คิดอยู่หลายรอบว่าจะเขียนบล็อกนี้ดีหรือไม่ เนื่องจากความรู้เรื่องพิษเป็นดาบ 2 คม แต่คุณพ่อของผมเคยเจอกรณีเด็กเข้ารับการรักษาเนื่องจากทานมันสำปะหลังดิบในขณะที่พ่อแม่ปล่อยเด็กอยู่ตามลำพัง เท่าที่ฟังจากคุณพ่อถ้าผู้ปกครองของเด็กไม่ช่วยให้ข้อมูลเรื่องพืชที่เป็นพิษให้กับแพทย์ และบังเอิญแพทย์ก็ไม่มีประสบการณ์พอเพียงที่จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง ก็มีโอกาสสูงที่เด็กอาจจะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที และอาจเสียชีวิตได้ เพราะเด็กหลายคนที่มารักษายังเด็กมาก ยังพูดไม่ได้ เลยไม่สามารถให้ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยผู้ปกครองที่ต้องสังเกตุสภาพแวดล้อมเพื่อมาบอกข้อมูลให้กับแพทย์)
ดังนั้นจึงคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจะรู้ว่าพืชอะไรที่อยู่ในบ้านของเราเป็นพิษบ้าง ในกรณีที่เด็ก หรือสัตว์เลี้ยงบริโภคเข้าไปจะได้รีบแจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบเป็น ข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะหมายถึงโอกาสที่จะรอดชีวิตของคนไข้เลยทีเดียว
พืชหลายๆ ชนิดในตารางข้างล่างใช้เป็นยาฆ่าแมลงในเกษตรอินทรีย์ และหลายอย่างก็ใช้เป็นพืชสมุนไพรเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หลายอย่างเราก็บริโภคเป็นอาหารถ้ามีการเตรียมอย่างเหมาะสม (เช่น การล้างเพื่อเจือจางสารพิษ การปรุงด้วยความร้อนที่เพียงพอที่สารพิษจะสลายตัว)
ต้องขอขอบคุณข้อมูลหลายๆ อย่างจาก http://webdb.dmsc.moph.go.th และ http://www.rspg.or.th ครับ ต่อไปนี้เป็นรายการพืชที่มีพิษบางส่วน โดยจะเน้นเรื่องพืชที่มีพิษกับคน เพราะหลายๆ อย่างก็อาจจะไม่มีพิษกับสัตว์ (เช่น หมูสามารถกินมันสำปะหลังสดทั้งหัวได้โดยไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเด็กที่มีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม รับประทานหัวมันสดเพียง 20-40 กรัม ก็อาจทำให้ตายได้)
ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | วงศ์ | ส่วนที่เป็นพิษ / อาการ |
เห็ดพันธุ์อะมานิตา มัสคาเรีย | Amanita muscaria | Amanitaceae | สารเป็นพิษที่สำคัญในเห็ดชนิดนี้คือ มัสคารีน(muscarine) เมื่อรับประทานเข้าไป 15-30 นาที จะมีอาการตัวร้อน ใจสั่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดขยาย มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเห็นภาพม่านตาหรี่ เหงื่อ น้ำลายและน้ำตาถูกขับออกมามาก ปวดบริเวณช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจขัดและถึงตายในที่สุด |
เห็ดพันธุ์อะมานิตา ฟัลลอยเดส | Amanita phalloides | Amanitaceae | มีสารเป็นพิษฟัลโลท็อกซิน(phollotoxin)ซึ่งมีพิษต่อตับ และสารเป็นพิษอะมาโตท็อกซิน(amatotoxin) อาการเป็นพิษจะเห็นชัดภายใน 6-12 ชั่วโมง อย่างช้าไม่เกิน 24 ชั่วโมง จะมีอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างแรง ท้องเดิน เป็นตะคริว ความดันเลือดต่ำ ตับบวม และถึงแก่ความตายในที่สุด หากรับประทานจำนวนมาก คนไข้จะตายภายใน 2-3 วัน |
ว่านแสงอาทิตย์ | Haemanthus multiflorus | Amaryllidaceae | หัวและใบทำให้ท้องเดิน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ |
ว่านสี่ทิศ | Hippeastrum johnsonii | Amaryllidaceae | หัวและใบทำให้อาเจียนและท้องเดินได้ |
พลับพลึงตีนเป็ด | Hymenocallis littoralis | Amaryllidaceae | หัว ใบ และราก รับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ท้องเดิน |
จุ๊ยเซียน | Narcissus tazetta | Amaryllidaceae | หัวของพืชนี้ ถ้ากินเข้าไปจะเกิดอาการชัก ท้องเดินและม่านตาขยายกว้าง |
ว่านเศรษฐี | Pancratium Zeylanica | Amaryllidaceae | หัวของพืชนี้เป็นพิษเช่นเดียวกับหัวจุ๊ยเซียน |
มะม่วงหิมพานต์ | Anacardium occidentale | Anacardiaceae | เมล็ด ถ้ากินดิบๆมักจะทำให้เกิดอาเจียนอย่างรุนแรง กลิ่นพร้อมสารระเหยจากการคั่วเมล็ด ทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบได้ |
