฟื้นฟูด้วยหญ้า และวัชพืชล้มลุกก่อนเพื่อเพิ่ม organic matter จากนั้นเราจึงจะเห็นไม้พุ่มขนาดเล็ก และตามมาด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ ดังนั้นเราอย่าไปมองว่าหญ้าเป็นศัตรู เนื่องจากหญ้าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่จะช่วงฟื้นฟูสภาพดิน การเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินแล้วทำให้หญ้าและวัชพืชที่มีรากตื้นเหล่านี้เติบโตได้ดีจึงเรียกได้ว่าเป็น "ทรัพยากรที่ยังไม่ถูกใช้" (unused resources)
เพื่อเร่งให้มีการสร้าง organic material จำนวนมากขึ้น บางครั้งผมก็จะตัดวัชพืชในช่วงหน้าฝน การตัดเราไม่ได้ต้องการตัดให้ตาย เราต้องการตัดเพื่อให้วัชพืชสามารถงอกขึ้นมาใหม่อีกรอบ เพื่อให้เราได้ organic material ใน 1 ปีเพิ่มขึ้นมากว่าการไม่ตัด (แตกต่างกับการใช้ยาฆ่าหญ้าที่มีจุดมุ่งหมายจะฆ่าวัชพืชมากกว่าจะเพิ่มปริมาณ organic material จากวัชพืช) หรือเราอาจจะตัดเพื่อควบคุมให้ต้นไม้ได้มีโอกาสเติบโตเร็วกว่าการไม่ช่วยควบคุมวัชพืชเลย ส่วนวัชพืชที่ตัดนั้นบางคร้งผมก็ทิ้งกองไว้ตรงนั้น ถ้ามีเวลามากหน่อยก็เอามาสุมรวมๆ กันเพื่อทำปุ๋ย
ถึงแม้นว่าเราจะตัดหรือไม่ตัดวัชพืช การปลูกแนวธรรมชาติที่ไม่มีการให้น้ำที่ผิวดินนั้นวัชพืชมักจะแห้งตายเองในหน้าแล้ง วัชพืชส่วนที่แห้งตายเองตามธรรมชาติก็ดี ส่วนที่เราตัดแล้วทิ้งไว้ให้แห้งก็ดีจะกลายเป็นวัสดุคลุมดิน (mulch) ซึ่งจะช่วยลดน้ำ run off และรักษาความชุ่มชื้นให้กับดิน ความชุ่มชื้นนี่เองก็จะช่วยให้วัชพืชเติบโตได้ดีขึ้นในรอบปีถัด เมื่อผ่านไปนานๆ เข้าชั้นของวัสดุคลุมดินก็จะหนาขึ้น ดินเองก็จะมี organic matter มากขึ้นจนเอื้อให้ไม้พุ่ม หรือต้นไม้ขนาดใหญ่สามารถรอดแล้งและเติบโตได้ดีขึ้น เป็นขบวนการฟื้นฟูป่าโดยธรรมชาติ และเมื่อไม้ใหญ่มีมากขึ้นวัชพืชก็จะได้รับแสงแดดน้อยลง จนเริ่มมีจำนวนลดลงไปเอง
9 สิงหาคม 2557
ฝนเอย..ทำไมจึงตก
"ฝนเอย ทำไมจึงตก ? จำเป็นต้องตก เพราะว่ากบมันร้อง"
"กบเอย ทำไมจึงร้อง ? จำเป็นต้องร้อง เพราะว่าท้องมันปวด"
"ท้องเอย ทำไมจึงปวด ? จำเป็นต้องปวด เพราะว่ากินข้าวดิบ"
"ข้าวเอย ทำไมจึงดิบ ? จำเป็นต้องดิบ เพราะว่าไฟมันดับ"
"ไฟเอย ทำไมจึงดับ ? จำเป็นต้องดับ เพราะว่าฟืนมันเปียก"
"ฟืนเอย ทำไมจึงเปียก ? จำเป็นต้องเปียก เพราะว่าฝนมันตก"
"ฝนเอย ทำไมจึงตก ? ....."
เราคงจะจำเพลงสมัยเรียนประถมเพลงนี้ได้ แต่แน่นอนว่าจริงๆ แล้วฝนไม่ได้ตกเพราะกบมันร้อง...เหมือนในเพลง แต่ฝนเกิดจากไอน้ำในอากาศ ซึ่งไอน้ำเหล่านี้อาจจะระเหยจากความร้อน ระเหยจากลมพัด หรือเป็นไอน้ำจากขบวนการหายใจของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งการคายน้ำจากพืช ซึ่งไอน้ำในอากาศมักจะถูกวัดเป็นความชื้นสัมบูรณ์ (Absolute Humidity) คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศกับปริมาตรของอากาศนั้นหน่วยวัดความชื้นสัมบูรณ์คือ g/m^3 (กรัมต่อลบ.ม.) หรือ อาจจะวัดเป็น ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) คือ ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลของไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน พูดง่ายๆ ก็คือเปอร์เซ็นต์ความหนาแน่นของไอน้ำก่อนที่จะถึงจุดควบแน่นเป็นหยดน้ำ
โดยบริเวณที่มีไอน้ำมีอยู่ในอากาศมากจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ซึ่งปกติอากาศจะมีความสามารถในการจุไอน้ำก่อนจะอิ่มตัวและควบแน่นเป็นหยดน้ำแตกต่างกันตามอุณหภูมิของอากาศ โดยอากาศที่ร้อนกว่าจะสามารถจุไอน้ำได้มากกว่าอากาศเย็น ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เมฆควบแน่นเป็นหยดน้ำฝนคือการทำให้เมฆเย็นลง ความสามารถในการจุไอน้ำก็ลดลง ทำให้ไอน้ำมีความหนาแน่นมากพอที่จะควบแน่นเป็นหยดน้ำฝน
ขบวนการที่จะทำให้เมฆเย็นลงจนถึงจุดควบแน่นแบ่งออกเป็น 4 วิธีคือ adiabatic cooling, conductive cooling, radiational cooling, และ evaporative cooling
1. Adiabatic Cooling เกิดขึ้นเมื่ออากาศยกตัวสูงขึ้น และขยายตัว โดยการยกตัวของเมฆอาจจะเกิดจากการพาความร้อน (convection) ซึ่งจะทำให้อากาศที่ร้อนกว่าลอยตัวสูงขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งอากาศที่ด้านบนจะอุ่นกว่าอากาศบริเวณพื้นดิน ฝนที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้จะมักจะตกไม่นาน และตกในพื้นที่เล็กๆ มักจะพบได้บ่อยในเขตร้อนอย่างประเทศไทย
อีกสาเหตุหนึ่งคือการยกตัวของอากาศอย่างรุนแรงอย่างในพายุไซโคลน แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้นในประเทศไทยบ่อยนัก
และอีกสาเหตุหนึ่งคือการยกตัวเมื่อเมฆลอยไปปะทะกับสิ่งขีดขวางขนาดใหญ่อย่างภูเขา ทำให้เกิดการยกตัวของเมฆ (orographic lift) ขึ้นสูงทำให้เมฆเย็นตัวลงจึงกลั่นเป็นฝน ฝนในลักษณะนี้มักจะพบในแนวเขาขวางลมมรสุมที่พัดผ่านทะเลมา เช่น แถบทะลฝั่งตะวันตกอย่างจังหวัดพังงา ระนอง หรือ ทะเลฝั่งตะวันออกอย่างจันทบุรี ตราด เป็นต้น ซึ่งฝนในลักษณะนี้มักจะตกหนักและตกนาน ส่วนพื้นที่หลังเขาไม่ต้องพูดถึง จะกลายเป็นเขต "เงาฝน" เนื่องเมฆที่พัดผ่านส่วนใหญ่จะตกเป็นฝนไปที่ด้านหน้าของภูเขาแล้ว (ยกเว้นเมฆอยู่ในระดับสูงกว่าภูเขามากๆ จะลอยข้ามมาได้)
อีกปรากฎการณ์หนึ่งที่เรามักจะพบในปัจจุบันคือ Urban Heat Island ซึ่งเกิดจากการพัฒนาเมืองที่ผิดธรรมชาติไปอย่างมาก ทำให้มีต้นไม้น้อยลง และปรับเปลี่ยนมาเป็นวัสดุที่มีมักจะแผ่รังสีความร้อนออกมาได้มากกว่าต้นไม้ เช่น คอนกรีต ถนน กระจก เป็นต้น รวมทั้งการใช้แอร์กันอย่างกว้างขวางโดยการนำเอาความร้อนภายในอาคารมาปล่อยที่ด้านนอก และการใช้พลังต่างๆ ทั้งในเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ทำให้อากาศในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่รอบนอกของเมือง
