1 มีนาคม 2557

ประดู่แดง-ประดู่ลาย-ประดู่แขก-ประดู่ชิงชัน-ประดู่บ้าน-ประดู่ป่า

ที่สวนขี้คร้านปลูกต้นประดู่ไว้เลยสนใจว่ามีกี่ชนิด สอบถามอากู๋ดูก็พบว่าน่าจะมีอย่างน้อย 6-7 ชนิด โดยต้นที่ผมปลูกน่าจะเป็นต้นประดู่ป่า  ประดู่แต่ละชนิดเป็นพืชวงศ์ถั่ว Leguminosae-Papilonaceae เหมือนกัน (ยกเว้นชนิดท้ายๆ) จึงจะมีใบที่คล้ายกัน แต่อาจจะมีสีดอกที่ต่างกัน จึงขอเพิ่มเติมข้อมูลสีของดอกในตารางดังนี้

ชื่อไทยชื่อวิทยาศาสตร์ชื่อภาษาอังกฤษชื่ออื่นสีดอก
ประดู่บ้านPterocarpus indicusPashu Padauk, Malay Padaukประดู่กิ่งอ่อนสีเหลือง
ประดู่ป่าPterocarpus macrocarpusBurma Padaukประดู่ส้ม, ประดู่เลือดสีเหลือง
ประดู่รัตจันทน์
(คล้ายประดู่ป่าแต่ต้นเล็กกว่า)
Pterocarpus santalinusRed Sandalwoodจันทน์แดงสีเหลือง
ประดู่ลายDalbergia erransAlexandrian Laurel, Indian Laurel.สีม่วงอ่อน
ประดู่แขกDalbergia sissooIndian Rosewoodประดู่อสนะสีเหลืองอ่อน หรือสีขาว
ประดู่ชิงชันDalbergia oliveriTamalan Treeชิงชันสีขาวอมม่วง
ประดู่ตะเลนDalbergia floribunda.คร่าหยุม (ต้น)สีขาวอมเหลือง
ประดู่น้ำDalbergia cochinchinensisRosewood, Tracwoodพะยูงขาว
ประดู่แดงPhyllocarpus septentrionalis วงศ์ Leguminosae-CaesalpinoideaeMonkey-flower tree.สีแดง
ประดู่ทะเลIntsia bijuga วงศ์ Leguminosae-CaesalpinoideaeMerbau, Kwilaหลุมพอทะเลขาว เปลี่ยนเป็นชมพูและแดง
ประดู่ส้มBischofia javanica วงศ์ EuphorbiaceaeBishop wood, Toog Treeเติมเหลืองอ่อนอมเขียว

หลายครั้งก็มีการเข้าใจกันผิดๆ  เช่น ประดู่แดงนั้นยังมีคนเข้าใจผิดกันเยอะ ประดู่ป่าจึงถูกเรียกตามสีของเนื้อไม้ เช่น ประดู่ส้ม ประดู่แดง เป็นต้น แต่ประดู่ป่าจะออกดอกเป็นสีเหลืองโดยไม่ขึ้นกับสีของเนื้อไม้ ส่วนประดู่แดงของแท้จะออกดอกเป็นสีแดง ต้นประดู่ที่มีประวัติเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาคือประดู่แขก ซึงถือว่าเป็นโพธิญาณพฤกษา ถูกกล่าวไว้ในในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ติสสพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 20 พระนามว่า พระติสสพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ครึ่งเดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ โคนไม้ประดู่แขก ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นอสนะ” ชาวอินเดียเรียกว่า “ลิสโซ” และชาวฮินดูเรียกว่า “สิสสู”   ประดู่แขกจึงถูกเรียกว่าประดู่อสนะ

ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้ากลับจากเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโทธนะ พระราชบิดา แล้วก็เสด็จพาพระอานนท์ พระราหุล พร้อมทั้งพระภิกษุสาวกบริวาร สู่กรุงราชคฤห์ ประทับยังสีสปาวัน คือ ป่าของต้น Simsapa tree ซึ่งเราเชื่อกันว่าเป็นป่าของต้น ประดู่แขก (Dalbergia sissoo) และได้ใช้ใบของต้นประดู่แขกในการแสดงธรรมเรื่องใบไม้ในกำมือเดียว  

**พระพุทธองค์ ทรงตรัสถาม พระอานนท์ ว่า "ใบไม้ 1 กำมือ ในพระหัตถ์ของพระองค์มีปริมาณเท่าใด เมื่อเปรียบเทียบกับ ใบไม้ ทั้งป่า"
**พระอานนท์ ทูลตอบว่า "มี ปริมาณ น้อยนิด"
**พระพุทธองค์ ตรัส อธิบายว่า "เมื่อ เปรียบใบไม้ ในกำมือเป็นธรรมอันเป็นประโยชน์ ต่อการพาเราให้ข้ามพ้นห้วงวัฏสงสารได้ย่อมมีประโยชน์มากกว่าใบไม้ หรือธรรม ทั้งหลาย ทั้งปวงที่มีอยู่มากกว่ามาก"

