หน้าเว็บ

7 พฤศจิกายน 2556

ทิศทางของบ้าน

ก่อนจะเข้าใจทิศทางของบ้านเราต้องเข้าใจวัตถุ ประสงค์ของเราก่อน  ในแถบอากาศหนาวเขาอาจจะต้องการความอบอุ่น  ส่วนตัวผมนั้นขี้ร้อน และมีความขี้คร้านจะไปเรียกช่างมาติดแอร์ที่สวนจึง มีต้องออกแบบบ้านให้มีความเย็น  และจะเน้นเรื่องการออกแบบให้เย็นในฤดูร้อนเป็นหลักใหญ่

ในการดู เรื่องความเย็นนั้นเราจะต้องเข้าใจธรรมชาติในพื้นที่ก่อน ประเด็นแรกคือเรื่องมุมของแสงอาทิตย์  เนื่องจากแกนของโลกเอียงเทียบกับแนวทางการหมุนรอบดวงอาทิตย์  ในแต่ละช่วงเวลาของปีพระอาทิตย์จึงไม่ได้ขึ้นตรงทิศตะวันออก และตกในทิศตะวันตกเป๊ะ  แนวทางการเคลื่อนที่ของตัวอาทิตย์จะเอียงนิดๆ  โดยจะเอียงจากแนวดิ่งมากในพื้นที่ที่อยู่ไกลจุดศูนย์สูตรออกไป และจะเอียงน้อยสำหรับพื้นที่ที่อยู่ใกล้จุดศูนย์สูตร

มุมอิลิเวชั่นดวงอาทิตย์

ส่วนการเอียงจะขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ทางตอนเหนือ หรือใต้ของเส้นศูนย์สูตร  ถ้าเราอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร  แนวทางเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์จะเอียงไปทางใต้  แต่ทางตอนล่างของเส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศออสเตรเลียจะกลับกันคือเอียงไปทางทิศเหนือ


สำหรับประเทศไทย เราอยู่ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรแนวทางการเคลื่อนของดวงอาทิตย์จึงจะเอียงไป ทางใต้  หมายความว่าในตอนเที่ยงวันเงาของแสงแดดจะไม่ได้อยู่ตรงกลางเป๊ะ  แต่เงาจะเอียงไปทางเหนือนิดๆ (เพราะแสงเอียงมาจากทางทิศใต้)  ถ้าเราสร้างบ้านผนังบ้านทางด้านใต้ก็จะโดนแดดมากกว่าทางด้านเหนือ  ถ้าเรากลัวร้อน  เราก็อาจจะต้องพิจารณาให้ชายคาของหลังคาโดยเฉพาะด้านใต้ออกมาไกลเพื่อลด ปริมาณแสงแดดที่จะตกกระทบกับผนังทางด้านใต้  โดยขนาดชายคาที่เหมาะสมจะบังแสงแดดไม่ให้โดนหน้าต่างในฤดูร้อน  และในฤดูหนาวที่วงโคจรจะคล้อยต่ำลงไปทางทิศใต้ได้อีก จะยอมให้แสงอาทิตย์ผ่านหน้าต่างเข้าทำความอบอุ่นในบ้านในช่วงที่หนาวเย็น   แต่ถ้าเราอยากให้บ้านเย็นทั้งฤดูร้อน/ฤดูหนาวก็แนะให้ทำชายหลังคายื่นออกไปไกลๆ เพื่อไม่ให้แสงแดดตอนกลางวันส่องมาโดนหน้าต่าง

ชายคา กันสาด

แต่หากเราจะต้องการบังแสงแดดไม่ให้โดนหน้าต่างตรงๆ  สำหรับประเทศไทยจะขึ้นอยู่กับทิศที่เรามีหน้าต่างอยู่เหมือนที่เล่าให้ฟังด้านบน  โดยขอบของหลังคา หรือกันสาดควรจะทำมุมอย่างน้อย 10 องศาในทิศเหนือ และ 37 องศาในทิศใต้เพื่อป้องกันแสงแดดตอนเที่ยงวัน  แต่ถ้าหากต้องการให้กันแสงถึงตอน 16:00 ก็ควรจะทำมุม 66 องศาในทิศเหนือ และ 72 องศาในทิศใต้


