12 มกราคม 2557

เตาชีวมวล ตอนที่ 3 - Rocket stove

เตาแบบที่ 2 ที่อยากแนะนำคือ Rocket stove ถูกออกแบบครั้งแรกโดย ดร. Larry Winiarski จากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525)  หลักการทำงานคล้ายๆ กับ Gasifier Stove ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้  ลักษณะสำคัญของเตาแบบนี้คือ จะมีช่องใส่ฟืนอยู่ด้านล่าง  โดยจะต้องมีการกั้นช่องใส่ฟืนด้านหน้าเป็น 2 ชั้น  ฟืนจะใส่ทางด้านบนเท่านั้น  และปล่องเผาไหม้จะมีลักษณะเป็นปล่องในแนวดิ่งตามรูปด้านล่าง

เตาชีวมวล Rocket Stove

หลัก การทำงานคือ บริเวณที่ไฟเผากิ่งไม้ที่ด้านในปล่องจะเกิดขั้นตอนเผาไหม้ 1-3 ทำให้เกิด wood gas และ char gas  การออกบแบบลักษณะของเตาที่เหมาะสมจะทำให้เกิดแรงดูดอากาศที่เย็นกว่าที่ ด้านล่างของเตาเข้าไปแทนที่อากาศร้อนด้านในปล่องที่ลอยสูงขึ้น  อากาศที่ไหลมาจากด้านล่างนี้จะไปผสมกับ wood gas และ char gas ทำให้เกิดการสันดาปของแก๊สจนเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์

การทำเตาในลักษณะนี้ซับซ้อนน้อยกว่าการทำ gasifier stove ลองดูจาก VDO เช่น การทำโดยใช้อิฐ


Build a rocket stove

หรือใช้กระป๋อง

how to make a rocket stove :: full video ::

หากจะถามว่าเตาชีวมวลสมัยใหม่เหล่านี้อันไหนดีที่สุดคงตอบยาก  เท่าที่ทราบคงจะขอแสดงความคิดเห็นดังนี้

Gasifier Stove (Wood Gasification Stove):
Pros - เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า, สามารถใช้กับเชื้อเพลิงที่เป็นชิ้นเล็กๆ เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ได้
Cons - การใส่เชื้อเพลิงต้องใส่ด้านบน  การจุดไฟ หรือ การเติมเชื้อเพลิงสำหรับงานหุงต้มระยะยาวทำได้ยุ่งยากกว่า  หากต้องหุงต้มนานๆ เช่น อุ่นหม้อก๋วยเตี๋ยวทั้งวัน อาจจะอยากจะสูญเสียประสิทธิภาพบ้างตอนจังหวะเติมเชื้อเพลิง, การปรับความแรงของไฟทำได้ยาก (ความจริงก็ยาากเหมือนตอนที่เราใช้เตาถ่านทั่วไปล่ะ), เตาเน้นการใช้โครงสร้างจากโลหะซึ่งมีอายุการใช้งานไม่นาน

Rocket Stove:
Pros - การเติมเชื้อเพลิงให้เผาไหม้ต่อเนื่อง หรือเพิ่มลดความแรงของไฟ (โดยการปรับจำนวนของฟืน) ทำได้ง่ายกว่า, สามารถสร้างโดยใช้อิฐ หรือ เซรามิคที่มีอายุการใช้งานนานได้, โครงสร้างของเตาซับซ้อนน้อยกว่า
Cons - การเผาไหม้สมบูรณ์น้อยกว่า Gasifier Stove แต่ก็มีประสิทธิภาพดีกว่าเตาแบบเดิมมาก, เน้นการใช้กิ่งไม้ขนาดเล็ก หรือ ฟืน เท่านั้น

ด้วยข้อเด่นข้อควรระวังข้างต้นในต่างประเทศก็เน้นการ ส่งเสริมเตา Rocket Stove ให้กับชาวบ้านมากกว่า  เนื่องจากสามารถทำเองได้ง่ายกว่า  แต่ในเมืองไทยจะเน้นส่งเสริมเตา Gasifier Stove มากกว่า   ส่วนตัวผมหากให้ผมเลือก  ผมจะเลือกทำ Rocket Stove เนื่องจากผมไม่ได้ใช้งานบ่อย  ขอเป็นเตาแบบที่สร้างแล้วไม่ต้องมาสร้างใหม่บ่อยๆ ดีกว่าตามสไตล์ขี้คร้าน

ปล. มีหนังสือภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Rocket Stove มากมายให้อ่านนะครับ

http://pri-kenya.org/wp-content/uploads/2012/01/Stove-manual3.pdf

http://www.bioenergylists.org/stovesdoc/Still/AprovechoPlans/Rocke Stove Design Guide.pdf

https://www.engineeringforchange.org/static/content/Energy/S00069/Rocket Box Design Document.pdf

http://www.sazaniassociates.org.uk/wp-content/uploads/2012/10/RocketStoveManual_web01.pdf

http://www.aprovecho.org/lab/pubs/rl/stove-design/doc/16/raw

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น