ธาตุโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ควบคุมสมดุลกรด-เบส ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ร่วมกับเกลือ โซเดียม คลอไรด์ แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยมในการนำไฟฟ้าของระบบประสาท โพแทสเซียมยังเป็นแร่ที่สำคัญในการบีบตัวของกล้ามเนื้อทั่วไป และกล้ามเนื้อหัวใจ และระบบทางเดินอาหาร
ในพืชโพแทสเซียมมีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายสารอาหารหรือผลผลิต จากการสังเคราะห์แสง ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง เพิ่มพื้นที่ใบและปริมาณ คลอโรฟิลล์ ชะลอการร่วงของใบ - มีหน้าที่หลักในการช่วยสร้างน้ำตาล แป้ง และเซลลูโลส และช่วยให้รากของพืชดูดน้ำได้ดียิ่งขึ้น หากพืชขาดโพแทสเซียมจะเจริญเติบโตช้า ต้นจะแคระแกรน ให้ผลิตผลต่ำ คุณภาพผลิตผลก็ด้อย ใบล่างเหลืองและเกิดเป็นรอยไหม้ตามขอบใบ
โพแทสเซียมเป็นธาตุที่อยู่ในธรรมชาติน้อย และเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ด้วยเหตุนี้โพแทสเซียมจึงถูกใช้หมุนเวียนอยู่ระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในปริมาณที่จำกัด ดังนั้นโพแทสเซียม จึงเป็นปัจจัยที่จำกัดจำนวนสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหลายชนิด
โพแทสเซียมตามธรรมชาติส่วนใหญ (98%-99%) อยู่ในรูปแบบที่พืชไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ซึ่งจะถูกกัดกร่อนโดยน้ำและกระแสลมปะปนอยู่ในดินสลายอย่างช้าๆ (ประมาณ 1%) ซึ่งพืชจะสามารถนำไปใช้งานได้ และถ่ายทอดไปในระบบนิเวศตามห่วงโซ่อาหาร สัตว์จะถ่ายโพแทสเซียมออกมาในน้ำปัสสาวะ และบางส่วนจะอยู่ในมูลสัตว์ซึ่งจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ก่อนจะอยู่ในรูปแบบที่ละลายน้ำได้เพื่อให้พืชนำไปใช้งาน เมื่อสัตว์ตายลงก็จะถูกย่อยสลายคืนโพแทสเซียมกลับให้กับดินเช่นกัน
ส่วนนี้นอกจากพืชนำไปใช้โดยตรงแล้ว โพแทสเซียมบางส่วนยังถูกกระบวนการชะล้างพัดพาลงสู่ทะเล มหาสมุทรปะปนอยู่ในดินตะกอนทั้งทะเลลึกและตื้น และถูกสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในทะเลนำมาใช้ถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหารจนถึงปลาขนาดใหญ่
โพแทสเซียมที่ละลายน้ำอีกส่วนหนึ่งได้ที่ไม่ได้ถูกพืชนำไปใช้งานจะถูกน้ำพาลงไปในดินชั้นล่างหรือน้ำใต้ดิน ซึ่งปริมาณที่เราสูญเสียโพแทสเซียมลงในดินชั้นล่างขึ้นอยู่ลักษณะของดิน(ดินทราย หรือดินร่วนจะสูญเสียได้มากกว่าดินเหนียว) และปริมาณน้ำฝนในพื้นที่
อาการขาดโพแทสเซียมในพืช
ลักษณะที่พบเห็นเด่นชัดที่สุดคือ ส่วนปลายใบและขอบใบไหม้เกรียม ขอบใบจะม้วนงอ ครั้งแรกจะเห็นขอบใบมีสีเหลืองก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วจึงเปลี่ยนเป็นไหม้เกรียม หรือมีจุดประสีแดง หรือสีเหลือง หรือสีน้ำตาลระหว่างเส้นใบอยู่ทั่วไป พบเห็นชัดเจนในใบตอนที่อยู่ส่วนล่าง ๆ ของต้นพืช พืชใบเลี้ยงเดี่ยวนอกจากที่ขอบใบจะไหม้เกรียมแล้วยังร่วงอีกด้วย ในพืชใบเลี้ยงคู่อาการขาดมักเกิดก่อนที่ใบจะเริ่มแก่ ลักษณะอาการในต้นพืชคือ ต้นโตช้า อาการที่ผลราก ผลสุกไม่สม่ำเสมอ ถ้าเป็นมะเขือเทศเนื้อจะเละ
วัฏจักรชีวธรณีเคมี (อังกฤษ: Biogeochemical cycle) คือวงจรหรือแนวกระบวนการที่เกี่ยวกับการที่ธาตุหลักทางเคมีหรือโมเลกุลเคลื่อนที่ผ่านสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศทั้งที่มีชีวิต (ชีวภาพ) และไม่มีชีวิต (ธรณีภาพ) โดยหลักการแล้ว วัฏจักรทุกวัฏจักรย่อมซ้ำกระบวนการเสมอ แม้ว่าในบางวัฏจักร จะใช้เวลาซ้ำกระบวนการนานมาก โดยการเปลี่ยนรูปนี้จะเกิดผ่านทั้งบรรยากาศ น้ำ และบนบก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีส่วนร่วมในวัฏจักร
วัฎจักรหลักที่เราสนใจศึกษาสำหรับเกษตรธรรมชาติ คือ วัฏจักรของธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไฮโดรเจน(H) ออกซิเจน(O) คาร์บอน(C) ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) โพแทสเซียม (P) แคลเซียม(Ca) และกำมะถัน(S) ซึ่งความเข้าใจในวัฏจักรเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในความพยายามที่จะรักษาสมดุลให้มีแร่ธาตุต่างๆ หมุนเวียนในธรรมชาติที่เพียงพอสำหรับพืชที่เราปลูก โดยมนุษย์ไม่ต้องเข้าไปแทรกแซงมากจนเกินไป ผมจึงได้รวบรวมเรื่องราวของวัฏจักรสำคัญๆ ไว้ดังนี้ :
- วัฏจักรของน้ำ
- ฝนเอย..ทำไมจึงตก?
- ต้นไม้สายฝน - บทบาทของต้นไม้กับสายฝน
- แกะรอยน้ำฝน...น้ำฝนหายไปไหนเมื่อตกมาถึงพื้น?
- การระเหยของน้ำ
- ทำไมต้องเก็บน้ำลงใต้ดิน?
- วัฏจักรออกซิเจน (O)
- วัฏจักรคาร์บอน (C)
- วัฏจักรไนโตรเจน (N)
- วัฏจักรแคลเซียม (Ca)
- วัฏจักรฟอสฟอรัส (P)
- วัฏจักรกำมะถัน (S)
- วัฏจักรไฮโดรเจน (H)
- Dynamic Accumulator ผู้ช่วยในการหมุนเวียนของวัฏจักร
- เรากำลังคุกคามการอยู่รอดในอนาคตของพวกเราเองหรือไม่?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น