ชายคา กันสาด ทิศใต้ ชายคา กันสาด ทิศเหนือ

ส่วนในหน้าต่างในทิศตะวันตก หรือตะวันออก ความจริงไม่แนะนำให้มีหน้าต่าง แต่ถ้าจะมีหน้าต่างก็ควรจะใช้กันสาดในแนวดิ่งโดนทำมุมประมาณ 30 องศากับระนาบผนัง
กันสาดแนวดิ่ง

ประเด็นที่ 2 เราจะต้องเข้าใจทิศทางของลมในพื้นที่ของตนเอง  จากข้อมูลลมในจังหวัดเพชรบุรีจะพบว่าลมจะพัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือประมาณ 8 เดือนใน 1 ปี  ส่วนอีก 4 เดือนในฤดูหนาวจะพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ทิศทางลมในประเทศไทย

ประเด็น ที่ 3 ที่เราต้องเข้าใจเรื่องความชื้นในอากาศ กับความรู้สึกร้อน/หนาวของมนุษย์  สำหรับมนุษย์แล้ว  ถ้าอากาศมีความชื้นมากเวลาอุณหภูมิสูงจะรู้สึกว่าร้อนกว่าปกติ  ส่วนในฤดูหนาวถ้าอากาศยิ่งแห้ง (ชื้นมากจะรู้สึกว่าหนาวกว่าปกติ) แต่ถ้าอากาศชื้นก็จะรู้สึกว่าเย็นกว่าปกติ


ความร้อนสัมพัทธ์

หลัก การทางวิทยาศาสตร์อธิบายเหตุผลว่าในการลดความร้อนในร่างกายนั้น ร่างกายมนุษย์จะขับเหงื่อออกทางผิวหนัง  เมื่อเหงื่อระเหยก็จะดูดความร้อนแฝงทำให้ร่างกายมนุษย์เย็นลง  แต่ถ้ามีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง เหงื่อก็จะระเหยไม่ค่อยได้  ทำให้กลไกในการลดความร้อนของร่างกายแย่ลง  มนุษย์จึงรู้สึกว่าร้อนมากกว่าถ้าระดับความชื้นสัมพัทธ์สูง

ในฤดู หนาวกลไกจะแตกต่างเนื่องจากร่างกายของมนุษย์ไม่มีความจำเป็นต้องเหงื่อออก เพือลดความร้อนในร่างกาย  โดยปกติอากาศร้อนสามารถเก็บไอน้ำได้มากกว่าอากาศเย็น ดังนั้นหากอุณหภูมิของอากาศลดลงจนถึงจุดๆ หนึ่ง จะเกิด “อากาศอิ่มตัว” (Saturated air) อากาศไม่สามารถเก็บกักไอน้ำไว้ได้มากกว่านี้ หรือกล่าวได้ว่า อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ 100% ดังนั้นหากอุณหภูมิยังคงลดต่ำลงอีก ไอน้ำจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว อุณหภูมิที่ทำให้เกิดการควบแน่นนี้เรียกว่า “จุดน้ำค้าง” (Dew point)  ในหน้าหนาวที่ชื้นเราจึงมักจะเห็นปรากฎการณ์ "หมอก" ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความชื่้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง  โดยที่มนุษย์เราจะรู้ด้วยหรือไม่ก็ตาม  ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงในอากาศส่วนหนึ่งจะกลั่นตัวเป็นชั้นน้ำบางๆ ที่ผิวหนัง หรือเสื้อผ้าที่เราสวมใส่  ทำให้เกิดกลไกคล้ายๆ กับเหงื่อคือจะดูดความร้อนแฝงจากร่างกายของมนุษย์ไปทำให้น้ำที่ผิวหรือเสื้อ ผ้าระเหยกลายเป็นไอ  ดังนั้นเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงมากในฤดูหนาวมนุษย์จะรู้สึกเย็น มากกว่า กรณีที่อุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำด้วย