รักบ้าน | Gluta renghas | Anacardiaceae | ขนตามใบแก่ที่ทำให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง |
รักใหญ่ | Gluta usitata | Anacardiaceae | ขนใบตามแก่ และน้ำยางจากต้น, ทำให้เกิดผื่นคัน และบวมผองตามผิวหนัง |
รักขาว | Holigarna longiflia | Anacardiaceae | ยางทำให้ผิวหนังพอง |
มะม่วง | Mangifera indica | Anacardiaceae | ยางทำให้ผิวเป็นตุ่มพอง |
ฮักไก่ | Rhus succedania | Anacardiaceae | ยางจากใบ เปลือก และผลเป็นพิษ |
น้อยหน่า | Annona squamosa | Annonaceae | เมล็ดบดเป็นผง แล้วกินมักจะทำให้แท้งลูก และทำลายกระจกตา อาจทำให้ตาบอดได้ รากเป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง ทั้งเมล็ดและใบที่บดเป็นผงใช้เป็นยาฆ่าแมลง |
ชวนชม | Adenium obesem | Apocynaceae | ผงไม้หรือน้ำเลี้ยงจากกิ่งและลำต้น ถ้ากินเข้าไปจะทำให้เป็นตระคริว ปัสสาวะไม่ได้ และมีอาการชา กรรไกรแข็งหรือเป็นอัมพาต |
บานบุรีเหลือง | Allemanda cathartica | Apocynaceae | ทุกๆส่วนของพืชนี้ถ้ากินเล็กน้อยจะช่วยเป็นยาระบายและทำ ให้อาเจียน ถ้ากินมากเกินขนาดจะทำให้ท้องเดินและอาเจียนไม่หยุด ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ |
พังพวยฝรั่ง | Catharanthus roseus | Apocynaceae | ทุกส่วน ถ้ากินมากๆเป็นยาขับเลือดและทำให้แท้งได้ |
ตีนเป็ดทราย | Cerbera manghas | Apocynaceae | ถ้ากินใช้พอเหมาะจะเป็นยาสมุนไพร ถ้ากินมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผล จะทำให้ท้องร่วง อาเจียน ทำให้แท้งลูกและตายได้ |
ตีนเป็ดทะเล | Cerbera odoratum | Apocynaceae | เปลือกผลให้ทำท้องเดิน เนื้อผลทำให้ท้องเดินและอาเจียน อาจถึงตายได้ ต้นและใบทำให้ท้องเดินและอาเจียน |
แย้มปีนัง, บานบุรีสีม่วง | Cryptostegia grandiflora | Apocynaceae | เมล็ด มีสาร G-strophanthin หรือ ouabain เมื่อรับประทานเมล็ดหรือยางจากเปลือก จะอาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ มองเห็นไม่ชัด มึนงง ชีพจรเต้นช้าหรือไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตลด และตาย ชาวพื้นเมืองในแอฟริกาใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้ว ยิงสัตว์หรือคน |
ยี่โถ | Nerium indicum | Apocynaceae | ใบมีสาร cardiotonic glucosides เช่น neriin, oleandrin เป็นต้น ออกฤทธิ์คล้าย digitalis ถ้าดม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน หน้ามืด หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ถ้ากินเข้าไปจะถ่ายเป็นเลือด และหัวใจหยุดเต้น เมล็ดเปลือกและรากมีฤทธิ์กดการหายใจ |
ลั่นทมแดง | Plumneria rubra | Apocynaceae | ราก เป็นยาถ่ายอย่างแรง |
ระย่อม | Rauwolfia serpentina | Apocynaceae | ราก ถ้ากินมากเกินไปทำให้เคลิบเคลิ้มและบีบหัวใจ และอาจเสียชีวิตได้ |
บานทน | Stroephanthus gratus | Apocynaceae | ยางที่เปลือกทำให้สลบหรือตายได้ ชาวพื้นเมืองในแอฟริกาใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วใช้ยิงสัตว์หรือคน |
ยางน่องเถา | Strophanthus caudatus | Apocynaceae | ยางจากเปลือกทำให้สลบหรือตายได้ คนพื้นเมืองจะใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วใช้ยิงสัตว์หรือคน |
เครือน่อง, ยางน่องเครือ | Strophanthus scandens | Apocynaceae | ยางจากเปลือกทำให้สลบหรือตายได้ คนพื้นเมืองใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วใช้ยิงสัตว์หรือคนได้ |
รำเพย | Thevetia peruviana | Apocynaceae | น้ำยาง และเมล็ดมีสารพวก glycosides thevetin, thevetoxic ออกฤทธิ์คล้าย digitalis แต่ออกฤทธิ์ช้ากว่า เป็นยาถ่ายอย่างแรง ทำให้อาเจียนและอาจแท้งลูกได้ ส่วนเมล็ด ถ้ากินจำนวนมาจะทำให้เกิดอัมพาตหัวใจ อัมพาตสันหลัง และลำไส้บีบตัวอย่างแรง |
กระดาด, เผือกกะลา | Alocarsia indica | Araceae | ทั้งก้านใบและเหง้า ถ้าปรุงไม่ดีแล้วกินเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคันในปากและลิ้น ทำให้บวมได้ |