ปรากฎการณ์ Urban Heat Island ทำให้เกิดการยกตัวของอากาศร้อนในกลางเมือง เมื่อเมฆเคลื่อนตัวผ่านเมืองก็จะถูกแรงยกให้ขึ้นสูงขึ้น ทำให้อุณหภูมิของเมฆเย็นลงและตกมาเป็นฝน ลักษณะของฝนแบบนี้มักจะโดนยกตัวจากความร้อนสูงในช่วงบ่ายๆ และมักจะตกเป็นฝนในช่วงเลิกงาน ซึ่งฝนลักษณะนี้มีส่วนทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งในประเทศไทย เนื่องจากถ้าไม่มีปรากฎการณ์นี้เมฆจะเคลื่อนตัวเข้ามาในแผ่นดินลึกมากขึ้นโดยไม่ตกเป็นฝนในกรุงเทพฯ ก่อน ส่วนฝนที่ตกในกรุงเทพฯ กลับไม่ค่อยได้ถูกใช้งานเนื่องจากแทบไม่มีพื้นที่เกษตรกรรมเหลือแล้ว และฝนที่ตกในกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลมาก และไม่มีพื้นดินจะให้น้ำซึมลงใต้ดินเท่าไหร่ (เราห่มดินด้วยคอนกรีต และยางมะตอยหมดแล้ว) น้ำก็จะไหลเป็นน้ำ Run off ลงแม่น้ำไปสู่ทะเลแทบทั้งหมด (อ่านเพิ่มเติมใน "น้ำฝนหายไปไหน?" และใน "ต้นไม้สายฝน") น้ำฝนจึงไม่ได้ผ่านพื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ ให้สามารถใช้ประโยชน์หรือจัดเก็บน้ำจากฝนที่ตกซักเท่าไหร่ ผมคิดเล่นๆ ว่าถ้าเราสามารถย้ายเมืองหลวงขึ้นไปทางเหนือขึ้นมาสัก 300-500 กิโลเมตรก็น่าจะทำให้ฝนตกเข้ามาในแผ่นดินมากขึ้นกว่านี้ ถ้าจะมีใครคิดย้ายเมืองหลวงผมคงจะยกมือสนับสนุนให้หนึ่งเสียง
อีกหนึ่งลักษณะที่จะเกิด Adiabatic Cooling คือการยกตัวเมื่อคลื่นอากาศร้อนมาปะทะกับอากาศเย็น โดยจะเราจะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ :
แบบแรกคลื่นอากาศอุ่น (Warm Front) เคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่มีมวลอากาศเย็นกว่า โดยมวลอากาศเย็นจะยังคงตัวบริเวณพื้นดิน มวลอากาศอุ่นจะลอยตัวสูงขึ้น ซึ่งแนวของอากาศอุ่นจะมีความลาดชันน้อยกว่าแนวอากาศเย็น ซึ่งจากปรากฏการณ์แนวปะทะมวลอากาศอุ่นดังกล่าวนี้ลักษณะอากาศจะอยู่ในสภาวะทรงตัว แต่ถ้าลักษณะของมวลอากาศอุ่นมีการลอยตัวขึ้นในแนวดิ่ง (มีความลาดชันมาก) จะก่อให้เกิดฝนตกหนักและพายุฝนฟ้าคะนอง สังเกตได้จากการเกิดเมฆฝนเมฆนิมโบสเตรตัส หรือการเกิดฝนซู่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฝนไล่ช้าง และหากยกตัวขึ้นไปสูงมากจนเมฆเจออากาศเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง ตกลงมาเป็นลูกเห็บ มักจะเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูร้อนต้นฤดูฝน
แบบที่สองคลื่นอากาศเย็น (Cold Front) เคลื่อนตัวลงมายังบริเวณที่มีละติจูดต่ำ มวลอากาศเย็นจะหนัก จึงมีการเคลื่อนตัวติดกับผิวดิน และจะดันให้มวลอากาศอุ่นที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ลอยตัวขึ้นตามความลาดเอียง ซึ่งมีความลาดชันมาก ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวตามแนวปะทะอากาศเย็นจะมีสภาพอากาศแปรปรวนมาก มวลอากาศร้อนถูกดันให้ลอยตัวยกสูงขึ้น เป็นลักษณะการก่อตัวของเมฆ คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ท้องฟ้าจะมืดครึม เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง เราเรียกบริเวณดังกล่าวว่า “แนวพายุฝน” (Squall Line) จึงมักจะทำให้ฝนตกในปริมาณมากกว่าแบบ warm front ปรากฏการณ์ลักษณะนี้มักจะพบในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว
2. Conductive cooling เกิดขึ้นเมื่ออากาศสัมผัสกับผิวโลกที่เย็นกว่า มักจะเกิดขึ้นเมื่อเมฆถูกลมพัดจากผิวน้ำเข้ามาในแผ่นดินที่เย็นกว่า โดยเฉพาะในตอนกลางคืน การเย็นตัวในลักษณะนี้จะชัดเจนในตอนเหนือมากกว่า เราจึงมักพบปรากฎการณ์ฝนตกในตอนกลางคืนในประเทศที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรบ่อยกว่า
3. Radiational cooling เกิดขึ้นเมื่อมีการแผ่รังสีความร้อน (รังสีอินฟราเรด) จากเมฆในอากาศ มักจะเกิดขึ้นในตอนกลางคืน
4. Evaporative cooling เกิดขึ้นเมื่อความชื้นในเมฆถูกเพิ่มขึ้นจากการระเหยทำให้อากาศเย็นตัวลง หรือมีความื้นสูงมากจนเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ
ฝนเทียม
การทำฝนเทียม คือ กรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน เป็นกรรมวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆโดยการโปรยสารเคมีที่ทำให้เมฆเย็นลง เร่งให้เกิดการควบแน่นการเป็นฝน สารเคมีที่มักจะใช้ได้แก่ silver iodide, potassium iodide, liquid propane, น้ำแข็งแห้ง(CO2) หรือเกลือ(NaCl)
อีกปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้เกิดฝนคืออิออนลบ ซึ่งในสภาวะปกติอิออนลบจะเกิดจากแบคทีเรียซึ่งอยู่ร่วมกับต้นไม้อยู่แล้ว ( http://activeremedy.org.uk/pages/files/other/Ice_nucleation_active_bacteria.pdf ) โดยแบคทีเรียตามต้นไม้จะทำให้ฝุ่นในอากาศรอบๆ ต้นไม้กลายเป็นประจุลบ เมื่อลมพัดพาฝุ่นจากบริเวณผิวดินตามอากาศร้อนขึ้นไปหาก้อนเมฆก็จะเร่งให้เกิดการจับตัวของไอน้ำได้มากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะควบแน่นกลายเป็นฝนมากขึ้น ดังนั้นเมฆฝนซึ่งลอยตัวอยู่เหนือบริเวณที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นมากจึงมีโอกาสที่จะมีฝนตกมากกว่าบริเวณที่มีต้นไม้น้อยกว่า เหมือนที่ปู่ฟูเคยบอกไว้ว่า "คนมักจะพูดว่าไม่ค่อยมีต้นไม้แถบนี้เพราะไม่ค่อยมีฝน แต่ความจริงแล้วการไม่มีต้นไม้มากพอต่างหากที่ทำให้ไม่ค่อยมีฝน"
หลังจากที่มนุษย์ค้นพบความจริงเรื่องนี้เจ้าชายของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลให้นักวิทยาศาสตร์ทำโครงการลับ สร้างหอคอยผลิตอิออนขนาดมหึมาเพื่อจะสามารถบังคับให้เมฆตกลงมาเป็นฝนได้ ต่อมาความลับนี้ถูกเปิดเผย จีน และรัสเซียก็พากันสร้างเทคโนโลยีเดียวกันในการทำฝนเทียมด้วยประจุไฟฟ้า โดยแนวคิดนี้มีการประยุกต์ใช้ 2 แบบคือในบริเวณที่พอจะมีต้นไม้อยู่บ้างแล้ว ก็จะมีการสร้างหอคอยเหล่านี้เสริมเข้าไป เพื่อเพิ่มปริมาณอิออนลบให้มีฝนตกมากยิ่งขึ้น
ในแบบที่ 2 คือพื้นที่ที่มีต้นไม้น้อยมาก อย่างเช่นในบริเวณทะเลทรายก็จะต้องสร้างหอคอยแบบนี้อย่างน้อย 5 -10 หอคอยในการเร่งให้ฝนตกถ้ามีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 30 %
ฝนตกเป็นเพียงหนึ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลงในวัฏจักรน้ำ สนใจอ่านรายละเอียดเรื่องกระบวนการอื่นๆ ในวัฏจักรน้ำได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/2013/11/WaterCycle.html
"กบเอย ทำไมจึงร้อง ? จำเป็นต้องร้อง เพราะว่าท้องมันปวด"
"ท้องเอย ทำไมจึงปวด ? จำเป็นต้องปวด เพราะว่ากินข้าวดิบ"
"ข้าวเอย ทำไมจึงดิบ ? จำเป็นต้องดิบ เพราะว่าไฟมันดับ"
"ไฟเอย ทำไมจึงดับ ? จำเป็นต้องดับ เพราะว่าฟืนมันเปียก"
"ฟืนเอย ทำไมจึงเปียก ? จำเป็นต้องเปียก เพราะว่าฝนมันตก"
"ฝนเอย ทำไมจึงตก ? ....."
