24 สิงหาคม 2557

เงิน..คืออะไร?

ผมเขียนกระทู้นี้สืบเนื่องจากคำถามจากพี่ชุติพนต์ที่ถามว่าสหรัฐพิมพ์เงินเองได้จริงหรือ?  ถ้าจริงอย่างนี้เงินก็จะไม่มีค่าอะไรเลยสิ  ใครนึกอยากพิมพ์ธนบัตรก็พิมพ์  ก่อนจะตอบคำถามจึงต้องกลับมาดูว่า "เงิน" คืออะไร?

คำว่าเงินทุกคนก็ย่อมรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่จะถ้าว่าจริงๆแล้วเงินคืออะไร คำตอบแต่ละคนก็มักจะไม่เหมือนกัน คำว่า "เงิน" จริงๆ แล้วมีความหมายว่า "สิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน" สิ่งที่แลกเปลี่ยนนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ซึ่งสมัยยุคพวกชนเผ่าต่างๆ อาจจะใช้หินสวยๆ เปลือก หอยสวยๆ แล้วแต่พวกชนเผ่าจะยอมรับว่ามีค่า  ซึ่งถือว่าเป็นยุคต้นที่มนุษย์สร้างโลกมายาที่เรียกว่า "โลกการเงิน" ขึ้นมา ต่อมาก็เลือกใช้สิ่งที่หาได้ยากมาเป็นสื่อกลาง ได้แก่ หินมีค่า (เช่น หยก) หรือโลหะมีค่า (เช่น ทองคำ เงิน) เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ต่อมามนุษย์เริ่มค้นพบว่าการขนย้ายเงินจำนวนมาก หรือการพกพาเงินไม่สะดวกเนื่องจากน้ำหนักของโลหะ  รวมทั้งอันตรายจากการโดนปล้นในระหว่างการขนย้ายโลหะจำนวนมาก  ทำให้มีต้นทุนสูงต้องจ้างทีมคุ้มกันเงิน

มนุษย์จึงมีการพัฒนาความหมายของเงินขึ้นไปอีกขั้นกลายเป็นว่า "เงินเป็นคือสิ่ง ใดๆที่คนในสังคมยอมรับสำหรับการจ่ายค่าสินค้าและบริการ และยอมรับในการจ่ายชำระหนี้" จึงสามารถใช้ของที่ไม่มีค่าเช่นกระดาษ ตราบใดที่ผู้คนในสังคมยอมรับกระดาษใบนั้นก็สามารถใช้แทนโลหะมีค่าได้ โดยในช่วงต้นจะออกเป็นตั๋วเงินโดยองค์กรเอกชนที่สังคมยอมรับ ทำให้สามารถนำตั๋วเงินเหล่านี้ไปขึ้นเงินตามแหล่งต่างๆ ได้ การขนย้ายก็สามารถซ่อนได้ง่ายขึ้นทำให้ไม่เป็นที่สังเกตุของโจรมากเหมือนเดิม

ต่อภาครัฐได้เข้ามารับรองโดยการจัดทำกระดาษซึ่งมีมาตรการต่างๆ ในการป้องกันการปลอมแปลงเพื่อให้มีความหน้าเชื่อถือสูง กระดาษที่ออกโดยภาครัฐจึงเรียกว่า "ธนบัตร" เพื่อให้ "ธนบัตร" ที่ออกโดยรัฐบาลในประเทศหนึ่งสามารถใช้ในการชำระข้ามประเทศได้ แต่ละประเทศจึงต้องมีการรับประกันว่าสามารถนำธนบัตรสกุลเงินของตนเองกลับมาแลกเปลี่ยนเป็นโลหะมีค่า เช่น ทองคำ ได้  จึงมีการตกลงร่วมกันว่าให้แต่ละประเทศต้องมีการสำรองโลหะมีค่าไว้ และฝากความเป็นเจ้าของไว้ที่องค์กรกลาง (เช่น ธนาคารโลก) ก่อนที่จะพิมพ์ธนบัตร เพื่อเป็นการรับรองค่าของเงินสกุลของแต่ละประเทศเองให้น่าเชื่อถือ (เผื่อว่ามีใครในอีกประเทศหนึ่งอยากแลกธนบัตรกลับเป็นโลหะมีค่า)  ต่อมามีการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมูลค่าเงินในโลกมายาก็เพิ่มขึ้น โลหะก็ถูกนำมาใช้ในการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ จึงทำให้เริ่มเกิดการขาดแคลนโลหะมีค่าในตลาดโลก