หากเราเอา เรื่องความชื้นในฤดูร้อนมาเล่นเราจะสังเกตุว่าการที่เรามีบ้านติดริมน้ำมากๆ โดยเฉพาะริมน้ำที่ไม่ค่อยมีต้นไม้ปกคลุมน้ำ จะทำให้มีไอน้ำระเหยขึ้นมาเหนือผิวน้ำมีความชื้นสูง  เมื่อความชื้นเหล่านั้นเข้ามาในบ้านก็จะทำให้เรารู้สึกร้อนมากกว่าบ้านที่ ไม่ได้อยู่ติดน้ำ  แต่ในสภาพปกติที่เราไม่ได้สร้างบ้านติดแหล่งน้ำโดยตรงลมจะเป็นอีกปัจจัย สำคัญในการเร่งการระเหยของน้ำ และพัดพาเอาความชื้นออกไป  ในระหว่างที่น้ำระเหยจากอิทธิพลของลมก็จะมีการดึงเอาความร้อนแฝงในอากาศไป ใช้ในการระเหยทำให้อุณหภูมิในอากาศบริเวณนั้นเย็นลง

ดังนั้นถ้าเรา ต้องการให้บ้านเย็นเราควรจะออกแบบให้บ้านยอมให้ลมไหลได้สะดวกในฤดูร้อน  ส่วนในฤดูหนาว ถ้าเรากังวัลเรื่องความหนาวเย็นมากก็ความจะต้องมีแนวกันลม (จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือสำหรับสวนขี้คร้านในจังหวัดเพชรบุรี)  ถ้าเราชอบอากาศเย็นก็ไม่ต้องไปทำอะไรมากปล่อยมันตามธรรมชาติ  เมื่อรวมกับข้อมูลทิศทางลมในฤดูร้อนที่เพชรบุรีเราควรจะเลือกทิศของบ้านที่ ยอมให้อากาศไหลจากทิศใต้ผ่านเข้าตัวบ้าน และไหลออกไปทางทิศเหนือได้ดี  เพื่อให้มีพื้นที่รับลมเยอะๆ ผมจึงเลือกแบบบ้านที่มีด้านที่ยาวกว่าอยู่ในแนวตะวันออก - ตะวันตก  ทำให้ด้านยาวขวางทางลมที่ไหลมาจากทางใต้เป็นส่วนใหญ่ (8 เดือน)

เรื่อง ถัดมาที่เราต้องเข้าในคือธรรมชาติของต้นไม้ที่เราปลูก  ถ้าเราเลือกปลูกต้นไม่ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งช่องลมของบ้าน  ต้นไม้จะไปบังลม  ทำให้ลมไหลไม่สะดวก  แทนที่จะเย็นกลับจะร้อน  ถ้าต้นไม้มีพุ่มสูงกว่าทางเข้าของลมทางด้านใต้ก็จะทำให้เป็นการพัดเอาอากาศ เย็นใต้พุ่มไม้เข้าบ้านทำให้เย็นกว่าปกติ
บ้านประหยัดพลังงาน

ดังนั้นในการออกแบบจึงควรปลูกต้นไม้ที่มีทรงสูง และต้นล่างโปร่งอยู่ทางด้านทิศใต้  เพื่อทำให้บ้านเย็นขึ้น

ส่วน ในด้านทิศตะวันตก และทิศตะวันออกจะร้อนอยู่ประมาณครึ่งวัน และไม่ได้เป็นทิศทางของลม  เราอาจจะเลี่ยงการรับความร้อนจากทั้งสอง 2 ทิศด้วยการเลี่ยงการสร้างหน้าต่าง หรือประตูที่จะให้แสงอาทิตย์ส่องแสงเข้ามาทำให้ภายในตัวบ้านร้อน หรือเลือกห้องที่เราจะไม่ได้ทำกิจกรรมนานๆ อยู่ทางผนังของทั้ง 2 ทิศ  ซึ่งโดยปกติอากาศในบ้านเราจะมีแสงร้อนกว่าในช่วงบ่ายทำให้ผนังทิศตะวันตกจะ ร้อนมากกว่าทิศตะวันออก  ถ้าเลือกได้เราควรออกแบบให้ห้องน้ำซึ่งเราต้องการให้อากาศร้อนมาทำให้ห้อง น้ำแห้ง ลดการเกิดเชื้อรา อยู่ทางด้านทิศตะวันตก

