เราลองมาคำนวณอะไรเล่นๆ
เพื่อที่จะเข้าใจหลักคิดต่างๆ สมมุตินะครับสมมุติ
สมมุติว่าเรามีที่ดินขนาด 5 ไร่ ( 8,000 ตารางเมตร)
และอยู่ในจังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100
มิลลิเมตรต่อปีอย่างจังหวัดเพชรบุรี เรามีขนำขนาด 5x6 เมตร (30 ตารางเมตร)
และมีหลังคาขนาด 7x8 เมตร (56 ตารางเมตร)
หมายความว่าใน 1
ปีจะมีน้ำฝนตกลงมาในที่ดินของเรา 1,100 / 1,000 x 8,000 = 8,800
ลูกบาศก์เมตร โดยเป็นน้ำฝนที่ตกลงบนหลังคา 1,100 / 1,000 x 56 = 61.6
ลูกบาศก์เมตร ซึ่งถ้าเราจะเอาโอ่งซิเมนต์ขนาด 2,000
ลิตรมาเก็บน้ำฝนเฉพาะจากหลังคาทั้งหมดจะต้องใช้โอ่งจำนวน 31 ลูก
ซึ่ง
ในทางปฏิบัติเราคงไม่ได้ลงทุนโอ่งเยอะขนาดนั้น
โดยปกติมนุษย์ในสังคมเมืองจะใช้น้ำเฉลี่ยประมาณ 150-200 ลิตรต่อคนต่อวัน
แต่จะประสพการณ์ไปอยู่ที่สวนถ้าผมและภรรยา 2 คนใช้น้ำอย่าประหยัดจริงๆ
เราจะใช้เพียง 60-100 ลิตรต่อคนต่อวัน ถ้าอยู่สวนฯ ทุกวันคงจะใช้น้ำปีละ
73,000 ลิตร
แต่เกษตรกรวันหยุดอย่างเรา 2 คนไปอยู่สวนเพียง 2
วันต่อสัปดาห์ใช้น้ำวันละ 100 ลิตรจะใช้นำปีละ 10,400 ลิตร หรือประมาณ 5
โอ่ง แต่ในทางปฏิบัติมีช่วงเวลาที่แล้งนานที่สุดไม่เกิน 5 เดือน
จึงจำเป็นต้องสำรองน้ำสำหรับใช้งานประมาณ 5 เดือน คือปริมาตรน้ำ 4,000
ลิตร หรือ 2 โอ่งเท่านั้นเอง แต่ผมเป็นวิศกรชอบมี safety factor จึงจัดไป 6
โอ่ง
หมายเหตุ ถ้าจะอยู่สวนทุกวันจริงๆ คงจะต้องหาโอ่งมาเก็บน้ำจำนวน 15 โอ่งเป็นอย่างน้อย
ประเด็น
ที่ผมต้องการบอกคือ ในทางปฏิบัติเราจะเก็บน้ำจากหลังคาได้ไม่หมด
จะมีน้ำส่วนหนึ่งไหลล้นลงพื้นดิน
แต่ถ้าเรามีต้องการเก็บน้ำฝนจากหลังคาให้หมดจริงๆ
เราก็จะต้องใช้โอ่งจำนวนมาก
แค่พื้นที่วางโอ่งอย่างเดียวก็จะใหญ่ว่าบริเวณบ้านซะอีก
แต่...เพื่อให้ง่ายในการคำนวนผมจะสมมุติว่าเราเก็บน้ำจากหลังคาไปได้หมด
จึงเหลือน้ำ 8,800 - 61.6 = 8,738 ลูกบาศก์เมตร
เนื่องจากในตัวอย่างนี้ขนาดขนำมันเล็กมาก
การตัดเอาน้ำส่วนนั้นออกไปก็ไม่มีผลต่อการคำนวนมากนัก
ตามแนวคิด
เกษตรทฤษฎีใหม่แนะนำให้ขุดสระประมาณ 30% ของพื้นที่ คือควรจะสร้างสระขนาด
1.5 ไร่นั่นเอง สมมุติว่าเราขุดสระขนาด 1.5 ไร่ลึก 4 เมตร
จะจุน้ำได้ประมาณ 9,600 ลูกบาศก์เมตร
ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในที่ดินขนาด 5 ไร่ซะอีก ถ้าสระลึก 3
เมตรก็จะมีความจุประมาณ 7,200
ลูกบาศก์เมตรซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่าถ้าเรายังต้องการสระขนาด 1.5 ไร่
ดัง
นั้นเราจะมีพื้นที่ที่ฝนตกลงมาในสระตรงๆ 1.5 ไร่ = 2,400 ตารางเมตร
และพื้นที่ที่เหลือหักพื้นที่บ้านที่เราเก็บน้ำฝนไว้ใช้ 5ไร่ - 1.5 ไร่ -
56 ตารางเมตร = 5,544 ตารางเมตร
ถ้าเราสมมุติต่อว่าสระน้ำอยู่ในที่ต่ำที่สุดในสวน น้ำจากพื้นที่ต่างๆ
จะไหลไปรวมกันที่สระน้ำ
นั่นคือจะมีพื้นที่รับน้ำที่จะไหลไปรวมในสระน้ำจำนวน 5,544 ตารางเมตร
โดยปกติเมื่อน้ำฝนตกลงมาส่วนหนึ่งจะซึมลงดินเฉพาะส่วนที่เกินจะไหลเป็นน้ำ
