ขอออกนอกเรื่องหน่อย ความจริงเรื่อง Peak Oil
เป็นเรื่องที่มารู้ในภายหลังเมื่อไม่นานมานี่
สร้างความประหลาดใจว่าทำไมตัวเองไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย
แต่บังเอิญเรื่องนี้มีเหตุผลสนับสนุนจุดเริ่มว่าควรจะมาเรียนรู้เรื่องการ
ทำการเกษตรธรรมชาติ จึงอยากจะแบ่งปันให้เพื่อนๆ ฟัง
Oil Peak
หมายถึงจุดที่อัตราการดูดน้ำมันขึ้นมาผลิตใช้งานได้ถึงจุดสูงสุด
เนื่องจากไม่มีการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ หลังจากนั้นปริมาณการผลิตจะค่อยๆ
ลดลง โดยคนที่เสนอแนวคิดนี้ครั้งแรกคือ ดร. M. King Hubbert
เป็นคนสร้างโมเดลจำลองอัตราการผลิตน้ำมันของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ.
1956 (พ.ศ. 2499) และได้ทำนายว่า Peak Oil ของอเมริกาจะอยู่ในช่วงปี
1965-1971 บางครั้งเราจึงเรียกกราฟคำนายจากโมเดลนี้ว่า Hubbert Curve
ตามชื่อของ ดร. Hubbert สุดท้าย peak oil ของอเมริกาก็มาถึงจริงๆ ในปี
1970 (พ.ศ. 2513) ตรงตามที่ Hubbert พยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 14 ปี
อ้าว..เรื่อง
นี้มันตั้ง 40 กว่าปีที่แล้ว แล้วทำไมเรายังมีน้ำมันใช้อยู่เรื่อยๆ ล่ะ?
อ๋อ...มันเป็นเพราะว่ามีการค้นพบแหล่งน้ำมันที่อื่นๆ ในโลกเพิ่มเติมขึ้นมา
เช่น ตะวันออกกลาง รัสเซีย ทะเลเหนือ จีน เป็นต้น
รวมทั้งเทคโนโลยีในการผลิตทำให้เราสามารถผลิตพลังงานจากวัตถุดิบในรูปแบบ
อื่นนอกเหนือจากน้ำมันดิบ เช่น แก๊สธรรมชาติ หินน้ำมัน
แหล่งน้ำมันเหล่านี้จึงยังคงช่วยประคองให้ปริมาณการผลิตน้ำมันของโลกยังคง
เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นโดยตลอด
แต่แหล่งขุดเจาะที่ค้นพบใหม่ๆ มีน้อยลงเรื่อย ด้วยอัตราที่น่าเป็นห่วง
อย่าง
ไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์เริ่มมีการเก็บข้อมูลและได้พยากรณ์ไว้ว่า Peak Oil
ของโลกน่าจะอยู่ในช่วงปี 2017 - 2018 (อีกประมาณ 5-6 ปีข้างหน้า)
นี่หมายความว่าหลังจากนั้นอัตราการผลิตน้ำมันของโลกมีแต่ละลดลงทั้งๆ
ที่ความต้องการการใช้งานน้ำมันไม่เคยลดลงเคย น้ำมันจะแพงมากขึ้น
และทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันจะแพงมากขึ้น
แล้ว...จะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมล่ะ? เราจะปรับตัวกันอย่างไร?
เราต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง? โชคดี..ด้วยเหตุบังเอิญ
โลกของเราได้ทำการทดลองเหตุการณ์การขาดแคลนน้ำมันกับประเทศ
ประเทศหนึ่งที่มีชื่อว่า "คิวบา"
เรามาติดตามดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศคิวบา
และพวกเขาเอาตัวรอดกันได้อย่างไร? มีอะไรที่เราเรียนรู้ได้ หรือ
เตรียมความพร้อมก่อนที่เหตุการณ์ PeakOil ของโลกจะมาถึงได้?
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น