เราคงจะจำเพลงสมัยเรียนประถมเพลงนี้ได้ แต่แน่นอนว่าจริงๆ แล้วฝนไม่ได้ตกเพราะกบมันร้อง...เหมือนในเพลง แต่ฝนเกิดจากไอน้ำในอากาศ ซึ่งไอน้ำเหล่านี้อาจจะระเหยจากความร้อน ระเหยจากลมพัด หรือเป็นไอน้ำจากขบวนการหายใจของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งการคายน้ำจากพืช ซึ่งไอน้ำในอากาศมักจะถูกวัดเป็นความชื้นสัมบูรณ์ (Absolute Humidity) คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศกับปริมาตรของอากาศนั้นหน่วยวัดความชื้นสัมบูรณ์คือ g/m^3 (กรัมต่อลบ.ม.) หรือ อาจจะวัดเป็น ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) คือ ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลของไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน พูดง่ายๆ ก็คือเปอร์เซ็นต์ความหนาแน่นของไอน้ำก่อนที่จะถึงจุดควบแน่นเป็นหยดน้ำ
โดยบริเวณที่มีไอน้ำมีอยู่ในอากาศมากจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ซึ่งปกติอากาศจะมีความสามารถในการจุไอน้ำก่อนจะอิ่มตัวและควบแน่นเป็นหยดน้ำแตกต่างกันตามอุณหภูมิของอากาศ โดยอากาศที่ร้อนกว่าจะสามารถจุไอน้ำได้มากกว่าอากาศเย็น ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เมฆควบแน่นเป็นหยดน้ำฝนคือการทำให้เมฆเย็นลง ความสามารถในการจุไอน้ำก็ลดลง ทำให้ไอน้ำมีความหนาแน่นมากพอที่จะควบแน่นเป็นหยดน้ำฝน
ขบวนการที่จะทำให้เมฆเย็นลงจนถึงจุดควบแน่นแบ่งออกเป็น 4 วิธีคือ adiabatic cooling, conductive cooling, radiational cooling, และ evaporative cooling
1. Adiabatic Cooling เกิดขึ้นเมื่ออากาศยกตัวสูงขึ้น และขยายตัว โดยการยกตัวของเมฆอาจจะเกิดจากการพาความร้อน (convection) ซึ่งจะทำให้อากาศที่ร้อนกว่าลอยตัวสูงขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งอากาศที่ด้านบนจะอุ่นกว่าอากาศบริเวณพื้นดิน ฝนที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้จะมักจะตกไม่นาน และตกในพื้นที่เล็กๆ มักจะพบได้บ่อยในเขตร้อนอย่างประเทศไทย
อีกสาเหตุหนึ่งคือการยกตัวของอากาศอย่างรุนแรงอย่างในพายุไซโคลน แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้นในประเทศไทยบ่อยนัก
และอีกสาเหตุหนึ่งคือการยกตัวเมื่อเมฆลอยไปปะทะกับสิ่งขีดขวางขนาดใหญ่อย่างภูเขา ทำให้เกิดการยกตัวของเมฆ (orographic lift) ขึ้นสูงทำให้เมฆเย็นตัวลงจึงกลั่นเป็นฝน ฝนในลักษณะนี้มักจะพบในแนวเขาขวางลมมรสุมที่พัดผ่านทะเลมา เช่น แถบทะลฝั่งตะวันตกอย่างจังหวัดพังงา ระนอง หรือ ทะเลฝั่งตะวันออกอย่างจันทบุรี ตราด เป็นต้น ซึ่งฝนในลักษณะนี้มักจะตกหนักและตกนาน ส่วนพื้นที่หลังเขาไม่ต้องพูดถึง จะกลายเป็นเขต "เงาฝน" เนื่องเมฆที่พัดผ่านส่วนใหญ่จะตกเป็นฝนไปที่ด้านหน้าของภูเขาแล้ว (ยกเว้นเมฆอยู่ในระดับสูงกว่าภูเขามากๆ จะลอยข้ามมาได้)
อีกปรากฎการณ์หนึ่งที่เรามักจะพบในปัจจุบันคือ Urban Heat Island ซึ่งเกิดจากการพัฒนาเมืองที่ผิดธรรมชาติไปอย่างมาก ทำให้มีต้นไม้น้อยลง และปรับเปลี่ยนมาเป็นวัสดุที่มีมักจะแผ่รังสีความร้อนออกมาได้มากกว่าต้นไม้ เช่น คอนกรีต ถนน กระจก เป็นต้น รวมทั้งการใช้แอร์กันอย่างกว้างขวางโดยการนำเอาความร้อนภายในอาคารมาปล่อยที่ด้านนอก และการใช้พลังต่างๆ ทั้งในเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ทำให้อากาศในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่รอบนอกของเมือง
ปรากฎการณ์ Urban Heat Island ทำให้เกิดการยกตัวของอากาศร้อนในกลางเมือง เมื่อเมฆเคลื่อนตัวผ่านเมืองก็จะถูกแรงยกให้ขึ้นสูงขึ้น ทำให้อุณหภูมิของเมฆเย็นลงและตกมาเป็นฝน ลักษณะของฝนแบบนี้มักจะโดนยกตัวจากความร้อนสูงในช่วงบ่ายๆ และมักจะตกเป็นฝนในช่วงเลิกงาน ซึ่งฝนลักษณะนี้มีส่วนทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งในประเทศไทย เนื่องจากถ้าไม่มีปรากฎการณ์นี้เมฆจะเคลื่อนตัวเข้ามาในแผ่นดินลึกมากขึ้นโดยไม่ตกเป็นฝนในกรุงเทพฯ ก่อน ส่วนฝนที่ตกในกรุงเทพฯ กลับไม่ค่อยได้ถูกใช้งานเนื่องจากแทบไม่มีพื้นที่เกษตรกรรมเหลือแล้ว และฝนที่ตกในกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลมาก และไม่มีพื้นดินจะให้น้ำซึมลงใต้ดินเท่าไหร่ (เราห่มดินด้วยคอนกรีต และยางมะตอยหมดแล้ว) น้ำก็จะไหลเป็นน้ำ Run off ลงแม่น้ำไปสู่ทะเลแทบทั้งหมด (อ่านเพิ่มเติมใน "น้ำฝนหายไปไหน?" และใน "ต้นไม้สายฝน") น้ำฝนจึงไม่ได้ผ่านพื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ ให้สามารถใช้ประโยชน์หรือจัดเก็บน้ำจากฝนที่ตกซักเท่าไหร่ ผมคิดเล่นๆ ว่าถ้าเราสามารถย้ายเมืองหลวงขึ้นไปทางเหนือขึ้นมาสัก 300-500 กิโลเมตรก็น่าจะทำให้ฝนตกเข้ามาในแผ่นดินมากขึ้นกว่านี้ ถ้าจะมีใครคิดย้ายเมืองหลวงผมคงจะยกมือสนับสนุนให้หนึ่งเสียง
อีกหนึ่งลักษณะที่จะเกิด Adiabatic Cooling คือการยกตัวเมื่อคลื่นอากาศร้อนมาปะทะกับอากาศเย็น โดยจะเราจะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ :
แบบแรกคลื่นอากาศอุ่น (Warm Front) เคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่มีมวลอากาศเย็นกว่า โดยมวลอากาศเย็นจะยังคงตัวบริเวณพื้นดิน มวลอากาศอุ่นจะลอยตัวสูงขึ้น ซึ่งแนวของอากาศอุ่นจะมีความลาดชันน้อยกว่าแนวอากาศเย็น ซึ่งจากปรากฏการณ์แนวปะทะมวลอากาศอุ่นดังกล่าวนี้ลักษณะอากาศจะอยู่ในสภาวะทรงตัว แต่ถ้าลักษณะของมวลอากาศอุ่นมีการลอยตัวขึ้นในแนวดิ่ง (มีความลาดชันมาก) จะก่อให้เกิดฝนตกหนักและพายุฝนฟ้าคะนอง สังเกตได้จากการเกิดเมฆฝนเมฆนิมโบสเตรตัส หรือการเกิดฝนซู่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฝนไล่ช้าง และหากยกตัวขึ้นไปสูงมากจนเมฆเจออากาศเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง ตกลงมาเป็นลูกเห็บ มักจะเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูร้อนต้นฤดูฝน
แบบที่สองคลื่นอากาศเย็น (Cold Front) เคลื่อนตัวลงมายังบริเวณที่มีละติจูดต่ำ มวลอากาศเย็นจะหนัก จึงมีการเคลื่อนตัวติดกับผิวดิน และจะดันให้มวลอากาศอุ่นที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ลอยตัวขึ้นตามความลาดเอียง ซึ่งมีความลาดชันมาก ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวตามแนวปะทะอากาศเย็นจะมีสภาพอากาศแปรปรวนมาก มวลอากาศร้อนถูกดันให้ลอยตัวยกสูงขึ้น เป็นลักษณะการก่อตัวของเมฆ คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ท้องฟ้าจะมืดครึม เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง เราเรียกบริเวณดังกล่าวว่า “แนวพายุฝน” (Squall Line) จึงมักจะทำให้ฝนตกในปริมาณมากกว่าแบบ warm front ปรากฏการณ์ลักษณะนี้มักจะพบในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว
2. Conductive cooling เกิดขึ้นเมื่ออากาศสัมผัสกับผิวโลกที่เย็นกว่า มักจะเกิดขึ้นเมื่อเมฆถูกลมพัดจากผิวน้ำเข้ามาในแผ่นดินที่เย็นกว่า โดยเฉพาะในตอนกลางคืน การเย็นตัวในลักษณะนี้จะชัดเจนในตอนเหนือมากกว่า เราจึงมักพบปรากฎการณ์ฝนตกในตอนกลางคืนในประเทศที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรบ่อยกว่า
3. Radiational cooling เกิดขึ้นเมื่อมีการแผ่รังสีความร้อน (รังสีอินฟราเรด) จากเมฆในอากาศ มักจะเกิดขึ้นในตอนกลางคืน
4. Evaporative cooling เกิดขึ้นเมื่อความชื้นในเมฆถูกเพิ่มขึ้นจากการระเหยทำให้อากาศเย็นตัวลง หรือมีความื้นสูงมากจนเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ
ฝนเทียม
การทำฝนเทียม คือ กรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน เป็นกรรมวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆโดยการโปรยสารเคมีที่ทำให้เมฆเย็นลง เร่งให้เกิดการควบแน่นการเป็นฝน สารเคมีที่มักจะใช้ได้แก่ silver iodide, potassium iodide, liquid propane, น้ำแข็งแห้ง(CO2) หรือเกลือ(NaCl)
อีกปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้เกิดฝนคืออิออนลบ ซึ่งในสภาวะปกติอิออนลบจะเกิดจากแบคทีเรียซึ่งอยู่ร่วมกับต้นไม้อยู่แล้ว ( http://activeremedy.org.uk/pages/files/other/Ice_nucleation_active_bacteria.pdf ) โดยแบคทีเรียตามต้นไม้จะทำให้ฝุ่นในอากาศรอบๆ ต้นไม้กลายเป็นประจุลบ เมื่อลมพัดพาฝุ่นจากบริเวณผิวดินตามอากาศร้อนขึ้นไปหาก้อนเมฆก็จะเร่งให้เกิดการจับตัวของไอน้ำได้มากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะควบแน่นกลายเป็นฝนมากขึ้น ดังนั้นเมฆฝนซึ่งลอยตัวอยู่เหนือบริเวณที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นมากจึงมีโอกาสที่จะมีฝนตกมากกว่าบริเวณที่มีต้นไม้น้อยกว่า เหมือนที่ปู่ฟูเคยบอกไว้ว่า "คนมักจะพูดว่าไม่ค่อยมีต้นไม้แถบนี้เพราะไม่ค่อยมีฝน แต่ความจริงแล้วการไม่มีต้นไม้มากพอต่างหากที่ทำให้ไม่ค่อยมีฝน"