run off สำหรับพื้นที่ดินเปลือยทั่วไปเราอาจจะใช้สัมประสิทธิ์ 0.35
หมายความว่าน้ำฝนที่ตกลงมา 65% จะซึมลงดินและระเหยไป อีก 35%
จะกลายเป็นน้ำ run off
เมื่อเราปลูกต้นไม้มากขึ้นค่าสัมประสิทธิ์ดังกล่าวจะลดลงไปอีก
(หมายความว่าจะมีน้ำ run off น้อยลง) ดังนั้น
น้ำที่ไหลลงสระ = ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงสระน้ำขนาดพื้นที่ 1.5 ไร่ตรงๆ + น้ำ run off จากพื้นที่ส่วนที่เหลือขนาด 5,544 ตารางเมตร
= ( 2,400 x 1,100 / 1000 ) + 0.35 x (5,544 x 1,100 / 1000)
= 4,774 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 66% ของความจุของสระน้ำที่ขุด
จาก
ข้อมูลในจังหวัดเดียวกันอัตราการระเหยของน้ำต่อปีจะประมาณ 1,500
มิลลิเมตรต่อปี นั่นคือจะมีน้ำระเหยจากสระขนาด 1 ไร่ประมาณ 2,400 x 1,500 /
1000 = 3,600 ลูกบาศก์เมตร ถ้าน้ำที่ไหลลงสระไม่มีการซึมลงดินเลย
และไม่มีการสูบไปใช้เลยจะมีน้ำเหลือติดสระ = 4,774 - 3,600 = 1,174
ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นระดับน้ำสูงประมาณ 49 เซนติเมตร !!!
ถ้าเราลอง
สมมุติเหมือนเดิมคือที่ดินขนาด 5 ไร่ขุดสระขนาด 1.5 ไร่
มีขนำขนาดตามตัวอย่างข้างบน ที่ดินที่เหลือจากการขุดสระจำนวน 5,544 ตรม.
(เกือบ 3.5 ไร่) เป็นดินเปลือยซึ่งจะมีน้ำ run off
ไหลมากกว่าที่ดินที่ปลูกพืชแล้ว
สมมุติว่าที่ดินรอบข้างลาดเอียงลงมาทางสระน้ำ น้ำฝน run off
จะไหลลงสระน้ำ และสระของเราเป็นสระน้ำอุดมคติคือ ไม่มีน้ำรั่วซึมลงดินเลย
และเราไม่นำน้ำไปใช้งานเลย ข้อมูลการคำนวนเล่นๆ จะเป็นดังนี้
แต่
ในโลกอุดมคติสระน้ำของเราจะมีน้ำซึมลงดินด้วย และเราจะสูบน้ำไปใช้งานด้วย
ดังนั้นแล้วจึงไม่น่าประหลาดใจที่ผมขุดสระน้ำในจังหวัดเพชรบุรีแล้วน้ำจะ
แห้งสนิทในหน้าแล้ง
ถ้าเราต้องการให้มีน้ำพอจึงอาจจะต้องพึ่งพึงปัจจัยอื่นนอกเหนือสมมุติฐาน
ตอนต้นได้แก่
- ย้ายสระน้ำไปอยู่จังหวัดที่มีฝนตกชุก (เช่น จังหวัดตราด ระนอง )
- ย้ายสระน้ำไปอยู่พื้นที่ที่มีน้ำใต้ดิน ขุดปุ๊บเจอน้ำซึมออกมาปั๊บ (อยากโชคดีแบบนั้นจัง)
-
เพิ่มพื้นที่รับน้ำให้มากขึ้น จากในตัวอย่างข้างต้น
พื้นที่รับน้ำที่จะมีน้ำ run off จะมีประมาณ 70%
ของที่ดินเนื่องจากเราขุดสระใหญ่ขนาด 30% ของพื้นที่ เราอาจจะอาศัยน้ำ run
off จากที่ดินของเพื่อนบ้านที่มีที่ดินสูงกว่าของเรา หรือถ้ามีโชค
(ดีหรือร้ายไม่รู้)
ก็จะมีเพื่อนบ้านเขาถ่ายน้ำจากหลังคาบ้านเขามาให้ที่ดินของเราฟรีๆ
(ลองอ่านกระทู้ "ป่าสวนขนุน" ของอาจารย์ Yudhapol ดู) หรือลดขนาดของสระลง
ข้อ
ควรระวังอีกอย่างที่มักจะเจอคือมีบางคนขุดสระและเอาดินมาถมขอบสระให้สูงกว่า
พื้นที่รอบข้าง เราอาจจะชะลอการพังทลายของดินขอบสระลงได้เนื่องจากจะมีน้ำ
run off ไหลลงสระน้อยลง แต่เราก็จะได้น้ำไหลลงสระน้อยลงเช่นกัน
สระในลักษณะที่ยกขอบสระสูงจะเหมาะกับสระที่มีน้ำจากใต้ดินไหลเข้ามาในสระ
อยู่แล้ว ไม่ต้องพึ่งพาน้ำ run off ที่ไหลมาจากที่อื่น
-