กระดาดดำ | Alocasia macrorrhizos | Araceae | ทั้งก้านใบและเหง้า ถ้าปรุงไม่ดี แล้วกินเข้าไปจะทำให้คันในปากและลิ้น |
บุกคางคก | Amopgophalius campanulatus | Araceae | เหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดี กินเข้าไปทำให้คันปากและลิ้นพอง |
บอนสี | Caladium bicolor | Araceae | ทั้งต้น มีผลึกรูปเข็มของ calcium oxalate และสารอื่นๆ เช่น sapotoxin ถ้ากินเข้าไปจะเกิดอาการไหม้ที่เพดานปาก ลิ้นและคอ กล่องเสียงอาจบวม การเปล่งเสียงจะผิดปกติ และมีอาการคัน อาจอาเจียนด้วย ถ้ายางเข้าตา ตาจะอักเสบระคายเคือง |
ว่านหมื่นปี | Dieffenbachia sequine | Araceae | ทั้งต้นและใบถ้ากินเข้าไปจะระคายเคืองรุนแรง ทั้งปากและลิ้นอาจบวมจนพูดหรือกินไม่ได้ |
โหรา | Homalomena aromatica | Araceae | เหง้า กินเข้าไปทำให้ประสาท หลอน; ใช้เป็นยาฆ่าแมลง |
พลูแฉก | Monstera deliciosa | Araceae | ยางจากต้น และต้น มีสาร calcium oxalate, lycorine alkaloids ถ้าเคี้ยวเข้าไปจะทำไห้ปาก ลิ้น เพดาน แสบและร้อนแดง เกิดอาการอาเจียน ท้องเสียเล็กน้อย เนื่องจากสารพิษไประคายเคือง mucosa และไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการอาเจียน |
ไฟเดือนห้า | Asclepias curassavica | Asclepiadaceae | ทุกส่วนมีสารพวกกลัยโคไสด์ ถ้ากินมากเกินไจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจถึงแก่ชีวิตได้ |
รัก | Calotropis gigantea | Asclepiadaceae | ยางจากทุกส่วนเป็นยาถ่ายอย่าง แรง และบีบหัวใจ เปลือกจากต้นและรากทำให้อาเจียน |
ตะบา | Hoya coronaria Blume | Asclepiadaceae | ยางจากทุกส่วนของพืชชนิดนี้ ถ้ากินเข้าไปจะทำให้อาเจียนอย่างแรง |
ข้าวสารดอกเล็ก | Raphistemma hooperianum | Asclepiadaceae | เมล็ด หากกินมากเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจถึงแก่ชีวิตได้ |
ข้าวสารดอกใหญ่ | Raphistemma pulchellum | Asclepiadaceae | เมล็ดมีสารพวกกลัยโคไสด์ ที่เผป็นพิษต่อหัวใจ |
เถาวัลย์ด้วน | Sarcostemma brunonianum | Asclepiadaceae | ลำต้นทำให้อาเจียนอย่างแรง |
สลิด, ขจร | Telosma minor | Asclepiadaceae | รากทำให้อาเจียน เถาหรือลำต้นมีสารพิษ |
ว่านหางจระเข้ | Aloe vera | Asphodelaceae | ยางสีเหลืองจากใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ท้องรุ่วง |
ทุเรียนผี | Neesia altissima | Bombacaceae | ขนแข็งภายในผลทำให้ผิวหนังพองเจ็บ และคันมาก |
ช้างไห้ | Neesia malayana | Bombacaceae | ขนแข็งภายในผลทำให้ผิวหนังพองเจ็บ และคันมาก |
หญ้างวงช้าง | Heliotropium indicum | Boraginaveae | ทุกส่วนของต้นมีสารพวก อินดิศีน ถ้ากินเข้าไปจะเข้าไปจะทำให้เกิดโรคตับอักเสบ ดอกและรากทำให้แท้งลูกได้ |
ราชาวดีป่า | Buddleja asiatica | Buddlejaceae | ทุกส่วนใช้เบื่อปลา และ ถ้าคนกินเข้าไปมากจะทำให้แท้งลูกได้ |
ช้องรำพัน | Buxus rolfei | Buxaceae | ผล ใช้เบื่อปลา |
ปีบฝรั่ง | Laurentia longiflora | Campanulaceae | น้ำเลี้ยงจากต้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและระคายเคืองต่อปากและคอ |
กัญชา | Canabis sativa | Cannabidaceae | ใบและช่อดอกและถ้าสูบหรือกิน ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน มีนเมาและอาเจียน |
กุ่มน้ำ | Crateva magna | Capparaceae | น้ำเลี้ยงหรือยางจากรากและยอดอ่อนระคายผิวหนัง |
ใบระบาด | Argyreia nervosa | Convolvulaceae | ใบ และเมล็ด มีสาร cyanogenic glycosides ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน |
ผักบุ้งทะเล | Ipomoea pes-caprae | Convolvulaceae | เมล็ด - ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง หวาดผวาคล้ายวิกลจริต |
เอื้องหมายนา | Costus speciosus | Verbenaceae | เหง้าสดมีพิษมาก ถ้าใช้ในปริมาณมาก จะทำให้ท้องร่วง อาเจียนอย่างรุนแรง |