โดยกล่าวเปรียบเทียบว่าความรู้ในโลกมีมากมาย แต่มนุษย์เราไม่จำเป็นต้องรู้ไปหมดทุกเรื่องเพื่อที่จะพ้นทุกข์ ธรรมมะที่พระองค์ทรงแสดงจริงเป็นเหมือนเพียงใบไม้ 1 กำมือเมื่อเทียบกับใบไม้ทั้งป่า  แต่ความรู้ในใบไม้ 1 กำมือนี่ล่ะเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้เราพ้นทุกข์ได้  ต่อมาเราจึงเรียกปัญหาโลกแตกที่ไม่เกี่ยวข้อง  ซึ่งรู้ไปก็หาทำให้เราพ้นทุกข์ได้ว่า "อจินไตย"

อย่างไรก็ตามมีความสับสนเรียกต้นประดู่แขก (Dalbergia sissoo) ว่าประดู่ลาย (Dalbergia errans) ซึ่งความจริงแล้วเป็นคนละชนิดกันแต่มีลักษณะคล้ายกัน ที่ถูกต้นประดู่ในพุทธประวัติควรจะต้องเป็นต้นประดู่แขกไม่ใช่ประดู่ลายตามที่หลายคนกล่าวถึง  ในบทความภาษาอังกฤษเองยังคงสงสัยว่าความจริงแล้ว “ต้นอสนะ” อาจจะหมายถึงต้นโสกระย้า (Amherstia Nobilis) ซึ่งก็เป็นพืชในวงศ์ถั่ว Leguminosae-Caesalpinioideae ได้ด้วย ในต่างประเทศจึงยังไม่ได้สรุปว่าจะเป็นต้นประดู่แขกอย่างแน่นอน  อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน http://en.wikipedia.org/wiki/Simsapa_tree

โดยสรุปหากยึดตามพระพุทธประวัติจริงๆ  มีความคาดเคลื่อนในการเรียกชื่อต้นไม้ในระหว่างการแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง  จึงยังไม่แน่ใจว่าต้นไม้ที่อยู่ในพระพุทธประวัติจริงๆ แล้วเป็นต้นใด

ต้นประดู่แขก (Dalbergia sissoo)
ต้นประดู่แขก

โสกระย้า (Amherstia Nobilis)
โสกระย้า

ส่วนต้นประดู่อื่นๆ มีรูปร่างหน้าตาแบบนี้

ประดู่บ้าน
ประดู่บ้าน

ประดู่บ้าน

ประดู่ป่า
ประดู่ป่า

ประดู่แดง
ประดู่แดง

ประดู่แดง

นอกเหนือจากต้นประดู่แล้วต้นไม้ในสกุล Dalbergia ยังมีอีกหลายชนิดที่ไม่ได้ถูกเรียกว่า "ประดู่" ในภาษาไทย ตัวอย่าง เช่น :

ชื่อไทยชื่อวิทยาศาสตร์
กระพี้ Dalbergia entadioides
กระพี้เครือDalbergia foliacea
กำพี้Dalbergia ovata
มะขามเครือDalbergia darlacensis
ขามเครือDalbergia stipulacea
กระพี้หยวกDalbergia lakhonensis
เก็ดดำDalbergia assamica
เก็ดแดงDalbergia dongnaiensis
กระพี้นางนวลDalbergia kerrii
เก็ดขาวDalbergia glomeriflora
เก็ดเขาควายDalbergia fusca
ขี้มอดDalbergia maymyensis
ครี้, กระซิกDalbergia parviflora
เครือปี้Dalbergia velutina
เครือแมดDalbergia volubilis
ถ่อนเครือDalbergia discolor
ประดู่ตะเลนDalbergia floribunda
ปี้จั่นDalbergia cana
พะยูงแกลบ, ชิงชันเขมรDalbergia bariensis
มักแผ้นDalbergia malabarica
สักขีDalbergia candenatensis
หางไหลDalbergia abbreviata
เหม่ปี้Dalbergia kurzii
อัญชัน (คนละต้นกับดอกอัญชัน)Dalbergia duperreana
อีเม็งDalbergia lanceolaria
กะนวน, ฉนวนDalbergia nigrescens
พะยูงDalbergia cochinchinensis
กระพี้เขาควายDalbergia cultrata

