เนื่องจากตามธรรมชาติของอากาศร้อนจะลอยจากที่
ต่ำสู่ที่สูง การเลือกชนิดของหลังคาก็จะมีผลต่อการระบายความร้อนของบ้าน
และอาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศร้อนภายในบ้าน
เรามาลองพิจารณาหลังคาสไตล์ต่างๆ และข้อดีข้อเสียดังนี้
1. หลังคาแบน (Slab หรือ Flat roof)
หลังคา
แบบนี้มักจะทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นหลังคาที่แพร่เข้ามาในยุคของ
Modern โดยสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยบนหลังคา เช่น นั่งเล่นพักผ่อน
ตากเสื้อผ้า ปลูกต้นไม้ และทำให้บ้านของเราดูทันสมัย
เพราะการออกบ้านสมัยใหม่ทั่วไปในปัจจุบันไม่ต้องการให้มองเห็นตัวหลังคาของ
บ้าน ซึ่งทำให้การออกแบบหลังคาและตัวบ้าน สามารถทำได้หลากหลายมากขึ้น
ข้อด้อยของหลังคาแบน คือ เวลาอากาศร้อนลอยขึ้นไปจะไม่มีทางออก จะต้องคอยให้มีลมพัดผ่านเพื่อนำพาอากาศร้อนออกไป นอกจาก
นั้นหลังคาแบนส่วนมากจะทำด้วยคอนกรีตซึ่งจะทำให้สะสม
ความร้อนในเวลากลางวันแล้ว พอตกกลางคืนอากาศเริ่มเย็นลง
จะทำให้เกิดการคายความร้อนของคอนกรีตออกมา
ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกร้อนอบอ้าว และการที่หลังคาแบนมีความลาดเอียงน้อย
น้ำฝนจึงมักขังอยู่บนหลังคาได้ง่าย จึงควรมีระบบการระบายน้ำที่ดีด้วย
เพราะถ้าน้ำขังเป็นเวลานานๆ จะทำให้โครงสร้างเริ่มผุกร่อนและรั่วซึม
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ควรที่จะปูฉนวนกันร้อนและติดแผ่นกันชื้นด้วย
แต่ถ้าเป็นไปได้ก็จะไม่แนะนำหลังคาแบบนี้เพราะที่บ้านของคุณแม่ก็มีส่วนต่อ
เดิมที่ทำแบบนี้ซึ่งต้องซ่อมแซมกันหลายรอบ และเวลาฝนตกหนักๆ
ก็ยังมีปัญหาน้ำไหลย้อนกลับเข้ามาใต้ฝ้าได้ง่าย
2. หลังคาเพิงแหงน (Lean To) หรือที่เรามักเรียกว่า หลังคาเพิงหมาแหงน
เป็น
หลังคาที่มีองศาลาดเอียงไปด้านเดียว เหมาะสมสำหรับบ้านขนาดเล็ก
เนื่องจากก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ราคาประหยัด การรั่วซึมน้อยกว่าแบบอื่นๆ
หลังคาเพิงแหงน มักใช้ในงานก่อสร้างชั่วคราว หรืองานต่อเติมอาคารง่ายๆ
แต่สมัยนี้ บ้านเดี่ยวสไตร์โมเดิร์น ก็นิยมทำเหมือนกัน
ข้อดีของหลังคาชนิดนี้คืออากาศร้อนใต้หลังคาจะลอยออกไปได้สะดวกทำให้อากาศ
ที่เย็นกว่าไหลเข้ามาแทนที่โดยไม่ต้องรอการไหลของลม
ทำให้หลังคาเย็นกว่าหลังคาแบบแบน
ข้อควรระวังคือหลังคาต้องมีองศา
ความลาดเอียงมากพอ
ที่จะระบายน้ำฝนออกได้ทันไม่ไหลย้อนซึมกลับเข้ามาได้โดยพิจารณาร่วมกับ
ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความชันจากขนาดของหลังคา วัสดุมุงหลังคา
และระยะซ้อนของหลังคา เป็นต้น
นอกจากนั้นหลังคาแบบเพิงหมาแหงนธรรมดาจะบังแดดและฝนได้ทิศทางเดียว
การดัดแปลงให้มีหลังคาอีกด้านก็จะช่วยลดปัญหาฝนสาดจากด้านหน้า (ดูรูปข้างบน)