นอกจากนั้นในทิศ ตะวันตก / ตะวันออกเรายังสามารถเลือกปลูกต้นไม้ที่ไม่ต้องการแสงจัด (เพราะเงาของตัวบ้านจะบังแสง ทำให้ต้นไม้ได้รับแสงประมาณครึ่งวัน) ต้นไม้ก็จะช่วยลดปริมาณแสงที่จะตกกระทบผนังทั้งสองด้านช่วยลดความร้อนภายใน บ้าน  และอีกทางเลือกหนึ่งแทนการปลูกต้นไม้คือทำระแนงไม้เลื้อย
บ้านประหยัดพลังงาน

แนว คิดเรื่องระแนงไม้หากทำขนาดใหญ่จะเรียกว่า shade house  ซึ่งถ้าเราทำอยู่ทางด้านทิศใต้ก็จะมีผลคล้ายๆ กับการปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ทางด้านทิศใต้  ทำให้อากาศที่ไหลเข้าบ้านจากทางทิศใต้เย็นมากขึ้น
บ้านประหยัดพลังงาน

เมื่อ รวบรวมความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ประกอบกับความขี้คร้านในการติดแอร์ ผมจึงเลือกแบบบ้านที่หันหน้าไปทางทิศเหนือ มีประตูหน้าต่างมากในทิศเหนือใต้  ด้านหลังของบ้านทางด้านใต้ที่เปิดประตูรับลมก็จะมีการต่อชายคายออกไปอีก เพื่อให้บริเวณประตูหลังไม่โดนแดดจากทางด้านทิศใต้ในระยะสั้น  ระหว่างนั้นก็หาต้นไม้ใหญ่มาปลูกในทางด้านทิศใต้เพื่อให้ร่มเงาในระยะยาว ต่อไป  ด้านทิศตะวันตกจะเป็นตำแหน่งห้องน้ำ และครัวอยู่ทางด้านทิศตะวันออก  ส่วนผนังทั้งด้านทิศตะวันตก และตะวันออกจะลอดการโดนแสงแดดโดยจะไม่มีประตู  และเลือกใช้หน้าต่างแบบทีบแสง


องค์ความรู้ในเรื่องเดียวกันสามารถเอาไป ประยุกต์ใช้กับการทำอาคารอื่นๆ เช่น เล้าสัตว์  ตัวอย่างเช่นในแถบอากาศหนาว เช่น ประเทศเกาหลี การสร้างเล้าสัตว์เขาจะทำในแนวเหนือ-ใต้ (ดูรูป)  เพราะว่าเขามีปัญหาเรื่องต้นทุนในการทำให้สัตว์อุ่นในฤดูหนาว

เล้าสัตว์, เล้าหมู

การ ออกแบบในลักษณะนี้จะทำให้ทั้งทุกคอกได้รับแสงเหมือนๆ กัน ไม่มีคอกใดคอกหนึ่งหนาวจนเกินไป ลมหนาวซึ่งพัดในแนวเหนือใต้ก็จะพัดได้ไม่สะดวก แต่...หากเราเอามาใช้ในประเทศไทยซึ่งอากาศร้อน  เราจะคิดต่างทันทีเราจะทำคอกในแนวตะวันออก - ตะวันตก  เพื่อให้ลมจากทางทิศใต้ไหลเข้าทุกคอก อากาศถ่ายเทได้ดีทุกคอก ช่วยคลายร้อนกับสัตว์ในคอก  ส่วนปัญหาที่มีบางคอก (ทางด้านตะวันออก) ร้อนในช่วงเช้า  บางคอก (ทางด้านตะวันตก) ร้อนในช่วงบ่าย  เราอาจจะบรรเทาได้ด้วยการทำม่านบังแดดเพิ่มเติมในด้านข้างของอาคาร หรือปลูกต้นไม้ช่วยบังแดด  (ถ้าเป็นแบบเกาหลี  ที่บังแดดจะอยู่ด้านหน้า/ด้านหลังคอก)