ในทำนองเดียวกันกับต้นประดู่ลาย/ประดู่แขก ต้น "สาละ" (Sal Tree) ซึ่งจริงๆ แล้วต้นสาละในพระพุทธประวัติตอนประสูติน่าจะเป็นต้นสาละอินเดีย (Sal of India) ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea robusta วงศ์ Dipterocarpaceae เป็นพืชพวกเดียวกันกับพะยอม เต็ง รัง

แต่ในประเทศศรีลังกาก็มีต้นไม้ ที่เรียกว่า Sal เหมือนกันแต่เป็นคนละวงศ์กันเลย คือต้นสาละลังกา หรือ ลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree) ชื่อวิทยาศาสตร์ Couroupita guianensis วงศ์ Lecythidaceae โดยต้นนี้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่จากศรีลังกาเข้ามาทางอินโดนีเซีย และมาเลเซีย  ในภาษาอินโดนีเซียจึงเรียกว่า Sala ตามที่ชาวศรีลังกาเรียก  อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีความเชื่อว่าต้นสาละที่เอ่ยถึงในพระพุทธประวัติ น่าจะเป็นต้นสาละอินเดีย (Sal of India) มากกว่า แต่โดยจริงๆ แล้วก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในความสับสนของชื่อต้นไม้เมื่อถูกเรียกข้ามจากภาษา หนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง

ต้นสาละอินเดีย (Shorea robusta)
สาละอินเดีย

ต้นสาละลังกา (Couroupita guianensis)
สาละลังกา
เครดิท รูปทั้งหมดจากอินเทอร์เน็ตหลายๆ แหล่ง  ผมเองยังไม่มีทั้ง 4 ชนิดที่อาจจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติปลูกในสวนฯ  แต่คงจะหาโอกาสนำมาปลูกที่สวนฯ ในโอกาสต่อไป


สนใจเรื่องพืชที่น่าสับสนแบบนี้อีกติดตามได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/p/plants.html

สนใจเรื่องราวต่างๆ ในสวนขี้คร้านติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

8 ความคิดเห็น:

  1. สอบถามแหล่งเพาะพันธุ์ต้นประดู่ต่างๆหน่อยครับว่าจะหาซื้อกล้าได้จากไปนครับ ลักษเศม พลอยวัฒนาวงศ์ 0948944664 ,0887879916,0887879961,0887879882 ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้าเลยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ที่บ้านผมมีเยอะครับสนใจติดต่อ0856888184 มี2-3ชนิด ประดู่แดงประดู่ป่าครับ

      ลบ
  2. ชิงชัน ชิงชัน จำหน่ายกล้าพันธุ์ไม้ชิงชันสายพันธุ์ดี จากทีมงานเพาะพันธุ์กล้าไม้มืออาชีพที่มีประสพการณ์สูง
    ราคาไม่แพง จำหน่ายทั้งปลีกและส่งทั่วประเทศ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ทั่วประเทศกว่ายี่สิบปี
    สนใจติดต่อคุณไก่ 095-4654546 ,0946465654
    ID line kai54654546
    Email nangpaya@hotmail.com
    ชมผลงานและคุณภาพกล้าพันธุ์ไม้ได้ที่ www.takuyak.com
    หรือที่แฟนเพจ คุณไก่กล้าพันธุ์ไม้
    หรือชมคลิปที่ www.youtube.com ช่อง ชัยชนะ เสือเพ็ง
    หรือที่แฟนเพจ ชมรมเกษตรกรผู้ปลูกไม้พะยูงแห่งประเทศไทย

    ตอบลบ
  3. ประดู่ลายหอมหรือพยุงหอม (Dalbergia Odorifera)

    เนื้อไม้ประดู่ลายหอมมีความสวยงามและมีราคาแพง ลักษณะของเนื้อไม้

    1.ลายเส้นเหมือนมาม่ายังไม่ต้ม
    2.มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ของไม้ประดู่
    3.มองบางมุมจะเห็นว่ามันหลอกตา เป็นเส้นลึกสลับนูน
    4.หนักขนาดไหนก็ไม่จมน้ำ

    ��085-4592946
    ID Line : mod191039

    ตอบลบ
  4. ประดุ่ อะไร แพงที่สุดครับ?

    ตอบลบ
  5. ผมอยากได้ประดู่ม่วงครับเคยเห็นอยู่ใต้หวันสวยงามมาก0896711968

    ตอบลบ
  6. มีประดู่แดง ประดู่ลาย ประดู่ป่านะคะ
    สนใจโทรมาสอบถามนะคะ 🌿🌿
    🇹🇭☎️โทร. 080-4700626, 097-1164271
    ไลน์ @503pgpmy คลิก https://lin.ee/zAKG11v
    ==> สอบถามทางข้อความเฟสบุคฟรี
    คลิกสอบถามเลย👇👇👇
    เพจร้าน http://m.me/praneeVegetation

    ตอบลบ