ลดอัตราการระเหยด้วยการขุดสระให้ลึก เหมาะสมกับปริมาณน้ำฝน
เนื่องจากปริมาณน้ำที่ระเหยจะขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่หน้าตัดของสระ
ด้วยปริมาณน้ำฝนที่เท่ากันถ้าเราสร้างสระน้ำให้ลึกก็จะปริมาณน้ำที่ผิวน้อย
ลงกว่าสระที่ตื้นกว่า การระเหยก็จะลดลง แต่....ต้องระวังนะครับ
หลักการคือเก็บน้ำที่มีความลึกมาก ไม่ใช่แค่สระลึกมาก
ถ้าเราขุดสระที่ลึกมาก (เช่นลึก 6-8 เมตร)
แต่เอาเข้าจริงมีน้ำฝนไหลลงสระนิดเดียว (เช่น ไม่ถึง 50% ของความจุสระ)
จะหมายความว่าสระเรามีขนาดใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับปริมาตรน้ำที่ดักลงสระ
ได้
เราจะไม่ได้ประโยชน์จากความลึกของสระมากนักเนื่องจากระดับน้ำก็เตี้ยเหมือน
เดิม เราจะลดการระเหยได้มากกว่าถ้าสระเล็กลงและลึกขึ้น
ตัวอย่างเช่นเราลดขนาดสระน้ำจาก 1.5 ไร่ เป็น 1 ไร่
จะได้ผลตามตารางข้างล่าง
สังเกตุว่าจะได้ผลดีกับจังหวัดที่ค่อนข้างแห้งแล้ง
แต่สำหรับจังหวัดที่มีผลตกชุกกว่าจะเริ่มเสี่ยงกับปัญหาว่าน้ำอาจจะล้นสระ
ในช่วงฤดูฝน
- ลดอัตราการระเหยด้วยการเอาน้ำไปซ่อนใต้ดิน จะได้ไม่มีผิวน้ำ การระเหยก็จะน้อยลง
ใน
แนวคิดของการเก็บน้ำใต้ดินคือ การสะสมระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อสะสมหลายๆ ปีจะเพิ่มโอกาสที่เราจะมีน้ำใต้ดินซึมเข้ามาในสระเอง
แนวคิดของการทำสระให้มีผิวหน้าเล็กลง
และลึกขึ้นสุดท้ายก็จะกลายเป็นโครงสร้างที่ช่วยดักน้ำลงใต้ดินได้ในตัว
คำ
ถามที่เกิดขึ้นคือแล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าน้ำที่เราเก็บลงใต้ดินมันจะ
อยู่ในที่ดินของเรา? คำตอบคือไม่แน่ครับ ฮ่าๆๆๆ
น้ำจะไหลจากที่สูงไปที่ต่ำเสมอ
ความจริงข้อนี้ไม่แตกต่างสำหรับน้ำที่เก็บอยู่ในดิน น้ำจะค่อยๆ
ไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำ แต่...ความเร็วในการไหลของน้ำใต้ดินจะช้ามาก
ยิ่งน้ำลงไปใต้ดินลึกมากเท่าไหร่ยิ่งไหลช้าเท่านั้น
(ดูภาพด้านล่าง) น้ำที่อยู่ใต้ดินอาจจะใช้เวลาหลายเดือนจนถึงหลายปีกว่าจะไหลออกไปนอกที่ดินของเรา ในระหว่างนั้นเรามีโอกาสที่จะนำน้ำใต้ดินกลับมาใช้งาน
โดยต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีรากลึกก็จะสามารถดูดเอาน้ำใต้ดินไปใช้งานได้เองตาม
ธรรมชาติ
ส่วนพืชที่มีรากตื้นอาจจะต้องการความช่วยเหลือจากเราในการนำน้ำใต้ดินมาใช้
งานในรูปแบบของสูบจากสระน้ำที่ลึก บ่อน้ำ หรือบ่อน้ำบาดาล
แต่จะให้ดีที่สุดคือเราจะต้องช่วยกันทั้งชุมชน
ถ้าทุกบ้านต่างก็ร่วมมือกันเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดิน
เราก็จะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งชุมชน
จากคำตอบที่ผมตอบคุณ prml
ก่อนหน้านี้จะเห็นว่า น้ำใต้ดินที่อยู่ใกล้ๆ
ผิวดินจะมีอัตราการระเหยมากกว่าน้ำที่อยู่ใต้ดินลึกเกิน 30-50 ซม.เป็นต้นไป
คำถามก็คือแล้วเราจะช่วยธรรมชาติเพิ่มปริมาณการเก็บน้ำลงใต้ดินลึกๆ
แบบนั้นได้อย่างไร?
ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น