ก่อนจะเข้าเรื่องในปัจจุบัน ผมอยากจะย้อนกลับไปที่ปัญหาของระบบน้ำในสวนที่เจ้าของเดิมเจอมีดังนี้ :
- ระบบ น้ำของเจ้าของสวนเดิมเป็นปั๊มเบนซินขนาดใหญ่ใช้เครื่องยนต์ของรถยนต์มาเป็น ตัวขับเคลื่อนปั๊มหอยโข่งขนาดใหญ่เพื่อจะจ่ายน้ำขึ้นเนินสูงระยะทางไกลกว่า 300 เมตร จ่ายเลี้ยงสปริงเกอร์ในพื้นที่กว่า 18 ไร่
- เจ้า ของสวนเดิมเลือกปลูกชมพู่ และมะนาวจำนวนมาก พวกเขาปลูกชมพู่เพชรตั้งแต่ราคากิโลกรัมละ 80-150 บาท ราคาขายล่าสุดในปี 2555 ที่ตลาดนัดแถวเพชรบุรีกิโลกรับละ 15 บาท ค่าแรงกำลังขึ้นเป็นวันละ 300 บาท (ชมพู่เพชรถ้าไม่ฉีดฮอร์โมน และไม่ห่อคงไม่ค่อยได้กินครับ) ส่วนราคาน้ำมันสวนทางกับราคาชมพู่ การเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำเยอะ และการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลเป็นหลักในการรดน้ำประเด็นหนึ่งที่ทำให้เจ้าของ สวนเดิมประสบปัญหาหนี้สินกับ ธกส. กอปรกับปัญหาสุขภาพทำให้ต้องขายสวนล้างหนี้
- นอก เหนือจากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการสูบน้ำมารดน้ำต้นไม้ สูงอย่างมาก สวนยังมีปัญหาวัชพืช ทำให้ต้องเสียค่าจ้างตัดหญ้าราคาเหมาไร่ละ 500 บาทต่อครั้ง ถ้าเป็นจ้างเป็นรายวันจะ 300-350 บาทต่อวันโดยต้องจ่ายค่าน้ำมัน และน้ำมันเครื่องต่างหาก ต้นทุนการตัดหญ้าสูงขึ้นตามราคาน้ำมันเช่นกัน นอกจากนั้นคนรับจ้างตัดหญ้าจะตัดแบบไม่ระวังมักจะตัดโดนสปริงเกอร์ หรือท่อน้ำให้ได้รับความเสียหายเป็นประจำ หลายๆ ครั้งค่าซ่อมระบบน้ำสูงกว่าค่าจ้างตัดหญ้ามากมายนัก
- แหล่ง น้ำสำคัญคืออ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน และจ่ายน้ำไปให้ชาวบ้านไปทำการเกษตรอีกกว่า 250 ครัวเรือน การตัดสินใจจ่ายน้ำเป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่ของชาวบ้าน ในหน้าแล้งปีที่แล้งจัด น้ำจะไม่มีพอที่จะสูบ จะต้องต่อท่อดูดไกลออกไปจากจุดเดิมอีกประมาณ 250 เมตร เจ้าของเดิมจะต้องสูบน้ำด้วยปั๊ม 2 ชุด ทำให้ต้นทุนน้ำยิ่งสูงขึ้นไปอีก
- การ เข้ามาของนายทุนโดยเฉพาะนายทุนมากว้านซื้อที่เพื่อไปปลูกยางพารา มีการเอารถไถเข้าไปเปิดหน้าดินมากขึ้น พร้อมทั้งมีทุนมากพอที่จะทำระบบน้ำสูบจากลำห้วย ทำให้มีการแย่งกันใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะมากยิ่งขึ้น
เพื่อ หลุดออกจากวงจรเลวร้ายนี้ผมตัดสินใจที่จะเป็นไท จากระบบน้ำแบบเดิมๆ จะลดการพึ่งพาแหล่งน้ำสาธารณะ ลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลในการให้น้ำกับพืช ลดต้นทุนการให้น้ำ และเป้าหมายสุดท้ายคือยกเลิกการรดน้ำให้ได้มากที่สุด ให้พืชกลับไปอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเท่านั้น ผมจึงลงมือทดลองหักดิบไม่รดต้นไม้เลย และจ่ายค่าทดลองเรื่องน้ำด้วยการตายของมะนาวแป้นเกือบ 200 ต้น รวมทั้งต้นไม้อื่นอีกนับสิบต้น ทำให้ผมเรียนรู้ว่าพืชต้นไหนทนแล้งและยังให้ผลผลิตได้ พืชต้นไหนทนแล้งได้แต่จะไม่ให้ผลผลิต ที่สำคัญปัญหาที่ประสบทำให้ผมเข้าใจสภาพธรรมชาติที่แท้จริงในพื้นที่ และเป็นแรงพลักดันให้ค้นหาความรู้เกี่ยวกับน้ำอีกมากมาย