ดังนั้นการออกแบบเราต้องเข้าใจธรรมชาติในพื้นที่ด้วย จะ copy แบบเขามาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคอยเตือนตัวเองว่า "ถ้ารักษ์จะขี้คร้านต้องหมั่นสังเกตุ"

โดยสรุปบ้านตามหลักบ้านประหยัดพลังงานสำหรับประเทศไทยควรจะอยู่ในทิศเหนือ หรือทิศใต้ หากจะเฉียงหน่อยๆ ก็ควรจะอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือตะวันตกเฉียงใต้เพื่อให้ตรงกับทิศของลมตามฤดู ส่วนถ้าเราดูคู่กับแบบบ้านทั่วๆไป จะมีช่องเปิดให้ลมเข้าทางหน้าบ้านมากกว่าทางหลังบ้านทิศที่ดีที่สุดน่าจะเป็นทิศใต้เพื่อเปิดรับลมเข้าให้่ได้มากที่สุดต่อปี ต่อไปเราลองมาดูตามหลักอวงจุ้ยกัน

ทิศของบ้านตามหลักฮวงจุ้ย

โดยทั่วไปทิศยอดนิยมตามหลักฮวงจุ้ยมีอยู่ 2 ทิศด้วยกัน คือ บ้านที่หันหน้าไปทางทิศใต้ และบ้านที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เนื่องจากบ้านที่หันทิศใต้ จะได้รับผลดีจากกระแสลมที่พัดเข้าบ้าน ซึ่งบ้านที่มีอากาศไหลเวียนดี ย่อมนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีด้วย นอกจากนี้ ในทางฮวงจุ้ย ยังถือเป็นทิศทางของทรัพย์หรือโชคลาภ ส่วนบ้านที่หันไปทางทิศตะวันออก จะได้รับประโยชน์ในเรื่องของแสงแดด ตอนเช้าแสงส่องหน้าบ้านถือเป็นแดดดีไม่ร้อนเกินไป ส่วนตอนบ่าย หน้าบ้านจะร่ม สามารถทำกิจกรรมด้านหน้าตัวบ้านได้

อย่างไรก็ตามมีอีกหลักหนึ่งที่บอกว่าให้พิจารณาดวงชะตาของผู้อยู่อาศัยด้วย โดยในทางฮวงจุ้ยทิศหลังบ้านถือเป็นทิศที่หนุนและส่งเสริมเจ้าของบ้านด้วยเช่นกัน หากหลังแน่นมั่นคงเสียอย่าง ก็ไม่มีทางที่จะล้มง่ายๆ ซึ่งทิศหลังบ้านที่เป็นมงคลสำหรับคนธาตุต่างๆ มีดังนี้ ธาตุน้ำ (ปีชวดและกุน) คือทิศตะวันตก, ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศเหนือ, ธาตุไม้ (ปีชวดและเถาะ) ทิศมงคลคือทิศเหนือ, ทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงใต้, ธาตุไฟ (ปีมะเส็งและมะเมีย) ทิศมงคลคือทิศตะวันออก, ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศใต้, ธาตุทอง (ปีวอกและปีระกา) ทิศมงคลคือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, ทิศตะวันตกเฉียงใต้, ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สุดท้ายคนธาตุดิน (ปีฉลู, มะโรง, มะแมและจอ) ทิศมงคลคือทิศใต้, ทิศตะวันออกเฉียงแหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้

ส่วนอีกหลักหนึ่งก็บอกถึงธาตุของบ้านซึ่งจะเป็นมงคล หรือไม่เป็นมงคลขึ้นอยู่กับผู้อยู่อาศัย หรือลักษณะธุรกิจที่ทำ ตัวอย่างเช่น :