หลังจากที่มนุษย์ค้นพบความจริงเรื่องนี้เจ้าชายของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลให้นักวิทยาศาสตร์ทำโครงการลับ สร้างหอคอยผลิตอิออนขนาดมหึมาเพื่อจะสามารถบังคับให้เมฆตกลงมาเป็นฝนได้ ต่อมาความลับนี้ถูกเปิดเผย จีน และรัสเซียก็พากันสร้างเทคโนโลยีเดียวกันในการทำฝนเทียมด้วยประจุไฟฟ้า โดยแนวคิดนี้มีการประยุกต์ใช้ 2 แบบคือในบริเวณที่พอจะมีต้นไม้อยู่บ้างแล้ว ก็จะมีการสร้างหอคอยเหล่านี้เสริมเข้าไป เพื่อเพิ่มปริมาณอิออนลบให้มีฝนตกมากยิ่งขึ้น
ในแบบที่ 2 คือพื้นที่ที่มีต้นไม้น้อยมาก อย่างเช่นในบริเวณทะเลทรายก็จะต้องสร้างหอคอยแบบนี้อย่างน้อย 5 -10 หอคอยในการเร่งให้ฝนตกถ้ามีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 30 %
ฝนตกเป็นเพียงหนึ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลงในวัฏจักรน้ำ สนใจอ่านรายละเอียดเรื่องกระบวนการอื่นๆ ในวัฏจักรน้ำได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/2013/11/WaterCycle.html
1 สิงหาคม 2557
วัฏจักรของหิน ( Rock Cycle )
วัฏจักรของหิน เป็นแนวคิดพื้นฐานในธรณีวิทยาที่อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของหินหลัก 3 ชนิด คือ หินอัคนี, หินตะกอน และหินแปร ตามภาพด้านล่างหินแต่ละชนิดจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือทำลายเมื่อถูกแรงกระทำให้ออกจากสภาวะสมดุล หินอัคนีอย่างหินบะซอลต์อาจจะผุพังและถูกละลายเมื่อสัมผัสกับอากาศ หรือหลอมละลายเมื่อถูกดันลงไปใต้ดิน ดังนั้นหินทั้งสามชนิดนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาทางธรณีกาล อาจมีการเปลี่ยนจากหินชนิดหนึ่งไปเป็นหินอีกชนิดหนึ่ง หรืออาจเปลี่ยนกลับไปเป็นหินชนิดเดิมก็ได้ ขึ้นกับอุณหภูมิและความดันที่เป็นปัจจัยทำให้หินเกิดการผุพัง การกัดกร่อนและการแปรสภาพกลายเป็นหินชนิดใหม่ขึ้นมา
ประวัติการเรียนรู้วัฏจักรของหิน
ต้นกำเนิดของแนวคิดวัฏจักรหินเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 โดย เจสส์ ฮัตตัน บิดาแห่งธรณีวิทยา วัฎจักรของหินนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดหลักแห่งความเป็นเอกภาพ (Uniformitarianism) และจากความคิดของเขาที่ว่า “no vestige of a beginning, and no prospect of an end” ที่นำมาประยุกต์ใช้ในวัฏจักรของหินร่วมกับกระบวนการทางธรณีวิทยา เมื่อมีทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน ในช่วงศตวรรษที่ 1960 จึงมีการพัฒนาเป็น Wilson cycle โดย J. Tuzo Wilson ที่นำเอาทฤษฎีแปรสัณฐานมาใช้ร่วมด้วย
เมื่อหินได้จมตัวลงสู่ใต้ผิวโลกจะเกิดการหลอมละลายกลายเป็นหินหนืด เมื่อปัจจัยสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปเกิดการเย็นตัวของระบบ หินหนืดจะเกิดการเย็นตัวอย่างช้า ๆ กลายเป็นหินอัคนีบาดาล ได้เนื้อหินเป็นผลึกหยาบ หรือถ้าหากหินหนืดมีการแทรกดันออกมานอกผิวโลก (หินหนืดที่ปะทุออกมานอกผิวโลกว่า ลาวา) จะเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็วเกิดเป็นหินอัคนีพุ เนื้อหินที่ได้จะมีผลึกที่ละเอียด หรือในบางครั้งหากมีการเย็นตัวอย่างรวดเร็วมากจะได้เนื้อหินเป็นเนื้อแก้ว เช่น หินออบซิเดียน หินทุกชนิดทั้งหินอัคนี หินตะกอน และหินแปรสามารถหลอมละลายกลายเป็นหินหนืดและกลายเป็นหินอัคนีได้ทั้งสิ้น
A = โพรงแมกม่า (batholith); B = พนังหินอัคนี(dyke/dike); C = หินอัคนีรูปเห็ด(laccolith); D = หินเพกมาไทต์(pegmatite) เป็นหินอัคนีแทรกซอนมักปรากฏอยู่เป็นสายแร่; E = พนังแทรกชั้น(sill); F = กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (stratovolcano);
ขบวนการหลอมละลาย: 1 = ความร้อนจากหินหนืดหลอมละลายเปลือกโลกที่ถูกดันลงใต้ผิวดิน; 2 = หินชั้นซึ่งเกิดจากหินที่ถูกดันลงไปในหินหลอมละลายแต่ยังไม่ถูกละลาย(roof pendant) เมื่อเย็นตัวลงจะเป็นหินที่มีลักษณะไม่เหมือนหินอัคนีที่อยู่รอบๆ บางครั้งเรียกว่า หินแปลกปลอม(xenolith); 3 = หินแปรที่เกิดจากสภาพสัมผัสของหินหลอมละลายกับเปลือกโลก; 4 = เมื่อมีแรงดันมากพอก็หินหลอมละลายก็จะถูกดันออกทางปากปล่องภูเขาไฟ
การเปลี่ยนแปลงเป็นหินตะกอน
เนื่องจากหินที่มีการโผล่ขึ้นมาบนผิวโลกจะมีความเสถียรลดลง จึงเกิดการผุพังและกัดกร่อนของหินได้ง่ายด้วยกระบวนการจากลมฟ้าอากาศ สารละลาย การกระทำของต้นไม้ รวมไปถึงแบคทีเรีย กระบวนการผุพังและกัดกร่อนจะทำให้หินดั้งเดิมแตกหักจนกลายเป็นตะกอนและสามารถพัดพาไปยังที่ต่าง ๆ โดยลม น้ำ หรือธารน้ำแข็ง เมื่อเกิดการสะสมเป็นจำนวนมากในบริเวณหนึ่ง ๆ และเกิดการทับถมกลายเป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด แต่ถ้าเกิดจากการระเหยของแร่จะเรียกว่าหินตะกอนเคมี เช่น หินปูน หินเชิร์ต ถ้าตะกอนเหล่านั้นเกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตจะเรียกว่าหินตะกอนอินทรีย์
ประวัติการเรียนรู้วัฏจักรของหิน
ต้นกำเนิดของแนวคิดวัฏจักรหินเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 โดย เจสส์ ฮัตตัน บิดาแห่งธรณีวิทยา วัฎจักรของหินนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดหลักแห่งความเป็นเอกภาพ (Uniformitarianism) และจากความคิดของเขาที่ว่า “no vestige of a beginning, and no prospect of an end” ที่นำมาประยุกต์ใช้ในวัฏจักรของหินร่วมกับกระบวนการทางธรณีวิทยา เมื่อมีทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน ในช่วงศตวรรษที่ 1960 จึงมีการพัฒนาเป็น Wilson cycle โดย J. Tuzo Wilson ที่นำเอาทฤษฎีแปรสัณฐานมาใช้ร่วมด้วย
วัฎจักรของหิน
การเปลี่ยนแปลงเป็นหินอัคนีเมื่อหินได้จมตัวลงสู่ใต้ผิวโลกจะเกิดการหลอมละลายกลายเป็นหินหนืด เมื่อปัจจัยสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปเกิดการเย็นตัวของระบบ หินหนืดจะเกิดการเย็นตัวอย่างช้า ๆ กลายเป็นหินอัคนีบาดาล ได้เนื้อหินเป็นผลึกหยาบ หรือถ้าหากหินหนืดมีการแทรกดันออกมานอกผิวโลก (หินหนืดที่ปะทุออกมานอกผิวโลกว่า ลาวา) จะเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็วเกิดเป็นหินอัคนีพุ เนื้อหินที่ได้จะมีผลึกที่ละเอียด หรือในบางครั้งหากมีการเย็นตัวอย่างรวดเร็วมากจะได้เนื้อหินเป็นเนื้อแก้ว เช่น หินออบซิเดียน หินทุกชนิดทั้งหินอัคนี หินตะกอน และหินแปรสามารถหลอมละลายกลายเป็นหินหนืดและกลายเป็นหินอัคนีได้ทั้งสิ้น
A = โพรงแมกม่า (batholith); B = พนังหินอัคนี(dyke/dike); C = หินอัคนีรูปเห็ด(laccolith); D = หินเพกมาไทต์(pegmatite) เป็นหินอัคนีแทรกซอนมักปรากฏอยู่เป็นสายแร่; E = พนังแทรกชั้น(sill); F = กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (stratovolcano);
ขบวนการหลอมละลาย: 1 = ความร้อนจากหินหนืดหลอมละลายเปลือกโลกที่ถูกดันลงใต้ผิวดิน; 2 = หินชั้นซึ่งเกิดจากหินที่ถูกดันลงไปในหินหลอมละลายแต่ยังไม่ถูกละลาย(roof pendant) เมื่อเย็นตัวลงจะเป็นหินที่มีลักษณะไม่เหมือนหินอัคนีที่อยู่รอบๆ บางครั้งเรียกว่า หินแปลกปลอม(xenolith); 3 = หินแปรที่เกิดจากสภาพสัมผัสของหินหลอมละลายกับเปลือกโลก; 4 = เมื่อมีแรงดันมากพอก็หินหลอมละลายก็จะถูกดันออกทางปากปล่องภูเขาไฟ
การเปลี่ยนแปลงเป็นหินตะกอน
เนื่องจากหินที่มีการโผล่ขึ้นมาบนผิวโลกจะมีความเสถียรลดลง จึงเกิดการผุพังและกัดกร่อนของหินได้ง่ายด้วยกระบวนการจากลมฟ้าอากาศ สารละลาย การกระทำของต้นไม้ รวมไปถึงแบคทีเรีย กระบวนการผุพังและกัดกร่อนจะทำให้หินดั้งเดิมแตกหักจนกลายเป็นตะกอนและสามารถพัดพาไปยังที่ต่าง ๆ โดยลม น้ำ หรือธารน้ำแข็ง เมื่อเกิดการสะสมเป็นจำนวนมากในบริเวณหนึ่ง ๆ และเกิดการทับถมกลายเป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด แต่ถ้าเกิดจากการระเหยของแร่จะเรียกว่าหินตะกอนเคมี เช่น หินปูน หินเชิร์ต ถ้าตะกอนเหล่านั้นเกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตจะเรียกว่าหินตะกอนอินทรีย์
13 กรกฎาคม 2557
วิธีการทำเตาชีวมวลแบบ Gasifier Stove