ก่อนจะต่อกันเรื่องเทคนิคการจัดการน้ำ
ผมของชี้แจงความแตกต่างของแนวทางของปู่ฟู และปู่บิล
อย่างที่เคยบอกหลายครั้งแล้วว่าทั้งสอง 2
เชื่อในเรื่องการทำงานร่วมกับธรรมชาติ ทั้ง 2
ท่านต่างก็เคยเขาไปช่วยแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งที่ประเทศต่างจนประจักษ์ว่า
วิธีการของทั้งคู่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง
ก่อนจะลงราย ละเอียดอยากให้เพื่อนๆ เข้าใจว่าในการปรับสภาพพื้นที่จะมีมิติของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง หมายความว่าการเลือกวิธีการ การเลือกพืชในแต่ละช่วงเวลาไม่เหมือนกัน สิ่งที่เราลงมือวันนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป
หัวใจ ในการปรับสภาพพื้นที่แห้งแล้งคือจะต้องหาทางช่วยธรรมชาติให้มีต้นไม้จำนวน มากขึ้นให้ได้ก่อน เมื่อมีต้นไม้ขึ้นในพื้นที่ การทำงานของธรรมชาติก็จะเริ่มเข้ามาช่วยเรา โดยต้นไม้จะทำงานร่วมกับแบคทีเรีย และฟังไจ ทำให้ดินสามารถอุ้มน้ำได้มากขึ้น ในระยะถัดมาเศษของต้นไม้ (เช่น ใบไม้ กิ่งไม้) ที่ร่วงหล่นก็จะเริ่มผุพังกลายเป็นฮิวมัส ฮิวมัสจะเป็นตัวการสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดินร่วมกับ ต้นไม้ เมื่อดินสามารถอุ้มน้ำได้มากขึ้นกว่าสภาพดินเดิมมากๆ เราก็จะเริ่มปลูกพืชที่หลากหลายชนิดได้มากขึ้น
แนวทางของปู่ฟูจะให้ ธรรมชาติช่วยหาพืชที่เหมาะสมกับสภาพน้ำในช่วงเริ่มต้น ไม่ต้องขุดสระ ไม่ต้องพรวนดิน ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องกำจัดวัชพืช ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง ปู่ฟูจะแนะนำเพียงให้หาเมล็ดพันธุ์ของพืชท้องถิ่นที่สามารถรอดได้ในสภาพดิน ที่แห้งแล้งมาหลายๆ ชนิด แล้วนำเอารวมกันเพื่อทำกระสุนดิน (หาอ่านรายละเอียดได้ในหนังสือของปู่ฟู) จำนวนมาก จากนั้นก็จะหว่านกระสุนดินออกไปให้ทั่วๆ เมื่อเจอสภาพที่เหมาะสม ต้นไม้จะงอกได้เองตามธรรมชาติจะของแต่ละพื้นที่ที่กระสุนดินตกลงไป เนื่องจากเราจะเลือกต้นไม้ในท้องถิ่นซึ่งทนแล้ง/กินน้ำน้อย จึงมีโอกาสที่จะรอดเติบโตเป็นต้นใหญ่ค่อนข้างสูง เราอาจจะต้องทำซ้ำแบบนี้หลายๆ ปี เพื่อเร่งอัตราการเพิ่มขึ้นของต้นไม้ท้องถิ่น (มากกว่าที่ธรรมชาติจะทำได้เอง) เมื่อต้นไม้เหล่านี้เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากพอ สภาพของดินที่เราไม่ไปยุ่งกับมันมากก็จะค่อยๆ ฟื้นคืนกลับสู่สมดุล อุ้มน้ำได้มากขึ้น ในที่สุดความชื้นในดินก็จะค่อยๆ กลับมาจนกระทั่งเราสามารถเพาะปลูกพืชอื่นๆ ได้มากชนิดขึ้นเรื่อยๆ วิธีการของปู่ฟูจะแทรกแซงธรรมชาติน้อยมาก และปล่อยให้กลไกของธรรมชาติค่อยๆ พลิกฟื้นบริเวณนั้นเอง