ขี้กาแดง | Gymnopetalum integrifolium | Cucurbitaceae | ผลทำให้ท้องเดินอย่างรุนแรง เมล็ดเป็นยาเบื่อที่มีฤทธิ์รุนแรงมาก ทำให้เสียชีวิตได้ง่าย แต่ส่วนอื่นเป็นยาสมุนไพรที่มีประโยชน์ |
ฟักข้าว | Momordica cochinchinensis | Cucurbitaceae | เมล็ดดิบมีพิษเช่นเดียวกับขี้กาแดง ส่วนอื่นเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มาก |
กลอย | Dioscorea hispida | Dioscoreaceae | หัวที่ยังดิบอยู่มีพิษอาจบริโภคเข้าไปตายทันที แต่ถ้านำมาฝานบางๆแล้วแช่ในน้ำไหล 2-3วัน นำมาผึ่งให้แห้งแล้วนำไปนึ่งให้สุกผสมกับข้าวเหนียวใช้บริโภค ใบมีสารพิษเช่นเดียวกับหัว |
เม้าแดง | Lyonia ovalifolia | Ericaceae | ทุกส่วนกล่าวว่าเป็นพิษต่อคนและสัตว์ |
ตำแยแมว | Acalypha indica | Eupgorbiaceae | ขนตามใบทำให้ผิวหนังเป็นผื่นคัน |
ตำแยช้าง | Cnesmone javanica | Eupgorbiaceae | ขนตามเถาใบ ดอก และผล ทำให้ปวดและคันมาก |
สลัดไดป่า | Euphorbia antiquorum | Eupgorbiaceae | น้ำยางจากทุกส่วนที่ทำให้เกิดผื่นคันและเป็นแผลตามผิวหนัง |
น้ำนมราชสีห์ | Euphorbia hirta | Eupgorbiaceae | น้ำยางกัดผิวหนังทำให้เป็นผื่นและเป็นแผลได้ |
สลัดไดบ้าน | Euphorbia trigona | Eupgorbiaceae | น้ำยางกัดผิวหนังทำให้เป็นแผลและผื่นได้ |
ตาตุ่มทะเล | Excoecaria agallocha | Eupgorbiaceae | น้ำยางสีขาว ทำให้คัน ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ |
กำลังกระบือ | Excoecaria cochinchinenesis | Eupgorbiaceae | ยางจะทำให้ผิวหนังคันและเป็นแผล |
ตังตาบอด | Exococaria bantamensis | Eupgorbiaceae | ยางสีขาว ถ้าถูกผิวหนังทำให้เป็นผื่นคัน และเป็นแผล ถ้าเข้าตาจะทำให้ตาบอดได้ |
โพบาย, สลีนก | Sapium baccatum | Eupgorbiaceae | ยางสีขาวตามเปลือก ทำให้คันและเป็นแผลพองตามผิวหนัง |
ตาตุ่มบก, สะเก็ดแรด | Sapium insigne | Eupgorbiaceae | ยางสีขาวจากเปลือกและใบ ทำให้คันและเป็นแผลพอง ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ |
ตองแตก | Baliospermum montanum | Euphorbiaceae | เมล็ด ทำให้ท้องเดินอย่างแรง |
โป๊ยเซียน | Euphorbia milii | Euphorbiaceae | น้ำยาง มีสาร resin, diterpene ester ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังหรือเข้าตา ทำให้เกิดระคายเคือง แสบ บวม แดง ถ้ารับประทานจะทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ |
คริสต์มาส | Euphorbia pulcherrima | Euphorbiaceae | น้ำยางสีขาวจากใบ ต้นมีสาร resin สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่ม diterpene ester น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคืองมาก ผิวหนังเป็นปื้นแดง ต่อมาจะบวมพองเป็นตุ่มน้ำ ภายใน 2- 8 ชั่วโมง ถ้ารับประทานจะทำให้กระเพาะอักเสบ |
พญาไร้ใบ | Euphorbia tirucalli | Euphorbiaceae | น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม มีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์เป็นสารร่วมก่อมะเร็ง euphorbon, euphorone, resin, taraxasterol, tirucallol ถ้าถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่น อักเสบ บวมแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบแดง ถ้ารักษาไม่ถูกหรือทิ้งไว้ตาอาจบอดได้ ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ช่องปากจะบวม คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะปัสสาวะและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง อาจอุจจาระเป็นเลือด |
ตาตุ่มทะเล | Excoecaria agallocha | Euphorbiaceae | ยางจากต้น และสารจากต้น มีสาร oxocarol, agalocol, isoagalocol ellagic acid, gallicacid ยาง หรือควันไฟจากการเผาไหม้ตาตุ่มทะเลเข้าตา จะทำให้ตาเจ็บ ถ้ามากอาจทำให้ตาบอดได้ถ้าหอยปูไปเกาะไม้ตาตุ่ม เมื่อนำมารับประทานจะทำให้เกิดอาการพิษ ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียน |
สบู่ดำ | Jatropha curcas | Euphorbiaceae | น้ำยางและเมล็ด มีสารพิษ toxalbumin (curcin) และ phorbal ester หากน้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง บวมแดง แสบร้อนอย่างรุนแรง เมื่อบริโภคเมล็ดและน้ำมันในเมล็ดเข้าไประมาณ 30-60 นาทีจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด รายที่อาการรุนแรงจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อที่มือและเท้า หายใจเร็ว หอบ หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้ |
ปัตตาเวีย | Jatropha integerrima | Euphorbiaceae | ใบ - ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน |
ฝิ่นต้น | Jatropha multifida | Euphorbiaceae | น้ำยางมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการอักเสบระคายเคือง เมล็ดมีสาร curcin, jatrophin ซึ่งเป็นสารพิษพวก toxalbumin ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้กระเพาะอักเสบ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจมีอาการชา แขนขาอาจเป็นอัมพาต ได้ถึง 24 ชั่วโมง และจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 7 วัน การหายใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ ถ้ารับประทาน 3 เมล็ด อาจตายได้ |
หนุมานนั่งแท่น | Jatropha podagrica | Euphorbiaceae | เมล็ด และยาง มีสารพิษมีฤทธิ์คล้าย toxalbumin,curcin พิษจาก resin alkaloid glycoside น้ำยาง - ถูกผิวหนังเกิดอาการแพ้ บวมแดงแสบร้อน เมล็ด - ถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กล้มเนื้อชัดกกระตุก หายใจเร็ว การเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันต่ำ พิษคล้ายละหุ่ง เมล็ดมีรสอร่อยแต่รับประทานเพียง 3 เมล็ด ก็เกิดอันตรายได้ |
มันสำปะหลัง | Manihot esculenta | Euphorbiaceae | ถ้านำมาบริโภคดิบๆ จะมีพิษถึงตายได้ ส่วนที่มีพิษมากที่สุดคือเปลือกและหัว พบว่าเปลือกแห้งมีกรดไฮโดรไซยานิคอยู่ราวร้อยละ 0.035 ในหัวแห้งมีร้อยละ 0.009 เปลือกสดมีอยู่ 5-10 เท่าของเนื้อในหัว ในน้ำคั้นหัวสดมีร้อยละ 1.66 ดังนั้นถ้าเด็กที่มีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม รับประทานหัวมันดิบ 20-40 กรัม ก็อาจทำให้ตายได้ อาการเป็นพิษคือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ชัก หอบ มึนงง หายใจขัด หมดสติ อาจตายภายใน 2-4 ชั่วโมง |
ละหุ่ง | Ricinus communis | Euphorbiaceae | ใบ ลำต้น และเมล็ดละหุ่งประกอบด้วย โปแตสเซียม ไนเตรท (Potassium nitrate) และกรดไฮโดรไซยานิค ( Hydrocyanic acid) ขนาดของพิษ ricin ที่ทำให้คนถึงแก่ชีวิตประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณละหุ่ง 8 เมล็ด การกินเมล็ดละหุ่งโดยการเคี้ยวและกลืนเข้าไปจะเป็นอันตรายมากโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในเด็ก ซึ่งมีโอกาสที่จะแพ้สารพิษได้ง่าย แม้จะเป็นเพียงแค่เคี้ยวและกลืนเข้าไปเพียง 1 เมล็ดเท่านั้นก็อาจเสียชีวิตได้ |
ไฮแดรนเยีย | Hydrnagea macrophylla | Hydrangeaceae | ทั้งต้นสด มีสาร Cyanogenetic glycosides ถ้ารับประทานจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน เดินเซเหมือนคนเมา หายใจลำบาก กล้ามเนื้อเปลี้ย ถ้าเป็นมากหมดสติ บางรายมีอาการชัก |
เห็ดพันธุ์อีโนไซบ์ | Inocybe spp. | Inocybaceae | ถ้ารับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพราะอาหารและลำไส้หดเกร็ง |
ชุมเห็ดเทศ | Cassia alata | Leguminsoae-Caesalpinioideae | ดอก และใบ มีสารกลุ่มแอนทราควิโนน เช่น rhein, emodin และ aloeemodin ทำให้ถ่ายท้อง (ทานในปริมาณน้อยจะเป็นยาระบาย) |
ลูกเนียง, ชะเนียง | Archidendron jiringa | Leguminsoae-Mimosaceae | รับประทานลูกเนียงดิบเป็นจำนวนมาก จะทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สะดวก ปัสสาวะขุ่นขาวเป็นสีน้ำนม อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ถ้าอาการมากระบบไตจะล้มเหลว และถึงตายในที่สุด |