บ้านหันไปทางทิศเหนือ ทิศเหนือเป็นทิศที่พระอาทิตย์แทบจะไม่โคจรอ้อม บ้านที่หันหน้าไปทางทิศเหนือแทบจะไม่โดนแดดเลยตลอดทั้งปี ถือว่าเป็นทิศทางที่มีพลังงานของ ธาตุน้ำ ซึ่งเป็น ตัวแทนแห่งความร่มเย็น ความลึกซึ้งทางปัญญา และมีพลังแห่งการปรับตัวเข้ากับสิ่งรอบข้างได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงความบันเทิงเริงรมย์ ซึ่งเหมาะกับ งานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น การขนส่งทางน้ำ ขายน้ำดื่มหรือเครื่องดื่ม การประมง ซักรีด ธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว งานที่ติดต่อกับคนต่างชาติ งานโรงเรียนสอนภาษา ทำสถานบันเทิงและธุรกิจที่เปิดในเวลากลางคืนก็จะดีเป็นพิเศษ

บ้านหันไปทางทิศใต้ ในทางกลับกับทิศเหนือ โดยส่วนใหญ่พระอาทิตย์จะโคจรแบบอ้อมทางทิศใต้ ภาพรวมของทิศใต้นั้นจะเป็ศทิศทางที่ร้อนตลอดทั้งปี ในศาสตร์ฮวงจุ้ยนั้นจึงถือว่าเป็นทิศทางที่มีพลังงานของ ธาตุไฟ เป็นตัวแทน พลังงานที่อบอุ่นร้อนแรง ส่องสว่าง เปี่ยมด้วยพลังงานแห่งความคิด ปัญญา และการตรวจสอบ เหมาะกับอาชีพที่เกี่ยวกับไฟต่างๆ หรืองานที่ใช้หน้าตาพบปะผู้คน ร้านอาหาร (ที่ต้องใช้เตา) กิจการเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ งานเว็บไซต์ การเล่นหุ้น งานตรวจสอบบัญชี งานที่ต้องนำเสนอไอเดียใหม่ๆ การให้คำปรึกษา งานโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือใครอยากเป็นดาราที่เด่นดังก็เหมาะกับทิศใต้นี้

บ้านหันไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันออกเฉียงใต้ จะพบกันแสงแดดของพระอาทิตย์ในตอนเช้า ซึ่งจะเป็นช่วงเดียวกับการที่ต้นไม้เริ่มผลิใบ เพื่อรับแสงแดดมาทำการสังเคราะห์แสง ถือว่าทิศนี้เป็นทิศสะสมพลังงานของ ธาตุไม้ ซึ่งจะ ให้ความเจริญรุ่งเรืองและต่อเนื่อง พัฒนาการด้านจิตใจ ความมีชีวิตชีวา เหมาะกับอาชีพด้านการศึกษา ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษ ร้านหนังสือ งานศิลปะ ธุรกิจเครื่องสำอาง ธุรกิจเสื้อผ้าและสิ่งทอ งานเฟอร์นิเจอร์หรือชิ้นส่วนที่ทำจากไม้ทุกชนิด หมอหรือพยาบาลที่รักษาเยียวยาคนไข้มากเป็นพิเศษ

บ้านหันไปทางทิศตะวันตกหรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะพบกับแสงแดดของพระอาทิตย์ในตอนบ่าย จะสัมผัสกับแสงสีทองในยามเย็น ถือว่าทิศตะวันตกนี้รับพลังงานของ ธาตุทอง ที่มีความแข็งแกร่ง ฉับไว บุกตะลุย ตัวแทนแห่งความมั่งคั่งหรูหรา การบริหารจัดการ เหมาะกับงานที่ต้องปกครองผู้คน งานเกี่ยวกับโลหะทุกชนิด และงานที่เกี่ยวข้องกับของหรูหรา ได้แก่ ข้าราชการ ผู้พิพากษา บริษัทรักษาความปลอดภัย กิจการโรงแรม ห้างร้านใหญ่ๆ ร้านขายทอง ขายเพชร ธุรกิจเรื่องเครื่องยนต์กลไกทุกชนิด เช่น รถยนต์ แท่นเครื่องจักรต่างๆ เป็นต้น

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=79810.0 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น