ข้อมูลขั้นตอนการทำเตาชีวมวลแบบ Gasifier Stove มีหลายตัวอย่าง ขออนุญาตรวบรวมมาให้อ่านกัน :
1. ตัวอย่างจาก www.wisdomking.or.th/วิชาของแผ่นดิน/องค์ความรู้-ปีงบประมาณ-๒๕๕๕/162-เตาแก๊สชีวมวล.html ซึ่งเป็น Gasifier Stove ที่ทำจากถังโลหะ
2. ตัวอย่างการทำจาก www.surdi.su.ac.th/paper_public/Stove.pdf
3. ตัวอย่างการทำจาก www.tacdev.org/documents/หลักสูตรการสร้างเตาชีวมวล.pdf
4. ตัวอย่างการทำจาก www.surdi.su.ac.th/paper_public/Stove.pdf
5. ตัวอย่างการทำจาก www.surdi.su.ac.th/paper_public/Stove.pdf
1. ตัวอย่างจาก www.wisdomking.or.th/วิชาของแผ่นดิน/องค์ความรู้-ปีงบประมาณ-๒๕๕๕/162-เตาแก๊สชีวมวล.html ซึ่งเป็น Gasifier Stove ที่ทำจากถังโลหะ
2. ตัวอย่างการทำจาก www.surdi.su.ac.th/paper_public/Stove.pdf
3. ตัวอย่างการทำจาก www.tacdev.org/documents/หลักสูตรการสร้างเตาชีวมวล.pdf
4. ตัวอย่างการทำจาก www.surdi.su.ac.th/paper_public/Stove.pdf
5. ตัวอย่างการทำจาก www.surdi.su.ac.th/paper_public/Stove.pdf
5 กรกฎาคม 2557
รายชื่อพืชมีพิษ
คิดอยู่หลายรอบว่าจะเขียนบล็อกนี้ดีหรือไม่ เนื่องจากความรู้เรื่องพิษเป็นดาบ 2 คม แต่คุณพ่อของผมเคยเจอกรณีเด็กเข้ารับการรักษาเนื่องจากทานมันสำปะหลังดิบในขณะที่พ่อแม่ปล่อยเด็กอยู่ตามลำพัง เท่าที่ฟังจากคุณพ่อถ้าผู้ปกครองของเด็กไม่ช่วยให้ข้อมูลเรื่องพืชที่เป็นพิษให้กับแพทย์ และบังเอิญแพทย์ก็ไม่มีประสบการณ์พอเพียงที่จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง ก็มีโอกาสสูงที่เด็กอาจจะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที และอาจเสียชีวิตได้ เพราะเด็กหลายคนที่มารักษายังเด็กมาก ยังพูดไม่ได้ เลยไม่สามารถให้ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยผู้ปกครองที่ต้องสังเกตุสภาพแวดล้อมเพื่อมาบอกข้อมูลให้กับแพทย์)
ดังนั้นจึงคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจะรู้ว่าพืชอะไรที่อยู่ในบ้านของเราเป็นพิษบ้าง ในกรณีที่เด็ก หรือสัตว์เลี้ยงบริโภคเข้าไปจะได้รีบแจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบเป็น ข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะหมายถึงโอกาสที่จะรอดชีวิตของคนไข้เลยทีเดียว
พืชหลายๆ ชนิดในตารางข้างล่างใช้เป็นยาฆ่าแมลงในเกษตรอินทรีย์ และหลายอย่างก็ใช้เป็นพืชสมุนไพรเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หลายอย่างเราก็บริโภคเป็นอาหารถ้ามีการเตรียมอย่างเหมาะสม (เช่น การล้างเพื่อเจือจางสารพิษ การปรุงด้วยความร้อนที่เพียงพอที่สารพิษจะสลายตัว)
ต้องขอขอบคุณข้อมูลหลายๆ อย่างจาก http://webdb.dmsc.moph.go.th และ http://www.rspg.or.th ครับ ต่อไปนี้เป็นรายการพืชที่มีพิษบางส่วน โดยจะเน้นเรื่องพืชที่มีพิษกับคน เพราะหลายๆ อย่างก็อาจจะไม่มีพิษกับสัตว์ (เช่น หมูสามารถกินมันสำปะหลังสดทั้งหัวได้โดยไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเด็กที่มีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม รับประทานหัวมันสดเพียง 20-40 กรัม ก็อาจทำให้ตายได้)
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | วงศ์ | ส่วนที่เป็นพิษ / อาการ |
เห็ดพันธุ์อะมานิตา มัสคาเรีย | Amanita muscaria | Amanitaceae | สารเป็นพิษที่สำคัญในเห็ดชนิดนี้คือ มัสคารีน(muscarine) เมื่อรับประทานเข้าไป 15-30 นาที จะมีอาการตัวร้อน ใจสั่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดขยาย มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเห็นภาพม่านตาหรี่ เหงื่อ น้ำลายและน้ำตาถูกขับออกมามาก ปวดบริเวณช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจขัดและถึงตายในที่สุด |
เห็ดพันธุ์อะมานิตา ฟัลลอยเดส | Amanita phalloides | Amanitaceae | มีสารเป็นพิษฟัลโลท็อกซิน(phollotoxin)ซึ่งมีพิษต่อตับ และสารเป็นพิษอะมาโตท็อกซิน(amatotoxin) อาการเป็นพิษจะเห็นชัดภายใน 6-12 ชั่วโมง อย่างช้าไม่เกิน 24 ชั่วโมง จะมีอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างแรง ท้องเดิน เป็นตะคริว ความดันเลือดต่ำ ตับบวม และถึงแก่ความตายในที่สุด หากรับประทานจำนวนมาก คนไข้จะตายภายใน 2-3 วัน |
ว่านแสงอาทิตย์ | Haemanthus multiflorus | Amaryllidaceae | หัวและใบทำให้ท้องเดิน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ |
ว่านสี่ทิศ | Hippeastrum johnsonii | Amaryllidaceae | หัวและใบทำให้อาเจียนและท้องเดินได้ |
พลับพลึงตีนเป็ด | Hymenocallis littoralis | Amaryllidaceae | หัว ใบ และราก รับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ท้องเดิน |
จุ๊ยเซียน | Narcissus tazetta | Amaryllidaceae | หัวของพืชนี้ ถ้ากินเข้าไปจะเกิดอาการชัก ท้องเดินและม่านตาขยายกว้าง |
ว่านเศรษฐี | Pancratium Zeylanica | Amaryllidaceae | หัวของพืชนี้เป็นพิษเช่นเดียวกับหัวจุ๊ยเซียน |
มะม่วงหิมพานต์ | Anacardium occidentale | Anacardiaceae | เมล็ด ถ้ากินดิบๆมักจะทำให้เกิดอาเจียนอย่างรุนแรง กลิ่นพร้อมสารระเหยจากการคั่วเมล็ด ทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบได้ |
รักบ้าน | Gluta renghas | Anacardiaceae | ขนตามใบแก่ที่ทำให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง |
รักใหญ่ | Gluta usitata | Anacardiaceae | ขนใบตามแก่ และน้ำยางจากต้น, ทำให้เกิดผื่นคัน และบวมผองตามผิวหนัง |
รักขาว | Holigarna longiflia | Anacardiaceae | ยางทำให้ผิวหนังพอง |
มะม่วง | Mangifera indica | Anacardiaceae | ยางทำให้ผิวเป็นตุ่มพอง |
ฮักไก่ | Rhus succedania | Anacardiaceae | ยางจากใบ เปลือก และผลเป็นพิษ |
น้อยหน่า | Annona squamosa | Annonaceae | เมล็ดบดเป็นผง แล้วกินมักจะทำให้แท้งลูก และทำลายกระจกตา อาจทำให้ตาบอดได้ รากเป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง ทั้งเมล็ดและใบที่บดเป็นผงใช้เป็นยาฆ่าแมลง |
ชวนชม | Adenium obesem | Apocynaceae | ผงไม้หรือน้ำเลี้ยงจากกิ่งและลำต้น ถ้ากินเข้าไปจะทำให้เป็นตระคริว ปัสสาวะไม่ได้ และมีอาการชา กรรไกรแข็งหรือเป็นอัมพาต |
บานบุรีเหลือง | Allemanda cathartica | Apocynaceae | ทุกๆส่วนของพืชนี้ถ้ากินเล็กน้อยจะช่วยเป็นยาระบายและทำ ให้อาเจียน ถ้ากินมากเกินขนาดจะทำให้ท้องเดินและอาเจียนไม่หยุด ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ |
พังพวยฝรั่ง | Catharanthus roseus | Apocynaceae | ทุกส่วน ถ้ากินมากๆเป็นยาขับเลือดและทำให้แท้งได้ |
ตีนเป็ดทราย | Cerbera manghas | Apocynaceae | ถ้ากินใช้พอเหมาะจะเป็นยาสมุนไพร ถ้ากินมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผล จะทำให้ท้องร่วง อาเจียน ทำให้แท้งลูกและตายได้ |
ตีนเป็ดทะเล | Cerbera odoratum | Apocynaceae | เปลือกผลให้ทำท้องเดิน เนื้อผลทำให้ท้องเดินและอาเจียน อาจถึงตายได้ ต้นและใบทำให้ท้องเดินและอาเจียน |
แย้มปีนัง, บานบุรีสีม่วง | Cryptostegia grandiflora | Apocynaceae | เมล็ด มีสาร G-strophanthin หรือ ouabain เมื่อรับประทานเมล็ดหรือยางจากเปลือก จะอาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ มองเห็นไม่ชัด มึนงง ชีพจรเต้นช้าหรือไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตลด และตาย ชาวพื้นเมืองในแอฟริกาใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้ว ยิงสัตว์หรือคน |
ยี่โถ | Nerium indicum | Apocynaceae | ใบมีสาร cardiotonic glucosides เช่น neriin, oleandrin เป็นต้น ออกฤทธิ์คล้าย digitalis ถ้าดม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน หน้ามืด หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ถ้ากินเข้าไปจะถ่ายเป็นเลือด และหัวใจหยุดเต้น เมล็ดเปลือกและรากมีฤทธิ์กดการหายใจ |
ลั่นทมแดง | Plumneria rubra | Apocynaceae | ราก เป็นยาถ่ายอย่างแรง |
ระย่อม | Rauwolfia serpentina | Apocynaceae | ราก ถ้ากินมากเกินไปทำให้เคลิบเคลิ้มและบีบหัวใจ และอาจเสียชีวิตได้ |
บานทน | Stroephanthus gratus | Apocynaceae | ยางที่เปลือกทำให้สลบหรือตายได้ ชาวพื้นเมืองในแอฟริกาใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วใช้ยิงสัตว์หรือคน |