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ มีการต่อสู้กันทั้งในยุโนบและเอเชีย เมื่อสงครามยุติลงประเทศต่างๆ ก็บอบช้ำเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของสนามรบ  แต่ประเทศสหรัฐอเมริกามาร่วมในสงครามในช่วงหลังจึงไม่บอบช้ำมากเนื่องจากไม่ได้มีการสู้รบในทวีปอเมริกา  แถมได้กำไรจากการผลิตอาวุธไปขายให้ประเทศต่างๆ ที่ร่วมในการรบในสงครามโลก

เนื่องจากประเทศต่างๆ บอบช้ำจากสงคราม และไม่มีโลหะมีค่ามากพอที่จะมาใช้ในการผลิตธนบัตรมาใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของตนเอง   สหรัฐอเมริกาจึงใช้จังหวะนี้ในการเสนอให้มีการใช้สกุลเงินหลักของโลกเป็นหลักประกันแทนการใช้โลหะมีค่าอย่างทองคำ  ในปี ค.ศ. 1970 จึงมีการลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอร์ให้ใช้สกุลของประเทศฝรั่งเศส, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เยอรมัน, และสหรัฐอเมริกา เป็นสกุลหลักในการคำนวน SDR (Special Drawing Right) currency ใช้ทดแทนการใช้โลหะมีค่าอย่างทองเป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตรของแต่ละประเทศ โดยมีหน่วยงาน IMF (International Monetary Fund) เป็นองค์กรกลางในการคำนวนอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละสกุลเงิน  ดังนั้นประเทศที่สกุลเงินถูกใช้เป็นสกุลเงินอ้างอิงจึงสามารถพิมพ์ธนบัตรได้เองตามสนธิสัญญา  สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในนั้น

สหรัฐอเมริกาชิงเอาความได้เปรียบเนื่องจากประเทศตนเองไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกโดยตรง  อาศัยจังหวะในระหว่างที่ 4 ประเทศที่เหลือในสนธิสัญญายังบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ชิงความนิยมในการใช้สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐซึ่งมีเสถียรภาพมากที่สุดในช่วงนั้น  ให้กลายเป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตรของประเทศต่างๆ ในโลก  ทำให้เกิดกระแสในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจำนวนมากจากประเทศต่างๆ เพื่อใช้ในการพิมพ์ธนบัตรในสกุลเงินของตนเอง (แทนการสำรองทองซึ่งหาได้ยากในช่วงนั้น)   เป็นเหตุให้เกิดความประหลาดในทางเศรษฐศาสตร์คือสหรัฐอเมริกาขาดดุลทางการค้าต่อเนื่อง แต่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐกลับไม่ลดลงเนื่องจากยังมีความต้องการซื้อเงิน ดอลล่าร์สหรัฐไปใช้เป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร

ดิมธนาคารเคยมีการควบคุมมาตรการทางการเงินด้วยการควบคุมปริมาณธนบัตร หรือเหรียญเงินในระบบเศรษฐกิจ  ต่อมามนุษย์พัฒนาต่อถึงขั้นเชื่อถึงตัวเลขทางอีเลกทรอนิกส์ว่าเป็นเงิน  ดังนั้นจำนวนเงินที่ทุกคนถือครองจึงมีได้มากกว่าจำนวนธนบัตร และเหรียญเงินที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ  การควบคุมมาตรการทางการเงินจึงมิอาจใช้วิธีการควบคุมธนบัตรที่ไหลเวียนในระบบได้มากนัก  การคลังของประเทศจึงต้องใช้มาตรการทางการเงินอื่นๆ แทน เช่น การควบคุมอัตราดอกเบี้ย การปรับปริมาณเงินสำรองของธนาคาร เป็นต้น

กลับมาที่คำถามของพี่ชุติพนต์ว่าสหรัฐสามารถพิมพ์ธนบัตรได้เองโดยไม่ต้องมีหลักประกันอะไรเลยจริงหรือไม่?  ในความจริงแล้วยังมีหลักประกันที่แต่ละประเทศในคู่สัญญาจะต้องรักษาวินัยทางการเงินเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของสกุลเงินนั้นๆ  การพิมพ์ธนบัตรจึงไม่ได้มีอิสระซะที่เดียว  ส่วนที่เป็นข่าวในเร็วๆ นี้เรื่อง "หน้าผาทางการคลัง" ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นมาตรการในรับประกันความมั่นคงของรัฐบาลสหรัฐว่าจะมีปัญหาจ่ายหนี้ธนบัตรที่ประเทศต่างๆ ใช้เป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร  ซึ่งโชคดีกว่ารัฐสภาของสหรัฐอนุมัตินโยบายปลดล๊อกปัญหาดังกล่าวไปชั่วคราว  ทำให้ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐไม่หยุดชะงัก  สหรัฐจึงยังสามารถพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเติมได้  การพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีปริมาณเงินในระบบมากขึ้นทำให้ค่าเงินของสหรัฐตกต่ำลง