มะกล่ำตาหนู | Abrus precatorius | Leguminsoae-Papilionideae | เมล็ดมะกล่ำตาหนู ภายในเมล็ดมีส่วนประกอบของ N-methyltryptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic enzyme และ abrin ซึ่งสูตรโครงสร้างของ abrin คล้าย ricin เป็นส่วนที่มีพิษสูงมาก หากเคี้ยว หรือกินเข้าไป เนื่องจากสารพิษจะไปทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร และไต ขนาดเพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือกินเพียง 1 เมล็ด ก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาจถึงกับตาบอดได้ |
หมามุ่ยน้อย | Mucuna bracteata | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ และใบแก่ ทำให้เกิดอาการคันตามผิวหนัง |
หมามุ่ย | Mucuna gigantea | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ จะทำให้เกิดอาการคัน และปวด |
หมามุ่ยขน | Mucuna gracilipes | Leguminsoae-Papilionideae | ขนจากส่วนต่างๆของพรรณไม้ชนิดนี้ทำให้เกิดอาการผื่นคัน |
หมามุ่ยแม้ว | Mucuna hainanensis | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ทำให้เกิดระคายเคืองและผื่นตามผิวหนัง |
สะบ้าลาย | Mucuna interrupta | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ทำให้ปวดและคันตามผิวหนัง |
หมามุ่ยใหญ่ | Mucuna monosperma | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ ทำให้ปวดและคันตามผิวหนัง |
หมามุ่ยฝักงอน | Mucuna pruriens | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามส่วนต่างๆของพรรณไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝัก ทำให้เกิดอาการคันตามผิวหนังและปวดตามข้อ |
หมามุ่ยฝักย่น | Munuca biplicata | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่จะทำให้เกิดอาการคัน และปวดมาก |
มันแกว | Pachyrhizus erosus | Leguminsoae-Papilionideae | เมล็ดมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง หลายชนิด ได้แก่ pachyrrhizin, pachyrrhizone, 12-(A)-hydroxypachyrrhizone, dehydropachyrrhizone, dolineone, erosenone, erosin, erosone , neodehydrorautenone, 12 -(A)-hydroxy lineonone, 12-(A)-hydroxymundu- serone (8), rotenone (9) นอกจากนี้ยังมีสารซาโปนิน ได้แก่ pachysaponins A และ B ซึ่งละลายน้ำได้ และเป็นพิษต่อปลาทำให้ปลาตาย ส่วนใบของมันแกวนั้นมีสารพิษคือ pachyrrhizid ซึ่งมีพิษต่อโคและกระบือมากกว่าม้า ถ้ารับประทานเข้าไป จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การหายใจเข้าไปพิษจะรุนแรงกว่า โดยไปกระตุ้นระบบการหายใจ ตามด้วยการกดการหายใจ ชัก และอาจถึงชีวิตได้ มีรายงานว่าถ้ารับประทานเมล็ดมันแกวเพียงครึ่งเมล็ดจะเป็นยาระบาย และบางแห่งใช้เป็นยาขับพยาธิ ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง นอกจากนี้อาจเกิดอาการพิษเรื้อรัง โดยทำให้ไขมันในตับและไตเปลี่ยนแปลง ส่วนพิษของสารซาโปนิน จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารเช่นกัน คือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีปัญหาในระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติและทำให้ชักได้ |
ช้างแหก | Spatholobus ferrugineus | Leguminsoae-Papilionideae | ขนตามฝักแก่ทำให้เกิดการคันตามผิวหนัง |
เพชฌฆาตสีทอง | Gelsemium elegans | Loganiaceae | ทุกส่วนของต้นให้น้ำยางที่เป็นพิษ โดยจะพบ alkaloid ที่เป็นพิษมาก ได้แก่ Gelsemine, Gelsemicine, Koumine, Kouminine, Kouminicine, Kumatenidine alkaloids ที่เป็นพิษดังกล่าว เมื่อกินเข้าไป จะทำให้เกิดการหลั่งน้ำลายมาก, สมองมึนงง, ความรู้สึกสับสน, กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง, สั่น, ชัก และถ้ามีอาการหนักก็ทำให้หยุดหายใจได้ ในทางยาเรานำมารักษาโรคเนื้องอกในโพรงจมูก และเนื้องอกที่ผิวหนังบางชนิด ในขนาดต่ำ ๆ ใช้เป็นยาลดไข้ ยาชงจากใบเพียงสามใบใช้เป็นยาสั่ง (ตาย) ได้ |