3. หลังคาจั่ว หรือ หลังคามนิลา (Gable Roof)
หลังคา
จะมีความลาดเอียงอยู่ 2 ด้านชนกัน โดยให้สันสูงอยู่กลาง
เป็นรูปทรงที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ
เนื่องจากหลังคาจั่วมีรูปทรงที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเขตศูนย์สูตรอย่างบ้าน
เรา สามารถป้องกันฝนได้ 2 ด้าน
เนื่องจากมีฝนตกชุกหลังคาจั่วสามารถระบายน้ำฝนออกไปได้เร็ว
และป้องกันแดดได้ดี เนื่องจากชายคายื่นยาวทั้งสองด้าน
อากาศร้อนใต้หลังคาจะไหลออกทางด้านหน้า และหลังของหน้าจั่วได้
แต่ถ้าหลังคายาวมากก็จะระบายความร้อนได้น้อยกว่าแบบเพิงหมาแหงน
เพื่อ
แก้ปัญหาการระบายของอากาศร้อนใต้หลังคา จึงมีการพัฒนาเป็นหลังคา 2 ชั้น
เพื่อให้มีทางไหลออกของอากาศร้อนตลอดแนวยาวของด้านบนหลังคา แต่หลังคา 2
ชั้นก็จะมีต้นทุนการทำหลังคาสูงขึ้น
และอาจมีปัญหาฝนสาดถ้าส่วนซ้อนทับกันไม่มากพอ
4. หลังคาปั้นหยา (Hip Roof)
ปัจจุบัน
จะนิยมทำหลังคาทรงปั้นหยากันมาก เพราะ ลักษณะของหลังคาปั้นหยานั้น
จะมีด้านลาดเอียงของหลังคา 4 ด้าน ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง
ป้องกันแดดและฝนได้ทุกด้านของบ้านอีกด้วย
ทำให้ตัวบ้านไม่ปะทะกับลมฝนและแสงแดดที่มากเกินไป
อีกทั้งยังเป็นหลังคาที่มีรูปทรงภูมิฐานมั่นคงสง่างาม
ข้อด้อยคือ
ราคาแพง เนื่องจากมีรายละเอียดเยอะกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ
จุดเชื่อมต่อมากมายบนหลังคา อาจทำให้เกิดปัญหาการรั่วซึมได้ง่าย
จึงจำเป็นต้องใช้ช่างที่มีฝีมือพอสมควรในการก่อสร้าง
และมีปัญหาในเรื่องการระบายอากาศร้อนใต้หลังคา
แต่ก็มีการพัฒนาแบบประยุกต์ให้หน้าจั่ว
ทำให้สามารถติดตั้งช่องระบายอากาศได้
แต่แบบที่ซับซ้อนขึ้นก็จะยิ่งมีราคาแพงมากขึ้น
และมีโอกาสฝนสาดเข้าทางหน้าจั่วได้มากกว่า
5. หลังคาทรงอิสระ (Free Form Roof)
เป็นหลังคาที่อาจไม่จัดอยู่ในรูปทรงเรขาคณิตก็ว่าได้ สามารถออกแบบ
ได้อย่างไร้ข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับการออกแบบของสถาปนิกแต่ละท่านว่า
ต้องการก่อให้เกิดรูปทรงแปลกตามากเพียงใด
แสดงถึงรสนิยมของเจ้าของบ้านอย่างแท้จริง
แต่มีข้อด้อยที่ว่าวัสดุมุงหลังคานั้นหายาก ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า
เนื่องจากบ้านเรายังไม่สามารถผลิตเองได้ ทำให้วัสดุมีราคาสูง
ด้วยรูปทรงหลังคาที่แปลกตา หากช่างไม่มีความชำนาญพอ
จะทำความเสียหายแก่หลังคาได้ และอาจก่อให้เกิดการรั่วซึมได้ง่าย
นอก
จากนี้การแก้ไขปัญหาเรื่องอากาศร้อนใต้หลังคา
อาจจะแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งลูกหมุนระบายอากาศ เป็นระยะๆ ตามขนาดของหลังคา
แต่ลูกหมุนดังกล่าวราคาอย่างน้อย 2 พันกว่าบาท (ขึ้นอยู่กับขนาด)
ทำให้ต้นทุนของหลังคาสูงขึ้น
