โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต
โกฐทั้ง ๗ มี โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้าไปในโกฐทั้ง ๕ มีสรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก
โกฐทั้ง ๙ มี โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี เพิ่มเข้าไปในโกฐทั้ง ๗ มีสรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย
โกฐพิเศษอีก ๔ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง โกฐน้ำเต้า และโกฐจุฬา
หากเรามาดูชื่อวิทยาศาสตร์ของแต่ละโกฐจะพบว่าหมายถึงพืชต่อไปนี้
ชื่อภาษาไทย | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อวงศ์ | ชื่อภาษาอังกฤษ |
๑. โกฐหัวบัว | Ligusticum sinense หรือ Ligusticum chuanxiong | Umbelliferae | Lovage Root |
๒. โกฐสอ | Angelica dahurica | Umbelliferae | Dhurian angelica root |
๓. โกฐเขมา | Atractylodes lancea | Compositae | Atractylodes Rhizome |
๔. โกฐเชียง | Angelica sinensis | Umbelliferae | Angelica root |
๕. โกฐจุฬาลัมพา | Artemisia annua Artemisia pallens Artemisia vulgaris | Asteraceae | Sweet Wormwood Davanam Mugwort |
๖. โกฐกระดูก | Saussurea lappa | Compositae | Costus |
๗. โกฐก้านพร้าว | Picrorrhiza kurroa | Scrophulariaceae | Picrorhiza |
๘. โกฐพุงปลา | Terminalia chebula | Combretaceae | Myrobalan fruit |
๙. โกฐชฎามังสี | Nardostachys grandiflora | Valerianaceae | Spikenard |
๑๐. โกฐกักกรา | Anacyclus pyrethrum | Asteraceae | Pellitory |
๑๑. โกฐกะกลิ้ง หรือแสลงใจ | Strychnos nux-vomica | Strychnaceae | Strychnine tree |
๑๒. โกฐน้ำเต้า | Rheum palmatum | Polygonaceae | Rhubarb |
๑๓. โกฐจุฬา | Eupatorium capillifolium | Asteraceae | Dog fennel |
ตํารายาแผนโบราณ เขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี
สนใจอ่านรายละเอียดของโกฐจุฬา โกฐจุฬาลัมพา และพืชชนิดอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/03/blog-post_18.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น