โพทะเล | Thespesia populnea | Malvaceae | ยางจากต้น เปลือก ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ เปลือกมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน |
เลี่ยน | Melia toozendan | Meliaceae | ดอก ผล เปลือก และต้น มีสารอัลคาลอยด์ azaridine ถ้ารับประทานเข้าไปมาก (โดยเฉพาะส่วนผล) จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียรุนแรง อาจเป็นลม กระหายน้ำอย่างรุนแรง ความจำสับสน หายใจลำบาก ชักและเป็นอัมพาต อาจง่วงหลับ มีรายงานว่า เด็กรับประทานผลเลี่ยน 6-8 ผล ถึงแก่ความตาย |
ยางน่อง | Antiaris toxicaria | Moraceae | ยางจากเปลือกทำให้สลบหรือตายได้ คนพื้นเมืองใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วใช้ยิงคนหรือสัตว์ |
ขนุน | Artocarpus heterophyllus | Moraceae | ยางทั้งจากใบ เปลือกและ ผล ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นเป็นแผลได้ |
มะเดื่องปล้อง | Ficus hispida | Moraceae | ยางทั้งจากใบ เปลือกและ ผล ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นคันและตุ่มพอง |
ข่อย | Streblus asper | Moraceae | ใบ ถ้าถูกผิวหนังส่วนที่อ่อนๆ จะทำให้ผิวหนังเป็นแผลได้ ยางจากเปลือกทำให้เป็นผื่นและตุ่มพองตามผิวหนัง |
เสม็ด, เสม็ดขาว | Melaleuca cajuputi | Myrtaceae | น้ำมันจากใบทำให้ระคายเคืองและเป็นผื่นคันตามผิวหนัง |
สถาน | Jasminum grandiflorum | Oleaceae | ดอกมักมีการนำมาร้อยเป้นพวงมาลัยใส่ข้อมือและสวมคอ อาจทำให้เป็นผื่นคันได้ |
ผักหวานป่า | Melientha sauvis | Opiliaceae | การบริโภคใบสดๆ ในปริมาณมากๆ อาจทำให้เกิดอาการเบื่อเมาเป็นไข้และอาเจียนได้ |
ผักหวานเมา, ผักหวานดง | Urobotrya siamensis | Opiliaceae | ลักษณะดูคล้ายกับผักหวานป่ามาก เมื่อบริโภคใบเข้าไปจะมีอาการเมาเบื่อ |
ฉก, ลูกชิด | Arenga pinnata | Palmae | ขนตามผิวผล รวมทั้งน้ำเลี้ยงจากเปลือกผล ทำให้เกิดอาการตคันอย่างรุนแรงตามผิวหนัง |
เต่าร้างแดง, เต่ารั้งหนู | Caryota mitis | Palmae | ชนตามผล และน้ำเลี้ยงตามผิวใบของลำต้น ทำให้เป็นผื่นคันตามผิวหนัง ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ |
เต่าร้างยักษ์ | Caryota obtusa | Palmae | ขนตามผิวผลและน้ำเลี้ยงตามผิวในของลำต้นทำให้เป็นผื่นคันตามผิวหนัง ถ้ายางเข้าตาทำให้ตาบอดได้ |
เต่ารั้ง, เต่าร้าง | Caryota urens | Palmae | ขนตามผิวผล และยางตามผิวในของลำต้น,ทำให้และเป็นผื่นตามผิวหนัง ถ้าเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ |
พิษลักษณ์ | Phytollacca Americana | Phytolaccaceae | ทั้งต้นมีสารพิษ ซาโปนินแฟรคชั่น เมื่อบริโภคมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นตะคริวที่ท้อง หรือในรายที่สูดดมเข้าไปจะพบว่าระคายเคืองต่อคอดวงตา บางรายมีผลกดระบบหายใจ |
ถุงมือจิ้งจอก | Digitalis spp. | Plantaginaceae | ต้นและดอกมีสาร Digitalis ซึ่งใช้ทำยารักษาโรคหัวใจ เมื่อทานเข้าไปปริมาณมากจะทำให้หัวใจวาย และเสียชีวิตได้ |
เห็ดพันธุ์โคปรีนัส อาทราเมนทาเรียส | Coprinus atramentarius หรือ Coprinopsis atramentaria | Psathyrellaceae | มีสารที่รวมตัวกับแอลกอฮอล์แล้วจะเกิดพิษ คนดื่มสุราพร้อมกับรับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการใจสั่น หายใจหอบ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ |
เหมือดคน , ต้นขี้หนอน, นมวัว | Scleropyrum wallichianum | Santalaceae | ใบมีลักษณะคล้ายผักหวานป่า ซึ่งชาวบ้านมักเก็บผิดเสมอๆ ใบและดอกของไม้ชนิดนี้เป็นพิษ เมื่อบริโภคจะทำให้มึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ ทุรนทุราย บางรายอาการมากจะเจ็บในลำคอ เจ็บในท้อง หมดสติ และถึงแก่ความตายในที่สุด |
ขี้หนอน | Zollingeria Dongnaiensis | Sapindaceae | ดอกอ่อนเป็นพิษ เมื่อกินเข้าไปทำให้เกิดอาการมึนเมา อาเจียนและอาจทำให้ถึงตายได้ |