หลักการของปู่ฟูเป็นหลักการที่ดีมาก แต่...มนุษย์เรามีความประหลาดอย่างหนึ่งคือชอบฝืนธรรมชาติ สังเกตุได้จากที่เวลามีคนไปทำเกษตรใหม่ๆ ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง มีคนจำนวนมากจะพยายามปลูกพืชที่ตนเองชอบ หรืออยากจะเก็บเกี่ยวมาขายแลกเงิน โดยไม่ได้คำนึงถึงอัตราการใช้น้ำของพืชชนิดนั้นๆ เราก็จะพยายามแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุด้วยการขุดสระน้ำ ลงทุนกับระบบน้ำจำนวนมาก และพยายามปลูกให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุด เร็วที่สุด สุดท้ายก็ต้องใช้ความพยายามมากในการทำให้พืชต่างๆ รอด และให้ผลผลิตตามที่ต้องการ วิธีการแบบนี้ของปู่ฟูจึงค่อนข้างจะไม่ได้รับการยอมรับโดยเกษตรกรในวงกว้าง (แม้นแต่ในประเทศญี่ปุ่นเอง) เนื่องจากเกษตรกรมักจะใจร้อน ทนรอให้ธรรมชาติทำงานไม่ได้ ไม่ชอบที่ไม่สามารถควบคุมได้ว่าต้นไม้ไหนต้องอยู่ตรงไหน (ทั้งๆ ที่อาจจะไม่ใช่ที่ที่เหมาะสมสำหรับธรรมชาติของต้นไม้ชนิดนั้น) กอปรกับมีปัญหาเรื่องปากท้องเฉพาะหน้า สุดท้ายก็จะกลับไปทำแบบเดิมๆ แล้วกลับเข้าสู่วงจรแบบเดิม
หมายเหตุ วิธีการจะของปู่ฟูจะคล้ายกับวิธีการ "ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" แต่จะเกิดป่าเร็วกว่าด้วยการเพิ่มโอกาสที่ไม้ป่าจะงอกเพิ่มขึ้นด้วยกระสุน ดิน แต่ก็หมายความว่าจะต้องมีภาระในการไปเก็บเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้ และการทำกระสุนดิน
ปู่บิลนำเสนอวิธีการที่แตกต่างคือให้มีการปรับ พื้นที่ให้เหมาะสมมากกว่าปกติ เพื่อเอื้อในการที่พืชจำนวนหนึ่งจะเติบโตได้ หากมีทรัพยากรจำกัด ปู่บิลจะแนะนำให้เริ่มต้นปลูกต้นไม้ที่บางพื้นที่ที่เราไปปรับสภาพช่วย ธรรมชาติแล้ว เราจะต้องดูแลต้นไม้ในบริเวณนี้มากเป็นพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันจะอยู่ รอดได้ หลังจากที่ต้นไม้ของเราเริ่มอยู่ตัวแล้ว จึงค่อยๆ ขยายการปลูกออกไปจากแนวต้นไม้เก่าที่เริ่มอยู่ตัวแล้ว สุดท้ายสภาพของดินในบริเวณที่เราดูแลเป็นพิเศษเริ่มฟื้นคืนกลับสู่สมดุล อุ้มน้ำได้มากขึ้น ความชื้นในดินก็จะค่อยๆ กลับมาจนกระทั่งเราสามารถเพาะปลูกพืชอื่นๆ ได้มากชนิดขึ้นเหมือนวิธีของปู่ฟู วิธีการของปู่บิลก็จะต้องอาศัยความพยายามของมนุษย์มากขึ้นในการดูแลต้องไม้ ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการปรับสภาพในแต่ละจุดที่มนุษย์เข้าไปดูแลเป็นพิเศษจะ นานถึง 3-5 ปีก่อนที่เราจะสามารถปล่อยมันตามธรรมชาติได้ แต่ก็ยังคงไม่ทันใจสำหรับคนที่มีพื้นที่เยอะๆ และต้องการได้ผลผลิตเยอะๆ ในเวลาอันรวดเร็ว ผมเริ่มเข้าใจคำพูดของมหาตมะคานธีที่ว่า