ยางน่องเถา | Strophanthus caudatus | Apocynaceae | ยางจากเปลือกทำให้สลบหรือตายได้ คนพื้นเมืองจะใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วใช้ยิงสัตว์หรือคน |
เครือน่อง, ยางน่องเครือ | Strophanthus scandens | Apocynaceae | ยางจากเปลือกทำให้สลบหรือตายได้ คนพื้นเมืองใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วใช้ยิงสัตว์หรือคนได้ |
รำเพย | Thevetia peruviana | Apocynaceae | น้ำยาง และเมล็ดมีสารพวก glycosides thevetin, thevetoxic ออกฤทธิ์คล้าย digitalis แต่ออกฤทธิ์ช้ากว่า เป็นยาถ่ายอย่างแรง ทำให้อาเจียนและอาจแท้งลูกได้ ส่วนเมล็ด ถ้ากินจำนวนมาจะทำให้เกิดอัมพาตหัวใจ อัมพาตสันหลัง และลำไส้บีบตัวอย่างแรง |
กระดาด, เผือกกะลา | Alocarsia indica | Araceae | ทั้งก้านใบและเหง้า ถ้าปรุงไม่ดีแล้วกินเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคันในปากและลิ้น ทำให้บวมได้ |
กระดาดดำ | Alocasia macrorrhizos | Araceae | ทั้งก้านใบและเหง้า ถ้าปรุงไม่ดี แล้วกินเข้าไปจะทำให้คันในปากและลิ้น |
บุกคางคก | Amopgophalius campanulatus | Araceae | เหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดี กินเข้าไปทำให้คันปากและลิ้นพอง |
บอนสี | Caladium bicolor | Araceae | ทั้งต้น มีผลึกรูปเข็มของ calcium oxalate และสารอื่นๆ เช่น sapotoxin ถ้ากินเข้าไปจะเกิดอาการไหม้ที่เพดานปาก ลิ้นและคอ กล่องเสียงอาจบวม การเปล่งเสียงจะผิดปกติ และมีอาการคัน อาจอาเจียนด้วย ถ้ายางเข้าตา ตาจะอักเสบระคายเคือง |
ว่านหมื่นปี | Dieffenbachia sequine | Araceae | ทั้งต้นและใบถ้ากินเข้าไปจะระคายเคืองรุนแรง ทั้งปากและลิ้นอาจบวมจนพูดหรือกินไม่ได้ |
โหรา | Homalomena aromatica | Araceae | เหง้า กินเข้าไปทำให้ประสาท หลอน; ใช้เป็นยาฆ่าแมลง |
พลูแฉก | Monstera deliciosa | Araceae | ยางจากต้น และต้น มีสาร calcium oxalate, lycorine alkaloids ถ้าเคี้ยวเข้าไปจะทำไห้ปาก ลิ้น เพดาน แสบและร้อนแดง เกิดอาการอาเจียน ท้องเสียเล็กน้อย เนื่องจากสารพิษไประคายเคือง mucosa และไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการอาเจียน |
ไฟเดือนห้า | Asclepias curassavica | Asclepiadaceae | ทุกส่วนมีสารพวกกลัยโคไสด์ ถ้ากินมากเกินไจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจถึงแก่ชีวิตได้ |
รัก | Calotropis gigantea | Asclepiadaceae | ยางจากทุกส่วนเป็นยาถ่ายอย่าง แรง และบีบหัวใจ เปลือกจากต้นและรากทำให้อาเจียน |
ตะบา | Hoya coronaria Blume | Asclepiadaceae | ยางจากทุกส่วนของพืชชนิดนี้ ถ้ากินเข้าไปจะทำให้อาเจียนอย่างแรง |
ข้าวสารดอกเล็ก | Raphistemma hooperianum | Asclepiadaceae | เมล็ด หากกินมากเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจถึงแก่ชีวิตได้ |
ข้าวสารดอกใหญ่ | Raphistemma pulchellum | Asclepiadaceae | เมล็ดมีสารพวกกลัยโคไสด์ ที่เผป็นพิษต่อหัวใจ |
เถาวัลย์ด้วน | Sarcostemma brunonianum | Asclepiadaceae | ลำต้นทำให้อาเจียนอย่างแรง |
สลิด, ขจร | Telosma minor | Asclepiadaceae | รากทำให้อาเจียน เถาหรือลำต้นมีสารพิษ |
ว่านหางจระเข้ | Aloe vera | Asphodelaceae | ยางสีเหลืองจากใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ท้องรุ่วง |
ทุเรียนผี | Neesia altissima | Bombacaceae | ขนแข็งภายในผลทำให้ผิวหนังพองเจ็บ และคันมาก |
ช้างไห้ | Neesia malayana | Bombacaceae | ขนแข็งภายในผลทำให้ผิวหนังพองเจ็บ และคันมาก |
หญ้างวงช้าง | Heliotropium indicum | Boraginaveae | ทุกส่วนของต้นมีสารพวก อินดิศีน ถ้ากินเข้าไปจะเข้าไปจะทำให้เกิดโรคตับอักเสบ ดอกและรากทำให้แท้งลูกได้ |
ราชาวดีป่า | Buddleja asiatica | Buddlejaceae | ทุกส่วนใช้เบื่อปลา และ ถ้าคนกินเข้าไปมากจะทำให้แท้งลูกได้ |
ช้องรำพัน | Buxus rolfei | Buxaceae | ผล ใช้เบื่อปลา |
ปีบฝรั่ง | Laurentia longiflora | Campanulaceae | น้ำเลี้ยงจากต้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและระคายเคืองต่อปากและคอ |
กัญชา | Canabis sativa | Cannabidaceae | ใบและช่อดอกและถ้าสูบหรือกิน ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน มีนเมาและอาเจียน |
กุ่มน้ำ | Crateva magna | Capparaceae | น้ำเลี้ยงหรือยางจากรากและยอดอ่อนระคายผิวหนัง |
ใบระบาด | Argyreia nervosa | Convolvulaceae | ใบ และเมล็ด มีสาร cyanogenic glycosides ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน |
ผักบุ้งทะเล | Ipomoea pes-caprae | Convolvulaceae | เมล็ด - ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง หวาดผวาคล้ายวิกลจริต |
เอื้องหมายนา | Costus speciosus | Verbenaceae | เหง้าสดมีพิษมาก ถ้าใช้ในปริมาณมาก จะทำให้ท้องร่วง อาเจียนอย่างรุนแรง |
ขี้กาแดง | Gymnopetalum integrifolium | Cucurbitaceae | ผลทำให้ท้องเดินอย่างรุนแรง เมล็ดเป็นยาเบื่อที่มีฤทธิ์รุนแรงมาก ทำให้เสียชีวิตได้ง่าย แต่ส่วนอื่นเป็นยาสมุนไพรที่มีประโยชน์ |
ฟักข้าว | Momordica cochinchinensis | Cucurbitaceae | เมล็ดดิบมีพิษเช่นเดียวกับขี้กาแดง ส่วนอื่นเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มาก |
กลอย | Dioscorea hispida | Dioscoreaceae | หัวที่ยังดิบอยู่มีพิษอาจบริโภคเข้าไปตายทันที แต่ถ้านำมาฝานบางๆแล้วแช่ในน้ำไหล 2-3วัน นำมาผึ่งให้แห้งแล้วนำไปนึ่งให้สุกผสมกับข้าวเหนียวใช้บริโภค ใบมีสารพิษเช่นเดียวกับหัว |
เม้าแดง | Lyonia ovalifolia | Ericaceae | ทุกส่วนกล่าวว่าเป็นพิษต่อคนและสัตว์ |
ตำแยแมว | Acalypha indica | Eupgorbiaceae | ขนตามใบทำให้ผิวหนังเป็นผื่นคัน |
ตำแยช้าง | Cnesmone javanica | Eupgorbiaceae | ขนตามเถาใบ ดอก และผล ทำให้ปวดและคันมาก |
สลัดไดป่า | Euphorbia antiquorum | Eupgorbiaceae | น้ำยางจากทุกส่วนที่ทำให้เกิดผื่นคันและเป็นแผลตามผิวหนัง |
น้ำนมราชสีห์ | Euphorbia hirta | Eupgorbiaceae | น้ำยางกัดผิวหนังทำให้เป็นผื่นและเป็นแผลได้ |
สลัดไดบ้าน | Euphorbia trigona | Eupgorbiaceae | น้ำยางกัดผิวหนังทำให้เป็นแผลและผื่นได้ |
ตาตุ่มทะเล | Excoecaria agallocha | Eupgorbiaceae | น้ำยางสีขาว ทำให้คัน ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ |
กำลังกระบือ | Excoecaria cochinchinenesis | Eupgorbiaceae | ยางจะทำให้ผิวหนังคันและเป็นแผล |
ตังตาบอด | Exococaria bantamensis | Eupgorbiaceae | ยางสีขาว ถ้าถูกผิวหนังทำให้เป็นผื่นคัน และเป็นแผล ถ้าเข้าตาจะทำให้ตาบอดได้ |
โพบาย, สลีนก | Sapium baccatum | Eupgorbiaceae | ยางสีขาวตามเปลือก ทำให้คันและเป็นแผลพองตามผิวหนัง |
ตาตุ่มบก, สะเก็ดแรด | Sapium insigne | Eupgorbiaceae | ยางสีขาวจากเปลือกและใบ ทำให้คันและเป็นแผลพอง ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ |
ตองแตก | Baliospermum montanum | Euphorbiaceae | เมล็ด ทำให้ท้องเดินอย่างแรง |
โป๊ยเซียน | Euphorbia milii | Euphorbiaceae | น้ำยาง มีสาร resin, diterpene ester ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังหรือเข้าตา ทำให้เกิดระคายเคือง แสบ บวม แดง ถ้ารับประทานจะทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ |
คริสต์มาส | Euphorbia pulcherrima | Euphorbiaceae | น้ำยางสีขาวจากใบ ต้นมีสาร resin สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่ม diterpene ester น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคืองมาก ผิวหนังเป็นปื้นแดง ต่อมาจะบวมพองเป็นตุ่มน้ำ ภายใน 2- 8 ชั่วโมง ถ้ารับประทานจะทำให้กระเพาะอักเสบ |
พญาไร้ใบ | Euphorbia tirucalli | Euphorbiaceae | น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม มีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์เป็นสารร่วมก่อมะเร็ง euphorbon, euphorone, resin, taraxasterol, tirucallol ถ้าถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่น อักเสบ บวมแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบแดง ถ้ารักษาไม่ถูกหรือทิ้งไว้ตาอาจบอดได้ ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ช่องปากจะบวม คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะปัสสาวะและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง อาจอุจจาระเป็นเลือด |