ราตรี | Cestrum noctumum | Solanaceae | ผลดิบมีสารพวก solanine alkaloids ผลสุกมี atropine alkaloids ใบมี nicotine, nornicotine alkaloids ถ้ารับประทานเข้าไปภายในครึ่งชั่วโมงจะมีอาการปากคอแห้ง มึนงง ม่านตาขยาย อุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะไม่ออก การหายใจจะช้าลง |
ลำโพง, มะเขือบ้า | Datura alba | Solanaceae | เมล็ดและใบซึ่งมีสารเป็นพิษประเภทอัลคาลอยด์ คือ สโคโปลามีน (scopolamine) ไฮออสไซยามีน (hyoscyamine) และอะโทรปีน (atropine) ถ้ากินเข้าไปจะทำให้คอแห้ง ลิ้นแข็ง หัวใจเต้นเร็ว เสียสติคล้ายคนบ้า อาการจะปรากฏภายในเวลา 5-10 นาทีหลังจากกินเข้าไป แต่ไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิต เพราะพิษจะเกิดกับระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนมัติ โดยจะแสดงอาการอยู่ราว 2-3 วัน |
ยาสูบ | Nicotiana tabacum | Solanaceae | ใบยาสูบเป็นแหล่ง alkaloids หลายชนิด โดยเฉพาะ Nicotine และ Nor-nicotine, Nicoteine, Nicotelline, Nicotinine, Anabasine และสารอื่น ๆ อีก ถ้าทำการสกัด Nicotine ออกมาจากซิการ์เพียงมวนเดียว แล้วฉีดเข้าเส้นเลือดในคน จะมีพิษถึงขนาดทำให้ตายได้ |
แสลงใจ | Strychnos nux-vomica | Strychnaceae | เมล็ดแก่แห้ง พบว่ามีแอลคาลอยด์ strychnine และ brucine ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีความเป็นพิษสูง strychnine มีพิษมากประมาณ 60-90 มก. ก็ทำให้คนตายได้ มีพิษต่อระบบส่วนกลาง เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารและลำไส้ หลังจากนั้นประมาณ 1 ชม. คนไข้จะชักแขนขาเกร็งและหยุดหายใจในที่สุด |
หานช้างฮ้อง | Dendrocnide basilotunda | Urticaceace | ขนหรือเกล็ดตามส่วนต่างๆ ของช่อดอกทำให้เกิดอาการคันเป็นผื่นแดงและปวดมาก |
กะลังตังช้าง | Dendrocnide sinuata | Urticaceace | ขนตามใบและส่วนต่างๆของช่อดอก ทำให้คัน ผิวหนังไหม้ หรือแดงเป็นผื่นและปวดมาก |
ตำแยช้าง, สามแก้ว | Dendrocnide stimulans | Urticaceace | ขนหรือเกล็ดตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ช่อดอก จะทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังไหม้เกรียม หรือแดง เป็นผื่นและปวดมาก |
หานสา | Girardinia diversifolia | Urticaceace | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บคันและปวด |
หานช้างร้อง | Girardnia heterophylla | Urticaceace | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บ คัน และปวดมาก |
ลังตังช้าง, ตำแย | Laportea bulbifera | Urticaceace | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บคันและปวด |
หาน | Laportea disepala | Urticaceace | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บคันและปวด |
ตำแยตัวเมีย | Laportea interrupta | Urticaceace | ขนตามส่วนต่างๆ จะทำให้ระคายเคืองตามผิวหนังและผื่นแดง |
กะลังตังช้าง | Girardinia heterophylla | Urticaceae | ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บ คัน และปวดมาก |
เทียนหยด | Duranta repens | Verbenaceae | ใบ ผล มีสาร saponin และผลมีสาร narcotine alkaloids รับประทานผลอาจตายได้ จะทำให้อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีไข้ ตาพร่า กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับพิษมาก เม็ดเลือดแดงแตกได้ พืชนี้เป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็นด้วย |
ผกากรอง | Lantana camara | Verbenaceae | ใบ - มีสาร triterpenes ชื่อ lantadene A และ B และสารขม corchorin เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง แต่ไม่เป็นพิษต่อตับ แต่อนุพันธ์ของมันเป็นพิษต่อตับ ในใบยังมีสารขม corchorin กินมากทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ม่านตาขยาย ชีพจรผิดปกติ และอาจหมดสติ เมล็ด - ในผลแก่แต่ยังไม่สุกมีสาร glycosides corchoroside A และB จะกระตุ้นหัวใจ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น