"Earth provides enough to satisfy every man's need, but not every man's greed"
"ทรัพยากรบนโลกมีเพียงพอสำหรับความจำเป็นของทุกคน แต่ไม่พอสำหรับความโลภของทุกคน"
ตอน นี้ผมเริ่มเข้าใจแล้วที่มีคนวิพากวิจารณ์ปู่ฟูว่าท่านเป็นพระในคราบของ เกษตรกร เนื่องดูเหมือนปู่ฟูจะยอมรับกับสิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้ มีความรู้สึกพอ ไม่มีความโลภความต้องการที่จะเข้าควบคุมการทำงานของธรรมชาติ เหมือนปู่ฟูจะมีความลึกซึ่งทางจิตวิญาณเกินกว่าที่มนุษย์ทั่วไปอาจจะเข้าถึง ได้ทุกคน
ส่วนวิธีของปู่บิลดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่มนุษย์ที่ยังละกิเลสไม่ได้ (แต่ก็พยายามจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ) ใช้เป็นแนวทางในการช่วยให้ธรรมชาติ กลับคืนสู่จุดสมดุลโดยเร็วขึ้น วิธีการเหล่านี้จะต้องอาศัยการออกแรงช่วยจากมนุษย์มากกว่าวิธีการของปู่ฟู แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะให้ผลในพื้นที่จำกัดเร็วกว่า (แต่ถ้าต้องการครอบคลุมพื้นที่ใหญ่มากๆ วิธีการของปู่ฟูจะเร็วกว่า เพราะด้วยแรงงานที่เท่ากันจะสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่ามาก) เราจะค่อยๆ เรียนรู้วิธีการต่างๆ ที่กลุ่มเพอร์มาคัลเจอร์ปฏิบัติ นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และทรัพยากร และ...ไม่ผิดกติกาเลยที่เราจะเลือกผสมผสานทั้งวิธีการของปู่ฟู กับวิธีการของปู่บิล ตามโซนของพื้นที่
ก่อนจะลงราย ละเอียดอยากให้เพื่อนๆ เข้าใจว่าในการปรับสภาพพื้นที่จะมีมิติของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง หมายความว่าการเลือกวิธีการ การเลือกพืชในแต่ละช่วงเวลาไม่เหมือนกัน สิ่งที่เราลงมือวันนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป
หัวใจ ในการปรับสภาพพื้นที่แห้งแล้งคือจะต้องหาทางช่วยธรรมชาติให้มีต้นไม้จำนวน มากขึ้นให้ได้ก่อน เมื่อมีต้นไม้ขึ้นในพื้นที่ การทำงานของธรรมชาติก็จะเริ่มเข้ามาช่วยเรา โดยต้นไม้จะทำงานร่วมกับแบคทีเรีย และฟังไจ ทำให้ดินสามารถอุ้มน้ำได้มากขึ้น ในระยะถัดมาเศษของต้นไม้ (เช่น ใบไม้ กิ่งไม้) ที่ร่วงหล่นก็จะเริ่มผุพังกลายเป็นฮิวมัส ฮิวมัสจะเป็นตัวการสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดินร่วมกับ ต้นไม้ เมื่อดินสามารถอุ้มน้ำได้มากขึ้นกว่าสภาพดินเดิมมากๆ เราก็จะเริ่มปลูกพืชที่หลากหลายชนิดได้มากขึ้น