และต้องการการดูแลรักษาซ่อมบำรุงมากกว่าโครงสร้างหลังคาปกติ
(เนื่องจากมีส่วนที่เคลื่อนไหวได้)
ปกติจึงนิยมติดตั้งเพื่อแก้ไขปัญหาในภายหลังมากกว่าที่จะออกแบบติดตั้งลูก
หมุนตั้งแต่การก่อสร้างครั้งแรก
เมื่อเข้าใจธรรมชาติของหลังคาแล้วความจริงก็อยากได้หลังคาสไตล์ปั้นหยา
แต่ติดที่มีงบสร้างขนำประมาณ 2 แสนบาท
ถ้าไปหมดงบกับหลังคามากก็จะเหลืองบทำอย่างอื่่นน้อย
(เฉพาะวัสดุของหลังคาก็หมื่นแล้วครับ)
จึงขอลดทอนมาเป็นหลังเพิงหมาแหงนแบบมีหลังคาสั้นๆ เป็นกันสาดด้านหน้า
เพราะว่าใช้เหล็กโครงสร้างหลังคาน้อย
ผมลดโครงสร้างด้วยการสั่งเสาตรงกลางสูงกว่าเสาตรงปลายหลังคา
ทำให้ประหยัดโครงสร้างเหล็กไป ส่วนชนิดกระเบื้องก็เอาแบบลอนคู่
ไม่กล้าเอาซีแพคเพราะว่าใช้งบเยอะทั้งโครงสร้างหลังคาที่ต้องใหญ่ขึ้น
และกระเบื้องที่แพงกว่าโดยไม่มีผลในเรื่องความร้อนเย็นในบ้านมากนัก
เมื่อ
ทำโครงหลังคาเสร็จก็ยังมีการเสริมด้วย แผ่นฟอลย์ (ราคาไม่แพงมาก
แต่จำราคาไม่ได้แล้ว) ก่อนการปูกระเบื้อง
เพื่อให้อากาศร้อนอยู่ระหว่างกระเบื้อง
และฟอยล์มากกว่าจะกระจายลงมาด้านล่าง
ส่วนใต้หลังคาก็ยังมีการทำฝ้าเพดานอีกชั้นแต่ไม่ได้รองด้วยฉนวนกันความร้อน
ใต้ฝ้าอีกชั้นเพราะว่ามีราคาค่อนข้างสูง แต่เห็นจากกระทู้คุณเอ๊ะแล้ว
ยังเสียดายว่าน่าจะลองพิจารณาใช้โฟมที่มีราคาถูกมาปูเหนือฝ้าอีกที
แต่แค่นี้บ้านก็ค่อนข้างเย็นในหน้าร้อนแล้ว
จึงยังไม่ได้เดือนร้อนติดตั้งโฟมเหนือฝ้าอีกชั้นนึง
ในแง่ทิศทางผมก็เลือกให้ทางด้านที่ต่ำกว่าอยู่ทางด้านทิศใต้ (หน้าบ้านหันไปทางทิศเหนือ) เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนลมมักจะพัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ทิศทางที่อากาศร้อนใต้หลังคาจะไหลจากด้านต่ำกว่าไปยังด้านที่สูงกว่าอยู่แล้ว การที่เราจัดทิศการไหลของอากาศร้อนให้สอดคล้องกับทิศทางของลม ลมที่พัดมาจากทางใต้จะช่วยพัดพาอากาศร้อนใต้หลังคาให้ออกไปทางด้านบนซึ่งอยู่ทางทิศเหนือได้ดีขึ้นไปอีก
อีกหนึ่งปัจจัยที่จะมีผลต่อความเย็นบ้านคือความสูงของเพดาน
ในกรณีที่เราจะติดแอร์ เราจะไม่อยากมีเพดานสูงเพราะว่าจะต้องใช้แอร์ที่มี
BTU เยอะๆ แต่ในกรณีขี้คร้าน
ไม่ติดจะแอร์แบบผมก็ควรจะเลือกให้บ้านทรงสูงขึ้นอีกสักนิด
ถ้าโชคดีเจอช่างที่รับเหมาตามพื้นที่ที่ดินเป็นตารางเมตรเหมือนผม
แต่เขาไม่ได้สนใจว่าจะต้องก่อผนังสูงแค่ไหน ก็ไม่ต้องจ่ายค่าแรงเพิ่ม
ส่วนค่าวัสดุเพิ่มขึ้นก็อีกไม่มากนัก
แต่ค่อนข้างคุ้มเพราะจะทำให้เย็นกว่าบ้านเพดานเตี้ยเนื่องจากมีพื้นที่ให้
อากาศที่ร้อนกว่าลอยสูงขึ้น
และระดับที่เราอยู่อาศัยก็จะอยู่ไกลจากหลังคามากขึ้น
ปล.ตอนที่สร้างขนำยังไม่เข้าหน้าแล้ง เพื่อนๆ คงเข้าใจได้ว่าต้นไม้เขียวแบบนี้ล่ะผมเลยตัดสินใจซื้อที่ดินเร็วไปหน่อย
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น