ตาตุ่มทะเล | Excoecaria agallocha | Euphorbiaceae | ยางจากต้น และสารจากต้น มีสาร oxocarol, agalocol, isoagalocol ellagic acid, gallicacid ยาง หรือควันไฟจากการเผาไหม้ตาตุ่มทะเลเข้าตา จะทำให้ตาเจ็บ ถ้ามากอาจทำให้ตาบอดได้ถ้าหอยปูไปเกาะไม้ตาตุ่ม เมื่อนำมารับประทานจะทำให้เกิดอาการพิษ ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียน |
สบู่ดำ | Jatropha curcas | Euphorbiaceae | น้ำยางและเมล็ด มีสารพิษ toxalbumin (curcin) และ phorbal ester หากน้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง บวมแดง แสบร้อนอย่างรุนแรง เมื่อบริโภคเมล็ดและน้ำมันในเมล็ดเข้าไประมาณ 30-60 นาทีจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด รายที่อาการรุนแรงจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อที่มือและเท้า หายใจเร็ว หอบ หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้ |
ปัตตาเวีย | Jatropha integerrima | Euphorbiaceae | ใบ - ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน |
ฝิ่นต้น | Jatropha multifida | Euphorbiaceae | น้ำยางมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการอักเสบระคายเคือง เมล็ดมีสาร curcin, jatrophin ซึ่งเป็นสารพิษพวก toxalbumin ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้กระเพาะอักเสบ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจมีอาการชา แขนขาอาจเป็นอัมพาต ได้ถึง 24 ชั่วโมง และจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 7 วัน การหายใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ ถ้ารับประทาน 3 เมล็ด อาจตายได้ |
หนุมานนั่งแท่น | Jatropha podagrica | Euphorbiaceae | เมล็ด และยาง มีสารพิษมีฤทธิ์คล้าย toxalbumin,curcin พิษจาก resin alkaloid glycoside น้ำยาง - ถูกผิวหนังเกิดอาการแพ้ บวมแดงแสบร้อน เมล็ด - ถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กล้มเนื้อชัดกกระตุก หายใจเร็ว การเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันต่ำ พิษคล้ายละหุ่ง เมล็ดมีรสอร่อยแต่รับประทานเพียง 3 เมล็ด ก็เกิดอันตรายได้ |
มันสำปะหลัง | Manihot esculenta | Euphorbiaceae | ถ้านำมาบริโภคดิบๆ จะมีพิษถึงตายได้ ส่วนที่มีพิษมากที่สุดคือเปลือกและหัว พบว่าเปลือกแห้งมีกรดไฮโดรไซยานิคอยู่ราวร้อยละ 0.035 ในหัวแห้งมีร้อยละ 0.009 เปลือกสดมีอยู่ 5-10 เท่าของเนื้อในหัว ในน้ำคั้นหัวสดมีร้อยละ 1.66 ดังนั้นถ้าเด็กที่มีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม รับประทานหัวมันดิบ 20-40 กรัม ก็อาจทำให้ตายได้ อาการเป็นพิษคือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ชัก หอบ มึนงง หายใจขัด หมดสติ อาจตายภายใน 2-4 ชั่วโมง |
ละหุ่ง | Ricinus communis | Euphorbiaceae | ใบ ลำต้น และเมล็ดละหุ่งประกอบด้วย โปแตสเซียม ไนเตรท (Potassium nitrate) และกรดไฮโดรไซยานิค ( Hydrocyanic acid) ขนาดของพิษ ricin ที่ทำให้คนถึงแก่ชีวิตประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณละหุ่ง 8 เมล็ด การกินเมล็ดละหุ่งโดยการเคี้ยวและกลืนเข้าไปจะเป็นอันตรายมากโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในเด็ก ซึ่งมีโอกาสที่จะแพ้สารพิษได้ง่าย แม้จะเป็นเพียงแค่เคี้ยวและกลืนเข้าไปเพียง 1 เมล็ดเท่านั้นก็อาจเสียชีวิตได้ |
ไฮแดรนเยีย | Hydrnagea macrophylla | Hydrangeaceae | ทั้งต้นสด มีสาร Cyanogenetic glycosides ถ้ารับประทานจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน เดินเซเหมือนคนเมา หายใจลำบาก กล้ามเนื้อเปลี้ย ถ้าเป็นมากหมดสติ บางรายมีอาการชัก |
เห็ดพันธุ์อีโนไซบ์ | Inocybe spp. | Inocybaceae | ถ้ารับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพราะอาหารและลำไส้หดเกร็ง |
ชุมเห็ดเทศ | Cassia alata | Leguminsoae-Caesalpinioideae | ดอก และใบ มีสารกลุ่มแอนทราควิโนน เช่น rhein, emodin และ aloeemodin ทำให้ถ่ายท้อง (ทานในปริมาณน้อยจะเป็นยาระบาย) |
ลูกเนียง, ชะเนียง | Archidendron jiringa | Leguminsoae-Mimosaceae | รับประทานลูกเนียงดิบเป็นจำนวนมาก จะทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สะดวก ปัสสาวะขุ่นขาวเป็นสีน้ำนม อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ถ้าอาการมากระบบไตจะล้มเหลว และถึงตายในที่สุด |
มะกล่ำตาหนู | Abrus precatorius | Leguminsoae-Papilionideae | เมล็ดมะกล่ำตาหนู ภายในเมล็ดมีส่วนประกอบของ N-methyltryptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic enzyme และ abrin ซึ่งสูตรโครงสร้างของ abrin คล้าย ricin เป็นส่วนที่มีพิษสูงมาก หากเคี้ยว หรือกินเข้าไป เนื่องจากสารพิษจะไปทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร และไต ขนาดเพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือกินเพียง 1 เมล็ด ก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาจถึงกับตาบอดได้ |
หมามุ่ยน้อย | Mucuna bracteata | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ และใบแก่ ทำให้เกิดอาการคันตามผิวหนัง |
หมามุ่ย | Mucuna gigantea | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ จะทำให้เกิดอาการคัน และปวด |
หมามุ่ยขน | Mucuna gracilipes | Leguminsoae-Papilionideae | ขนจากส่วนต่างๆของพรรณไม้ชนิดนี้ทำให้เกิดอาการผื่นคัน |
หมามุ่ยแม้ว | Mucuna hainanensis | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ทำให้เกิดระคายเคืองและผื่นตามผิวหนัง |
สะบ้าลาย | Mucuna interrupta | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ทำให้ปวดและคันตามผิวหนัง |
หมามุ่ยใหญ่ | Mucuna monosperma | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ ทำให้ปวดและคันตามผิวหนัง |
หมามุ่ยฝักงอน | Mucuna pruriens | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามส่วนต่างๆของพรรณไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝัก ทำให้เกิดอาการคันตามผิวหนังและปวดตามข้อ |
หมามุ่ยฝักย่น | Munuca biplicata | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่จะทำให้เกิดอาการคัน และปวดมาก |
มันแกว | Pachyrhizus erosus | Leguminsoae-Papilionideae | เมล็ดมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง หลายชนิด ได้แก่ pachyrrhizin, pachyrrhizone, 12-(A)-hydroxypachyrrhizone, dehydropachyrrhizone, dolineone, erosenone, erosin, erosone , neodehydrorautenone, 12 -(A)-hydroxy lineonone, 12-(A)-hydroxymundu- serone (8), rotenone (9) นอกจากนี้ยังมีสารซาโปนิน ได้แก่ pachysaponins A และ B ซึ่งละลายน้ำได้ และเป็นพิษต่อปลาทำให้ปลาตาย ส่วนใบของมันแกวนั้นมีสารพิษคือ pachyrrhizid ซึ่งมีพิษต่อโคและกระบือมากกว่าม้า ถ้ารับประทานเข้าไป จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การหายใจเข้าไปพิษจะรุนแรงกว่า โดยไปกระตุ้นระบบการหายใจ ตามด้วยการกดการหายใจ ชัก และอาจถึงชีวิตได้ มีรายงานว่าถ้ารับประทานเมล็ดมันแกวเพียงครึ่งเมล็ดจะเป็นยาระบาย และบางแห่งใช้เป็นยาขับพยาธิ ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง นอกจากนี้อาจเกิดอาการพิษเรื้อรัง โดยทำให้ไขมันในตับและไตเปลี่ยนแปลง ส่วนพิษของสารซาโปนิน จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารเช่นกัน คือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีปัญหาในระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติและทำให้ชักได้ |
ช้างแหก | Spatholobus ferrugineus | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ทำให้เกิดการคันตามผิวหนัง |
เพชฌฆาตสีทอง | Gelsemium elegans | Loganiaceae | ทุกส่วนของต้นให้น้ำยางที่เป็นพิษ โดยจะพบ alkaloid ที่เป็นพิษมาก ได้แก่ Gelsemine, Gelsemicine, Koumine, Kouminine, Kouminicine, Kumatenidine alkaloids ที่เป็นพิษดังกล่าว เมื่อกินเข้าไป จะทำให้เกิดการหลั่งน้ำลายมาก, สมองมึนงง, ความรู้สึกสับสน, กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง, สั่น, ชัก และถ้ามีอาการหนักก็ทำให้หยุดหายใจได้ ในทางยาเรานำมารักษาโรคเนื้องอกในโพรงจมูก และเนื้องอกที่ผิวหนังบางชนิด ในขนาดต่ำ ๆ ใช้เป็นยาลดไข้ ยาชงจากใบเพียงสามใบใช้เป็นยาสั่ง (ตาย) ได้ |