แนวทางของปู่ฟูจะให้ ธรรมชาติช่วยหาพืชที่เหมาะสมกับสภาพน้ำในช่วงเริ่มต้น ไม่ต้องขุดสระ ไม่ต้องพรวนดิน ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องกำจัดวัชพืช ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง ปู่ฟูจะแนะนำเพียงให้หาเมล็ดพันธุ์ของพืชท้องถิ่นที่สามารถรอดได้ในสภาพดิน ที่แห้งแล้งมาหลายๆ ชนิด แล้วนำเอารวมกันเพื่อทำกระสุนดิน (หาอ่านรายละเอียดได้ในหนังสือของปู่ฟู) จำนวนมาก จากนั้นก็จะหว่านกระสุนดินออกไปให้ทั่วๆ เมื่อเจอสภาพที่เหมาะสม ต้นไม้จะงอกได้เองตามธรรมชาติจะของแต่ละพื้นที่ที่กระสุนดินตกลงไป เนื่องจากเราจะเลือกต้นไม้ในท้องถิ่นซึ่งทนแล้ง/กินน้ำน้อย จึงมีโอกาสที่จะรอดเติบโตเป็นต้นใหญ่ค่อนข้างสูง เราอาจจะต้องทำซ้ำแบบนี้หลายๆ ปี เพื่อเร่งอัตราการเพิ่มขึ้นของต้นไม้ท้องถิ่น (มากกว่าที่ธรรมชาติจะทำได้เอง) เมื่อต้นไม้เหล่านี้เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากพอ สภาพของดินที่เราไม่ไปยุ่งกับมันมากก็จะค่อยๆ ฟื้นคืนกลับสู่สมดุล อุ้มน้ำได้มากขึ้น ในที่สุดความชื้นในดินก็จะค่อยๆ กลับมาจนกระทั่งเราสามารถเพาะปลูกพืชอื่นๆ ได้มากชนิดขึ้นเรื่อยๆ วิธีการของปู่ฟูจะแทรกแซงธรรมชาติน้อยมาก และปล่อยให้กลไกของธรรมชาติค่อยๆ พลิกฟื้นบริเวณนั้นเอง
หลักการของปู่ฟูเป็นหลักการที่ดีมาก แต่...มนุษย์เรามีความประหลาดอย่างหนึ่งคือชอบฝืนธรรมชาติ สังเกตุได้จากที่เวลามีคนไปทำเกษตรใหม่ๆ ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง มีคนจำนวนมากจะพยายามปลูกพืชที่ตนเองชอบ หรืออยากจะเก็บเกี่ยวมาขายแลกเงิน โดยไม่ได้คำนึงถึงอัตราการใช้น้ำของพืชชนิดนั้นๆ เราก็จะพยายามแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุด้วยการขุดสระน้ำ ลงทุนกับระบบน้ำจำนวนมาก และพยายามปลูกให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุด เร็วที่สุด สุดท้ายก็ต้องใช้ความพยายามมากในการทำให้พืชต่างๆ รอด และให้ผลผลิตตามที่ต้องการ วิธีการแบบนี้ของปู่ฟูจึงค่อนข้างจะไม่ได้รับการยอมรับโดยเกษตรกรในวงกว้าง (แม้นแต่ในประเทศญี่ปุ่นเอง) เนื่องจากเกษตรกรมักจะใจร้อน ทนรอให้ธรรมชาติทำงานไม่ได้ ไม่ชอบที่ไม่สามารถควบคุมได้ว่าต้นไม้ไหนต้องอยู่ตรงไหน (ทั้งๆ ที่อาจจะไม่ใช่ที่ที่เหมาะสมสำหรับธรรมชาติของต้นไม้ชนิดนั้น) กอปรกับมีปัญหาเรื่องปากท้องเฉพาะหน้า สุดท้ายก็จะกลับไปทำแบบเดิมๆ แล้วกลับเข้าสู่วงจรแบบเดิม
หมายเหตุ วิธีการจะของปู่ฟูจะคล้ายกับวิธีการ "ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" แต่จะเกิดป่าเร็วกว่าด้วยการเพิ่มโอกาสที่ไม้ป่าจะงอกเพิ่มขึ้นด้วยกระสุน ดิน แต่ก็หมายความว่าจะต้องมีภาระในการไปเก็บเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้ และการทำกระสุนดิน