ในช่วงที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นก็มีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนตัวลงมา เช่น ชาติยุโรปที่เป็นฝรั่งด้วยกันเริ่มรู้ว่าเสียโง่ให้สหรัฐในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  จึงร่วมกันหาทางเลิกใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร และหันมาออกเงินสกุลยูโรดอลลาร์ใช้กันเอง มูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐจึงเริ่มเสื่อมค่าลงเนื่องจากมีหลายประเทศเริ่มหันไปใช้สกุลเงินยูโรเป็นหลักประกันแทน

นอกจากนั้นชาติผลิตน้ำมันอย่างเช่นเวเนซุเอลา อิรัก และอิหร่าน จะเลิกใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายน้ำมัน มูลค่าดอลลาร์สหรัฐก็เหมือนนกปีกหักที่ร่วงจากท้องฟ้าลงสู่ดิน สหรัฐจึงต้องโจมตีอิรักและหาเรื่องโจมตีอิหร่าน โดยหวังยึดบ่อน้ำมันและบังคับขายน้ำมันด้วยดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ประเทศต่างๆยอมรับสกุลเงินของตัวเอง

สิ่งที่น่ากลัวตอนนี้คือสหรัฐอเมริกามีกองทัพที่มีอาวุธทันสมัยที่สุดในโลก  และพยายามบีบไม่ให้คนอื่นพัฒนาอาวุธขึ้นมาต่อกรกับตนเอง  ถ้าสหรัฐทำตัวเป็นจิ๊กโก๋ไม่ยอมแพ้ในสงครามมายา (สงครามเศรษฐกิจ) ก็อาจจะใช้กำลังอำนาจทางการทหารไปบีบเอารัดเอาเปรียบประเทศอื่นเช่นเดียวกับการบุกปล้นประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางที่ผ่านมา  ในชั่วโมงนี้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และวิกฤตทางการเงินในยุโรบแล้วก็ดูเหมือนจะมีเพียงจีนที่จะต่อกรกับสหรัฐอเมริกาได้  แต่พวกเราไว้ใจจีนได้จริงหรือ?  ดูจากการคุกคามประเทศต่างๆ ในทะเลจีนใต้เพื่อแย่งชิงดินแดนที่คาดว่าน่าจะมีแหล่งน้ำมันอยู่  เราก็มิอาจไว้ใจจีนได้ 100% ในวันข้างหน้าที่ peak oil มาถึงจริงๆ ทองคำสีดำ "น้ำมัน" คงมีค่ามากขึ้นไปอีกมหาศาล มีค่ามากกว่าทองคำซะอีก  เงาของสงครามโลกครั้งที่ 3 เพื่อแย่งชิงทองคำสีดำกำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ทุกขณะ  แล้วสยามประเทศที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศและไม่มีกำลังทหารที่จะต่อกรกับมหาอำนาจได้จะทำอย่างไร  ตะน่าว ตะน่าว...
 โกรธ โกรธ โกรธ

ส่วนสีงที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือระบบทุกปัจจุบันปลูกฝังให้คนหาหนทาง "ให้รวยขึ้น" มากกว่าหนทาง "แก้จน" หรือบริโภคให้น้อยลง หรือลดการอยู่อาศัยโดยการใช้เงิน เนื่องการการใช้เงินของแต่ละคนจะเป็นกลจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของระบบทุน แต่ในขณะเดียวกันแนวคิดแบบนี้กำลังส่งเสริมให้มนุษย์บริโภคทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น หนทางหนึ่งของการทำให้คนรวยขึ้นคงส่งเสริมให้คนมีความต้องการเทียมขึ้นมาผ่านเทคนิคของการตลาด เพื่อให้มนุษย์นำเงินออกมาใช้จนเงินไหลจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งที่ต้องการรวย ความต้องการเทียมนี้มาให้เราต้องนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ในสิ่งที่ไม่ได้มีความจำเป็นกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากเราทำแบบนี้อย่างต่อเนื่อง และมีประชากรของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วันหนึ่งจะถึงวันที่ทรัพยกรธรรมชาติจะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองกับความต้องการเกินจำเป็นของมนุษย์

ปล. ฟังหูไว้หูนะครับอย่าเพิ่งเชื่อคนเพี้ยน แห่งสวนขี้คร้านเลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น