โพทะเล | Thespesia populnea | Malvaceae | ยางจากต้น เปลือก ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ เปลือกมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน |
เลี่ยน | Melia toozendan | Meliaceae | ดอก ผล เปลือก และต้น มีสารอัลคาลอยด์ azaridine ถ้ารับประทานเข้าไปมาก (โดยเฉพาะส่วนผล) จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียรุนแรง อาจเป็นลม กระหายน้ำอย่างรุนแรง ความจำสับสน หายใจลำบาก ชักและเป็นอัมพาต อาจง่วงหลับ มีรายงานว่า เด็กรับประทานผลเลี่ยน 6-8 ผล ถึงแก่ความตาย |
ยางน่อง | Antiaris toxicaria | Moraceae | ยางจากเปลือกทำให้สลบหรือตายได้ คนพื้นเมืองใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วใช้ยิงคนหรือสัตว์ |
ขนุน | Artocarpus heterophyllus | Moraceae | ยางทั้งจากใบ เปลือกและ ผล ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นเป็นแผลได้ |
มะเดื่องปล้อง | Ficus hispida | Moraceae | ยางทั้งจากใบ เปลือกและ ผล ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นคันและตุ่มพอง |
ข่อย | Streblus asper | Moraceae | ใบ ถ้าถูกผิวหนังส่วนที่อ่อนๆ จะทำให้ผิวหนังเป็นแผลได้ ยางจากเปลือกทำให้เป็นผื่นและตุ่มพองตามผิวหนัง |
เสม็ด, เสม็ดขาว | Melaleuca cajuputi | Myrtaceae | น้ำมันจากใบทำให้ระคายเคืองและเป็นผื่นคันตามผิวหนัง |
สถาน | Jasminum grandiflorum | Oleaceae | ดอกมักมีการนำมาร้อยเป้นพวงมาลัยใส่ข้อมือและสวมคอ อาจทำให้เป็นผื่นคันได้ |
ผักหวานป่า | Melientha sauvis | Opiliaceae | การบริโภคใบสดๆ ในปริมาณมากๆ อาจทำให้เกิดอาการเบื่อเมาเป็นไข้และอาเจียนได้ |
ผักหวานเมา, ผักหวานดง | Urobotrya siamensis | Opiliaceae | ลักษณะดูคล้ายกับผักหวานป่ามาก เมื่อบริโภคใบเข้าไปจะมีอาการเมาเบื่อ |
ฉก, ลูกชิด | Arenga pinnata | Palmae | ขนตามผิวผล รวมทั้งน้ำเลี้ยงจากเปลือกผล ทำให้เกิดอาการตคันอย่างรุนแรงตามผิวหนัง |
เต่าร้างแดง, เต่ารั้งหนู | Caryota mitis | Palmae | ชนตามผล และน้ำเลี้ยงตามผิวใบของลำต้น ทำให้เป็นผื่นคันตามผิวหนัง ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ |
เต่าร้างยักษ์ | Caryota obtusa | Palmae | ขนตามผิวผลและน้ำเลี้ยงตามผิวในของลำต้นทำให้เป็นผื่นคันตามผิวหนัง ถ้ายางเข้าตาทำให้ตาบอดได้ |
เต่ารั้ง, เต่าร้าง | Caryota urens | Palmae | ขนตามผิวผล และยางตามผิวในของลำต้น,ทำให้และเป็นผื่นตามผิวหนัง ถ้าเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ |
พิษลักษณ์ | Phytollacca Americana | Phytolaccaceae | ทั้งต้นมีสารพิษ ซาโปนินแฟรคชั่น เมื่อบริโภคมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นตะคริวที่ท้อง หรือในรายที่สูดดมเข้าไปจะพบว่าระคายเคืองต่อคอดวงตา บางรายมีผลกดระบบหายใจ |
ถุงมือจิ้งจอก | Digitalis spp. | Plantaginaceae | ต้นและดอกมีสาร Digitalis ซึ่งใช้ทำยารักษาโรคหัวใจ เมื่อทานเข้าไปปริมาณมากจะทำให้หัวใจวาย และเสียชีวิตได้ |
เห็ดพันธุ์โคปรีนัส อาทราเมนทาเรียส | Coprinus atramentarius หรือ Coprinopsis atramentaria | Psathyrellaceae | มีสารที่รวมตัวกับแอลกอฮอล์แล้วจะเกิดพิษ คนดื่มสุราพร้อมกับรับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการใจสั่น หายใจหอบ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ |
เหมือดคน , ต้นขี้หนอน, นมวัว | Scleropyrum wallichianum | Santalaceae | ใบมีลักษณะคล้ายผักหวานป่า ซึ่งชาวบ้านมักเก็บผิดเสมอๆ ใบและดอกของไม้ชนิดนี้เป็นพิษ เมื่อบริโภคจะทำให้มึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ ทุรนทุราย บางรายอาการมากจะเจ็บในลำคอ เจ็บในท้อง หมดสติ และถึงแก่ความตายในที่สุด |
ขี้หนอน | Zollingeria Dongnaiensis | Sapindaceae | ดอกอ่อนเป็นพิษ เมื่อกินเข้าไปทำให้เกิดอาการมึนเมา อาเจียนและอาจทำให้ถึงตายได้ |
ราตรี | Cestrum noctumum | Solanaceae | ผลดิบมีสารพวก solanine alkaloids ผลสุกมี atropine alkaloids ใบมี nicotine, nornicotine alkaloids ถ้ารับประทานเข้าไปภายในครึ่งชั่วโมงจะมีอาการปากคอแห้ง มึนงง ม่านตาขยาย อุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะไม่ออก การหายใจจะช้าลง |
ลำโพง, มะเขือบ้า | Datura alba | Solanaceae | เมล็ดและใบซึ่งมีสารเป็นพิษประเภทอัลคาลอยด์ คือ สโคโปลามีน (scopolamine) ไฮออสไซยามีน (hyoscyamine) และอะโทรปีน (atropine) ถ้ากินเข้าไปจะทำให้คอแห้ง ลิ้นแข็ง หัวใจเต้นเร็ว เสียสติคล้ายคนบ้า อาการจะปรากฏภายในเวลา 5-10 นาทีหลังจากกินเข้าไป แต่ไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิต เพราะพิษจะเกิดกับระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนมัติ โดยจะแสดงอาการอยู่ราว 2-3 วัน |
ยาสูบ | Nicotiana tabacum | Solanaceae | ใบยาสูบเป็นแหล่ง alkaloids หลายชนิด โดยเฉพาะ Nicotine และ Nor-nicotine, Nicoteine, Nicotelline, Nicotinine, Anabasine และสารอื่น ๆ อีก ถ้าทำการสกัด Nicotine ออกมาจากซิการ์เพียงมวนเดียว แล้วฉีดเข้าเส้นเลือดในคน จะมีพิษถึงขนาดทำให้ตายได้ |
แสลงใจ | Strychnos nux-vomica | Strychnaceae | เมล็ดแก่แห้ง พบว่ามีแอลคาลอยด์ strychnine และ brucine ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีความเป็นพิษสูง strychnine มีพิษมากประมาณ 60-90 มก. ก็ทำให้คนตายได้ มีพิษต่อระบบส่วนกลาง เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารและลำไส้ หลังจากนั้นประมาณ 1 ชม. คนไข้จะชักแขนขาเกร็งและหยุดหายใจในที่สุด |
หานช้างฮ้อง | Dendrocnide basilotunda | Urticaceace | ขนหรือเกล็ดตามส่วนต่างๆ ของช่อดอกทำให้เกิดอาการคันเป็นผื่นแดงและปวดมาก |
กะลังตังช้าง | Dendrocnide sinuata | Urticaceace | ขนตามใบและส่วนต่างๆของช่อดอก ทำให้คัน ผิวหนังไหม้ หรือแดงเป็นผื่นและปวดมาก |
ตำแยช้าง, สามแก้ว | Dendrocnide stimulans | Urticaceace | ขนหรือเกล็ดตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ช่อดอก จะทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังไหม้เกรียม หรือแดง เป็นผื่นและปวดมาก |
หานสา | Girardinia diversifolia | Urticaceace | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บคันและปวด |
หานช้างร้อง | Girardnia heterophylla | Urticaceace | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บ คัน และปวดมาก |
ลังตังช้าง, ตำแย | Laportea bulbifera | Urticaceace | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บคันและปวด |
หาน | Laportea disepala | Urticaceace | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บคันและปวด |
ตำแยตัวเมีย | Laportea interrupta | Urticaceace | ขนตามส่วนต่างๆ จะทำให้ระคายเคืองตามผิวหนังและผื่นแดง |
กะลังตังช้าง | Girardinia heterophylla | Urticaceae | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บ คัน และปวดมาก |
เทียนหยด | Duranta repens | Verbenaceae | ใบ ผล มีสาร saponin และผลมีสาร narcotine alkaloids รับประทานผลอาจตายได้ จะทำให้อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีไข้ ตาพร่า กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับพิษมาก เม็ดเลือดแดงแตกได้ พืชนี้เป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็นด้วย |
ผกากรอง | Lantana camara | Verbenaceae | ใบ - มีสาร triterpenes ชื่อ lantadene A และ B และสารขม corchorin เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง แต่ไม่เป็นพิษต่อตับ แต่อนุพันธ์ของมันเป็นพิษต่อตับ ในใบยังมีสารขม corchorin กินมากทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ม่านตาขยาย ชีพจรผิดปกติ และอาจหมดสติ เมล็ด - ในผลแก่แต่ยังไม่สุกมีสาร glycosides corchoroside A และB จะกระตุ้นหัวใจ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)