ปู่บิลนำเสนอวิธีการที่แตกต่างคือให้มีการปรับ พื้นที่ให้เหมาะสมมากกว่าปกติ เพื่อเอื้อในการที่พืชจำนวนหนึ่งจะเติบโตได้ หากมีทรัพยากรจำกัด ปู่บิลจะแนะนำให้เริ่มต้นปลูกต้นไม้ที่บางพื้นที่ที่เราไปปรับสภาพช่วย ธรรมชาติแล้ว เราจะต้องดูแลต้นไม้ในบริเวณนี้มากเป็นพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันจะอยู่ รอดได้ หลังจากที่ต้นไม้ของเราเริ่มอยู่ตัวแล้ว จึงค่อยๆ ขยายการปลูกออกไปจากแนวต้นไม้เก่าที่เริ่มอยู่ตัวแล้ว สุดท้ายสภาพของดินในบริเวณที่เราดูแลเป็นพิเศษเริ่มฟื้นคืนกลับสู่สมดุล อุ้มน้ำได้มากขึ้น ความชื้นในดินก็จะค่อยๆ กลับมาจนกระทั่งเราสามารถเพาะปลูกพืชอื่นๆ ได้มากชนิดขึ้นเหมือนวิธีของปู่ฟู วิธีการของปู่บิลก็จะต้องอาศัยความพยายามของมนุษย์มากขึ้นในการดูแลต้องไม้ ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการปรับสภาพในแต่ละจุดที่มนุษย์เข้าไปดูแลเป็นพิเศษจะ นานถึง 3-5 ปีก่อนที่เราจะสามารถปล่อยมันตามธรรมชาติได้ แต่ก็ยังคงไม่ทันใจสำหรับคนที่มีพื้นที่เยอะๆ และต้องการได้ผลผลิตเยอะๆ ในเวลาอันรวดเร็ว ผมเริ่มเข้าใจคำพูดของมหาตมะคานธีที่ว่า
"Earth provides enough to satisfy every man's need, but not every man's greed"
"ทรัพยากรบนโลกมีเพียงพอสำหรับความจำเป็นของทุกคน แต่ไม่พอสำหรับความโลภของทุกคน"
ตอน นี้ผมเริ่มเข้าใจแล้วที่มีคนวิพากวิจารณ์ปู่ฟูว่าท่านเป็นพระในคราบของ เกษตรกร เนื่องดูเหมือนปู่ฟูจะยอมรับกับสิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้ มีความรู้สึกพอ ไม่มีความโลภความต้องการที่จะเข้าควบคุมการทำงานของธรรมชาติ เหมือนปู่ฟูจะมีความลึกซึ่งทางจิตวิญาณเกินกว่าที่มนุษย์ทั่วไปอาจจะเข้าถึง ได้ทุกคน
ส่วนวิธีของปู่บิลดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่มนุษย์ที่ยังละกิเลสไม่ได้ (แต่ก็พยายามจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ) ใช้เป็นแนวทางในการช่วยให้ธรรมชาติ กลับคืนสู่จุดสมดุลโดยเร็วขึ้น วิธีการเหล่านี้จะต้องอาศัยการออกแรงช่วยจากมนุษย์มากกว่าวิธีการของปู่ฟู แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะให้ผลในพื้นที่จำกัดเร็วกว่า (แต่ถ้าต้องการครอบคลุมพื้นที่ใหญ่มากๆ วิธีการของปู่ฟูจะเร็วกว่า เพราะด้วยแรงงานที่เท่ากันจะสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่ามาก) เราจะค่อยๆ เรียนรู้วิธีการต่างๆ ที่กลุ่มเพอร์มาคัลเจอร์ปฏิบัติ นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และทรัพยากร และ...ไม่ผิดกติกาเลยที่เราจะเลือกผสมผสานทั้งวิธีการของปู่ฟู กับวิธีการของปู่บิล ตามโซนของพื้นที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น